บทบาทของขุนนาง (Land Lord) ในยุคฟิวดัล

โดย  ณิชาภัทร ตินทุกะสิริ

ระบบศักดินาสวามิภักดิ์ หรือ ระบบฟิวดัล (Feudalism) เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่9 ของยุโรป เป็นระบบที่ครอบคลุมในทุกด้านทั้งด้านการปกครอง การเมือง เศรษฐกิจและสังคม ประกอบกับในช่วงนั้นจักรวรรดิโรมันเสื่อมสลายลงอานารยชนเหล่านี้ต่างก็ตั้งรัฐอิสระของตนขึ้นมาและมีอํานาจ สิทธิ์ขาดเหนือที่ดินที่ครอบครองอยู่และบ้างก็ตั้งตนเป็นกษัตริย์และพระราชทานที่ดินให้กับขุนนางที่สนับสนุนตัวเอง จึงทำให้เกิดการแย่งชิงอำนาจระหว่างชนเผ่าต่างๆและเกิดสงครามอยู่ตลอดเวลา

ในการทำสงครามแต่ละครั้งจะมีกษัตริย์เป็นผู้นำในการรบ เมื่อได้รับชัยชนะก็จะพระราชทานที่ดินให้แก่แม่ทัพนายกองเป็นรางวัล  แม่ทัพนายกองเหล่านั้นก็จะกลายเป็นขุนนางเจ้าของที่ดิน หรือ Land  Lord  โดยที่ดินดังกล่าวนี้เรียกว่า ฟีฟ [ Fief ] และขุนนางมักได้ที่ดินผืนใหญ่โตเกินความจำเป็นจึงต้องมีการแบ่งที่ดินให้กับขุนนางระดับรองลงไป  เพื่อจะได้รับความคุ้มครองในฐานะวัสซัส (Vassal) คือ ผู้รับมอบให้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและต้องจงรักภักดีต่อเจ้าของที่ดินด้วย ประโยชน์ที่ขุนนางจะได้รับคือ ความช่วยเหลือทางด้านกำลัง ได้แก่  อัศวินและทหาร  ตลอดจนบริวารต่างๆ  และประชาชนที่อาศัยอยู่ในที่ดินนั้นๆ ก็จะมีลักษณะเป็นข้ารับใช้ขุนนางอีกทอดหนึ่ง  เรียกว่าเซิร์ฟ [ Sert ]  บุคคลพวกนี้ไม่ใช่เสรีชนและในขณะเดียวกันก็ไม่ใช่ทาส ความสัมพันธ์ของนี้จึงเป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้อุปถัมภ์และผู้รับอุปถัมภ์

กล่าวโดยสรุปคือระบบฟิวดัล (Feudalism) มีที่มาจาก ฟีฟ (Fief) ซึ่งมีความหมายว่า ที่ดินอันเป็น        พันธะสัญญาระหว่างเจ้านายผู้เป็นเจ้าของที่ดินกับผู้ใช้ประโยชน์ในที่ดิน จึงทำให้หลักการของสังคมระบบฟิวดัล ทุกคนจะต้องเป็นข้ารับใช้ผู้ที่อยู่เหนือกว่าตนเสมอ

อ้างอิง

ภาสภัทร รักษาจันทร์, (2555). เรื่องประวัติศาสตร์สมัยกลาง. วันที่สืบค้น
 7 มกราคม 2557.  From : http://www.l3nr.org/posts/491294

วริชญา วัฒนรุ่ง. แนวคิดเศรษฐศาสตร์ยุคกลาง, น. 144-147. วันที่สืบค้น 7 มกราคม 2557. From : http://e-book.ram.edu/e-book/e/EC214(51)/EC214(51)-3.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น