สงครามโลกครั้งที่ 1 (World War I)

โดย กุลวัฒน์ วงศาโรจน์

สงครามโลกครั้งที่ 1 ถือว่าเป็นสงครามที่แย่งชิงความเป็นใหญ่และแข่งขันกันในการแสวงหาผลประโยชน์ของชาติมหาอำนาจในยุโรป จนมีการแบ่งมหาอำนาจเป็นสองฝ่าย ซึ่งต่างฝ่ายต่างแข่งขันกันในด้านการดำเนินนโยบายทางการทูตและทางการทหาร จนก่อให้เกิดสงคราม ซึ่งกินระยะเวลาที่ยาวนานและเกิดผลกระทบที่ตามมาหลายอย่าง

สงครามโลกครั้งที่ 1 นั้นเกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1914-1918 โดยมีชนวนเหตุของความขัดแย้งที่สำคัญ เมื่อ วันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 เกิดการลอบปลงพระชนม์ อาร์ช ดยุก ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ มกุฎราชกุมารแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ขณะเสด็จเยือนกรุงซาราเจโว เมืองหลวงของแคว้นบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา โดย กัฟรีโล ปรินซีป นักชาตินิยมชาวเซอร์เบีย โดยทาง ออสเตรีย-ฮังการี เชื่อว่า เซอร์เบียอยู่เบื้องหลังในการกระทำดังกล่าว จึงยื่นคำขาดต่อราชอาณาจักรเซอร์เบีย เป็นข้อเรียกร้อง 10 ประการ ซึ่งมีเจตนาทำให้ยอมรับไม่ได้และจุดชนวนสงครามขึ้น เมื่อเซอร์เบียยอมตกลงในข้อเรียกร้องเพียง 8 ข้อ ออสเตรีย-ฮังการี จึงประกาศสงครามเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914  และวันเดียวกันนั้น ประเทศออสเตรีย-ฮังการี ได้เปิดฉากรุกรานเซอร์เบียเป็นครั้งแรก ส่วนเยอรมันที่อยู่ฝ่ายเดียวกัน ก็เปิดฉากรุกรานเบลเยียม เป็นจุดเริ่มของสงคราม

สงครามครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายมหาอำนาจไตรภาคีและฝ่ายมหาอำนาจกลาง โดยฝ่ายมหาอำนาจไตรภาคี ประกอบด้วย ฝรั่งเศส อังกฤษ รัสเซีย และประเทศอาณานิคม หลังจากนั้นได้มีชาติมหาอำนาจเข้าร่วมเพิ่มเติมคือ จักรวรรดิญี่ปุ่น เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 1914 , อิตาลี เมื่อเดือนเมษายน ปี 1915 และสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนเมษายน ปี 1917 เนื่องจากการโจมตีเรือโดยสารลูสิตาเนีย ของอังกฤษจมลงใกล้ฝั่งทะเลของไอร์แลนด์ ซึ่งมีชาวอเมริกันเดินที่ทางมาด้วยเสียชีวิค 139 คน  หลังจากนั้นในเดือนพฤศจิกายน รัสเชียได้ถอนตัวจากสงครามเนื่องจาก เกิดการปฏิวัติในประเทศ โดยมีเลนินเป็นผู้นำการปฏิวัติ และหลังจากนั้นในวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ.1918 เลนิน  ผู้นำของโซเวียตรัสเซีย  ได้เข้าทำสัญญาสงบศึกเบรสท์ – ลิตอฟ กับเยอรมนี จึงเป็นการถอนตัวออกจากสงคราม

ส่วนอีกฝ่ายคือ ฝ่ายมหาอำนาจกลาง ประกอบด้วย จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จักรวรรดิเยอรมนีและดินแดนอาณานิคม จากนั้นมีจักรวรรดิออตโตมาน เข้าร่วมด้วยในเดือนตุลาคม ปี 1914 และบัลแกเรียในปี 1915 ประเทศที่วางตัวเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดได้แก่ เนเธอร์แลนด์ สเปน และประเทศตามคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย

หลังจากการรบที่ยาวนานกว่า 4 ปี ในที่สุด ฝ่ายพันธมิตรก็ได้รับชัยชนะ เหนือฝ่ายมหาอำนาจกลาง โดยภายหลังสงครามได้มีการจัดตั้งองค์กรสันนิบาตชาติ เพื่อแก้ไขวิกฤติการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศ  มีการเกิดใหม่ของ 7 ประเทศเนื่องมาจากการแยกดินแดนได้แก่ ฮังการี ยูโกสลาเวีย โปแลนด์ เชคโกสโลวาเกีย ลิทัวเนีย แลตเวีย แอสโตเนีย และนอกจากนั้นยังได้เกิดสนธิสัญญาสันติภาพ ซึ่งได้แก่   สนธิสัญญาแวร์ซายส์ สนธิสัญญาแซงต์ สนธิสัญญาเนยยี สนธิสัญญาตริอานอง และ สนธิสัญญาแซฟส์ หรือโล-ซานน์

ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 นั้นมีชนวนเหตุซึ่งเกิดจากการลอบปลงพระชนม์ อาร์ช ดยุก ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ และนำไปสู่ความขัดแย้งในด้านการทหาร และด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง สมดุลอำนาจ เรื่องการแข่งขันทางเศรษฐกิจ การแย่งชิงอาณานิคม ซึ่งภาคหลังสงครามดังกล่าวยังส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจทั่วโลก เกิดองค์กรสันนิบาตชาติ  และเกิดสนธิสัญญาหลายฉบับ  ซึ่งบางประเทศเกิดความไม่พอใจ และยังเป็นชนวนก่อให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นตามมาอีกด้วย

อ้างอิง

วาทิน ศานติ์ สันติ. (2552). สงครามโลกครั้งที่ 1 The World War 1 (ค.ศ.1914-1918) ภาคสรุป.     ค้นข้อมูล 28 มกราคม 2557, จาก http://www.gotoknow.org/posts/247778

สงครามโลกครั้งที่ 1 บทเรียนประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ. มปป.  ค้นข้อมูล 28 มกราคม 2557, จาก http://hilight.kapook.com/view/80035

HoNo. (2552). ผลของสงครามโลกครั้งที่ 1. ค้นข้อมูล 28 มกราคม 2557, จาก http://www.thaigoodview.com/node/48620


1 ความคิดเห็น: