โดย ชลิตา บวรบุญ
สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ วรรณกรรมในยุโรปตะวันตกมีผลงานที่เขียนด้วยภาษาท้องถิ่นและสะท้อนความคิดด้านมนุษยนิยมอย่างแพร่หลายเนื่องจากมีเครื่องแท่นพิมพ์หนังสือ ที่สามารถพิมพ์หนังสือได้จำนวนมากในเวลารวดเร็ว นอกจากการพิมพ์จะเป็นการเผยแพร่แนวคิดแบบมนุษย์นิยมแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการผลิตผลงานวรรณกรรมของนักวิชาการ และกวีในสังคมยุโรปอีกด้วย
ผู้บุกเบิกแนวคิดด้านมนุษย์นิยมในแหลมอิตาลีคือ ฟรานเซสโก เพราช (FRANCESCO PETRARCA : ค.ศ. 1304-1374) ชาวอิตาลีซึ่งรับรูปแบบจากวรรณกรรมโรมันและถ่ายทอดเป็นผลงานประเภทกวีนิพนธ์ที่มีอิทธิพลต่อความคิดของนักมนุษย์นิยมรุ่นต่อมา และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งมนุษยนิยม ผู้ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความงดงามของภาษาละตินและการใช้ภาษาละตินให้ถูกต้อง ผู้ที่สนใจและนิยมงานเขียนวรรณคดีประเภทคลาสสิกจะค้นคว้าศึกษางานของ ปราชญ์สมัยโรมันตามห้องสมุดของวัดและโบสถ์วิหารในยุโรป แล้วนำ มาคัดลอกรวมทั้งนำวรรณคดีและแนวคิดของปรัชญากรีกมาแปลเป็น ภาษาละตินเผยแพร่ทั่วไป
ส่วนนักเขียนที่มีชื่อเสียงที่สุดในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการของแหลมอิตาลี คือ นิคโคโล มา- เคียเวลลี (NICCOLO MACHIAVELLI : ค.ศ. 1469-1527)ซึ่งเป็นทั้งนักรัฐศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ ผลงานที่สำคัญของเขาคือหนังสือเรื่อง The Prince หรือเจ้าชาย ซึ่งสะท้อนแนวคิดในการบริหารและการปกครอง ที่เน้นด้านปฏิบัติมากกว่าอุดมการณ์หรือจริยธรรมของผู้ปกครอง
นอกจากนี้นอกแหลมอิตาลีก็มีนักมนุษย์นิยมที่มีผลงานโดเด่นด้วยที่สำคัญได้แก่ อีรัสมัส (Erasmus) ชาวเนเธอร์แลนด์ ซึ่งประยุกต์แนวคิดแบบกรีกและโรมันในการวิเคราะห์คัมภีร์ไบเบิล โดยใช้หลักเหตุผลประกอบความศรัทธาในศาสนาแทนความเชื่อแบบงมงาย และนักมนุษย์นิยมชาวอังกฤษชื่อ เซอร์ธอมัสมอร์ (SIR THOMAS MORE : ค.ศ. 1478-1536) เขียนหนังสือเกี่ยวกับรัฐในอุดมคติชื่อ Utopia (ยูโทเปีย) กล่าวถึงเมืองในอุดมคติที่ปราศจากความเลวร้าย ซึ่งมีชื่อเสียงแพร่หลายจนกระทั่งปัจจุบันและคำว่า “ยูโทเปีย” ได้กลายเป็นคำศัพท์ที่หมายถึงรัฐในอุดมคติซึ่งผลงานของนักมนุษยนิยมเหล่านี้นำไปสู่การต่อต้านการปกครองและ วิธีปฏิบัติของคริสตจักรที่ขัดต่อคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการ ปฏิรูปศาสนาขึ้นใน ค.ศ. 1517
ส่วนงานวรรณกรรมที่เป็นบทละคร นักประพันธ์ที่สำคัญ คือ วิลเลียมเช็กสเปียร์ (WILLIAM SHAKESPEARE: ค.ศ. 1564-1616) ซึ่งเขียนบทละครที่มีชื่อเสียง คือ โรมิโอและ จูเลียต (ROMEO AND JULIET) เวนิสวาณิช (THE MARCHANT OF VENICE) เลียร์ แมคเบท และฝันคืนกลางฤดูร้อน
ปัจจุบันวรรณกรรมที่สำคัญในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีการตีพิมพ์ แปลเป็นภาษาต่างๆ และเผยแพร่ทั่วโลกอีกทั้งวรรณกรรมที่เป็นบทละครบางเรื่องยังถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ เช่น โรมิโอและจูเลียต ซึ่งได้รับการตอบรับดีมาก และจากการได้รับอิทธิพลจากแนวคิดแบบมนุษยนิยม ทำให้ชาวยุโรปมีแนวคิดในการ ดำเนินชีวิตในโลกปัจจุบันให้ดีและสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อความสุขและความมั่นคงให้แก่ตน
อ้างอิง
การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ. (2556). สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2557 จาก http://metricsyst.wordpress.com/2013/02/15/การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ-renaissan/
การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ. (2556). สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2557 จาก http://www.thaigoodview.com/node/157272
สุพรรณิกา แซ่ฟุ้ง. (ม.ป.ป.). การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2557 จาก http://suphannigablog.wordpress.com//หน่วยที่-3/การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ/
สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ วรรณกรรมในยุโรปตะวันตกมีผลงานที่เขียนด้วยภาษาท้องถิ่นและสะท้อนความคิดด้านมนุษยนิยมอย่างแพร่หลายเนื่องจากมีเครื่องแท่นพิมพ์หนังสือ ที่สามารถพิมพ์หนังสือได้จำนวนมากในเวลารวดเร็ว นอกจากการพิมพ์จะเป็นการเผยแพร่แนวคิดแบบมนุษย์นิยมแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการผลิตผลงานวรรณกรรมของนักวิชาการ และกวีในสังคมยุโรปอีกด้วย
ผู้บุกเบิกแนวคิดด้านมนุษย์นิยมในแหลมอิตาลีคือ ฟรานเซสโก เพราช (FRANCESCO PETRARCA : ค.ศ. 1304-1374) ชาวอิตาลีซึ่งรับรูปแบบจากวรรณกรรมโรมันและถ่ายทอดเป็นผลงานประเภทกวีนิพนธ์ที่มีอิทธิพลต่อความคิดของนักมนุษย์นิยมรุ่นต่อมา และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งมนุษยนิยม ผู้ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความงดงามของภาษาละตินและการใช้ภาษาละตินให้ถูกต้อง ผู้ที่สนใจและนิยมงานเขียนวรรณคดีประเภทคลาสสิกจะค้นคว้าศึกษางานของ ปราชญ์สมัยโรมันตามห้องสมุดของวัดและโบสถ์วิหารในยุโรป แล้วนำ มาคัดลอกรวมทั้งนำวรรณคดีและแนวคิดของปรัชญากรีกมาแปลเป็น ภาษาละตินเผยแพร่ทั่วไป
ส่วนนักเขียนที่มีชื่อเสียงที่สุดในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการของแหลมอิตาลี คือ นิคโคโล มา- เคียเวลลี (NICCOLO MACHIAVELLI : ค.ศ. 1469-1527)ซึ่งเป็นทั้งนักรัฐศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ ผลงานที่สำคัญของเขาคือหนังสือเรื่อง The Prince หรือเจ้าชาย ซึ่งสะท้อนแนวคิดในการบริหารและการปกครอง ที่เน้นด้านปฏิบัติมากกว่าอุดมการณ์หรือจริยธรรมของผู้ปกครอง
นอกจากนี้นอกแหลมอิตาลีก็มีนักมนุษย์นิยมที่มีผลงานโดเด่นด้วยที่สำคัญได้แก่ อีรัสมัส (Erasmus) ชาวเนเธอร์แลนด์ ซึ่งประยุกต์แนวคิดแบบกรีกและโรมันในการวิเคราะห์คัมภีร์ไบเบิล โดยใช้หลักเหตุผลประกอบความศรัทธาในศาสนาแทนความเชื่อแบบงมงาย และนักมนุษย์นิยมชาวอังกฤษชื่อ เซอร์ธอมัสมอร์ (SIR THOMAS MORE : ค.ศ. 1478-1536) เขียนหนังสือเกี่ยวกับรัฐในอุดมคติชื่อ Utopia (ยูโทเปีย) กล่าวถึงเมืองในอุดมคติที่ปราศจากความเลวร้าย ซึ่งมีชื่อเสียงแพร่หลายจนกระทั่งปัจจุบันและคำว่า “ยูโทเปีย” ได้กลายเป็นคำศัพท์ที่หมายถึงรัฐในอุดมคติซึ่งผลงานของนักมนุษยนิยมเหล่านี้นำไปสู่การต่อต้านการปกครองและ วิธีปฏิบัติของคริสตจักรที่ขัดต่อคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการ ปฏิรูปศาสนาขึ้นใน ค.ศ. 1517
ส่วนงานวรรณกรรมที่เป็นบทละคร นักประพันธ์ที่สำคัญ คือ วิลเลียมเช็กสเปียร์ (WILLIAM SHAKESPEARE: ค.ศ. 1564-1616) ซึ่งเขียนบทละครที่มีชื่อเสียง คือ โรมิโอและ จูเลียต (ROMEO AND JULIET) เวนิสวาณิช (THE MARCHANT OF VENICE) เลียร์ แมคเบท และฝันคืนกลางฤดูร้อน
ปัจจุบันวรรณกรรมที่สำคัญในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีการตีพิมพ์ แปลเป็นภาษาต่างๆ และเผยแพร่ทั่วโลกอีกทั้งวรรณกรรมที่เป็นบทละครบางเรื่องยังถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ เช่น โรมิโอและจูเลียต ซึ่งได้รับการตอบรับดีมาก และจากการได้รับอิทธิพลจากแนวคิดแบบมนุษยนิยม ทำให้ชาวยุโรปมีแนวคิดในการ ดำเนินชีวิตในโลกปัจจุบันให้ดีและสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อความสุขและความมั่นคงให้แก่ตน
อ้างอิง
การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ. (2556). สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2557 จาก http://metricsyst.wordpress.com/2013/02/15/การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ-renaissan/
การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ. (2556). สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2557 จาก http://www.thaigoodview.com/node/157272
สุพรรณิกา แซ่ฟุ้ง. (ม.ป.ป.). การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2557 จาก http://suphannigablog.wordpress.com//หน่วยที่-3/การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น