สมาคมพ่อค้าและช่างฝีมือ (Guild)

โดย อนุกูล ชำนาญสิงห์

ในสมัยกลาง สังคมยุโรปในระบบฟิวดัลมีประชากรแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือผู้ปกครองและกลุ่มผู้อยู่ใต้ปกครอง เมื่อเศรษฐกิจขยายตัวในช่วงปลายสมัยฟิวดัล ได้เกิดกลุ่มพ่อค้าและสมาคมช่างฝีมือหรือสมาคมอาชีพ (Guild) ซึ่งเป็นชนชั้นกลางที่มีบทบาทสำคัญในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและการขยายการค้า กลุ่มชนชั้นนี้มีฐานะดี และมีบทบาทสำคัญทางการเมืองและเศรษฐกิจของยุโรปในสมัยกลาง

สมาคมอาชีพ (guilds or guilds) เป็นสมาคมของกลุ่มบุคคลที่มีประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งมีอยู่สองประเภท คือ สมาคมพ่อค้า (gild merchant) และสมาคมช่างฝีมือ (craft gilds) สมาคมแรกจะประกอบด้วยพ่อค้าทั้งหมดในเมืองนั้นๆ ที่รวมตัวกันปกป้อง ควบคุมและปรับปรุงการผลิตและการค้าของพวกเขาเอง

ส่วนสมาคมช่างฝีมือจะประกอบด้วย นายจ้างและช่างชํานาญงาน และผู้ฝึกงาน ในการผลิตสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง สมาคมอาชีพจะควบคุมคุณภาพของสินค้า และปริมาณสินค้าที่ผลิตขึ้นมาเพื่อขาย

ระบบสมาคมอาชีพ (gild system) เกิดขึ้นมาตั้งแต่ยุคสมัยโรมันต่อเนื่องมายุคกลาง เป็นระบบที่มีอยู่ในตัวเมืองทุกเมืองในสมัยนั้น ระบบสมาคมอาชีพในยุคกลาง จึงเป็นระบบการผูกขาดการผลิตและการค้าไว้เฉพาะกลุ่มอาชีพของตัวเอง ชนชั้นทางสังคมจึงแบ่งออกตามกลุ่มอาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม สิทธิและหน้าที่ทางสังคม บทบาทและหน้าที่ทางการเมือง ระบบสมาคมอาชีพ ค่อยเจริญเติบโตเข้ามาแทนที่ระบบการผลิตแบบขุนนางศักดินา เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการขยายตัวของตลาดและวิสาหกิจที่เติบโตเพิ่มขึ้น และได้พัฒนามาเป็นสมาคมการค้ารูปแบบต่างๆ

สมาคมพ่อค้าและช่างฝีมือในสมัยกลางเป็นการค้าและอุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่องจากยุคโรมัน
มีการค้าขายติดต่อกับตะวันออกใกล้ที่โรมันเคยค้าขายมาก่อน  การค้าขนาดใหญ่จึงเกิดขึ้นในยุโรปตะวันออก การอุตสาหกรรมเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่สนองตอบความต้องการหรือตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศที่ใกล้เคียง อุตสาหกรรมแต่ละชนิดจะอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของสมาคมอาชีพ

อ้างอิง

แนวคิดเศรษฐศาสตร์ยุคกลาง (2551) Retrieved 7 January 2014 from
 http://e-book.ram.edu/e-book/e/EC214(51)/EC214(51)-3.pdf

สมาคมอาชีพสมัยกลาง  Retrieved 7 January 2014 from
http://writer.dek-d.com/herstory/story/viewlongc.php?id=774208&chapter=4

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น