มหาสงครามศาสนา ครูเสด (The Crusades)

โดย ศาศวรรษ พิมพิไสย

ในสมัยกลางนั้นได้เกิดสงครามศาสนาขึ้นคือ สงครามครูเสดเป็นสงครามระหว่างศาสนาคริสต์และอิสลามเพื่อแย่งชิงกรุงเยรูซาเล็มซึ่งเชื่อกันว่าเป็นดินแดนศักสิทธิ์โดยในสงครามนี้ทำให้เกิดวีรบุรุษขึ้นหลายคนและทำให้เกิดการค้าขายและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมขึ้น

สงครามครูเสดครั้งแรก เกิดขึ้นเมื่อค.ศ.1095-1101 โดยการนำทัพของปีเตอร์มหาฤาษีและ โรเบิร์ต เคอร์มโทส ดยุกแห่งนอร์มังดี โดยนำทัพประมาณ 50,000 คนโดยส่วนใหญ่เป็นชาวฝรั่งเศส ในปี ค.ศ 1099 กองทัพได้เดินทางไปถึงเยรูซาเล็มและเข้าปิดล้อมเมืองไว้ กองทัพมุสลิมที่ครองกรุงเยรูซาเล็มได้ทำการต่อสู้อย่างเข้มแข็งแต่สุดท้ายก็พ่ายแพ้ต่อกองทัพของคริสต์เตียน และแต่งตั้งก็อดฟรีย์ แห่งบูวียองเป็นผู้ครองนครเยรูซาเล็ม

สงครามครูเสดครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อค.ศ.1147-1149 เป็นการตอบโต้ของชาวคริสต์ที่เสียอาณาจักรเอเดสสาซึ่งนำทัพโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศสและพระเจ้าคอนราดที่ 3 แห่งเยอรมนีซึ่งกองทัพของทั้งสองได้พ่ายแพ้ต่อกองทัพของมุสสิมทำให้นำไปสู่การเสียกรุงเยรูซาเรมต่อพวกมุสลิม

สงครามครูเสดครั้งที่ 3 เกิดขึ้นหลังจากความล้มเหลวของสงครามครูเสดครั้งที่ 2 พระเจ้าริชาร์ดที่1แห่งอังกฤษต้องการจะทวงคืนเมือเยรูซาเรมจึงได้ยกทัพไปตีเมืองเยรูซาเรมและได้ทำสงครามกับซาลาดินซึ่งเป็นผู้นำกองทัพมุสลิมและจบลงด้วยการทำสัญญาสงบศึกโดยในสัญญาได้อนุญาตให้ชาวคริสต์ที่ไม่ถืออาวุธสามารถเดินทางไปแสวงบุญในเมืองเยรูซาเรมได้

ผลของสงครามครูเสดได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในยุโรปอย่างมากทำให้เกิดการติดต่อระหว่างโลกตะวันออกและตะวันตกในรูปแบบการทำการค้า ซึ่งเรียกว่า ยุคปฏิรูปการค้า และ ทำให้เกิดยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ การการสร้างสถาปตยกรรมที่รวมกันของสองศาสนา ตลอดจนความรู้ การศึกษาขึ้นมาด้วย

อ้างอิง

สงครามครูเสด-วิกิพีเดีย. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2556, จาก http://th.wikipedia.org/wiki/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น