ศิลปะป็อปอาร์ต (Pop Art)

โดย พิชชา ขาวสะอาด

ป๊อปอาร์ต เป็นขบวนการทางศิลปะอย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้น ณ สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ประมาณราว พ.ศ.2498 ซึ่งล้อไปกับรากฐานบริบทของสังคม ศิลปินกลุ่มนี้มีความเชื่อที่ว่าศิลปะจะต้องสร้างความตื่นเต้นอย่างฉับพลันให้แก่ผู้พบเห็น ซึ่งนับว่าเป็นผลจากการต่อยอดของการเปลี่ยนแปลงทิศทางศิลปะมาตั้งแต่ แนวศิลปะแบบเรียลลิสม์ (Realism) ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 25 ซึ่งจะเห็นได้ว่าเนื้อหาของศิลปะแนวป๊อปอาร์ตนั้นไม่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ ศาสนา หรือ เทพนิยาย เหมือนกับยุคก่อน

ป๊อบอาร์ตเป็นแบบอย่างของศิลปะที่สะท้อนสภาพแท้จริงของสังคมปัจจุบัน ตามความรู้ความเข้าใจของสามัญชนคนธรรมดาทั่วไป ชั่วขณะหนึ่ง ชั่วเวลาหนึ่ง เช่น ดารายอดนิยม คุณภาพอันเลอเลิศของสินค้า คำขวัญ ฯลฯ ศิลปะในกลุ่มนี้แสดงความวุ่นวายของสังคมซึ่งพลุ่งพล่าน สว่างวาบขึ้นมาราวกับพลุ นิยมในช่วงเวลาไม่นานพอถึงวันรุ่งขึ้นก็อาจจะลืมไปแล้ว อย่างไรก็ตามมีผู้กล่าวเอาไว้ว่า

“ศิลปะที่สร้างขึ้นจากสิ่งสัพเพเหระของชีวิตปัจจุบัน เป็นการแสดงความรู้สึกสะท้อนประสบการณ์ทั้งหมดของศิลปินในชั่วขณะเวลาหนึ่ง และสถานที่แห่งหนึ่งเท่านั้น ซึ้งสะท้อนความรู้พื้นฐานธรรมดาที่ศิลปินมีส่วนร่วมอยู่ให้ปรากฏ”

ริชาร์ด  ฮามิลตัน (Richard Hamilton) ได้สร้างสรรค์ผลงานโปสเตอร์ภาพตัดปะที่มีคำพูดแดกดันอย่าง “Just what is it that makes today’s homes so different, so appealing?” ผลงานชิ้นนี้เป็นการรวมเอาหลายภาพและหลายวัสดุ เพื่อสร้างสรรค์ออกเป็นสิ่งใหม่

ภายหลังฮามิลตันได้ทำบัญชีข้อมูลคุณภาพของป็อปอาร์ตไว้ดังนี้

เป็นที่นิยม (Popular) (ออกแบบมาเพื่อคนหมู่มาก)
ชั่วคราว (Transient) (เป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น)
พอใช้ได้ (Expendable) (ลืมได้โดยง่าย)
ราคาถูก (Low cost)
ผลิตเป็นจำนวนมาก (Mass Produced)
วัยรุ่น (Young)(กลุ่มเป้าหมายคือวัยรุ่น)
หลักแหลม(Witty)
เซ็กซี่ (Sexy)
มีลูกเล่น (Gimmicky)
งดงาม (Glamofous)
เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ (Big Business)

จะเห็นได้ว่าศิลปินป็อปอาร์ตแต่ละคนก็มีแนวทางในการนำเสนอที่แตกต่างกันออกไปแต่ก็มีจุดร่วมของศิลปะแนวนี้ที่เห็นได้ชัดดังหลักการที่ ฮามิลตัน ได้เสนอไว้ข้างต้น

จะเห็นได้ว่า ศิลปะป็อปอาร์ตนั้นจะแสดงถึงเรื่องราวความเป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน ซึ่งจะไม่ได้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ความเชื่อหรือ นิยายโบราณเหมือนแต่ก่อน ซึ่งศิลปินกลุ่มนี้ก็ล้วนเป็นหนุ่มสาว ล้วนแต่มีความคิดแปลกใหม่ไปจากเดิม ทางด้านเรื่องรวมศิลปินก็พยายามให้รูปร่างหรือวัตถุนั้นคมชัดขึ้นอีกด้วย และบางทีในผลงานนั้นก็มีความหมายเสียดสี สะท้อนสังคมยุคปัจจุบันอีกด้วย

อ้างอิง

ศุภชัย สิงย์ยะบุศย์, รองศาสตราจารย์. ประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก(ฉบับสมบูรณ์), กรุงเทพ: โรงพิมพ์สัมพันธ์กราฟิก, 2547; 215.

ป็อบอาร์ต, มปป. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2557, จาก http://popuspopart.wordpress.com/history/

andy warhol artwork, มปป. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2557, จาก http://www.art.com/gallery/id--a76/andy-warhol-posters_p2.htm?ui=74AA3DEFC63C41C287697EE6820EF046

Post-Modernism, มปป. ค้รหาเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2557, จาก http://westernartandculturedpu01wannisa.blogspot.com/2010/09/post-modernism-pop-art.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น