แมนเนอร์ (The Manor) ระบบอุปถัมภ์และพึ่งพาตนเองแบบครบวงจร

โดย ภาณุุพงศ์ ช่างเกวียน

ระบบแมนเนอร์เป็นระบบการปกครองที่พึ่งพาตนเองเกิดในยุโรป ระบบนี้เป็นระบบที่น่าสนใจมาก เพราะเป็นระบบที่เป็นต้นแบบของการปกครองแบบย่อย คือในแมนเนอร์หนึ่งๆนั้นจะมี 4 ชนชั้นคอยควบคุมดูแลซึ่งกันและกัน

ระบบแมนเนอร์มีมาตั้งแต่สมัยโรมันรุ่งเรืองมาจนถึงยุคแองโกล - แซกซอน ในอังกฤษและแพร่หลายไปอย่างกว้างขวางในตอนปลายของสมัยกลาง โดยแมนเนอร์จะประกอบด้วย หมู่บ้านมีปราสาทคฤหาสน์และวังสำหรับขุนนางและกษัตริย์ โดยจะมีคฤหาสน์ของผู้ปกครองตั้งอยู่ตรงกลางล้อมรอบด้วยคูกั้นเป็นที่อยู่ของครอบครัว เจ้าของที่ดินและอัศวิน รวมถึงผู้จัดการดูแลแมนเนอร์ พระของหมู่บ้าน ถัดจากคูที่ล้อมรอบจะเป็นที่อยู่อาศัยของชาวไร่ชาวนา ส่วนที่ดีที่สุดไว้เป็นสมบัติส่วนตัวของเจ้าของที่ดินและพระ ที่เหลือเจ้าของที่ดินจะแบ่งให้พวกไพร่ติดที่ดิน แต่ละครอบครัวจะขยายหรือโยกย้ายไม่ได้ถ้าเจ้าของที่ดินไม่สั่ง และมีที่ดินเพื่อเพาะปลูก

การเกษตรถือว่าเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สุด และผู้ที่อาศัยในแมนเนอร์ประกอบด้วย 4 ชนชั้นได้แก่ ชนชั้นขุนนางหรือเจ้าของแมนเนอร์ ชนชั้นไพร่ ชนชั้นทาส ชนชั้นอื่นๆ เช่น เสรีชน ทาส ชาวเมือง วิถีชีวิตทางเศรษฐกิจในแมนเนอร์ส่วนใหญ่ผูกพันกับการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์ โดยอาจมีการค้าบ้างตามเมืองต่าง ๆ การเกษตรกรรมจะทำเพื่อการเลี้ยงชีพมากกว่าการค้า แต่ก็ได้มีการนำผลิตผลที่เหลือแลกเปลี่ยนกับสินค้าอื่นๆ ที่พ่อค้าเร่นำมาขาย สิทธิและหน้าที่ของแต่ละคนในแมนเนอร์จะเป็นอย่างไรย่อมแล้วแต่ขนบธรรมเนียมในแมนเนอร์ที่กำหนดไว้

ต่อมามีปัญหาต่างๆเกิดขึ้นมากมายในแมนเนอร์ เช่น การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชาการ การฟื้นฟูทางการค้า การขยายตัวของอุตสาหกรรมและการตลาด การเกิดโรคระบาดใหญ่ การเรียกร้องค่าจ้างสูงขึ้น ซึ่งสาเหตุดังกล่าวเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ระบบแมนเนอร์ล่มสลายลง

อ้างอิง

ระบบเศรษฐกิจแบบเมเนอร์. (ม.ป.ป.) . สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2557, จาก http://www.baanjomyut.com/library_2/history_of_economic_doctrines/04.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น