โดย สุพิรญาณ์ พสิษฐ์ธุวานนท์
ในประวัติศาสตร์ของเรา มีสงครามที่เลวร้ายและรุนแรงเกิดขึ้นมากมายหลายครั้ง หนึ่งในสงครามครั้งสำคัญของประวัติศาสตร์มนุษย์ก็คือ “สงครามครูเสด” (Crusedes)
สงครามครั้งนี้เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ โดยสรุปได้ดังนี้
ความศรัทธาต่อศาสนาคริสต์ เป็นเหตุผลสำคัญที่ผลักดันให้ชาวยุโรปทำสงครามครูเสด เนื่องจากชาวคริสต์จากยุโรปที่เดินทางไปแสวงบุญยังนครเยรูซาเล็มถูกขัดขวางหรือบางคนถึงกับถูกสังหารจากชาวมุสลิมที่ครอบครองปาเลสไตน์อยู่ สำนักวาติกันองค์กรสูงสุดของศาสนาคริสต์จึงได้เรียกร้องให้คริสเตียนไปร่วมรบเพื่อชิงนครเยรูซาเล็มจากชาวมุสลิม โดยนักรบจะเย็บเครื่องหมายกางเขนไว้บนเสื้อผ้าของตน จึงถูกเรียกว่า “Crusader” มีความหมายว่า “ผู้ที่ติดเครื่องหมายกางเขน” ซึ่งเป็นที่มาของชื่อสงครามครูเสด
เหตุผลทางการเมือง ในสมัยกลาง สถาบันศาสนามีอิทธิพลเหนือกษัตริย์ เพื่อแสดงถึงอำนาจนั้นจึงได้ชักนำให้กษัตริย์ส่งกองทัพไปรบกับชาวมุสลิม ขณะเดียวกันก็เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าการที่กษัตริย์เหล่านั้นไปร่วมรบไม่ใช่เพียงศรัทธาต่อศาสนาคริสต์ แต่ยังเป็นการตอบสนองต่อนโยบายของสันตะปาปาเพื่อความมั่นคงทางการเมืองของตนด้วย
การแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สงครามครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น กลุ่มพ่อค้าเมืองเวนิส (Venice) จะลดค่าขนส่งที่มีมูลค่าสูงให้กับกองทัพหากยินดียกทัพไปตีเมืองซารา (Zare) ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญบนฝั่งทะเลเอเดรียติก (Adriatic Sea) ซึ่งเป็นคู่แข่งทางการค้าของตน
ผลกระทบจากสงครามครูเสด มีทั้งด้านดีและไม่ดีเกิดขึ้นมากมาย เช่น สงครามครูเสดทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปและโลกมุสลิมเสื่อมลงเป็นอย่างมากแต่ก็มีผลทำให้ระบบฟิวดัลเสื่อมลงจนสามารถพัฒนารัฐชาติได้ได้เวลาต่อมา สงครามครั้งนี้ยังเปิดโลกทัศน์แก่ชาวยุโรปเกี่ยวกับโลกตะวันออก โดยเฉพาะด้านความก้าวหน้าและเทคโนโลยี ทำให้ชาวยุโรปนำความรู้ไปพัฒนาเป็นอาวุธปืนซึ่งช่วยให้ชนะสงครามกับชาวเอเชีย และกลายเป็นมหาอำนาจของโลก นอกจากนี้ยังมีการแลกเปลี่ยนความคิด เปิดรับแนวคิดใหม่ๆ ซึ่งมีส่วนต่อการพัฒนาอุดมการณ์เสรีนิยมของยุโรปสมัยใหม่ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามสงครามครั้งนี้ยังกินระยะเวลายาวนานกว่า 200 ปี และคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 7,000,000 คน รวมถึงเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินอีกนับไม่ถ้วน นับเป็นความเสียหายครั้งยิ่งใหญ่ของมนุษย์ที่เกิดจากความขัดแย้งทางศาสนา ดังนั้น สงครามครั้งนี้จึงเป็นบทเรียนครั้งสำคัญให้เราได้คิดและไตร่ตรองเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นเกิด
อ้างอิง
สงครามครูเสด (The Crusades, ค.ศ.1096-1291). มปป, สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2557 จาก http://metricsyst.wordpress.com/2013/02/13/สงครามครูเสด-the-crusades-ค-ศ-1096-1291/
มารู้จักสงครามครูเสด สงครามศาสนาแห่งมวลมนุษยชาติ. มปป, สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2557 จาก http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2012/10/X12754914/X12754914.html
