พระเจ้าเซจงมหาราช (Sejong the Great)

โดย สุประวีณ์ ขวาธิจักร

หากจะกล่าวถึงพระมหากษัตริย์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รักของประชาชนเกาหลี หนึ่งในนั้น คือ พระเจ้าเซจงมหาราช พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์เกาหลีองค์ที่สี่แห่งราชวงศ์โชซ็อน ทรงเป็นที่รู้จักในนามผู้ประดิษฐ์อักษรเกาหลีฮันกึล อีกทั้งยังทรงเป็นหนึ่งในสองกษัตริย์แห่งเกาหลีที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นมหาราช (อีกพระองค์ คือพระเจ้ากวางแกโตมหาราชแห่งราชวงศ์โกคูรยอ)


ที่มา: https://writer.dek-d.com/

พระราชประวัติ

พระเจ้าเซจง (Sejong) เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1397 เป็นพระราชโอรสองค์ที่สามของพระเจ้าแทจงกับพระนางว็อนกย็อง เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ได้รับสถาปนาให้เป็นเจ้าชายชุงนยอง และทรงอภิเษกกับพระชายาชิม ซึ่งภายหลังได้รับสถาปนาเป็นพระนางโชฮ็อน พระเชษฐาทั้งสองเห็นว่าเจ้าชายชุงนยองมีความรู้ความสามารถ จึงคิดจะยกบัลลังก์ให้โดยการประพฤติตนเหลวแหลกในราชสำนัก ทำให้เจ้าชายทั้งสองถูกไล่ออกจากวัง หลังจากนั้นพระเจ้าแทจงก็สละราชบัลลังก์ให้แก่เจ้าชายชุงนยองได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเซจง

พระราชกรณียกิจ

พระเจ้าเซจง ได้รับการขนานนามว่าเป็น “มหาราช”  เนื่องจากความสำเร็จในการสร้างความก้าวหน้าทางวัฒนธรรมให้กับราชอาณาจักรเกาหลี โดยในรัชสมัยของพระองค์ได้มีการส่งเสริมลัทธิขงจื๊อและวัฒนธรรมจีนให้แพร่หลาย ทรงก่อตั้งชิบฮย็อนจอนเป็นสำนักปราชญ์ขงจื๊อ พระองค์มีพระราชโองการให้ปรับเปลี่ยนขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมของเกาหลีให้สอดคล้องกับลัทธิขงจื๊อ เช่น ประเพณีการแต่งงาน ประเพณีการไว้ทุกข์ ส่งผลให้ลัทธิขงจื๊อกลายเป็นบรรทัดฐานทางสังคมเกาหลีในสมัยนั้น นอกจากนี้พระองค์ยังใช้อำนาจลดบทบาทของสำนักสงฆ์ในศาสนาพุทธอย่างหนัก ลดจำนวนนิกายศาสนาพุทธจากเจ็ดสำนักเหลือแค่สองสำนัก และยังมีคำสั่งให้จำกัดจำนวนวัดและจำนวนพระสงฆ์อีกด้วย

พระเจ้าเซจงทรงได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์ที่มีความห่วงใยราษฎรเป็นอย่างมาก ทรงเล็งเห็นปัญหาของราษฎรทั่วไปที่อ่านหนังสือไม่ออกและเขียนไม่ได้ เนื่องจากประวัติศาสตร์เกาหลีอันยาวนานนั้น ชาวเกาหลีไม่มีอักษรเป็นของตนเอง ส่วนใหญ่ใช้อักษรของจีนที่เรียกว่า ฮันจา แต่ตัวอักษรจีนนั้นมีจำนวนมากและยากลำบากในการเรียนรู้ มีเพียงชนชั้นขุนนางชาย (ยังบัน) เท่านั้นที่มีสิทธิเรียนและเขียนอักษรฮันจาได้ พระเจ้าเซจงจึงทรงประกาศใช้อักษรฮันกึลขึ้นใน ค.ศ. 1446 ซึ่งเป็นอักษรที่ง่ายต่อการเรียนรู้ ผ่านทางวรรณกรรมเรื่องฮุนมินจ็องอึม เพื่อให้ราษฎรทุกชนชั้นสามารถอ่านออกเขียนได้โดยไม่จำเป็นต้องเรียนรู้อักษรจีน ในรัชสมัยของพระเจ้าเซจงขุนนางชื่อว่าชังย็องชิล ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้ประดิษฐ์มาตรวัดน้ำฝนอันแรกของโลก

นอกจากนี้พระเจ้าเซจงยังทรงเห็นถึงปัญหาของชาวนาที่ทำเกษตรกรรมแล้วไม่เกิดผลิตผล เนื่องจากความแห้งแล้งและน้ำท่วม จึงทรงให้มีการแต่งหนังสือนงซาจิกซอล ซึ่งหนังสือนี้เกี่ยวกับความรู้และประสบการณ์ในการทำเกษตรกรรมจากเกษตรกรอาวุโสทั่วราชอาณาจักร อีกทั้งยังทรงลดภาษีเพื่อให้เกษตรกรต้องลำบากและมีกินมีใช้ มีทรัพย์ในการทำเกษตรกรรมมากขึ้น

พระเจ้าเซจงเสด็จสวรรคตในปี 1450 เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและเศร้าโศกเสียพระทัยจากการสิ้นพระชนม์ของพระมเหสีโชฮ็อน พระบรมศพของทั้งคู่ถูกฝังไว้ที่พระราชสุสานยองนึง หลังจากนั้นพระเจ้ามุนจง ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์แรกของพระเจ้าเซจงมหาราช ทรงขึ้นครองราชย์ในเวลาต่อมา แต่ทรงครองราชย์ได้เพียง 2 ปีก็สวรรคต


ที่มา : http://popp1412.blogspot.com/2

จากที่กล่าวมาข้างต้นแสดงให้เห็นว่า พระเจ้าเซจงมหาราชทำคุณความดีต่อาณาจักโชซ็อนเป็นอย่างมาก รวมไปถึงประเทศเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ในปัจจุบันด้วย ทั้งในด้านปกครองและวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นการก่อตั้งสำนักปราชญ์ขงจื๊อ การประดิษฐ์อักษรฮันกึล การแต่งหนังสือเกี่ยวกับการทำเกษตรกรรม นอกจากนี้รูปของพระองค์ยังคงปรากฏอยู่ในธนบัตร 10,000 วอนของเกาหลีใต้มาจนถึงปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้ยิ่งทำให้ชาวเกาหลีภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเองมาจนถึงทุกวันนี้


อ้างอิง

จินตนา. (2556). พระเจ้าเซจงมหาราช (세종대왕,世宗大王). ค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.modernpublishing.co.th

วิกิพีเดีย. (2562). พระเจ้าเซจงมหาราช. ค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2563, จาก  https://th.wikipedia.org/wiki/

วิกิพีเดีย. (2562). ราชวงศ์โชซ็อน. ค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/

วิกิพีเดีย. (2562). Sejong The Great. ค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2563, จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Sejong_the_Great

ศิลปวัฒนธรรม. (2562). สรงน้ำ พระเจ้าเซจง. ค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.silpa-mag.com/


อ่านเพิ่มเติม »

หลาง ผิง (Lang Ping)

โดย นันธิดา กระสี

กีฬาวอลเล่ย์บอลเป็นกีฬาที่นิยมกันอย่างแพร่หลายตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน และมีหลายประเทศที่สามารถพัฒนากีฬาวอลเล่ย์บอลขึ้นมาเป็นแถวหน้าของโลกโดยเฉพาะประเทศจีน ที่สามารถขึ้นมาเป็นอับดับที่ 1 ของโลกได้  ซึ่งนอกจากทักษะของนักกีฬาแล้วก็ต้องมีความเชี่ยวชาญของโค้ชผู้ฝึกสอนในการที่จะปรับเกมหรือให้คำแนะนำสำหรับนักกีฬาในการแข่งขัน และการจัดตารางการฝึกซ้อมย่อมต้องมีโค้ชดูแลเรื่องเหล่านี้ด้วย และโค้ชวอลเล่ย์บอลคนสำคัญที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังในที่นี้คือ หลาง ผิง


ที่มา :  http://thai.cri.cn/20190227/

หลาง ผิง (Lang Ping) โค้ชวอลเล่ย์บอลหญิงทีมชาติจีน เกิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1960 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน มีเชื้อสายชาวแมนจู ส่วนสูง 1.84 เมตร น้ำหนัก 71 กก. จบการศึกษาปริญญาโท The sports management department ที่มหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโก ประเทศอเมริกา เธอเป็นอดีตนักกีฬาวอลเล่ย์บอลชาวจีน ตำแหน่ง ตัวตีด้านนอก และเป็นอดีตหัวหน้าผู้ฝึกสอนวอลเล่ย์บอลหญิงทีมชาติสหรัฐอเมริกา เธอมีฉายาที่รู้จักกันดี คือ “ค้อนเหล็ก”

อุปนิสัยของ หลาง ผิง เป็นคนที่มีนิสัยดี เป็นกันเองกับผู้อื่น เข้ากับผู้อื่นได้ง่าย เก่งในเรื่องของการวางแผน  เป็นบุคคลที่ภายนอกอาจจะดูเท่ห์ดูโหดแต่ที่จริงเธอเป็นคนอ่อนโยน และเป็นคนที่จริงจังกับการทำงานเนื่องจาก หลาง ผิง เป็นผู้ฝึกสอนวอลเล่ย์บอลทีมชาติ แต่เธอจะเป็นคนที่ไม่เครียดกับเกมการแข่งขัน จะไม่กดดันลูกทีมจะค่อยๆ ใช้ความรู้มากกว่าอารมณ์ในการควบคุมผู้อื่น ทำให้บุคคลภายนอกที่ได้อยู่ใกล้หรือได้รู้จักเธอนับถือเธอและรักเธอเป็นอย่างมาก

จุดเริ่มต้นของการเล่นกีฬา หลาง ผิง มีความสนใจในกีฬาวอลเล่ย์บอลมาตั้งแต่สมัยหลาง ผิง ยังเด็กเพราะมีคนรอบข้างของเธออย่างเช่น ครอบครัว ที่เล่นวอลเลย์บอล หลาง ผิง มีต้นแบบนักกีฬามากมายจึงเป็นแรงจูงใจให้ หลาง ผิง มีความสนใจกีฬาวอลเล่ย์บอลอย่างมาก เธอจึงมีความสนใจที่จะเล่นกีฬาวอลเล่ย์บอล หลาง ผิง เธอมีความพยายามที่จะพัฒนาฝีมือของเธออยู่เรื่อยๆ จนเธอติดทีมชาติวอลเล่ย์บอลจีน


ที่มา :  http://thai.cri.cn/20190227/

ผลงานในระดับอาชีพ หลาง ผิง เคยเป็นสมาชิกคนหนึ่งของวอลเล่ย์บอลหญิงทีมชาติจีน และได้รับรางวัลเหรียญทองเมื่อครั้งที่เป็นฝ่ายชนะทีมชาติสหรัฐอเมริกาในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนในปี 1984 ที่ลอสแอนเจลิสรัฐแคลิฟอร์เนีย รวมถึงเธอเป็นสมาชิกคนหนึ่งของทีมที่ชนะการแข่งขันชิงแชมป์โลกในปี ค.ศ.1982 ที่ประเทศเปรู รวมถึงรายการเวิลด์คัพ เมื่อ ค.ศ 1981 และ 1985

ในปี 1986 หลาง ผิง ก็ได้ถอนตัวออกจากการเป็นนักกีฬาทีมชาติจีนเพราะตัวเธอเองต้องการผันตัวไปเป็นโค้ชและก็ย้ายไปอเมริกาในเดือนเมษายน 1987 เพื่อเรียนต่อในมหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโก ประเทศอเมริกาในระหว่างที่หลางผิงเรียนปริญญาโททางด้าน The sports management department ในช่วงปี 1987-1989 หลาง ผิง ก็ได้เป็นผู้ช่วยผู้ฝึกสอนให้กับมหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโกที่ หลาง ผิง เรียนอยู่ และนี่คือช่วงเวลาที่อาจเรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นโค้ชของหลางผิงก็เป็นได้

ต่อมาในปี 1989 หลาง ผิง ก็ได้ไปเป็นโค้ชให้กับทีม Modena ในลีคอิตาลีและพาทีมคว้าแชมป์อิตาลีคัพในปีนั้นด้วย และต่อมาในปี ค.ศ.1990 หลางผิงก็ถูกเรียกตัวให้กลับไปเล่นทีมชาติจีนอีกครั้ง แล้วก็สามารถพาทีมได้เหรียญเงินแชมป์โลกในปีนั้นด้วย และหลางผิงก็ได้ลาออกจากทีมชาติจีนอีกครั้งเพื่อผันตัวไปเป็นโค้ชอย่างจริงจังในปี 1991 ก็เป็นโค้ชให้กับทีมมหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโกและก็สามารถพาทีมได้ที่ 1 ของ Eastern US Women’s Volleyball Tournament และระหว่างนั้นหลาง ผิง ก็ได้รับเชิญให้ไปเป็นโค้ช ในญี่ปุ่นและอเมริกาและได้พาทีมได้ลำดับที่ดีๆ ไม่ว่าจะเป็นที่ 1 2 3

ในปี ค.ศ.1995 หลาง ผิงได้เข้ามาเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนวอลเล่ย์บอลหญิงทีมชาติจีน หลาง ผิง สามารถนำทีมคว้าเหรียญเงินจากการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนในปี 1996 ที่แอตแลนตา รัฐจอร์เจีย และอันดับสองในรายการชิงแชมป์โลกในปี 1998 ที่ประเทศ ญี่ปุ่น

ในปี ค.ศ. 1998 หลาง ผิง ได้ลาออกจากทีมชาติจีนเนื่องจากปัญหาสุขภาพเพราะหลาง ผิง ต้องเข้าผ่าตัดหัวเข่า และต่อมา หลาง ผิง ได้ไปเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนในการแข่งขันหลีกอาชีพของประเทศอิตาลีและประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมและ หลาง ผิง ยังได้รับรางวัลผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยมแห่งปีอยู่หลายสมัย



อิทธิพลในประเทศจีน เนื่องจากบทบาทสำคัญของเธอในความสำเร็จของวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติจีนในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 หลาง ผิง ได้รับการมองว่าเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม และเป็นหนึ่งในบุคคลที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในประวัติศาสตร์กีฬาสมัยใหม่ของประเทศจีน โดยในตอนท้ายของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ค.ศ. 1976 ประเทศจีนได้เข้าร่วมแข่งขันกีฬาในระดับโลกอีกครั้ง แม้ว่าทีมปิงปองของจีนจะชนะการแข่งขันในระดับนานาชาติ ซึ่งกีฬานี้มักได้รับการพิจารณาว่าชาวจีนมีความเชี่ยวชาญ แต่ หลาง ผิง กับทีมวอลเลย์บอลหญิงของเธอก็ได้รับการจัดเป็นกีฬาประเภททีมที่ชนะการแข่งขันชิงแชมป์โลกหลายสมัย โดยการแข่งขันครั้งสุดท้ายของเธอคือกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1984 โดย หลาง ผิง ได้เป็นดาวในตำแหน่งตัวตีด้านนอกของทีม เธอมักได้รับการจดจำเป็นอย่างมาก ว่าเป็นหนึ่งในนักกีฬาแชมป์โลกสมัยแรกของวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติจีน

ในปีค.ศ. 2002 เธอได้รับเกียรติในการจารึกชื่อไว้ในวอลเล่ย์บอลฮอลล์ออฟเฟมที่ฮอลโยค รัฐแมสซาซูเซตส์เธอเป็นผู้ฝึกสอนวอลเล่ย์บอลหญิงทีมชาติสหรัฐอเมริกาและพาทีมเข้ารับรางวัลเหรียญเงินในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่ประเทศบ้านเกิดของเธอเอง ปัจจุบัน เธอทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอน ให้แก่วอลเล่ย์บอลทีมชาติหญิงจีน

ชัยชนะครั้งสำคัญ

* เวิลด์คัพ 1981 (แชมป์โลก)
* ชิงแชมป์โลก 1982 (แชมป์โลก)
* โอลิมปิกฤดูร้อน 1984 ที่ลอสแอนเจลิส (แชมป์โลก)
* เวิลด์คัพ 1985 (แชมป์โลก)
* โอลิมปิก 2016 (เหรียญทอง)

เกียรติประวัติ

* หนึ่งในสิบนักกีฬาจีนยอดเยี่ยมแห่งปี ค.ศ. 1981-1986
* ผู้ฝึกสอนวอลเล่ย์บอลยอดเยี่ยมแห่งปี สหพันธ์วอลเล่ย์บอลนานาชาติ ค.ศ. 1996
* ผู้ฝึกสอนวอลเล่ย์บอลหญิงในประเทศอิตาลียอดเยี่ยมแห่งปี ค.ศ. 1999-2000

