โดย มุกมณี มุตต๊ะ
หากกล่าวถึงศิลปะที่เหมาะกับผู้ที่ชอบอะไรแปลกๆ สะท้อนความคิดในด้านใหม่ๆ ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่สะท้อนความเลวร้ายในสังคม แต่ในบางมุมมองก็อาจทำให้เรายอมรับในโลกแห่งความเป็นจริงมากขึ้น เพราะในบางครั้งโลกแห่งความเป็นจริงก็หาได้สวยงามเหมือนโลกแห่งเทพนิยายหรือโลกแห่งศิลปะทั่วๆไปศิลปะแห่งความแปลกประหลาด ความแดกดัน ประชดประชันสังคมคือ ศิลปะแบบดาด้า(dada) ศิลปะแบบดาด้าเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1912 ซึ่งมีการก่อตั้งขึ้นอย่างเต็มรูปแบบที่เมืองชูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปี 1916 แล้วแพร่ไปยังนิวยอร์ค บาร์เซโลน่า เบอร์ลิน โคโลจน์และปารีส
แนวความคิดของศิลปินกลุ่มดาด้า ได้รับอิทธิพลจากสงครามโลกครั้งที่ 1 พวกดาด้ามีความคิดว่า มนุษย์มีเหตุผลและข้ออ้างมากมายในการกระทำ จนถึงขั้นใช้ความมีเหตุผลในการฆ่าเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ศิลปินกลุ่มดาด้า มักจะมีความคิดที่แปลกๆ นั้นคือ การทำทุกอย่าแบบไร้เหตุผลเป็นการตอบโต้ และแสดงให้เห็นว่าพวกเขาต่อต้านความมีเหตุผลบนโลก โดยการสร้างงานศิลปะแนวใหม่ ซึ่งเป็นปฏิปักษ์กับศิลปะแบบเก่า ศิลปะแนวนี้คือการแสดงความเยาะเย้ย ถากถาง บางที่อาจดูเป็นศิลปะที่สกปรก ประหลาด ไร้ซึ่งเหตุผล แต่แฝงไปด้วยความขี้เล่น
จากแนวความคิดที่กล่าวมาของกลุ่มศิลปะ ดาด้านั้น ภาพที่แสดงความคิดของกลุ่ม ดาด้านี้อย่างเห็นได้ชัดก็คือภาพ L.H.O.O.Q. (Mona Lisa with Mustache and Beard) ภาพนี้นั่นเอง ภาพ L.H.O.O.Q. นี้แสดงให้เห็นได้ชัด ถึงการต่อต้าน ทำลายคุณค่าของศิลปะในอดีต ด้วยการเอาสำเนาภาพเขียนที่มีชื่อเสียงในสมัยเรอเนอซองส์ ของ Leonardo Da Vin Ciมาเติมหนวด เติมเครา คำว่า L.H.O.O.Q. ที่เป็นชื่อภาพ เมื่ออกเสียงเป็นภาษาฝรั่งเศส จะฟังดูคล้ายกับ คำว่า "Elle a chaud au cul" และถ้าออกเสียง เป็นภาษาอังกฤษจะคล้ายคำว่า "LOOK"
ศิลปินกลุ่มดาด้ามักจะมองงานจิตรกรรมของศิลปินกลุ่มอื่นอย่างดูถูกดูแคลน เพราะพวกดาด้าคิดว่า ความสวยงามที่แท้จริงไม่มีบนโลก และผลงานเหล่านั้นเป็นผลงานที่เพ้อฝัน ซึ่งขัดกับโลกในความเป็นจริงในมุกมองของพวกดาด้า พวกดาด้ามักจะคิดว่าโลกนี้ไม่สวยงาม มีแต่ความเสแสร้ง หลอกลวง ศิลปินแบบดาด้าจึงมันถูกวิจารณ์เป็นศิลปะที่ไร้ความสวยงาม และทำลายคุณค่าของงานศิลปะที่มีมาแต่เดิม เพราะไม่มีการอิงหลักตรรกวิทยาใดๆ แต่เป็นการสร้างงานศิลปะแบบไร้จิตสำนึก ในบางที่อาจเป็นไปในทางวิตถาร ดูพิสดาร อีกทั้งยังเป็นศิลปะที่กระชากอารมณ์และพฤติกรรมอันเลวร้ายของผู้ชมอย่างดุเดือดและทำให้คนดูเดือดดาลเป็นอย่างยิ่ง
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทั้งปวงทำให้เกิดคำถามว่าศิลปะแบบดาด้านี้เรียกได้ว่าเป็นงานศิลปะหรือไม่ และเกิดความคิดขัดแย้งว่า อะไรที่เรียกว่าเป็นศิลปะ แล้วอะไรที่ไม่ใช่ศิลปะ Duchamp ได้ให้มุมมองในเรื่องนี้ว่า "อะไรก็ได้ที่ศิลปินบอกว่ามันเป็นงานศิลปะมันก็ต้องเป็นงานศิลปะ ตามที่ศิลปินบอก" และนี่ก็คือข้อสรุปข้อหนึ่งของศิลปะแบบดาด้า
ศิลปะแบบดาด้าเป็นศิลปะที่เกิดขึ้นโดยอิทธิพลจากสงครามโลกครั้งที่ 1 กลุ่มศิลปินนั้นเป็นกลุ่มคนที่มีความคิดเห็นต่อต้านเหตุผล จึงมักสร้างสรรค์งานที่ตรงข้ามกับความเป็นจริง เป็นการสร้างศิลปะแบบไร้เหตุผลและที่มา แต่จะปล่อยให้ทุกอย่างเป็นเรื่องบังเอิญ และเป็นศิลปะที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้คนส่วนใหญ่จะไม่เห็นด้วยกับศิลปะแนวนี้ แต่ศิลปะแนวนี้ก็อาจจะได้รับความนิยมจากคนบางกลุ่มจึงได้มีการเผยแพร่ไปยังกลุ่มประเทศแถบสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งในบางมุมมองศิลปะแบบดาด้าก็หาได้เป็นศิลปะที่เลวร้ายเสมอไป หากแต่เป็นศิลปะที่มีความแปลกใหม่ สร้างสรรค์ในสิ่งที่ผู้อื่นไม่คาดคิด และในบางทียังแฝงความขี้เล่น ทำให้เมื่อที่เรามองงานศิลปะอย่างปราศจากอคติงานศิลปะชิ้นนั้นอาจจะสร้างเสียงหัวเราะ หรือทำให้เราอารมณ์ดีขึ้นเพราะความคิดอันแปลกประหลาดของพวกเขาก็เป็นได้
อ้างอิง
ดาด้า. (ม.ป.ป.). สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2557, จาก http://www.designer.co.th/1290
ประวัติศาสตร์ศิลปะ. (ม.ป.ป.). สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2557, จาก http://knowledge.eduzones.com/knowledge-2-12-43185.html
L.H.O.O.Q.(ม.ป.ป.). สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2557, จาก http://www.artofcolour.com/painting-profile/frame-profiles-no6.html
หากกล่าวถึงศิลปะที่เหมาะกับผู้ที่ชอบอะไรแปลกๆ สะท้อนความคิดในด้านใหม่ๆ ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่สะท้อนความเลวร้ายในสังคม แต่ในบางมุมมองก็อาจทำให้เรายอมรับในโลกแห่งความเป็นจริงมากขึ้น เพราะในบางครั้งโลกแห่งความเป็นจริงก็หาได้สวยงามเหมือนโลกแห่งเทพนิยายหรือโลกแห่งศิลปะทั่วๆไปศิลปะแห่งความแปลกประหลาด ความแดกดัน ประชดประชันสังคมคือ ศิลปะแบบดาด้า(dada) ศิลปะแบบดาด้าเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1912 ซึ่งมีการก่อตั้งขึ้นอย่างเต็มรูปแบบที่เมืองชูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปี 1916 แล้วแพร่ไปยังนิวยอร์ค บาร์เซโลน่า เบอร์ลิน โคโลจน์และปารีส
แนวความคิดของศิลปินกลุ่มดาด้า ได้รับอิทธิพลจากสงครามโลกครั้งที่ 1 พวกดาด้ามีความคิดว่า มนุษย์มีเหตุผลและข้ออ้างมากมายในการกระทำ จนถึงขั้นใช้ความมีเหตุผลในการฆ่าเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ศิลปินกลุ่มดาด้า มักจะมีความคิดที่แปลกๆ นั้นคือ การทำทุกอย่าแบบไร้เหตุผลเป็นการตอบโต้ และแสดงให้เห็นว่าพวกเขาต่อต้านความมีเหตุผลบนโลก โดยการสร้างงานศิลปะแนวใหม่ ซึ่งเป็นปฏิปักษ์กับศิลปะแบบเก่า ศิลปะแนวนี้คือการแสดงความเยาะเย้ย ถากถาง บางที่อาจดูเป็นศิลปะที่สกปรก ประหลาด ไร้ซึ่งเหตุผล แต่แฝงไปด้วยความขี้เล่น
Marcel Duchamp : L.H.O.O.Q. C. 1913
Marcel Duchamp(Photography)
ศิลปินกลุ่มดาด้ามักจะมองงานจิตรกรรมของศิลปินกลุ่มอื่นอย่างดูถูกดูแคลน เพราะพวกดาด้าคิดว่า ความสวยงามที่แท้จริงไม่มีบนโลก และผลงานเหล่านั้นเป็นผลงานที่เพ้อฝัน ซึ่งขัดกับโลกในความเป็นจริงในมุกมองของพวกดาด้า พวกดาด้ามักจะคิดว่าโลกนี้ไม่สวยงาม มีแต่ความเสแสร้ง หลอกลวง ศิลปินแบบดาด้าจึงมันถูกวิจารณ์เป็นศิลปะที่ไร้ความสวยงาม และทำลายคุณค่าของงานศิลปะที่มีมาแต่เดิม เพราะไม่มีการอิงหลักตรรกวิทยาใดๆ แต่เป็นการสร้างงานศิลปะแบบไร้จิตสำนึก ในบางที่อาจเป็นไปในทางวิตถาร ดูพิสดาร อีกทั้งยังเป็นศิลปะที่กระชากอารมณ์และพฤติกรรมอันเลวร้ายของผู้ชมอย่างดุเดือดและทำให้คนดูเดือดดาลเป็นอย่างยิ่ง
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทั้งปวงทำให้เกิดคำถามว่าศิลปะแบบดาด้านี้เรียกได้ว่าเป็นงานศิลปะหรือไม่ และเกิดความคิดขัดแย้งว่า อะไรที่เรียกว่าเป็นศิลปะ แล้วอะไรที่ไม่ใช่ศิลปะ Duchamp ได้ให้มุมมองในเรื่องนี้ว่า "อะไรก็ได้ที่ศิลปินบอกว่ามันเป็นงานศิลปะมันก็ต้องเป็นงานศิลปะ ตามที่ศิลปินบอก" และนี่ก็คือข้อสรุปข้อหนึ่งของศิลปะแบบดาด้า
ศิลปะแบบดาด้าเป็นศิลปะที่เกิดขึ้นโดยอิทธิพลจากสงครามโลกครั้งที่ 1 กลุ่มศิลปินนั้นเป็นกลุ่มคนที่มีความคิดเห็นต่อต้านเหตุผล จึงมักสร้างสรรค์งานที่ตรงข้ามกับความเป็นจริง เป็นการสร้างศิลปะแบบไร้เหตุผลและที่มา แต่จะปล่อยให้ทุกอย่างเป็นเรื่องบังเอิญ และเป็นศิลปะที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้คนส่วนใหญ่จะไม่เห็นด้วยกับศิลปะแนวนี้ แต่ศิลปะแนวนี้ก็อาจจะได้รับความนิยมจากคนบางกลุ่มจึงได้มีการเผยแพร่ไปยังกลุ่มประเทศแถบสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งในบางมุมมองศิลปะแบบดาด้าก็หาได้เป็นศิลปะที่เลวร้ายเสมอไป หากแต่เป็นศิลปะที่มีความแปลกใหม่ สร้างสรรค์ในสิ่งที่ผู้อื่นไม่คาดคิด และในบางทียังแฝงความขี้เล่น ทำให้เมื่อที่เรามองงานศิลปะอย่างปราศจากอคติงานศิลปะชิ้นนั้นอาจจะสร้างเสียงหัวเราะ หรือทำให้เราอารมณ์ดีขึ้นเพราะความคิดอันแปลกประหลาดของพวกเขาก็เป็นได้
อ้างอิง
ดาด้า. (ม.ป.ป.). สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2557, จาก http://www.designer.co.th/1290
ประวัติศาสตร์ศิลปะ. (ม.ป.ป.). สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2557, จาก http://knowledge.eduzones.com/knowledge-2-12-43185.html
L.H.O.O.Q.(ม.ป.ป.). สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2557, จาก http://www.artofcolour.com/painting-profile/frame-profiles-no6.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น