ศิลปะโกธิค (Gothic Art)

โดย ภัทรนิศวร์ จันทราธนสิทธิ์

ศิลปะโกธิคเป็นศิลปะที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12-15 สะท้อนถึงอิทธิพลของคริสต์ศาสนา มีศูนย์กลางที่ฝรั่งเศสและแพร่หลายไปยังประเทศอื่นๆ และมีลักษณะตามภูมิภาคนั้นๆ ด้วย

งานสถาปัตยกรรม มีรูปแบบวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสต์ สถาปัตยกรรมมีโครงสร้างทรงสูง มียอดหอคอยรูปทรงแหลมอยู่ข้างบน ทำให้ตัวอาคารมีรูปร่างสูงระหงขึ้นสู่เพดาน หรือมีลักษณะโปร่งบางและแลดูอ่อนช้อย

จุดเด่นของศิลปะแบบโกธิค คือ วิวัฒนาการใช้ค้ำยัน (buttress) ที่ทำด้วยอิฐปูนไว้ค้ำยันจากภายนอกและการใช้เสาหิน (Column) เพื่อรองรับน้ำหนักของหลังคา ช่วยทำให้น้ำหนักของหลังคากระจายไปทั่วโครงสร้างของตัวอาคาร ประตูหน้าต่างเปลี่ยนจากโค้งกลมขนาดเล็กเป็นโค้งแหลมขนาดกว้างที่แสงสว่างสามารถลอดผ่านได้ ตามบนกำแพงมีการประดับด้วยกระจกสี (stained glass) ขนาดใหญ่ด้วยสีสันงดงาม เช่น มหาวิหารแซงต์ เอเตียนน์ มหาวิหารโนตรดาม มหาวิหารแซงต์ ชาแปลล์ ในฝรั่งเศส

จิตรกรรมแบบโกธิค จุดเริ่มต้นของสไตล์ที่เรียกได้ว่าเป็นโกธิคของแท้ คือดูโศกเศร้า มืดมน และมีความรู้สึกมากกว่าจิตรกรรมในยุคที่ผ่านๆมา งานจิตรกรรมแบบโกธิคนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของความเชี่ยวชาญพื้นฐานในด้านงาน ช่างศิลป์ 4 ประการในการทำงานได้แก่ ภาพปูนเปียก (Fresco) ภาพบนกระดานไม้ ภาพวาดประกอบเรื่องราวหรือที่เรียกกันว่าอิลลัสสเตรชัน และงานกระจกสี

ประติมากรรมแบบโกธิค ใช้ประดับตกแต่งโบสถ์ส่วนสำคัญอยู่เหนือประตูทางเข้าและเสาใช้ประดับตกแต่งสุสานคนสำคัญเรื่องราวในคริสตศาสนารูปคนสัดส่วนค่อนข้างยาว เป็นเส้นตรงรอยยับย่นของเสื้อผ้ามากชอบสร้างรูปลอยตัว

งานศิลปะโกธิคได้รับความนิยมอย่างมากในยุโรป ทั้งฝรั่งเศส อิตาลี อังกฤษ เยอรมนี โดยเฉพาะในฝรั่งเศสซึ่งเป็นศูนย์กลงของศิลปะโกธิค มีการสร้างมหาวิหารตามรูปแบบศิลปะโกธิคมากมาย และยังวิวัฒนาการกลายมาเป็นศิลปะแบบเรอเนสซองค์ในสมัยต่อมาอีกด้วย

อ้างอิง

Gothics Art. (หนังสืออิเล็กทรอนิกส์). (ม.ป.ป.). ศิลปะโกธิค. ค้นเมื่อ 9 มกราคม 2557, จาก http://www.ksv.ac.th/tb/cai/social/west_medium_gothic.htm

วิกิพีเดีย. ศิลปะกอธิค. ค้นเมื่อ 9 มกราคม 2557, จาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%81.

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ16.3.66

    ดูสวยงามและโดดเด่นมาก

    ตอบลบ