นิกโกโล มาเคียเวลลี (Niccolo Machiavelli)

โดย พงษ์พัฒน์ วันคำ

บรรดานักรัฐศาสตร์ทั้งหลายไม่มีใครไม่รู้จัก มาเคียเวลลี ขึ้นอยู่กับว่าจะมีมุมมองเห็นด้วย หรือเห็นต่างจากเขาอย่างไรเท่านั้นเอง เพราะมาเคียเวลลีได้เสนอทฤษฎีทางปกครองอันลือลั่นไว้ในหนังสือซึ่งเป็นผลงานของเขา ชื่อ The Prince จนเป็นที่กล่าวถึงไปทั่วโลกตราบจนบัดนี้

นิกโกโล มาเคียเวลลี (Niccolo Machiavelli) นักปรัชญาการเมืองชาวอิตาลี มีชื่อเต็มว่า นิกโกโล ดี แบร์นาโด แมคเคียเวลลี(Niccolò di Bernardo dei Machiavelli) เกิดเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ปี 1469 ณ หมู่บ้านซานคาสเชียโน่อินวาลดิเปซา ใกล้นครฟลอเรนซ์ อิตาลี บิดาของเขาเป็นนักกฎหมายซึ่งน่าจะมีฐานะจนสามารถส่งเขาไปเรียนที่มหาวิทยาลัยฟลอเรนซ์กับปราชญ์ชื่อดังจนมีความรู้อย่างดีในด้านภาษาละตินและปรัชญามนุษย์นิยม (Humanism)ที่เฟื่องฟูในยุคการฟื้นฟูศิลปวิทยาการของยุโรป (Renaissance) อย่างมาก มาเคียเวลลีเข้ารับราชการครั้งแรกในตำแหน่งเสมียนประจำสำนักเอกสารบันทึกของรัฐบาลและได้เป็นรัฐมนตรีกลาโหม รัฐมนตรีมหาดไทย และเลขาคณะเทศมนตรีในเวลาต่อมา  ยุคที่มาเคียเวลลีเกิดมานี้แสนจะวุ่นวาย ถือได้ว่าเป็นยุคแห่งการล่มสลายของอาณาจักรโรมันศักดิ์สิทธิ์ อันเกิดจากสงครามระหว่างกรุงโรมศักดิ์สิทธิ์และพันธมิตรแห่งคอนยัคซึ่งประกอบด้วยนครรัฐของอิตาลีเช่นมิลาน เวนิส ฟลอเรนซ์ ฝรั่งเศส ฯลฯ เขาได้ผลิตงานทางวรรณกรรมออกมาแล้วมากมายไม่ว่างานวิชาการ ร้อยแก้วร้อยกรอง บทละคร ที่สำคัญคือ Discourses on Livy

เขาได้เขียนหนังสือทางการเมืองไว้หลายเล่มทั้งการเมืองและบทละคร  วรรณกรรมที่สำคัญของมาเคียเวลลีได้แก่  ผู้ปกครองหรือประมุขชน (The  prince)  ซึ่งกล่าวกันว่า  มาเคียเวลลี่ได้รับแรงบันดาลใจในการเขียนจากคุณสมบัติของซีซาร์ บอร์เจีย และบทสนทนา  (The  Discourses)  ซึ่งใช้สาธารณรัฐเยอรมันเป็นแบบอย่างในการแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของรูปแบบการปกครองแบบสาธารณรัฐ โดย The Prince ถูกเขียนในปลายปี ค.ศ.1513 เขาผลิตหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาเพื่อหวังจะได้กลับไปรับราชการอีกครั้งหลังจากที่พรรคพวกในรัฐบาลของสาธารณรัฐหลายคนได้รับโอกาสเช่นนี้จากตระกูลเมดิชี เป็นหนังสือที่มาเคียเวลลีเร่งเขียนเพราะต้องการจะไปนำเสนอให้กับกุยลิโน่ เดอเมดิชี แต่กษัตริย์องค์นี้ถึงแก่กรรมเสียก่อน กว่าที่โลเรนโซ่ เดอ เมดิชี กษัตริย์องค์ใหม่ซึ่งเขาอุทิศให้จะได้อ่านงานชิ้นนี้ก็ปาเข้าไป ค.ศ.1516 หนังสือเล่มนี้มาเคียเวลลีต้องการเสนอแนะวิธีในการปกครองนครของกษัตริย์ ซึ่งทำให้เขานั้นกลายเป็นบิดาแห่งบิดารัฐศาสตร์ยุคใหม่ โดยในเนื้อหาของหนังสือ The Prince มาเคียเวลลีได้เสนอแนวคิดของเขาไว้ดังนี้