โค้ชหลาง ผิง เป็นบุคคลที่มีความสามารถในการเล่นกีฬาอย่างมากทั้งเป็นผู้เล่นหรือเป็นคนที่คอยสนับสนุนทีม ควบคุมทีมในการแข่งขันและแก้เกมอย่างฉลาด ทั้งยังเป็นบุคคลในวงการกีฬาวอลเล่ย์บอลที่น่าเคารพนับถืออย่างมากทั้งในประเทศจีนและประเทศอื่นๆ เธอเป็นบุคคลต้นแบบที่น่ายกย่องเป็นอย่างยิ่งทั้งในการใช้ชีวิตประจำวัน และการทำงาน


อ้างอิง 

Sitemap.(2559).รู้จัก หลางผิงเท่ากับรู้จักนักกีฬา โค้ชที่ยอมเยี่ยมที่สุดคนหนึ่งของโลกวอลเล่ย์บอล. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2563 จาก : https://pantip.com/topic/35145298

Unknow. (2008). Iron Hammer still pounding. Retrieved January 07, 2020, from : http://en.people.cn/90001/90779/90867/6342656.html

Lassen, D. (2008). “U.S. women’s volleyball coach an icon back in Beijing”.Retrieved January 07, 2020, from : http://www.venturacountystar.com/

O’Halloran, R. (2008). “Lang Ping goes home”.Retrieved January 07, 2020, from : https://m.washingtontimes.com/news/2008/

Townsend, B.(2008). “Lang Ping left china for normal life”. Retrieved January 07, 2020, from : http://www.dallasnews.com/sharedcontent/

Tabuchi, H.(2008). “Return of the iron Hammer”.Retrieved January 07, 2020, from : http://blogs.wsj.com/chinajournal/2008/08/09/

Wong, E.(2008). “Ex-Chinese Star Guides U.S. to win in Volleyball”. Retrieved January 07, 2020, from : http://www.nytimes.com/2008/08/16/s

อ่านเพิ่มเติม »

เทศกาลหน้ากากไม้แห่งสคิญ๊าโน๊ะ (Carnival of Schignano)

โดย วิษราภรณ์  จตุเทน

นอกเหนือจากทะเลสาบโคโม แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของแคว้นลอมบาร์เดีย ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี คุณรู้หรือไม่ว่าท่ามกลางหุบเขาที่เขียวขจีมีหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งมีชื่อว่า สคิญ๊าโน๊ะ (Schignano) มีเทศกาลที่น่าสนใจและสื่อไปถึงวัฒนธรรมของคนในหมู่บ้านนั้นๆ ด้วยการที่คนในหมู่บ้านจะมีการเดินขบวนหน้ากากไม้ และการแสดงต่างๆ โดยชื่อของเทศกาลนี้ถูกเรียกว่า เทศกาลหน้ากากไม้แห่งสคิญ๊าโน๊ะ หรือ Carnival of Schignano


ที่มา : https://www.pinterest.com/p

สคิญ๊าโน๊ะ เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ระหว่าง บริเอนโน และ อาร์เจโญ ในจังหวัด โคโม และมีชื่อเสียงไปทั่วอิตาลีในงานคาร์นิวัลที่จัดขึ้นตามพิธีกรรมโรมัน ซึ่งตรงกับวันเสาร์และวันอังคารของสัปดาห์แรกในเดือนมีนาคม

ความพิเศษที่ทำให้เทศกาลนี้มีความน่าสนใจคือ หน้ากากไม้ (ไม้วอลนัท) ที่ทำขึ้นด้วยฝีมือของช่างท้องถิ่น ดังนั้นหน้ากากจึงดูไม่มีความทันสมัยหรือปราณีตมากนัก แต่ตัวหน้ากากกลับสะท้อนเอกลักษณ์ของตัวละครที่แตกต่างกันออกไป


ที่มา: www.carnevaledischignano.it
เทศกาลหน้ากากไม้  (Carnival of Schignano) 

เทศกาลหน้ากากไม้คือเทศกาลที่ชาวบ้านในท้องถิ่นร่วมกันจัดขบวนตัวละครสวมหน้ากากต่าง ๆ เดินผ่านถนนรอบ ๆ หมู่บ้าน เพื่อไปแสดงที่จัตุรัสกลาง โดยการแสดงจะเล่าถึงวิถีชีวิตและสถานการณ์ทั้งในอดีตและปัจจุบันของคนในหมู่บ้าน

โดยเทศกาลนี้เป็นเทศกาลพื้นบ้านที่เล่าถึงความคิดถึงและความคาดหวังของหญิงในหมู่บ้านที่มีให้ชายที่ต้องออกไปทำงานต่างเมือง และแสดงถึงความเหลื่อมล้ำของคนในหมู่บ้าน สืบเนื่องจากสถานการณ์ของทั่วไปในปัจจุบัน ในสมัยก่อนจนถึงปัจจุบันหมู่บ้านแห่งนี้เป็นหมู่บ้านที่ทำหน้ากากไม้ แต่รายได้จากการทำหน้ากากไม้ไม่พอต่อการดำรงชีวิต ซึ่งทำให้ผู้ชายในหมู่บ้านต้องออกไปทำงานนอกเมือง

