โดย สุพพัตรา สมานสิทธิ์
หากกล่าวถึงการดำเนินชีวิตของคนในสังคม ไม่ว่าจะอยู่ในชนชั้นใดหรือมีฐานะดีหรือไม่ ต่างก็ต้องการความบันเทิงทั้งทางตาและจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นการชื่นชมผลงานรูปภาพหรือการฟังเพลงเพื่อให้มีความผ่อนคลายลงจากการทำงานทั้งสิ้น
ในสมัยใหม่นี้วิทยาการต่างๆมีความก้าวหน้าไปมากอันสืบเนื่องมาจากยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการทั้งการพิมพ์และงานศิลปะ และในสมัยนี้ก็มีความขัดแย้งทางการเมืองอีกด้วย ซึ่งส่งผลให้ความเป็นอยู่ของคนในสังคมมีความยากลำบาก ศิลปินได้รับผลกระทบด้านความรู้สึกในการสร้างผลงาน เช่น ความไม่คำนึงถึงเหตุผลใช้ความรู้สึกเหนือสติปัญญาของศิลปะโรแมนติก โดยศิลปินผู้ที่มีชื่อเสียงท่านนั้นก็คือ “เออแฌน เดอลาครัวซ์”
แฟร์ดีนองด์ วิคตอร์ เออแฌน เดอลาครัวซ์ (Ferdinand Victor Eugène Delacroix) หรือ เออแฌน เดอลาครัวซ์ เป็นจิตรกรชาวฝรั่งเศส เกิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ 1798 เดอลาครัวซ์เกิดและโตในเมืองที่มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาคือ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส บิดาของเขาเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดของนโปเลียน โบนาปาร์ต ในตอนปลายของชีวิต เดอลาครัวซ์ทรมานกับโรคกล่องเสียงอักเสบซ้ำๆ ซึ่งทำให้กลายเป็นโรคเรื้อรัง ต่อมาจึงได้ไปพักฟื้นที่ชองป์โฮเซย์แต่ต่อมาสุขภาพของเขาก็แย่ลงเรื่อยๆและเสียชีวิตในที่สุด โดยมีแม่บ้านที่เขาไว้ใจเชื่อว่า เจนนี่ เลอ กิลลู (Jenny Le Guillou) อยู่ข้างๆเตียงของเขาในวาระสุดท้ายของชีวิต
เดอลาครัวซ์เป็นบุคคลที่สร้างสรรค์ผลงานในแนวศิลปะแบบโรแมนติกนิยม(Romanticism) เน้นการแสดงออกในลัทธิปัจเจกนิยม มักไม่คำนึกถึงเหตุผล จิตนาการ ความรู้สึกโดยมีอารมณ์อยู่เหนือเหตุผล มีการแสดงออกที่อิสระมากกว่าศิลปะสมัยก่อน มีการใช้สีที่รุนแรงรวมทั้งการทิ้งรอยฝีแปรงทำให้ภาพเกิดความเคลื่อนไหวและมีผลให้เกิดความสั่นสะเทือนในการมองภาพ มักแสดงออกถึงเรื่องราวในความเป็นอยู่ของสังคม เหตุการณ์ที่เกิดในสังคมในขณะนั้น เน้นการสะเทือนอารมณ์ที่รุนแรง ผลงานที่โด่งดังของเดอลาครัวซ์ก็ได้แก่ผลงานจิตรกรรมที่ชื่อว่า “เสรีภาพนำประชาชน”
การระบายสีภาพ “เสรีภาพนำประชาชน” ของเดอลาครัวซ์นั้นจะมีลักษณะทิ้งรอยของฝีแปรง (Painterly Style) มักใช้โทนสีที่มีลักษณะสีที่เข้มขรึมโดยใช้สีน้ำตาล สีดำและใช้สีขาวกระจายทั่วภาพอย่างอิสระ การจัดภาพนั้นมีการวางตำแหน่งศพในกองบิดเบี้ยวอยู่เบื้องหน้า เด็กวิ่งนำหน้าโดยยกมือชูธงขึ้นสูง สีของธงมีความหนักเบาตลอดภาพแต่ยังคงใช้สีเดิมๆ สีท้องฟ้านั้นใช้สีแดงสลับกับสีน้ำเงินเข้ม นอกจากนี้แล้วยังใช้สีน้ำเงินยังใช้เป็นสีของถุงเท้าของคนตายด้านซ้ายมือและเป็นสีเสื้อของเด็กที่วิ่งชูธงอีกด้วย
ด้วยความที่เดอลาครัวซ์อยู่ในสภาพสังคมที่มีแต่การเปลี่ยนแปลง ความรุนแรง เกิดการปฏิวัติ สงครามกลางเมือง ทำให้มีความสนใจเกี่ยวกับความเป็นไปทางสังคมละการเมือง แต่เขาเองหาทำสิ่งอื่นใดได้ไม่ นอกเสียจากจะสื่อออกมาทางผลงานของเขาโดยใช้อารมณ์ความรู้สึกที่มี สร้างสรรค์ผลงานชิ้นเยี่ยมขึ้นมาเท่านั้น
อ้างอิง
สมาพร คล้ายวิเชียร. (2009). เออแซน เดอลาครัว (EUGENE DELACROIX). สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2557, จาก http://www.samaporn.com/?p=1808.
สุริยะ ฉายะเจริญ. (2013). ธงชาติในงานจิตรกรรม “เสรีภาพนำประชาชน” (Liberty Leading the People) ของ แฟร์ดีนองด์ วิคตอร์ เออแฌน เดอลาครัวซ์ (Ferdinand Victor Eugène Delacroix). สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2557, จาก http://jumpsuri.blogspot.com/2013/05/liberty-leading-people-ferdinand-victor.html
เออแฌน เดอลาครัว. (2556). สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2557, จาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%8C%E0%B8%99_%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A7
เว็บบล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 418110 World Civilization (อารยธรรมโลก) สาขาวิชามนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ข้อมูลในที่นี้มุ่งเน้นเพื่อให้สาระความรู้และความบันเทิง ไม่ใช่งานเขียนเชิงวิชาการและไม่เหมาะสำหรับการนำไปอ้างอิงต่อ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น