การปฏิวัติเกษตรกรรม

โดย ศุภนิดา วัฒนานนท์

พัฒนาการของยุโรปสมัยใหม่นั้นได้มีการพัฒนาด้านต่างๆไปหลายด้านด้วยกัน เนื่องจากมีวิทยาการใหม่เข้ามา จึงก่อให้เกิดการปฏิวัติทั้งทางด้านอุตสาหกรรม ด้านวิทยาศาสตร์ รวมถึงด้านเกษตรกรรมด้วย  ประเทศแรกที่มีการปฏิวัติเกษตรกรรม คือ ประเทศอังกฤษ

อ่านเพิ่มเติม »

เส้นทางสายไหม (Silk Road)

โดย รัฏฐาธิปัตย์ ปุ้ยธนาวัฒน์

เส้นทางสายไหมเป็นเส้นทางที่ใช้ในการติดต่อในด้านเศรษฐกิจจากเอเชียไปยังยุโรปรวมทั้งเป็นเส้นทางที่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไปในตัวที่เริ่มต้นจากจีนไปสู่ตะวันตก

อ่านเพิ่มเติม »

อ็อพ อาร์ต (Op Art) หรือ ศิลปะลวงตา

โดย รัฏฐาธิปัตย์ ปุ้ยธนาวัฒน์

จิตรกรรมแบบ อ็อพ อาร์ต (Op Art) เริ่มต้นตั้งแต่ ค.ศ. 1960 เป็นศิลปะลวงตาเป็นวิธีการเขียนที่คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างความลวงตาและพื้นผิวของภาพ ระหว่างความเข้าใจและการมองเห็น

อ่านเพิ่มเติม »

ฌอง ฌาค รุสโซ (Jean Jacques Rousseau)

โดย อติคุณ มูลป้อม

ถ้าจะพูดถึง ฌอง ฌาค รุสโซ นั้นหลายคนได้ยินชื่อนี้คงคุ้นหูเป็นอย่างดีว่าเป็นผู้คิดค้นทฤษฎีอำนาจอธิปไตยชื่อดัง แต่ชีวิตของรุสโซนั้นไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ โดยรุสโซนั้นเป็นชาวฝรั่งเศสแต่ได้เกิดและไปเติบโตที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสแลนด์ เพราะพ่อของรุสโซอพยพมาทำงานซ่อมนาฬิกา รุสโซได้ฝึกหัดอ่านหนังสือและเรียนรู้ด้วยตนเองมาโดยตลอด  และรุสโซได้ร่อนเร่หาทำงานเพื่อให้มีรายได้พอประทังชีวิตตั้งแต่ลูกจ้างของนักกฎหมายไปจนถึงลูกจ้างของช่างแกะสลักกับได้ท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆในสวิสแลนด์ จนในที่สุดรุสโซก็ได้ทำงานในตำแหน่งเลขานุการของท่านอัครราชทูตฝร่งเศสประจำเวนิช

อ่านเพิ่มเติม »

กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei)

โดย สุธากรณ์ สิโนรักษ์

หากจะกล่าวถึงนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นคนประดิษฐ์กล้องโทรทัศน์ทุกคนคงรู้ว่าเขาคนนั้นคือ กาลิเลโอ กาลิเลอี   และเขายังมีผลงานอีกมากมายที่เขาเป็นคนคิดค้นและค้นพบ เช่น "กฎแห่งการแกว่งของลูกตุ้ม" และ "กฎการตกของวัตถุ"

อ่านเพิ่มเติม »

เจมส์ วัตต์ (James Watt)

โดย พชร สุภศักดิพัฒน์

ถ้าถามถึงบุคคลสำคัญในยุคสมัยใหม่ จะขาดท่านผู้นี้ไปไม่ได้ ท่านคือ บุคคลที่คิดค้น ผู้ปรับปรุงเครื่องจักรไอน้ำ จนนำสหราชอาณาจักรไปสู่ยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรมกระผมขอเล่าประวัติท่านคร่าวๆ ดังนี้

เจมส์ วัตต์ เกิดใน กรีนนอค (Greenock) เมืองท่าของ อ่าวไคลด์ (Firth of Clyde) พ่อชื่อ โทมัส วัตต์ เป็นช่างไม้และช่างต่อเรือผู้เป็นเจ้าของเรือและรับเหมางานช่าง มารดาเป็นผู้มีการศึกษาจากตระกูลผู้ดี ทั้งคู่เป็นคริสเตียนที่เคร่งครัด แต่ฐานะทางครอบครัวค่อนข้างยากจน เขาจึงต้องเรียนแบบโฮมสคูลโดยมีมารดาเป็นผู้สอน เขาถนัดคณิตศาสตร์ และสนใจเทววิทยาของสกอตแลนด์ แต่อ่อนวิชาภาษาละตินและภาษากรีกโบราณ แต่เขาก็ได้รับพื้นฐานงานช่างจากการช่วยงานของบิดา

ท่านเป็นวิศวกรและนักประดิษฐ์ ชาวสกอตแลนด์ ผู้ปรับปรุงเครื่องจักรไอน้ำ จนนำสหราชอาณาจักรไปสู่ยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตและการต่อเรือ และทำให้สหราชอาณาจักรเป็นเจ้าอาณานิคมในเวลาต่อมา เครื่องจักรของวัตต์เป็นต้นแบบของเครื่องจักรที่ใช้น้ำมันในปัจจุบัน เขาเป็นผู้บัญญัติศัพท์ แรงม้า เป็นวิธีคำนวณประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร และชื่อของเขาได้รับไปตั้งเป็น หน่วยกำลังไฟฟ้า ในระบบหน่วยเอสไอ

ในด้านผลงาน หลังจากที่ เจมส์ วัตต์ เปิดร้าน 4 ปี วัตต์เริ่มทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรไอน้ำด้วยการแนะนำของเพื่อนของวัตต์เองคือศาสตราจารย์จอห์น โรบินสัน (John Robison) ขณะนั้นเขายังไม่เคยรู้จักกลไกเครื่องจักรไอน้ำเลย แต่ก็มีความสนใจมาก และได้พยายามลองสร้างจากเครื่องจักรต้นแบบ ซึ่งผลไม่น่าพอใช้ แต่ก็ยังมุทำงานต่อไปและเริ่มศึกษาทุกอย่างที่เกี่ยวข้องเท่าที่จะทำได้ และก็ได้ค้นพบด้วยตนเองเกี่ยวกับ นัยสัมพันธ์ของ ความร้อนแฝง (latent heat) ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเครื่องจักร

ตลอดกว่า6 ปีต่อมาเจมส์ วัตต์ ปรับปรุงและประยุกต์สิ่งประดิษฐ์ที่ใช้กับเครื่องจักรไอน้ำและอุปกรณ์เสริมอีกจำนวนหนึ่ง เช่น

1.) เครื่องจักรสองทาง (double acting engine) ที่ไอน้ำเข้ากระบอกสูบสองข้างในเครื่องเดียว
2.) ลิ้นควบคุมพลังงานไอน้ำ
3.)อุปกรณ์ควบคุมฝีจักรเหวี่ยงจากศูนย์กลาง (centrifugal governor) ที่ป้องกันไม่ให้มันหลุดออกจากกัน ซึ่งสำคัญมากฯลฯ

วัตต์เป็นนักประดิษฐ์ที่กระตือรือร้น พร้อมกับจินตนาการเปี่ยมล้นซึ่งนำทางให้สำเร็จ เพราะเขาสามารถพบการปรับปรุงที่มากกว่าหนึ่งเสมอ เขาทำงานด้วยมืออย่างคล่องแคล่ว และยังสามารถใช้เครื่องวัดทางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบเพื่อตรวจผลการสร้างและปรับปรุงของเขา และเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงกลไกที่กำลังทำงานด้วยอยู่ วัตต์เป็นสุภาพบุรุษที่ได้รับการนับถือจากผู้มีชื่อเสียงท่านอื่นในวงการปฏิวัติอุตสาหกรรม

มาที่ส่วนสุดท้าย คือการใช้ชีวิตในบั่นปลายของ “เจมส์ วัตต์”วัตต์เกษียณตัวเองเมื่อ พ.ศ. 2343 (1800) ปีเดียวกับที่สิทธิบัตรของเขาและทะเบียนห้างหุ้นส่วนที่ร่วมกับโบลตันหมดอายุ เขาโอนหุ้นของห้างหุ้นส่วนให้บุตร

อ้างอิง

Wikipedia.เจมส์ วัตต์. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2557, จาก http://th.wikipedia.org/wiki/เจมส์_วัตต์

wigittra.นักวิทยาศาสตร์ของโลก.เจมส์ วัตต์. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2557, จาก http://wigittra.blogspot.com/p/blog-page_28.html

อ่านเพิ่มเติม »

อารยธรรมมายา (Maya)

โดย ณัฐรณ ชาวบ้านตาด

ทุกทวีปบนโลกล้วนเป็นต้นกำเนิดของแหล่งอารยธรรมอารยธรรมเหล่านี้ล้วนมีแหล่งที่มา แตกต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ สิ่งที่เป็นมรดกตกทอกมาจนถึงปัจจุบัน และหากจะกล่าวถึงอารยธรรมแห่งหนึ่งในทวีปอเมริกากลาง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ วัฒนธรรม  ความรู้ ความเชื่อ และ ความเป็นปริศนา คงจะไม่พ้น อารยธรรมมายาเป็นแน่นอน

อ่านเพิ่มเติม »

ศิลปะแบบโฟวิสม์ (Fauvism)

โดย วัชรากร คำสระคู          

คำว่า “โฟวิสม์” (Fauvism) เป็นภาษาฝรั่งเศส แปลว่า “สัตว์ป่า”  ลักษณะงานศิลปะแบบโฟวิสม์นี้ สร้างงานจิตรกรรมแนวใหม่  ใช้รูปทรงอิสระ  ใช้สีสดใสตัดกันอย่างรุนแรง  เน้นการสร้างงานตามสัญชาตญาณแห่งการแสดงออกอย่างเต็มที่  ผลงานที่เกิดขึ้นจะแสดงให้เห็นถึงความสนุกสนาน  อันเกิดจากลีลาของรอยแปรงและจังหวะของสิ่งต่าง ๆ   นอกจากนี้ จะนำลีลาของเส้นมาใช้ใหม่ เช่น การตัดเส้นรอบนอกของสิ่งต่าง ๆ เพื่อสร้างความโดดเด่น

อ่านเพิ่มเติม »

อาวุธที่ใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1

โดย อนุกูล ชำนาญสิงห์

ถ้าจะกล่าวถึงอาวุธในสงครามโลกครั้งที่ 1 ก็ต้องย้อนไปถึงการเกิดสงครามตั้งแต่อดีตมาจนถึงในปัจจุบัน ซึ่งได้มีการพัฒนาอาวุธให้มีความก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ให้มีความรุนแรง และสร้างความเสียหายให้กับฝ่ายศัตรูได้เป็นอย่างมาก

อ่านเพิ่มเติม »

ศิลปะบารอก (Baroque)

โดย ชฎารัตน์ อุ่นอบ

งานศิลปะนั้น ได้มีการเริ่มสร้างกันมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งในแต่ละยุคสมัย ล้วนแต่มีศิลปะแบบต่างๆเกิดขึ้นตามยุคและสมัยนั้น อย่างในช่วงประวัติศาสตร์ยุโรปสมัยใหม่ ก็ได้มีการเกิดศิลปะบารอกขึ้นมา

อ่านเพิ่มเติม »

การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)

โดย วชิรวิทย์ งานไว

ในการปฏิวัติอุตสาหกรรมนั้น สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงพัฒนา ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นสมัยของการสำรวจ ค้นพบโลกใหม่และสมัยของการขยายตัวทางการค้า ทำให้เกิดความต้องการที่จะเพิ่มปริมาณสินค้าเพื่อส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์โลก ซึ่งส่งผลกระทบในชีวิตประจำวันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

อ่านเพิ่มเติม »

ศิลปะป็อปอาร์ต (Pop Art)

