โดย ภัทรธร ฉันทวรภาพ
ถ้าจะกล่าวถึงภาพวาดบนโลกใบนี้นั้นมีอยู่มากมาย แต่ภาพไหนจะมีคุณค่านั้นต้องมีองค์ประกอบที่เหมาะสมสะท้อนอารมณ์ของศิลปินได้เป็นอย่างดีว่าขณะนั้น เขาได้คิดอะไรอยู่ จึงวาดภาพนี้ขึ้นมา มีจุดประสงค์เพื่ออะไร ต้องการที่จะสื่อให้ผู้สนใจได้แง่คิดอะไรในภาพวาดที่ตนได้ถ่ายทอดออกมา
โมนาลิซา คือภาพวาดสีน้ำมัน สูง 77 เซ็นติเมตร กว้าง 53 เซ็นติเมตร ถือกำเนิดขึ้นในคริสต์วรรษที่ 16 ระหว่างปี ค.ศ.1503-1507 (พ.ศ.2046-2050) ด้วยฝีมือของเลโอนาร์โด ดาวินชี ศิลปินเอกของโลก เขาใช้เวลาถึง 4 ปี จึงวาดได้สำเร็จ เป็นภาพเขียนครึ่งตัว (Portrait) สุภาพสตรีผมยาว มีผ้าคลุม หวีผมแสกกลาง เสื้อคลุมสีดำเรียบ เห็นใบหน้าเกือบตรง ลำตัวบิดเล็กน้อย มือขวาวางคว่ำสัมผัสข้อมือซ้ายที่วางราบอยู่บนที่วางแขนของเก้าอี้ เบื้องหลังเป็นภาพทิวทัศน์สงบเงียบ บรรยากาศเร้นลับ ชวนฝัน ภาพส่วนขยายนัยน์ตาและรอยยิ้มของเธอที่แสดงออกถึงความรู้สึกที่ต้องการค้นหาบางสิ่ง ซ่อนเลศนัยและปริศนาให้ผู้ดูได้รับรู้ถึงความรู้สึก และตั้งคำถามว่า “โมนาลิซากำลังคิดอะไรอยู่ ”
โมนาลิซา จึงนับว่าเป็นงานจิตรกรรมที่มีคุณค่าในการแสดงออกทั้งในด้านสาระ และอารมณ์ความรู้สึก โดยด้านความงามนั้น เป็นภาพที่สร้างสรรค์โดยยึดทฤษฎีการเลียนแบบตามธรรมชาติ คือการเลียนแบบความงามตั้งแต่รูปร่าง รูปทรง สีสัน และน้ำหนักแสงเงา เป็นภาพที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของเลโอนาร์โด ดา วินชี ในการเขียนภาพผู้หญิง คือ นิยมเขียนคิ้วบางเลือนราง และมีรอยยิ้มมุมปาก ทั้งเป็นภาพที่มีลักษณะในการจัดภาพตามแบบอย่างของศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ คือมีบุคคลเป็นประธานของภาพ มีฉากหลังเป็นทิวทัศน์แสดงบรรยากาศตามจินตนาการ เพราะศิลปินในสมัยนั้นมีความเชื่อว่ามนุษย์เป็นศูนย์ กลางของจักรวาล เป็นผู้ควบคุมธรรมชาติ ยึดมั่นในเหตุผล คุณค่าของความเป็นมนุษย์อยู่ที่ความคิด ความรู้และความสามารถ
การจัดภาพโดยรวมมีความเป็นเอกภาพด้วยเส้น รูปร่าง รูปทรง สี แสงเงาที่สัมพันธ์กลมกลืนกันทั้งรูปคนและธรรมชาติ ทำให้ทั้งภาพดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ดุลยภาพ แสดงภาพโมนาลิซาตรงแกนกลาง วางท่าอยู่ในแนวรูปสามเหลี่ยม จัดวางทิวทัศน์ไว้ในบริเวณว่าง มีลักษณะของดุลยภาพแบบซ้ายขวาเท่ากัน ซึ่งให้ความรู้สึกสงบทางกายภาพ จุดเด่น แสดงจุดเด่นอยู่บนใบหน้า มีดวงตาที่ให้ความรู้สึกเหมือนมองผู้ดูผลงานอยู่ตลอดเวลา และรอยยิ้มที่เป็นปริศนา ความกลมกลืน แสดงการจัดภาพของส่วนประกอบต่างๆ ทั้งรูปแบบของเส้น