ในประวัติศาสตร์ของเรา มีสงครามที่เลวร้ายและรุนแรงเกิดขึ้นมากมายหลายครั้ง หนึ่งในสงครามครั้งสำคัญของประวัติศาสตร์มนุษย์ก็คือ “สงครามครูเสด” (Crusedes)
สงครามครั้งนี้เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ โดยสรุปได้ดังนี้
ความศรัทธาต่อศาสนาคริสต์ เป็นเหตุผลสำคัญที่ผลักดันให้ชาวยุโรปทำสงครามครูเสด เนื่องจากชาวคริสต์จากยุโรปที่เดินทางไปแสวงบุญยังนครเยรูซาเล็มถูกขัดขวางหรือบางคนถึงกับถูกสังหารจากชาวมุสลิมที่ครอบครองปาเลสไตน์อยู่ สำนักวาติกันองค์กรสูงสุดของศาสนาคริสต์จึงได้เรียกร้องให้คริสเตียนไปร่วมรบเพื่อชิงนครเยรูซาเล็มจากชาวมุสลิม โดยนักรบจะเย็บเครื่องหมายกางเขนไว้บนเสื้อผ้าของตน จึงถูกเรียกว่า “Crusader” มีความหมายว่า “ผู้ที่ติดเครื่องหมายกางเขน” ซึ่งเป็นที่มาของชื่อสงครามครูเสด
เหตุผลทางการเมือง ในสมัยกลาง สถาบันศาสนามีอิทธิพลเหนือกษัตริย์ เพื่อแสดงถึงอำนาจนั้นจึงได้ชักนำให้กษัตริย์ส่งกองทัพไปรบกับชาวมุสลิม ขณะเดียวกันก็เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าการที่กษัตริย์เหล่านั้นไปร่วมรบไม่ใช่เพียงศรัทธาต่อศาสนาคริสต์ แต่ยังเป็นการตอบสนองต่อนโยบายของสันตะปาปาเพื่อความมั่นคงทางการเมืองของตนด้วย
การแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สงครามครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น กลุ่มพ่อค้าเมืองเวนิส (Venice) จะลดค่าขนส่งที่มีมูลค่าสูงให้กับกองทัพหากยินดียกทัพไปตีเมืองซารา (Zare) ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญบนฝั่งทะเลเอเดรียติก (Adriatic Sea) ซึ่งเป็นคู่แข่งทางการค้าของตน
ผลกระทบจากสงครามครูเสด มีทั้งด้านดีและไม่ดีเกิดขึ้นมากมาย เช่น สงครามครูเสดทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปและโลกมุสลิมเสื่อมลงเป็นอย่างมากแต่ก็มีผลทำให้ระบบฟิวดัลเสื่อมลงจนสามารถพัฒนารัฐชาติได้ได้เวลาต่อมา สงครามครั้งนี้ยังเปิดโลกทัศน์แก่ชาวยุโรปเกี่ยวกับโลกตะวันออก โดยเฉพาะด้านความก้าวหน้าและเทคโนโลยี ทำให้ชาวยุโรปนำความรู้ไปพัฒนาเป็นอาวุธปืนซึ่งช่วยให้ชนะสงครามกับชาวเอเชีย และกลายเป็นมหาอำนาจของโลก นอกจากนี้ยังมีการแลกเปลี่ยนความคิด เปิดรับแนวคิดใหม่ๆ ซึ่งมีส่วนต่อการพัฒนาอุดมการณ์เสรีนิยมของยุโรปสมัยใหม่ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามสงครามครั้งนี้ยังกินระยะเวลายาวนานกว่า 200 ปี และคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 7,000,000 คน รวมถึงเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินอีกนับไม่ถ้วน นับเป็นความเสียหายครั้งยิ่งใหญ่ของมนุษย์ที่เกิดจากความขัดแย้งทางศาสนา ดังนั้น สงครามครั้งนี้จึงเป็นบทเรียนครั้งสำคัญให้เราได้คิดและไตร่ตรองเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นเกิด
อ้างอิง
สงครามครูเสด (The Crusades, ค.ศ.1096-1291). มปป, สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2557 จาก http://metricsyst.wordpress.com/2013/02/13/สงครามครูเสด-the-crusades-ค-ศ-1096-1291/
มารู้จักสงครามครูเสด สงครามศาสนาแห่งมวลมนุษยชาติ. มปป, สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2557 จาก http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2012/10/X12754914/X12754914.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น