โดย พิชชา ขาวสะอาด

ป๊อปอาร์ต เป็นขบวนการทางศิลปะอย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้น ณ สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ประมาณราว พ.ศ.2498 ซึ่งล้อไปกับรากฐานบริบทของสังคม ศิลปินกลุ่มนี้มีความเชื่อที่ว่าศิลปะจะต้องสร้างความตื่นเต้นอย่างฉับพลันให้แก่ผู้พบเห็น ซึ่งนับว่าเป็นผลจากการต่อยอดของการเปลี่ยนแปลงทิศทางศิลปะมาตั้งแต่ แนวศิลปะแบบเรียลลิสม์ (Realism) ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 25 ซึ่งจะเห็นได้ว่าเนื้อหาของศิลปะแนวป๊อปอาร์ตนั้นไม่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ ศาสนา หรือ เทพนิยาย เหมือนกับยุคก่อน

อ่านเพิ่มเติม »

ปอลโกแก็ง (Guaguin)

โดย ปุญญิศา กาญจนศร

เออแฌนอ็องรี ปอลโกแก็ง เป็นจิตรกรสมัยอิมเพรสชันนิสม์ (Impressionism)สมัยหลังชาวฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพเขียนสีน้ำมัน

อ่านเพิ่มเติม »

กรุงคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople)

โดย ชยพล แพงศรี

กรุงคอนสแตนติโนเปิลนั้นมีชื่อมาจาก "คอนแสตนติน" ซึ่งเป็นชื่อของจักรพรรดิผู้ที่ก่อตั้งเมืองแห่งนี้ขึ้น กรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวงอาณาจักรโรมันตะวันออก เดิมเป็นพื้นที่ร้างอันกว้างใหญ่และเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการตั้งเมืองหลวงโดยมีพื้นที่อยู่กึ่งกลางระหว่างยุโรปและเอเชีย เพื่อเป็นศูนย์กลางในการปกครองโรมันตะวันออกทั้งด้านการค้าทางบกและทางทะเล นับเป็นอีกเมืองหนึ่งซึ่งมีความมั่งคั่งมากที่สุดในยุคนั้น ปัจจุบันคือเมืองอิสตันบูลอยู่ในประเทศตุรกี

อ่านเพิ่มเติม »

การปฏิวัติอเมริกา ค.ศ.1776

โดย ชยพล แพงศรี

ประเทศสหรัฐอเมริกาเดิมเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษ ซึ่งประเทศอาณานิคมนั้นตามปกติแล้วจะต้องจ่ายภาษีต่างๆ ให้แก่ประเทศอังกฤษ ซึ่งชนวนของการปฏิวัตินั้นเกิดจากการที่ประเทศอังกฤษเรียกเก็บภาษีจากประชาชนชาวอาณานิคมมากเสียจนประชาชนทนไม่ได้ ทำให้เกิดความไม่พอใจจนเกิดการปฏิวัติ

อ่านเพิ่มเติม »

ศิลปะซูพรีมาตีสม์ (Suprematism)

โดย รัชนีกร เวียงวิเศษ        

ยุคสมัยต่างๆนั้นมีการเปลี่ยนหลายอย่างและหลายด้าน โดยเฉพาะยุคสมัยอารยธรรมยุคกลางนั้นมีการพัฒนาการและสร้างสรรค์ผลงานทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมออกมามากมายและหลายรูปแบบ และศิลปะซูพรีมาตีสม์ (Suprematism) นั้นก็เป็นหนึ่งในการพัฒนาและสร้างสรรค์ของผู้คนในยุคนั้นด้วย

อ่านเพิ่มเติม »

มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ หรือ มหาวิหารนักบุญเปโตร (Basilica di San Pietro)

โดย สุพิรญาณ์ พสิษฐ์ธุวานนท์

นครรัฐวาติกัน ตั้งอยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี เป็นรัฐอิสระ มีประชากรประมาณ 900 คน และมีพื้นที่เพียง 0.44 ตารางกิโลเมตร แต่กลับเป็นที่ตั้งของหนึ่งในสถานที่สำคัญที่สุดของโลก มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ หรือ มหาวิหารนักบุญเปโตร (Basilica di San Pietro) ในภาษาอิตาลี