รูปร่าง รูปทรง สี ขนาด สัดส่วน แสงเงา บริเวณว่าง และพื้นผิวได้อย่างสัมพันธ์กลมกลืนกัน ทั้งเทคนิค วิธีการวาดซึ่งสอดคล้องกับอารมณ์ ความรู้สึกของภาพได้อย่างเหมาะสม ความขัดแย้ง แสดงความขัดแย้งในด้านน้ำหนัก สี แสงเงา ส่วนรวมของภาพมีความเข้มคล้ำ ต่างกับส่วนใบหน้าที่ใช้น้ำหนักสี แสงเงาอ่อนกว่า แต่มีผลดีคือส่งเสริมบริเวณส่วนใบหน้าให้มีความเจิดจ้า เด่นชัดและงดงามยิ่งขึ้น
สิ่งต่างๆ ที่อยู่บนภาพวาดโมนาลิซ่านี้ล้วนแล้วแต่มีความหมาย ในภาพประกอบไปด้วยแง่คิดและแง่มุมต่างๆแสดงให้เห็นวัฒนธรรมการแต่งกายของคนชั้นสูงในสมัยนั้น รวมถึงป็นภาพที่แสดงออกให้เห็นถึงอารมณ์ความรู้สึกภายในภาพวาดที่อยู่ในท่าทางต่างๆและยังเป็นภาพที่ศิลปินถ่ายทอดลักษณะของตนเองไว้ในใบหน้าของโมนาลิซา ซึ่งมีลักษณะเค้าโครงรูปหน้าที่คล้ายกันอีกด้วย
อ้างอิง
ข่าวสดรายวัน (19ธ.ค.2554).โมนาลิซา. สืบค้นเมื่อ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557, จาก http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNakU1TVRJMU5BPT0=
ปกิณกะ-สาระ-บันเทิง(ม.ป.ป).โมนาลิซา อมตะสตรีแห่งจักรวาล. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557,จาก http://www.stou.ac.th/stoukc/elder/main3_62.html
ถ้าจะกล่าวถึงภาพวาดบนโลกใบนี้นั้นมีอยู่มากมาย แต่ภาพไหนจะมีคุณค่านั้นต้องมีองค์ประกอบที่เหมาะสมสะท้อนอารมณ์ของศิลปินได้เป็นอย่างดีว่าขณะนั้น เขาได้คิดอะไรอยู่ จึงวาดภาพนี้ขึ้นมา มีจุดประสงค์เพื่ออะไร ต้องการที่จะสื่อให้ผู้สนใจได้แง่คิดอะไรในภาพวาดที่ตนได้ถ่ายทอดออกมา
โมนาลิซา คือภาพวาดสีน้ำมัน สูง 77 เซ็นติเมตร กว้าง 53 เซ็นติเมตร ถือกำเนิดขึ้นในคริสต์วรรษที่ 16 ระหว่างปี ค.ศ.1503-1507 (พ.ศ.2046-2050) ด้วยฝีมือของเลโอนาร์โด ดาวินชี ศิลปินเอกของโลก เขาใช้เวลาถึง 4 ปี จึงวาดได้สำเร็จ เป็นภาพเขียนครึ่งตัว (Portrait) สุภาพสตรีผมยาว มีผ้าคลุม หวีผมแสกกลาง เสื้อคลุมสีดำเรียบ เห็นใบหน้าเกือบตรง ลำตัวบิดเล็กน้อย มือขวาวางคว่ำสัมผัสข้อมือซ้ายที่วางราบอยู่บนที่วางแขนของเก้าอี้ เบื้องหลังเป็นภาพทิวทัศน์สงบเงียบ บรรยากาศเร้นลับ ชวนฝัน ภาพส่วนขยายนัยน์ตาและรอยยิ้มของเธอที่แสดงออกถึงความรู้สึกที่ต้องการค้นหาบางสิ่ง ซ่อนเลศนัยและปริศนาให้ผู้ดูได้รับรู้ถึงความรู้สึก และตั้งคำถามว่า “โมนาลิซากำลังคิดอะไรอยู่ ”
