ฌอง ฌาค รุสโซ (Jean Jacques Rousseau)

โดย อติคุณ มูลป้อม

ถ้าจะพูดถึง ฌอง ฌาค รุสโซ นั้นหลายคนได้ยินชื่อนี้คงคุ้นหูเป็นอย่างดีว่าเป็นผู้คิดค้นทฤษฎีอำนาจอธิปไตยชื่อดัง แต่ชีวิตของรุสโซนั้นไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ โดยรุสโซนั้นเป็นชาวฝรั่งเศสแต่ได้เกิดและไปเติบโตที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสแลนด์ เพราะพ่อของรุสโซอพยพมาทำงานซ่อมนาฬิกา รุสโซได้ฝึกหัดอ่านหนังสือและเรียนรู้ด้วยตนเองมาโดยตลอด  และรุสโซได้ร่อนเร่หาทำงานเพื่อให้มีรายได้พอประทังชีวิตตั้งแต่ลูกจ้างของนักกฎหมายไปจนถึงลูกจ้างของช่างแกะสลักกับได้ท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆในสวิสแลนด์ จนในที่สุดรุสโซก็ได้ทำงานในตำแหน่งเลขานุการของท่านอัครราชทูตฝร่งเศสประจำเวนิช

รุสโซเป็นนักเขียน นักประพันธ์เพลง และนักทฤษฎีการเมือง โดยยุคสมัยของรุสโซนั้นเป็นยุคแห่งแสงสว่างและนักปรัชญา และในปี ค.ศ. 1754 ได้มีการประกวดบทประพันธ์เรื่อง“มูลเหตุแห่งความไม่เสมอภาคในหมู่มนุษย์” โดยรุสโซมีความคิดเห็นว่าโดยสภาพนั้นมนุษย์มีความเสมอภาคและมีความสุข แต่เมื่อมีสังคมมนุษย์ก็เริ่มถือเอากรรมสิทธิ์ว่าอะไรเป็นของตนอะไรไม่เป็นของตนจึงเป็นบ่อเกิดแห่งความเห็นแก่ตัว ทำให้รุสโซมีชื่อเสียงโด่งดังในแหล่งสมาคมของชาวฝรั่งเศส แต่ต่อมารุสโซก็ได้เกดความเบื่อหน่ายกับสังคมกรุงปารีสที่มีแต่ความหลอกลวงไม่จริงใจ จึงได้ออกไปอยู่วัดที่ที่ตรงข้ามเมืองทำให้เกิดความคิดทฤษฎีคนเถื่อนใจธรรมขึ้น โดยรุสโซคิดว่าการพัฒนาวัตถุที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นและการพึ่งพากันในสังคมที่พัฒนานั้น เป็นอันตรายต่อมนุษย์ซึ่งทำให้รัฐบาลมีอำนาจมากขึ้นและทำลายเสรีภาพของมนุษย์ คือ ทำลายความเป็นเพื่อนที่จริงใจต่อกันโดยจะเกิดความอิจฉา ความกลัวและความหวาดระแวงต่อกัน

ต่อมาในปี ค.ศ. 1762  รุสโซก็ได้ประพันธ์หนังสือขึ้นเรื่อง “สัญญาประชาคม”(The Social Contract) อันเป็นหนังสือที่กล่าวถึงหลักเกณฑ์แห่งสิทธิทางการเมือง โดยประชาชนนั้นเกิดมามีสิทธิและเสรีภาพเป็นของตัวเอง แต่ไม่สามารถใช้ได้เนื่องถูกกีดกันไว้ และเจตนาที่สำคัญของสัญญาประชาคม คือ อำนาจสูงสุดทางการปกครองเป็นของประชาชน รัฐบาลเป็นเพียงคณะผู้รับมอบหมายในทำงานเท่านั้น โดยประชาชนต้องเคารพกฎหมายของรัฐด้วยซึ่งความคิดดังกล่าวนำมาสู่การปฎิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 นอกจากนี้รุสโซยังเชื่อว่าศาสนานั้นเป็นตัวการแบ่งแยกและทำให้รัฐอ่อนแอลง โดยมีความคิดเห็นว่าคุณไม่มีสิทธิมาบอกว่าคนอื่นเป็นคนไม่ดี นำมาซึ่งแนวคิดที่สำคัญคือการเรียกร้องให้ปฎิรูปความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินปัญหาต่างๆร่วมกัน

จากการฟันฝ่าอุปสรรคและความแร้งแค้นอย่างนักสู้เพื่อความมีสิทธิ เสรีภาพและความยุติธรรมของสังคมที่ถูกเอาเปรียบของรุสโซนั้น ได้ทำให้แนวคิดทางการเมืองของเค้าเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลกจากการที่ประเทศจะต้องมีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง หรือจะเป็นแนวคิดเรื่องความเท่าเทียมกันของมนุษย์ทุกคนบนโลกแต่ก็ต้องอยู่ภายใต้กฏหมายเดียวกัน จากข้อความกล่าวไว้ว่า “มนุษย์ทุกคนเกิดมามีอิสระ  แต่ทุกหนทุกแห่งเขาถูกพันธนาการ” รวมถึงรุสโซเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนต้องมีเจตจำนงในการสร้างระเบียบใหม่ในสังคมที่ไร้ระเบียบโดยที่ประชาชนเป็นผู้แสดงเจตจำนงนั้นออกมาใช้ร่วมกัน(General Will) จนในที่สุดรุสโซได้รับการยกย่องว่าเป็นเจ้าของฤษฎีแห่งอำนาจอธิปไตย

อ้างอิง

ภัทรษมน     รัตนางกูร.  (2009).  แนวคิด ฌอง ฌาค รุสโซ.  สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2557,  จาก http://phatrsa.blogspot.com/2010/03/jean-jacques-rousseau.html

puasansern    tawipan.  (2011).  แนวคิดปรัชญาของรุสโซ่ : เจตน์จำนงทั่วไปและสังคมที่มีการจัดระเบียบที่ดี.  สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2557,  จาก http://boonpengsaepua999.blogspot.com/2011/09/blog-post_3923.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น