อ่านเพิ่มเติม »

โมนาลิซา (Monalisa)

โดย ภัทรธร ฉันทวรภาพ

ถ้าจะกล่าวถึงภาพวาดบนโลกใบนี้นั้นมีอยู่มากมาย แต่ภาพไหนจะมีคุณค่านั้นต้องมีองค์ประกอบที่เหมาะสมสะท้อนอารมณ์ของศิลปินได้เป็นอย่างดีว่าขณะนั้น เขาได้คิดอะไรอยู่ จึงวาดภาพนี้ขึ้นมา มีจุดประสงค์เพื่ออะไร ต้องการที่จะสื่อให้ผู้สนใจได้แง่คิดอะไรในภาพวาดที่ตนได้ถ่ายทอดออกมา

อ่านเพิ่มเติม »

ศิลปะเซอร์เรียลลีสม์ (Surrealism)

โดย จารุวัฒน์ จันทะวงศ์

ศิลปะเซอร์เรียลลิสม์ เป็นรูปแบบศิลปะที่ไม่มีกฎเกณฑ์ไม่มีหลักเหตุผลไม่มีการจำกัดรูปแบบ มาจากความฝัน จิตสำนึก สามารถสื่อความรู้สึกได้อย่างแท้จริงต่อความรู้สึกของมนุษย์ โดยเกิดขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อเตือนให้รู้สำนึกถึงผลของสงคราม

อ่านเพิ่มเติม »

สงครามเย็น (Cold War)

โดย สุภารัตน์ ราชวัง

สงครามเย็นเป็นสงครามทางด้านอุดมการณ์หรือแนวคิดทางการเมืองที่แตกต่างกันระหว่างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและการปกครองรูปแบบคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีประเทศที่เป็นมหาอำนาจของแต่ละฝ่าย ได้แก่ สหภาพโซเวียตหรือรัสเซียในปัจจุบัน (คอมมิวนิสต์) และสหรัฐอเมริกา (ฝ่ายประชาธิปไตยหรือฝ่ายเสรี)

อ่านเพิ่มเติม »

โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart)

โดย  ทวีโชค พรมขันตี

โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart) นักประพันธ์ดนตรีคลาสสิกชาวออสเตรียที่มีชื่อเสียงก้องโลก มีงานประพันธ์เพลงกว่า 700 ชิ้นรวมทั้งโอเปร่าที่มีชื่อ เช่น ดอน โจวานนี (Don Giovanni) และ ขลุ่ยวิเศษ (Die Zauberflöte)

อ่านเพิ่มเติม »

จอห์น ล็อค (John Lock)

โดย อานุภาพ ขาวกุญชร

ในยุคคริสต์ศตวรรษที่  17 ได้มีชายผู้หนึ่งที่มีแนวคิด ว่า  "ผู้ปกครองที่ได้รับการยอมรับจากผู้ใต้ปกครอง" และสิทธิธรรมชาติของมนุษย์ ประกอบไปด้วย ชีวิต เสรีภาพ และทรัพย์สิน  ซึ่งแนวคิดนี้ เป็นของบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ คือ จอห์น ล็อค  ล็อค เกิดเมื่อ วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2175

อ่านเพิ่มเติม »

ศิลปะแบบดาด้า (Dada)

โดย มุกมณี  มุตต๊ะ

หากกล่าวถึงศิลปะที่เหมาะกับผู้ที่ชอบอะไรแปลกๆ สะท้อนความคิดในด้านใหม่ๆ ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่สะท้อนความเลวร้ายในสังคม แต่ในบางมุมมองก็อาจทำให้เรายอมรับในโลกแห่งความเป็นจริงมากขึ้น เพราะในบางครั้งโลกแห่งความเป็นจริงก็หาได้สวยงามเหมือนโลกแห่งเทพนิยายหรือโลกแห่งศิลปะทั่วๆไปศิลปะแห่งความแปลกประหลาด ความแดกดัน ประชดประชันสังคมคือ ศิลปะแบบดาด้า(dada) ศิลปะแบบดาด้าเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1912 ซึ่งมีการก่อตั้งขึ้นอย่างเต็มรูปแบบที่เมืองชูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปี 1916 แล้วแพร่ไปยังนิวยอร์ค บาร์เซโลน่า เบอร์ลิน โคโลจน์และปารีส