ธรรมชาติของมนุษย์

เขามองว่า โดยธรรมชาติของมนุษย์เป็นสัตว์เห็นแก่ตัว ก้าวร้าว แสวงหา และพยายามที่จะหลีกเลี่ยงอันตรายต่างๆ แต่การแสวงหากำไรนั้น จึงทำให้ชีวิตมนุษย์ต้องดิ้นรน และแข่งขันอยู่เสมอ นอกจากนี้มาเคียเวลลียังมองว่า มนุษย์เป็นผู้ที่โง่เขลาปล่อยให้จิตตกอยู่ภายใต้การครอบงำของกิเลสตัณหา บางครั้งมนุษย์ยินยอมที่จะมอบตัวเองให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้ที่แข็งแรงกว่าอย่างไม่รู้ตัว
รัฐชาติ

เขามองว่ารัฐชาติมิได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือตามที่พระเจ้าบันดาลแต่มีรากฐานการเกิดรัฐมาจาก การอ่อนแอ ไร้ประสิทธิภาพของคนส่วนมากที่ไม่สามารถรักษาความปลอดภัยให้ตนเองได้จึงเกิดรัฐชาติ รัฐมิได้ถูกสถาปนาขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมายที่จะจัดตั้งศีลธรรมหรือบังคับใช้กฎศีลธรรมและกฎหมายธรรมชาติ แต่เป็นสิ่ง ที่ได้รับการพัฒนาภายหลังจากที่คนมีปฏิกิริยาร่วมกันในการต่อต้านโค่นล้มผู้ใช้อำนาจ

ศิลปะการปกครอง

เขาเสนอไว้ว่าผู้ปกครองหรือกษัตริย์จะได้อำนาจมา 2 ช่องทางคือ
1.ได้มาจากการสืบสันติวงศ์ หรือรับอำนาจผ่านทางสายเลือด
2.ได้มาจากการปราบดาภิเษก หรือได้มาจากการเปลี่ยนแปลงโดยใช้กำลังแล้วปราบดาภิเษกตนเองขึ้นปกครอง

คุณสมบัติของผู้ปกครอง

1.มัธยัสถ์
2.เด็ดขาด
3.รอบคอบ
4.เป็นที่ยำเกรงของผู้ถูกปกครอง
5.มีคุณสมบัติของจิ้งจอกและราชสีห์ เข้าไว้ด้วยกัน

รูปแบบการปกครอง

มาเคียเวลลีสนับสนันรูปแบบการปกครองแบบ ราชาธิปไตย ( Absolute Monarchy ) โดยเขาให้เหตุผลว่า การปกครองโดยคนๆเดียวมีอำนาจเด็ดขาดสูงสุดเป็นระบบการปกครองที่ดีที่สุดในทัศนะของเขา
มาเคียเวลลี่เตือนผู้ปกครองไว้ว่า

ผู้ปกครองต้องระลึกอยู่เสมอว่าความมั่นคงขึ้นอยู่กับประชาชนมากกว่าข้าราชการ  สิ่งที่ประชาชนต้องการคือ อิสรภาพจากการกดขี่  ผิดกับขุนนางที่มุ่งแต่จะแย่งอำนาจกับผู้ปกครองอยู่เสมอ ดังนั้นหากต้องการครองอำนาจให้มั่นคงต้องแสวงหาการสนับสนุนจากประชาชน ไม่ใช่ร่วมมือกันกับขุนนางกดขี่ประชาชน

อ้างอิง

นิคโคโล มาเคียเวลลีคือใคร. (2555). สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2557 จาก http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=temu&month=08-2012&date=26&group=10&gblog=33

อนุพงศ์. (2554). ปรัชญาการเมือง ( Political  Philosophy). สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2557 จาก http://wwwanupong.blogspot.com/2011/11/political-philosophy.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น