พระกระยาหารมื้อสุดท้าย (The Last Supper)

โดย สุภัสสร คำดี

หลังจากสงครามครูเสดอันยาวนานกว่า 300 ปี ต่อมาโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ คือการฟื้นฟูศิลปะกรีกและโรมันพร้อมกับการพัฒนาความคิด สร้างและคิดค้นสิ่งใหม่ๆขึ้นมา เป็นยุคแห่งการแสวงหาความเป็นอิสรเสรีทางความคิดและความคิดอันไร้ขอบเขต

ศิลปะในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการก็ถือได้ว่ามีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพวาดชิ้นเอกอันบันลือโลก “The Last Supper” หรือภาพอาหารมือสุดท้ายของพระเยซู ศิลปินคือเลโอนาร์โด ดาวินชี่ ที่ได้วาดขึ้นในปี 1495 เป็นภาพที่วาดมาจากคัมภีร์ไบเบิล ตอนที่พระเยซูกำลังฉันพระกระยาหารร่วมกับสาวกทั้ง 12 คนของพระองค์ และพระองค์ได้ทำนายว่ามีสาวก 1 ใน 12 คนนี้จะทรยศหักหลังพระองค์ ทำให้กิริยาท่าทางของสาวกทั้งหมดหลังรับรู้คำทำนายบ้างก็ดูตกใจ บ้างก็ดูละคนตระหนก และบ้างก็สงสัย อย่างไรก็ตามภาพนี้ถือเป็นภาพพระกระยาหารมื้อสุดท้ายก่อนที่พระเยซูจะถูกนำตัวไปตรึงกับไม่กางเขน

ดาวินชี่ใช้เวลาในการวาดภาพนี้นานกว่า 3 ปี โดยเขาได้ใช้เทคนิคสีน้ำมันแทนเทคนิคสีน้ำ วาดบนผนังปูนเปียก แต่ก็ทำให้ภาพเกิดความเสียหายกว่า 50 เปอร์เซ็นต์หลังจากที่ดาวินชี่วาดเสร็จได้ไม่นาน เหตุที่เขาได้เปลี่ยนไปใช้เทคนิคสีน้ำมันก็เพื่อต้องการจะหาเทคนิคใหม่ๆในการวาดภาพ

ปัจจุบันภาพนี้ประดับอยู่บนผนังของวิหารซานตามาเรียเดลเลกราซี (Santa Maria delle Grazie) ในเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี โดยได้ถูกปรับปรุงดูแลมาแล้วหลายครั้งต่อหลายครั้ง ทำให้ภาพ The Last Supper ในปัจจุบันแตกต่างกับภาพในอดีตไปบ้างเล็กน้อย

อ้างอิง

โครงการพัฒนาบทเรียน E-learning วิชาสุนทรีศาสตร์. (มปป.). ศิลปะเรอเนซองส์ (พ.ศ.1940 - 2140). ค้นข้อมูล 28 มกราคม 2557, จาก http://www.ipesk.ac.th/ipesk/VISUALART/lesson436.html

kammala05. (2551). ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ( Renaissance ) . ค้นข้อมูล 28 มกราคม 2557, จาก
http://www.thaigoodview.com/node/19150

kakuze_atsu. (2553). รหัสลับดาวินซีที่คุณอาจ(ไม่)รู้มาก่อนถ้าไม่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (The Last Supper?). ค้นข้อมูล 28 มกราคม 2557, จาก http://kakuzeroom.blogspot.com/2010/08/last-supper.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น