และในทุกๆ ปีในช่วงของเทศกาล เหล่าผู้ชายที่ออกไปทำงานจะต่างพากันกลับบ้านแต่ทุกคนใช่ว่าจะสมหวังในเรื่องการงาน บางคนกลับมาพร้อมด้วยกระเป๋าเดินทางที่ว่างเปล่า แต่บางคนก็กลับมาพร้อมกับเสื้อผ้าที่มีความสวยงาม ร่างกายอุดมสมบูรณ์ซึ่งหมายถึงการที่ไปทำงานต่างเมืองประสบความสำเร็จ และในตัวของเทศกาลก็จะมีการเดินขบวนไปรอบหมู่บ้านและการแสดงต่างๆ

ที่เป็นจุดโดนเด่นในเทศกาลนี้คือตรงกลางจัตุรัสของหมู่บ้านจะมีการละเล่น หรือ การหยอกล้อนักท่องเที่ยวที่เข้าชมเทศกาล และภาพต่าง ๆ ที่ถ่ายทอดออกมาสื่อถึงความเหลื่อมล้ำต่างๆ ชายและหญิงแต่งตัวจะเป็นอาชีพต่างๆ เช่นชาวนา แม่ค้าพ่อค้า หลังจากการเดินขบวนของเทศกาลนี้ก็จะมีการเลี้ยงสังสรรค์กันในหมู่บ้านและในเวลา 23:30 น. จะมีการรอบกองไฟเพื่อแสดงถึงการจบลงของเทศกาล

ความเป็นเอกลักษณ์ของเทศกาลหน้ากากนั้นก็คือความแตกต่างระหว่าหน้ากากสองแบบคือ  1.หน้ากากสวยงาม ในภาษาท้องถิ่น“ i bei” ในภาษาอังกฤษ The beautiful และ 2. หน้ากากอัปลักษณ์ ในภาษาท้องถิ่น  (i“ brut”) ในภาษาอังกฤษ The ugly และสำหรับตัวผู้เล่น หรือ ผู้ที่สวมใส่หน้ากากจะรับบทเป็นตัวแทนของสองชนชั้นที่สุดคลาสสิกในสังคมทั่วไปคือ คนรวยและคนจน



หน้ากากสวยงาม 

ความสวยงามหรือที่เรียกว่า“ Mascarun” เป็นตัวละครที่น่าสนใจ ด้วยความต้องการของเทศกาลที่จะทำให้ตัวละครนี้เก่ง และแสดงถึงความมั่งคั่ง ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อเน้นถึงสถานะทางสังคมของพวกเขา พวกเขาจึงสวมสูทราคาแพงที่เย็บปักอย่างปราณีต มีลักษณะท้องที่โตเพื่อแสดงถึงความร่ำรวยมีอาหารการกินที่ดี ตกแต่งด้วยหมวกที่มีดอกไม้สีสันสดใส มีริบบิ้นที่ด้านหลัง มักจะถือร่มและพัดที่มีสีสันสดใส การมาถึงของพวกเขาจะมีเสียงเป็นตัวนำขบวนโดยการที่จะนำระฆังขนาดเล็ก 4 อันติดกับเข็มขัดด้วยเสียงที่ไพเราะและน่าฟัง


ที่มา: www.carnevaledischignano.it

หน้ากากอัปลักษณ์ 

เห็นได้ชัดว่าความน่าเกลียดตรงข้ามกับความสวยงามเสมอซึ่งตัวละครตัวนี้ก็มีความน่าสนใจและมีจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ไม่น้อยนั้นคือ คนจนจะสวมใส่เสื้อผ้าสีโทนมืดและเก่า เพื่อแสดงให้เห็นถึงความยากจนของคนในหมู่บ้าน โดยมักเป็นคนผิวดำซึ่งจะใส่หน้ากากสีดำแทนสีผิว เนื่องจากการที่ทำงานหนักท่ามกลางแสงแดด โดยหน้ากากมีลักษณะที่มีปากคดเคี้ยว ฟันที่หายไป จมูกที่บิดเบี้ยวและริ้วรอยตามใบหน้า พวกเขาจะมาพร้อมกับไม้กวาด ตะกร้าหรือกระเป๋าเดินทางใบเก่าของเหล่าผู้ชายที่ออกไปทำงานหาเงินต่างเมือง ซึ่งกลับมาพร้อมกับความว่างเปล่า


ที่มา: www.carnevaledischignano.it

เทศกาลหน้ากากพื้นบ้านนี้เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นเฉพาะในหมู่บ้านสคิญ๊าโน๊ะ ในแคว้นลอมบาร์เดีย ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี ที่แสดงถึงทักษะของคนในหมู่บ้านซึ่งมีฝีมือในการทำหน้ากากไม้ที่เป็นเอกลักษณ์ และเล่าถึงวิถีชีวิตในท้องถิ่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่มีทั้งคนจนถึงคนรวยและความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยเรื่องราวของอาชีพต่าง ๆ ที่ใช้ในการดำรงชีวิตนั้นถูกแสดงออกผ่านตัวละคร  The beautiful และ The ugly ซึ่งการออกไปทำงานต่างเมืองแต่ล่ะอาชีพย่อมได้ผลตอบแทนที่แตกต่างกัน และผู้คนเหล่านี้มักจะถูกคาดหวังจากคนที่บ้านที่เฝ้ารอการกลับมาของพวกเขาในทุก ๆ ปี


อ้างอิง

Silvia./(2019)./carnival of Schignano. Retrieved 8 January 2020, from: https://mylakecomo.co/en/local-festivals/

Patrizia Gilardony./(2019)./ RETURNS THE HISTORICAL SCHIGNANO’S CARNIVAL. Retrieved 8 January 2020, from: https://blog.hotel-posta.it/en/

Agostina Lavagnino./(2013)./ WOODEN MASK SCULPTORS OF SCHIGNANO. Retrieved 8 January 2020, from: http://www.intangiblesearch.eu/s



อ่านเพิ่มเติม »

เครื่องสำอางยุคอียิปต์โบราณ

โดย วิภาวี ภูมิคอนสาร

อียิปต์อาณาจักรโบราณที่ตั้งอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์ เกิดขึ้นราว 3,200 ปีก่อนคริสตกาล มีการปกครองโดยกษัตริย์ คือ ฟาโรห์ ซึ่งผู้คนจะให้ความเคารพนับถือดังเทพเจ้า ผู้คนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรมเพื่อเป็นอาหารหลัก และส่งออกไปขายยังดินแดนอื่น ทั้งยังเลี้ยงสัตว์ไว้เพื่อทำการเกษตรอีกด้วย ผู้คนจะมีความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้า และชีวิตหลังความตายเป็นอย่างมาก จึงเกิดการเก็บรักษาศพ ที่เรียกกันว่า มัมมี่ (Mummy) และมีสถานที่ที่ใช้ในการเก็บมัมมี่ของฟาโรห์ ที่มีความสวยงามและยิ่งใหญ่ คือ ปิรามิด (Pyramid) ซึ่งทำให้คนในปัจจุบันรู้สึกอัศจรรย์ใจกับความสามารถในการสร้างสิ่งที่มีความยิ่งใหญ่และสวยงามในยุคโบราณเป็นอย่างมาก


ราโฮเทปและโนเฟรต
ที่มา : http://www.gypzyworld.com/

อีกหนึ่งสิ่งที่มีความโดดเด่นของอียิปต์โบราณก็คือ การตกแต่งใบหน้าให้สวยงามโดยใช้เครื่องสำอาง ถือเป็นสิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะจากจิตรกรรม หรือประติมากรรม จะเห็นได้ว่าทั้งผู้หญิงและผู้ชายมีการใช้เครื่องสำอางตกแต่งใบหน้า ซึ่งการแต่งหน้าของชาวอียิปต์นั้นไม่ใช่เพราะความสวยงามเพียงเท่านั้น แต่ชาวอียิปต์เชื่อว่าจะช่วยในการป้องกันและรักษาโรคภัยต่าง ๆ ได้


ตัวอย่างดินเทศหรือดินสีแดง ที่ชาวอียิปต์ใช้เป็นเครื่องสำอาง

ลักษณะโดดเด่นในการแต่งหน้าของชาวอียิปต์โบราณคือ การทาขอบตาเป็นสีดำและสีเขียว ซึ่งจะใช้แร่มาลาไคท์ (Malachite) ที่ให้สีเขียว และใช้คาร์บอน (Carbon) และโคล (Kohl) ที่ให้สีดำ เนื่องจากมีความเชื่อว่าการทาขอบตาจะช่วยในการรักษาพลังเวทมนตร์ในการรักษาโรคภัยต่าง ๆ และการทาขอบตานั้นจะช่วยในการดักฝุ่น หรือป้องกันแสงแดดที่จะสามารถทำร้ายดวงตาได้ ชาวอียิปต์โบราณจะรองพื้นใบหน้าด้วยคาร์บอเนตของตะกั่ว (Cerussite) ที่เป็นสารสีขาวเพื่อให้ใบหน้ามีความเนียน ผ่องใส ยังใช้ดินเทศสีแดง (Red Ochre) ผสมกับน้ำ เพื่อใช้ในการทาริมฝีปาก และอาจจะใช้ทาบริเวณแก้มอีกด้วย ส่วนเล็บจะใช้สีเหลืองและสีแดงในการทา สีที่นำมาทาจะได้จากต้นเฮนนา (Henna)


ต้นเฮนนา ในภาษาไทยเรียก ต้นเทียนกิ่ง

ในการดูแลผิวพรรณ ชาวอียิปต์โบราณจะใช้น้ำมัน ไขมัน ขี้ผึ้ง ที่สกัดจากพืชและสัตว์มาใช้ทาผิว เมื่อมีการแต่งหน้าแล้ว ก็มีครีมที่ใช้ทำความสะอาดเครื่องสำอางออกจากผิวอีกด้วย โดยทำมาจากน้ำมันและปูนขาว นอกจากนั้นยังมีสิ่งที่ใช้บำรุงผิวหน้าเพื่อช่วยในการลดรอยเหี่ยวย่น คือการใช้ยางเหนียวของไม้หอม ขี้ผึ้ง น้ำมะรุมสด และหญ้าแห้วหมูมาบดและผสมกับน้ำโดยให้ส่วนผสมทั้งหมดเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วนำมาทาที่ผิวเป็นประจำทุกวัน


ที่มา : http://www.sakurabag.net/

เครื่องสำอางชนิดต่าง ๆ ที่ชาวอียิปต์โบราณนำมาใช้นั้นเป็นสิ่งที่ได้มาจากธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ สัตว์ และแร่ต่าง ๆ ซึ่งในแร่ที่นำมาใช้กับผิวนั้นมีสารตะกั่วผสมอยู่ หากใช้ในปริมาณที่พอเหมาะสารตะกั่วมีประโยชน์ในการช่วยป้องกันเชื้อโรค แบคทีเรียต่าง ๆ ไม่ให้เข้ามาสู่ดวงตา ได้ แต่หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป หรือร่างกายได้รับสารตะกั่วมาเป็นเวลานานและมีการสะสมก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ เช่น เกิดอาการปวดท้อง ท้องผูก โลหิตจาง หรือทำให้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ชีวิตได้เช่นเดียวกัน

ปัจจุบันนี้ที่มีเครื่องสำอางมากมายหลายประเภทให้ทุกคนได้เลือกสรร ดังนั้นควรเลือกผลิตภัณฑ์หรือเครื่องสำอางที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือผลเสียต่อร่างกาย และควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญคือการรักษาความสะอาด เพื่อที่จะเป็นการแต่งใบหน้าให้เกิดความสวยไม่ใช่ความสยอง