โมนาลิซา จึงนับว่าเป็นงานจิตรกรรมที่มีคุณค่าในการแสดงออกทั้งในด้านสาระ และอารมณ์ความรู้สึก โดยด้านความงามนั้น เป็นภาพที่สร้างสรรค์โดยยึดทฤษฎีการเลียนแบบตามธรรมชาติ คือการเลียนแบบความงามตั้งแต่รูปร่าง รูปทรง สีสัน และน้ำหนักแสงเงา เป็นภาพที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของเลโอนาร์โด ดา วินชี ในการเขียนภาพผู้หญิง คือ นิยมเขียนคิ้วบางเลือนราง และมีรอยยิ้มมุมปาก ทั้งเป็นภาพที่มีลักษณะในการจัดภาพตามแบบอย่างของศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ คือมีบุคคลเป็นประธานของภาพ มีฉากหลังเป็นทิวทัศน์แสดงบรรยากาศตามจินตนาการ เพราะศิลปินในสมัยนั้นมีความเชื่อว่ามนุษย์เป็นศูนย์ กลางของจักรวาล เป็นผู้ควบคุมธรรมชาติ ยึดมั่นในเหตุผล คุณค่าของความเป็นมนุษย์อยู่ที่ความคิด ความรู้และความสามารถ
การจัดภาพโดยรวมมีความเป็นเอกภาพด้วยเส้น รูปร่าง รูปทรง สี แสงเงาที่สัมพันธ์กลมกลืนกันทั้งรูปคนและธรรมชาติ ทำให้ทั้งภาพดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ดุลยภาพ แสดงภาพโมนาลิซาตรงแกนกลาง วางท่าอยู่ในแนวรูปสามเหลี่ยม จัดวางทิวทัศน์ไว้ในบริเวณว่าง มีลักษณะของดุลยภาพแบบซ้ายขวาเท่ากัน ซึ่งให้ความรู้สึกสงบทางกายภาพ จุดเด่น แสดงจุดเด่นอยู่บนใบหน้า มีดวงตาที่ให้ความรู้สึกเหมือนมองผู้ดูผลงานอยู่ตลอดเวลา และรอยยิ้มที่เป็นปริศนา ความกลมกลืน แสดงการจัดภาพของส่วนประกอบต่างๆ ทั้งรูปแบบของเส้น รูปร่าง รูปทรง สี ขนาด สัดส่วน แสงเงา บริเวณว่าง และพื้นผิวได้อย่างสัมพันธ์กลมกลืนกัน ทั้งเทคนิค วิธีการวาดซึ่งสอดคล้องกับอารมณ์ ความรู้สึกของภาพได้อย่างเหมาะสม ความขัดแย้ง แสดงความขัดแย้งในด้านน้ำหนัก สี แสงเงา ส่วนรวมของภาพมีความเข้มคล้ำ ต่างกับส่วนใบหน้าที่ใช้น้ำหนักสี แสงเงาอ่อนกว่า แต่มีผลดีคือส่งเสริมบริเวณส่วนใบหน้าให้มีความเจิดจ้า เด่นชัดและงดงามยิ่งขึ้น
สิ่งต่างๆ ที่อยู่บนภาพวาดโมนาลิซ่านี้ล้วนแล้วแต่มีความหมาย ในภาพประกอบไปด้วยแง่คิดและแง่มุมต่างๆแสดงให้เห็นวัฒนธรรมการแต่งกายของคนชั้นสูงในสมัยนั้น รวมถึงป็นภาพที่แสดงออกให้เห็นถึงอารมณ์ความรู้สึกภายในภาพวาดที่อยู่ในท่าทางต่างๆและยังเป็นภาพที่ศิลปินถ่ายทอดลักษณะของตนเองไว้ในใบหน้าของโมนาลิซา ซึ่งมีลักษณะเค้าโครงรูปหน้าที่คล้ายกันอีกด้วย
อ้างอิง
ข่าวสดรายวัน (19ธ.ค.2554).โมนาลิซา. สืบค้นเมื่อ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557, จาก http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNakU1TVRJMU5BPT0=
ปกิณกะ-สาระ-บันเทิง(ม.ป.ป).โมนาลิซา อมตะสตรีแห่งจักรวาล. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557,จาก http://www.stou.ac.th/stoukc/elder/main3_62.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น