ทฤษฎีมนุษยนิยม ( Humanism)

โดย สุนิศรา ภาคสุข

ในสมัยกลางมนุษย์ในยุคนั้นมีความเชื่อและใช้ชีวิตที่ยึดติดในตัวของศาสนามาก  จนบางครั้งก็กลายเป็นความเชื่อที่งมงาย ทำให้มองเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเองในแง่ร้ายจนเกินไป  แต่หลังจากนั้นความเชื่อเหล่านั้นก็เปลี่ยนไป เมื่อเข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)  มนุษย์ในยุคนี้ได้เปลี่ยนมุมมองความคิดใหม่ จากการที่เคยมองโลกในแง่ร้ายมาสู่การมองโลกในแง่ดี และมีความเชื่อว่ามนุษย์มีความสามารถ และคุณค่าในตัวเอง จึงยกย่องเชิดชูความสามารถเหล่านั้นของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นที่มาของลัทธิใหม่ที่เรียกว่า มนุษยนิยม (Humanism)

ทฤษฎีมนุษย์นิยม (Humanism) มีวิวัฒนาการมาจากทฤษฎีกลุ่มที่เน้นการพัฒนาตามธรรมชาติ แต่จะมีความเป็นวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น คือเป็นกระบวนการมากยิ่งขึ้นและที่สำคัญเป็นทฤษฎีที่เชื่อมั่นในตัวของมนุษย์ซึ่ง (Humanism) นักคิดกลุ่มมนุษยนิยม ให้ความสำคัญของการเป็นมนุษย์ และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า มีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน หากบุคคลได้รับอิสรภาพและเสรีภาพที่เพียงพอ มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทฤษฏีและแนวคิดที่สำคัญๆ ในกลุ่มนี้มี 2 ทฤษฏีและ 5 แนวคิดที่เกี่ยวข้อง ดังนี้  คือ

- ทฤษฎีการเรียนรู้มาสโลว์ (Maslow) ได้พัฒนาแนวคิดทฤษฎีมนุษย์นิยมจากความเชื่อที่ว่า มนุษย์ไม่ได้ต้องการเรียนรู้เนื่องมาจากสิ่งเร้าภายนอก หรือไม่ได้ต้องการเรียนรู้เนื่องมาจากสัญชาติญาณของจิตไร้สำนึก แต่มนุษย์ต้องการที่เรียนรู้เพื่อก้าวไปสู่การเป็นคนที่สมบูรณ์ (Fully Functioning Person) ซึ่ง Maslow ใช้คำว่า Self-actualizing Person

หลักการหรือความเชื่อของทฤษฎี คือ

1. มนุษย์มีธรรมชาติแห่งความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้
2. มนุษย์มีสิทธิในการต่อต้านหรือไม่พอใจในผลที่เกิดขึ้นจากสิ่งต่างๆ แม้สิ่งนั้นจะได้รับการยอมรับว่าจริง
3. การเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดของมนุษย์คือการที่มนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด หรือมโนทัศน์ของตนเองแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์ (Combs) เชื่อว่าความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก  เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน

- ทฤษฎีการเรียนรู้รอเจอร์ (Rogers) ได้พัฒนาแนวคิดแห่งการเรียนรู้ตามทฤษฎีมนุษย์นิยมว่ามนุษย์จะเรียนได้ดีในบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมที่สบาย (Comfortable) ไม่มีการคุกคาม (Threatened) จากองค์ประกอบภายนอก

หลักการหรือความเชื่อของทฤษฎี คือ

1. มนุษย์มีธรรมชาติแห่งความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้
2. มนุษย์มีสิทธิในการต่อต้านหรือไม่พอใจในผลที่เกิดขึ้นจากสิ่งต่างๆ แม้สิ่งนั้นจะได้รับการยอมรับว่าจริง
3. การเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดของมนุษย์คือการที่มนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด หรือมโนทัศน์ของตนเอง

- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์ (Combs) เชื่อว่าความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก  เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน

- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้โนลส์ (Knowles) เชื่อว่าผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ มีอิสระที่จะเรียนและได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาด้วยตนเอง

- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้แฟร์ (Faire) เชื่อว่าผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า ผู้เรียนมีศักยภาพและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง

- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอิลลิช(Illich)  เชื่อว่าสังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมที่ต้องล้มเลิกระบบโรงเรียน  การศึกษาควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิตแบบเป็นไปตามธรรมชาติ  โดยให้โอกาสในการศึกษาเล่าเรียนแก่บุคคลอย่างเต็มที่

- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล (Neil)  เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี  มีความดีโดยธรรมชาติ  หากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น  บริบูรณ์ด้วยความรัก  มีอิสรภาพและเสรีภาพ  มนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดีทั้งต่อตนเองและสังคม

สรุปคือมนุษยนิยม (Humanism) เป็นการให้ความสำคัญของการเป็นมนุษย์ เชื่อมั่นในเหตุผล และสติปัญญา ความต้องการความเป็นอิสรเสรี เมื่อมนุษย์อยู่ในสภาพที่มีความอิสรเสรีในความคิด บวกกับความสามารถที่มีอยู่ในตัว มนุษย์ก็จะสามารถพัฒนาศักยภาพของตนให้ดีได้ ในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการนี้จึงเป็นยุคที่ถือว่าเป็นยุคสมัยแห่งความอัจฉริยภาพเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นยุคแห่งการเรียนรู้ของมนุษย์ เป็นยุคที่มีบุคคลที่มีความรู้ความสามารถมากมาย ได้มีการศึกษาหาความรู้อย่างกว้างขวางในหลากหลายสาขาวิชา และบุคคลที่แสดงถึงความสามารถและอัจฉริยภาพของมนุษย์อย่างแท้จริงและเป็นที่ยกย่องเชิดชูมาจนถึงปัจจุบันก็คือ Leonardo Darvinci

อ้างอิง

อารยธรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ. (2553). สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2557, จาก: http://www.baanjomyut.com/library/human_civilization/06.html

ทฤษฎีมนุษยนิยม. (2555). สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2557, จาก: http://ikquelove.blogspot.com/

ทฤษฎีมนุษย์นิยม (Humanism). (2554) สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2557, จาก http://rattanawutdpu.blogspot.com/2011/06/humanism.html


1 ความคิดเห็น: