หลาง ผิง (Lang Ping)

โดย นันธิดา กระสี

กีฬาวอลเล่ย์บอลเป็นกีฬาที่นิยมกันอย่างแพร่หลายตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน และมีหลายประเทศที่สามารถพัฒนากีฬาวอลเล่ย์บอลขึ้นมาเป็นแถวหน้าของโลกโดยเฉพาะประเทศจีน ที่สามารถขึ้นมาเป็นอับดับที่ 1 ของโลกได้  ซึ่งนอกจากทักษะของนักกีฬาแล้วก็ต้องมีความเชี่ยวชาญของโค้ชผู้ฝึกสอนในการที่จะปรับเกมหรือให้คำแนะนำสำหรับนักกีฬาในการแข่งขัน และการจัดตารางการฝึกซ้อมย่อมต้องมีโค้ชดูแลเรื่องเหล่านี้ด้วย และโค้ชวอลเล่ย์บอลคนสำคัญที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังในที่นี้คือ หลาง ผิง


ที่มา :  http://thai.cri.cn/20190227/

หลาง ผิง (Lang Ping) โค้ชวอลเล่ย์บอลหญิงทีมชาติจีน เกิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1960 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน มีเชื้อสายชาวแมนจู ส่วนสูง 1.84 เมตร น้ำหนัก 71 กก. จบการศึกษาปริญญาโท The sports management department ที่มหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโก ประเทศอเมริกา เธอเป็นอดีตนักกีฬาวอลเล่ย์บอลชาวจีน ตำแหน่ง ตัวตีด้านนอก และเป็นอดีตหัวหน้าผู้ฝึกสอนวอลเล่ย์บอลหญิงทีมชาติสหรัฐอเมริกา เธอมีฉายาที่รู้จักกันดี คือ “ค้อนเหล็ก”

อุปนิสัยของ หลาง ผิง เป็นคนที่มีนิสัยดี เป็นกันเองกับผู้อื่น เข้ากับผู้อื่นได้ง่าย เก่งในเรื่องของการวางแผน  เป็นบุคคลที่ภายนอกอาจจะดูเท่ห์ดูโหดแต่ที่จริงเธอเป็นคนอ่อนโยน และเป็นคนที่จริงจังกับการทำงานเนื่องจาก หลาง ผิง เป็นผู้ฝึกสอนวอลเล่ย์บอลทีมชาติ แต่เธอจะเป็นคนที่ไม่เครียดกับเกมการแข่งขัน จะไม่กดดันลูกทีมจะค่อยๆ ใช้ความรู้มากกว่าอารมณ์ในการควบคุมผู้อื่น ทำให้บุคคลภายนอกที่ได้อยู่ใกล้หรือได้รู้จักเธอนับถือเธอและรักเธอเป็นอย่างมาก

จุดเริ่มต้นของการเล่นกีฬา หลาง ผิง มีความสนใจในกีฬาวอลเล่ย์บอลมาตั้งแต่สมัยหลาง ผิง ยังเด็กเพราะมีคนรอบข้างของเธออย่างเช่น ครอบครัว ที่เล่นวอลเลย์บอล หลาง ผิง มีต้นแบบนักกีฬามากมายจึงเป็นแรงจูงใจให้ หลาง ผิง มีความสนใจกีฬาวอลเล่ย์บอลอย่างมาก เธอจึงมีความสนใจที่จะเล่นกีฬาวอลเล่ย์บอล หลาง ผิง เธอมีความพยายามที่จะพัฒนาฝีมือของเธออยู่เรื่อยๆ จนเธอติดทีมชาติวอลเล่ย์บอลจีน


ที่มา :  http://thai.cri.cn/20190227/

ผลงานในระดับอาชีพ หลาง ผิง เคยเป็นสมาชิกคนหนึ่งของวอลเล่ย์บอลหญิงทีมชาติจีน และได้รับรางวัลเหรียญทองเมื่อครั้งที่เป็นฝ่ายชนะทีมชาติสหรัฐอเมริกาในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนในปี 1984 ที่ลอสแอนเจลิสรัฐแคลิฟอร์เนีย รวมถึงเธอเป็นสมาชิกคนหนึ่งของทีมที่ชนะการแข่งขันชิงแชมป์โลกในปี ค.ศ.1982 ที่ประเทศเปรู รวมถึงรายการเวิลด์คัพ เมื่อ ค.ศ 1981 และ 1985

ในปี 1986 หลาง ผิง ก็ได้ถอนตัวออกจากการเป็นนักกีฬาทีมชาติจีนเพราะตัวเธอเองต้องการผันตัวไปเป็นโค้ชและก็ย้ายไปอเมริกาในเดือนเมษายน 1987 เพื่อเรียนต่อในมหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโก ประเทศอเมริกาในระหว่างที่หลางผิงเรียนปริญญาโททางด้าน The sports management department ในช่วงปี 1987-1989 หลาง ผิง ก็ได้เป็นผู้ช่วยผู้ฝึกสอนให้กับมหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโกที่ หลาง ผิง เรียนอยู่ และนี่คือช่วงเวลาที่อาจเรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นโค้ชของหลางผิงก็เป็นได้

ต่อมาในปี 1989 หลาง ผิง ก็ได้ไปเป็นโค้ชให้กับทีม Modena ในลีคอิตาลีและพาทีมคว้าแชมป์อิตาลีคัพในปีนั้นด้วย และต่อมาในปี ค.ศ.1990 หลางผิงก็ถูกเรียกตัวให้กลับไปเล่นทีมชาติจีนอีกครั้ง แล้วก็สามารถพาทีมได้เหรียญเงินแชมป์โลกในปีนั้นด้วย และหลางผิงก็ได้ลาออกจากทีมชาติจีนอีกครั้งเพื่อผันตัวไปเป็นโค้ชอย่างจริงจังในปี 1991 ก็เป็นโค้ชให้กับทีมมหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโกและก็สามารถพาทีมได้ที่ 1 ของ Eastern US Women’s Volleyball Tournament และระหว่างนั้นหลาง ผิง ก็ได้รับเชิญให้ไปเป็นโค้ช ในญี่ปุ่นและอเมริกาและได้พาทีมได้ลำดับที่ดีๆ ไม่ว่าจะเป็นที่ 1 2 3

ในปี ค.ศ.1995 หลาง ผิงได้เข้ามาเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนวอลเล่ย์บอลหญิงทีมชาติจีน หลาง ผิง สามารถนำทีมคว้าเหรียญเงินจากการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนในปี 1996 ที่แอตแลนตา รัฐจอร์เจีย และอันดับสองในรายการชิงแชมป์โลกในปี 1998 ที่ประเทศ ญี่ปุ่น

ในปี ค.ศ. 1998 หลาง ผิง ได้ลาออกจากทีมชาติจีนเนื่องจากปัญหาสุขภาพเพราะหลาง ผิง ต้องเข้าผ่าตัดหัวเข่า และต่อมา หลาง ผิง ได้ไปเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนในการแข่งขันหลีกอาชีพของประเทศอิตาลีและประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมและ หลาง ผิง ยังได้รับรางวัลผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยมแห่งปีอยู่หลายสมัย



อิทธิพลในประเทศจีน เนื่องจากบทบาทสำคัญของเธอในความสำเร็จของวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติจีนในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 หลาง ผิง ได้รับการมองว่าเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม และเป็นหนึ่งในบุคคลที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในประวัติศาสตร์กีฬาสมัยใหม่ของประเทศจีน โดยในตอนท้ายของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ค.ศ. 1976 ประเทศจีนได้เข้าร่วมแข่งขันกีฬาในระดับโลกอีกครั้ง แม้ว่าทีมปิงปองของจีนจะชนะการแข่งขันในระดับนานาชาติ ซึ่งกีฬานี้มักได้รับการพิจารณาว่าชาวจีนมีความเชี่ยวชาญ แต่ หลาง ผิง กับทีมวอลเลย์บอลหญิงของเธอก็ได้รับการจัดเป็นกีฬาประเภททีมที่ชนะการแข่งขันชิงแชมป์โลกหลายสมัย โดยการแข่งขันครั้งสุดท้ายของเธอคือกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1984 โดย หลาง ผิง ได้เป็นดาวในตำแหน่งตัวตีด้านนอกของทีม เธอมักได้รับการจดจำเป็นอย่างมาก ว่าเป็นหนึ่งในนักกีฬาแชมป์โลกสมัยแรกของวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติจีน

ในปีค.ศ. 2002 เธอได้รับเกียรติในการจารึกชื่อไว้ในวอลเล่ย์บอลฮอลล์ออฟเฟมที่ฮอลโยค รัฐแมสซาซูเซตส์เธอเป็นผู้ฝึกสอนวอลเล่ย์บอลหญิงทีมชาติสหรัฐอเมริกาและพาทีมเข้ารับรางวัลเหรียญเงินในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่ประเทศบ้านเกิดของเธอเอง ปัจจุบัน เธอทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอน ให้แก่วอลเล่ย์บอลทีมชาติหญิงจีน

ชัยชนะครั้งสำคัญ

* เวิลด์คัพ 1981 (แชมป์โลก)
* ชิงแชมป์โลก 1982 (แชมป์โลก)
* โอลิมปิกฤดูร้อน 1984 ที่ลอสแอนเจลิส (แชมป์โลก)
* เวิลด์คัพ 1985 (แชมป์โลก)
* โอลิมปิก 2016 (เหรียญทอง)

เกียรติประวัติ

* หนึ่งในสิบนักกีฬาจีนยอดเยี่ยมแห่งปี ค.ศ. 1981-1986
* ผู้ฝึกสอนวอลเล่ย์บอลยอดเยี่ยมแห่งปี สหพันธ์วอลเล่ย์บอลนานาชาติ ค.ศ. 1996
* ผู้ฝึกสอนวอลเล่ย์บอลหญิงในประเทศอิตาลียอดเยี่ยมแห่งปี ค.ศ. 1999-2000

โค้ชหลาง ผิง เป็นบุคคลที่มีความสามารถในการเล่นกีฬาอย่างมากทั้งเป็นผู้เล่นหรือเป็นคนที่คอยสนับสนุนทีม ควบคุมทีมในการแข่งขันและแก้เกมอย่างฉลาด ทั้งยังเป็นบุคคลในวงการกีฬาวอลเล่ย์บอลที่น่าเคารพนับถืออย่างมากทั้งในประเทศจีนและประเทศอื่นๆ เธอเป็นบุคคลต้นแบบที่น่ายกย่องเป็นอย่างยิ่งทั้งในการใช้ชีวิตประจำวัน และการทำงาน


อ้างอิง 

Sitemap.(2559).รู้จัก หลางผิงเท่ากับรู้จักนักกีฬา โค้ชที่ยอมเยี่ยมที่สุดคนหนึ่งของโลกวอลเล่ย์บอล. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2563 จาก : https://pantip.com/topic/35145298

Unknow. (2008). Iron Hammer still pounding. Retrieved January 07, 2020, from : http://en.people.cn/90001/90779/90867/6342656.html

Lassen, D. (2008). “U.S. women’s volleyball coach an icon back in Beijing”.Retrieved January 07, 2020, from : http://www.venturacountystar.com/

O’Halloran, R. (2008). “Lang Ping goes home”.Retrieved January 07, 2020, from : https://m.washingtontimes.com/news/2008/

Townsend, B.(2008). “Lang Ping left china for normal life”. Retrieved January 07, 2020, from : http://www.dallasnews.com/sharedcontent/

Tabuchi, H.(2008). “Return of the iron Hammer”.Retrieved January 07, 2020, from : http://blogs.wsj.com/chinajournal/2008/08/09/

Wong, E.(2008). “Ex-Chinese Star Guides U.S. to win in Volleyball”. Retrieved January 07, 2020, from : http://www.nytimes.com/2008/08/16/s

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น