อ่านเพิ่มเติม »

ผลงานการออกแบบของเลโอนาร์โด ดาวินซี

โดย ชนกนันท์  คงพิรุณ

กล่าวถึงยุคเรอเนซองส์สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นสิ่งแรกในยุคนี้ก็คือความก้าวหน้าทางวิทยากรด้านต่างๆซึ่งมีความโดดเด่นและขึ้นชื่ออย่างมาก โดยยุคนี้นำไปสู่การแนวทางการพัฒนาของโลกปัจจุบันอย่างยิ่ง อาทิเช่น ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม »

เฟอร์ดินันด์ แมกเจลแลน (Ferdinand Magellan)

โดย ณัฐภัทร ไชยชาติ

ถ้าไม่เกิดการค้นหาคงไม่มีการค้นพบ คำพูดนี้อาจจะใช้กล่าวแทนตัวของนักเดินทางที่ชื่อว่า เฟอร์ดินันท์ แมกเจลแลน ได้เป็นอย่างดี การเดินทางของเขาทำให้เราค้นพบโลกใหม่ พบสิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจให้แก่นักสำรวจในยุดต่อๆมา การค้นพบของเขาทำให้มีสิ่งที่เราต้องศึกษาดังต่อไปนี้

อ่านเพิ่มเติม »

ปาโบล รุยซ์ ปิกัสโซ ( Pablo Ruiz Picasso)

โดย รณยุทธ โสภณ

ถ้าหากจะกล่าวถึงผลงานทางด้านศิลปะในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ศิลปินที่โดนเด่นและมีชื่อเสียงอีกคนหนึ่งก็คือปาโบล รุยซ์ ปิกัสโซ ( Pablo Ruiz Picasso) ซึ่งนับได้ว่าเป็นจิตกรเอกของโลกอีกคนหนึ่ง มีผลงานเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของตนเอง

อ่านเพิ่มเติม »

วินเซนต์ แวน โก๊ะ (Vincent Willem van Gogh)

โดย กฤษวัชร์ เจริญกิจสุพัฒน์

ทุกยุคทุกสมัยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันสิ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของยุตนั้นๆ อย่างหนึ่งล่ะที่แน่นอนนั้นคือ ศิลปะ และในตอนนี้ผมจะพาไปรู้จักกับศิลปินในยุคสมัยใหม่ที่ได้รับการกล่าวถึงว่ามีผลงานอันทรงคุณค่าที่ได้รับการยกย่องจนถึงปัจจุบัน บุคคลที่พวกเรารู้จักเขาดีในชื่อ วินเซนต์ แวน โก๊ะ หรือ ฟินเซนต์ ฟาน ก็อกฮ์ (Vincent Willem van Gogh)

อ่านเพิ่มเติม »

ศิลปะนามธรรม (Abstract Art)

โดย ณัฐภัทร สุขวิสูตร

ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาไปจนถึงช่วงยุคกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ศิลปะตะวันตกรับเอาทัศนคติและอิทธิพลของการสร้างงานศิลปะให้มีลักษณะการทำให้งานดูสมจริงมากที่สุด แต่ในที่สุดยุคฟื้นฟูก็สิ้นสุดลงเพราะการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของ วิทยาศาสตร์ ปรัชญา ตลอดจนการค้นพบดินแดนใหม่ๆ มนุษย์ได้รับการศึกษาและมีเสรีภาพมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงออย่างรวดเร็วนี้นำไปสู่การสร้างสรรค์งานศิลปะรูปแบบใหม่ๆ จำนวนมาก หนึ่งในนั้นก็คือ ศิลปะนามธรรม (Abstract art)

อ่านเพิ่มเติม »

วัชกู ดา กามา (Vasco da Gama)