อ้างอิง 

ม.ป.ผ. (2553). เครื่องสำอางค์ของชาวอียิปต์สมัยโบราณ มีประโยชน์อย่างไรบ้าง. ค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2563, จาก  https://www.voathai.com/

ณัฐพล เดชขจร. (2561). เครื่องสำอางดึกดำบรรพ์ในอียิปต์โบราณ. ค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://www.gypzyworld.com/article/view/1143

NGThai. (2561). อาณาจักรโบราณ: อาณาจักรอียิปต์. ค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://ngthai.com/history/

Worldwide. (2562). อารยธรรมไอยคุปต์ ยุคทองของเครื่องสำอางความงามของชนชาติอียิปต์. ค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.blockdit.com/

อ่านเพิ่มเติม »

เนลสัน แมนเดลา (Nelson Mandela) รัฐบุรุษแห่งแอฟริกาใต้

โดย กฤติกา มาวงค์ษา

ในยุคโลกาภิวัตน์ คนผิวสีได้ก้าวเข้าสู่ยุคทอง หลังจากที่พวกเขาได้อดทน รอคอยมาอย่างยาวนาน ซึ่งในอดีตก็มีคนผิวสีมากมายต้องสังเวยชีวิตให้กับอคติจากการประเมินค่าความเป็นมนุษย์ เพียงเพราะมองกันแค่สีผิว อย่างไรก็ตามเส้นทางการต่อสู้เรียกร้องสิทธิของคนผิวสีที่ต้องการเสรีภาพไม่ได้มีอยู่แต่อเมริกาเท่านั้น แต่มีที่เข้มข้นยิ่งกว่าก็คือ แอฟริกาทั้งทวีป เพราะที่นั่นคือบ้านของคนผิวสีที่ถูกคนผิวขาว กดขี่ แต่มีพลังของผู้ชายผิวสีคนหนึ่งที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพ จนประสบความสำเร็จในชีวิต และกลายเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งของโลก ผู้ชายคนนั้นชื่อ “เนลสัน แมนเดลา” รัฐบุรุษและอดีตประธานาธิบดีของประเทศแอฟริกาใต้


ที่มา : https://mgronline.com/

เนลสัน แมนเดลา (Nelson Mandela) เกิดเมื่อวันที่ 18 กรกฏาคม ปี 2461 ในครอบครัวเทมบู เติบโตในชนบท ของเมืองเคป อีสต์เทิร์น เดิมนั้นเขามีชื่อว่า มาดิบา ต่อมาครูในโรงเรียนได้ตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษให้เขาว่า แมนเดลา  เขาเป็นผู้ที่ขยันในการจดบันทึกและหลงใหลการเก็บบันทึกเป็นอย่างมาก

ในขณะที่เขาอายุได้ 9 ขวบ พ่อของเขาซึ่งเป็นที่ปรึกษาของตระกูลผู้ปกครองชาวเทมบู ได้เสียชีวิต เขาจึงถูกเลี้ยงดูจากรักษาการผู้สำเร็จราชการเมืองเทมบู และต้องถูกแยกออกจากแม่อันเป็นที่รัก จนกระทั่งอายุ 23 ปี แมนเดลา ได้หนีออกจากบ้านเพื่อหลบหนีการแต่งงานแบบคลุมถุงชน

เนลสัน แมนเดลา เริ่มเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษาในปี 2482 ที่มหาวิทยาลัยฟอร์ต แฮร์ และจบการศึกษาในปี 2485 ด้วยวุฒิปริญญาตรี ศิลปศาสตร์บัณฑิต

ในช่วงที่ศึกษาวิชากฏหมายอยู่ที่มหาวิทยาลัย วิทวอเตอร์แรนด์ ในนครโจฮันเนสเบิร์ก เขามีส่วนร่วมในการก่อตั้งสันนิบาตยุวชนแห่งแอฟริกัน เนชั่นแนล คองเกรส ( African National Congress หรือ ANC) และพยายามผลักดันให้องค์กรดังกล่าวมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงสังคม มีการร่วมมือกันเคลื่อนไหวแบบใต้ดินเพื่อต่อต้านรัฐบาลที่ใช้นโยบายแบ่งแยกสีผิว

จนกระทั่งในช่วงปีพุทธศักราช 2503 รัฐบาลแอฟริกาใต้ที่ปกครองโดยชาวผิวขาวมีนโยบายเหยียดผิวได้สั่งห้ามและปราบปรามอย่างหนัก ทำให้กลุ่ม ANC ต้องเคลื่อนไหวในทางลับ และยกระดับในการใช้กำลังตอบโต้ด้วยการก่อวินาศกรรมสถานที่ทางราชการต่าง ๆ ของรัฐบาลแอฟริกาใต้ ก่อนที่แมนเดลา จะถูกจับเมื่อปีพุทธศักราช 2505 และถูกส่งไปจำคุกบนเกาะรอบเบิน นอกชายฝั่งเคปทาวน์ ซึ่งเขาใช้เวลาอยู่ในนั้นถึง 18 ปี ในระหว่างนั้นเขาปฏิเสธทำตามข้อเสนอของรัฐบาลที่จะปล่อยตัวเขาเพื่อแลกกับการยุติบทบาทและวางอาวุธของกลุ่ม ANC

ในปีพุทธศักราช 2533 แมนเดลาได้รับอิสระ หลังจากประธานาธิบดี เฟเดอริค เดอ เคลิ์ก ประกาศรับรองพรรคการเมืองทุกพรรคให้ถูกต้องตามกฏหมาย และประกาศนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง หลังจากนั้นไม่นาน เนลสัน แมนเดลา ก็ได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรค ANC และก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแอฟริกาใต้หลังพรรคของเขาชนะการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ในวัย 75 ปี


ที่มา : https://www.bbc.com/thai/

ประธานาธิบดีแมนเดลา กล่าวในทันทีว่าเขาจะขอดำรงตำแหน่งผู้นำแอฟริกาใต้เพียง 1 สมัย ในระยะเวลา 5 ปีเท่านั้น และได้รับความเคารพอย่างมากในฐานะผู้นำบนเวทีระดับนานาชาติหลังจากสามารถสร้างความเป็นปึกแผ่นในแอฟริกาใต้ได้ในที่สุด

ปีพุทธศักราช 2536 ประธานาธิบดี แมนเดลา ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ร่วมกับอดีตประธานาธิบดี เดอ เคลิ์ก ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเริ่มต้นขั้นตอนการสร้างสันติภาพในแอฟริกาใต้ ก่อนที่ประธานาธิบดีแมนเดลาจะประกาศอุทิศรางวัลนี้ให้กับประชาชนชาวแอฟริกาใต้ที่ร่วมสร้างสังคมแห่งความเท่าเทียมได้สำเร็จ

ในปี 2538 แอฟริกาใต้จัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติครั้งแรก คือ การแข่งขันรักบี้ชิงแชมป์โลก ซึ่งแมนเดลา ให้การสนับสนุนทีมรักบี้ของแอฟริกาใต้ซึ่งนักกีฬาส่วนใหญ่เป็นคนผิวขาว เหตุการณ์ครั้งนั้นได้ช่วยสร้างความสามัคคีขึ้นในชาติอย่างมาก

ในช่วงการรับดำรงตำแหน่งผู้นำแอฟริกาใต้ เขามีบทบาทสำคัญในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ที่เคยถึงขั้นเลวร้ายจนประสบผลในภายหลัง แม้จะก้าวลงจากตำแหน่งผู้นำหลังดำรงตำแหน่งครบ 1 สมัยในปีพุทธศักราช 2542 แต่อดีตผู้นำผู้ประสานรอยร้าวแห่งแอฟริกาใต้ ก็ยังทำงานเพื่อสังคมและชาวแอฟริกาใต้อย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ แมนเดลาอำลาการเมืองในปี 2547 ด้วยวัย 85 ใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวและเพื่อน โดยไม่ค่อยออกงานสังคมมากนัก ยกเว้นการปรากฏตัวของเขาในพิธีปิดการแข่งขันฟุตบอลโลกที่แอฟริกาใต้ในปี 2553 หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. 2556 เนลสัน แมนเดลา รัฐบุรุษแห่งแอฟริกาใต้ ก็ได้เสียชีวิตลงขณะอายุ 95 ปี ด้วยอาการปอดติดเชื้อเรื้อรัง ภายในบ้านพักส่วนตัวที่โจฮันเนสเบิร์ก

เนลสัน แมนเดลา ได้พยายามนำพาประชาชนไปสู่สันติภาพได้สำเร็จ แม้จะฝ่าฟันกับความขัดแย้งอย่างรุนแรงของเชื้อชาติ และสีผิวมายาวนานหลายปี อดึตผู้นำแห่งแอฟริกาใต้ออกจากเรือนจำเยี่ยงวีรบุรุษ ท่านเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกในฐานะผู้ส่งเสริมการให้อภัยและความเสมอภาค เนลสัน แมนเดลา คือรัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของโลกโดยแท้จริง


อ้างอิง

BBC NEWS ไทย. (2556, 9 ธันวาคม). เนลสัน แมนเดลา : เหตุใดเขาจึงเป็นบุคคลสำคัญของโลก? . ค้นเมื่อ 28 มกราคม 2563, จาก https://www.bbc.com/thai/international-46448176?fbclid

Sanook. (2556, 6 ธันวาคม). เนลสัน แมนเดลา ถึงแก่อสัญกรรม ด้วยวัย 95 ปี. ค้นเมื่อ 28 มกราคม 2563, จาก https://www.sanook.com/news/1352719/

Thai PBS. (2556, 6 ธันวาคม). ประวัติ “เนลสัน แมนเดลา” รัฐบุรุษแห่งแอฟริกาใต้. ค้นเมื่อ 28 มกราคม 2563, จาก https://news.thaipbs.or.th/

BBC NEWS ไทย. (2556, 9 ธันวาคม). เส้นทางชีวิต และชีวประวัติของ “เนลสัน แมนเดลา” มหาบุรุษแห่งแอฟริกาใต้. ค้นเมื่อ 28 มกราคม 2563, จาก https://www.voathai.com/a/mandela-obit-pt/1806291.html

มุมคุณธรรมสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2554, พฤศจิกายน). เนลสัน แมนเดลา บำเหน็จเลอค่า สำหรับผู้รู้จักอดทนและรอคอย. ค้นเมื่อ 28 มกราคม 2563, จาก http://library.cmu.ac.th/moralcorner/node/99

Kapook. (2556, 27 มิถุนายน). ประวัติ เนลสัน แมนเดลา รัฐบุรุษผู้หญิงใหญ่ นักสู้ผู้ต่อต้านการเหยียดผิว. ค้นเมื่อ 30 มกราคม 2563, จาก https://hilight.kapook.com/

 Voathai. (2556, 9 ธันวาคม). เส้นทางชีวิต และชีวประวัติของ “เนลสัน แมนเดลา” มหาบุรุษแห่งแอฟริกาใต้. ค้นเมื่อ 28 มกราคม 2563, จาก https://www.voathai.com/


อ่านเพิ่มเติม »