โดย สหรัฐ คุ้มภัย

วัชกู ดา กามานั้นเป็นนักเดินเรือชาวโปรตุเกสที่มีชื่อเสียงบุคคลหนึ่ง ซึ่งเขานั้นก็สามารถนำเรือและลูกเรือจำนวนหนึ่งของเขาไปผ่านแหลมกู้ดโฮปได้และเป็นเรือลำแรกที่พาชาวตะวันตกไปพบกับชาวตะวันออกได้ซึ่งสาเหตุที่เข้าต้องล่องเรือผ่านแหลมกู้ดโฮปคือ

อ่านเพิ่มเติม »

ซัลวาดอร์ ดาลี (Salvador Dali)

โดย ปนิสา แย้มพราย

ในช่วงยุคต้นของสมัยใหม่ได้มีการสร้างสรรค์งานด้านศิลปะต่างๆมากมาย โดยมีแนวความคิดมากจากการที่ฝรั่งเศสต่อต้านระบอบศักดินา การแบ่งชนชั้น และมีการนำศิลปะแบบกรีกโรมันดั้งเดิมผสานแนวคิดสมัยใหม่ เป็นผลงานศิลปะล้ำค่าตามแนวคิดของศิลปินที่แตกต่างกันออกไป

อ่านเพิ่มเติม »

ชาลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin)

โดย ปริญญ์ ซอศรีสาคร

“สมัยใหม่” เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา สภาพสังคมยุโรปมีความเปลี่ยนแปลงไปมากเนื่องจากความต้องการแสวงหาความรู้และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน ส่งผลให้ในยุคนี้มีความพัฒนาไปในทุกๆด้าน ทั้งในด้านปรัชญา ความคิด สิ่งประดิษฐ์วิทยาการต่างๆ รวมถึงด้านวิทยาศาสตร์ ในที่นี้จึงจะกล่าวถึงนักธรรมชาติวิทยาคนสำคัญคนหนึ่งผู้เปลี่ยนแนวความคิดดั้งเดิมของสิ่งมีชีวิตและเสนอทฤษฎีวิวัฒนาการจนเป็นหลักในการศึกษาวิทยาศาสร์ด้านชีววิทยามาจนถึงปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติม »

เลโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo da Vinci)

โดย เบญจพร โคกแปะ

ในยุคสมัยฟื้นฟูศิลปะนั้น หากกล่าวถึงอัจฉริยะบุคคลที่มีความสามารถหลากหลาย คงไม่มีใครไม่รู้จัก เลโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo da Vinci) ที่มีความสามารถทั้งด้านสถาปนิกแบบเรอเนซองส์ นักดนตรี นักกายวิภาค นักประดิษฐ์ วิศวกร ประติมากร นักเรขาคณิต นักวาดภาพ ซึ่งความสามารถที่เก่งรอบดด้านของเขานั้นสามารถเป็นประโยชน์ต่อหลายๆศาสตร์ มีผลต่อวิวัฒน์การของแต่ศาสตร์จนถึงปัจจุบัน นับเป็นบุคคลสำคัญของโลก

อ่านเพิ่มเติม »

ทฤษฎีมนุษยนิยม ( Humanism)

โดย สุนิศรา ภาคสุข

ในสมัยกลางมนุษย์ในยุคนั้นมีความเชื่อและใช้ชีวิตที่ยึดติดในตัวของศาสนามาก  จนบางครั้งก็กลายเป็นความเชื่อที่งมงาย ทำให้มองเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเองในแง่ร้ายจนเกินไป  แต่หลังจากนั้นความเชื่อเหล่านั้นก็เปลี่ยนไป เมื่อเข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)  มนุษย์ในยุคนี้ได้เปลี่ยนมุมมองความคิดใหม่ จากการที่เคยมองโลกในแง่ร้ายมาสู่การมองโลกในแง่ดี และมีความเชื่อว่ามนุษย์มีความสามารถ และคุณค่าในตัวเอง จึงยกย่องเชิดชูความสามารถเหล่านั้นของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นที่มาของลัทธิใหม่ที่เรียกว่า มนุษยนิยม (Humanism)

อ่านเพิ่มเติม »