ระบบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism) ในยุโรปสมัยกลาง

โดย ธีร์วรา วีรวุฒิไกร

ในยุคกลางบ้านเมืองเกิดความเสื่อมโทรม กษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งขุนนางให้มีหน้าที่ดูแลประชาชน โดยขุนนางได้ใช้อำนาจที่ได้รับจากการแต่งตั้งของกษัตริย์ จึงทำให้เกิดระบบฟิวดัลขึ้น

ระบบฟิวดัล (Feudalism) หรือระบบศักดินาสวามิภักดิ์ ซึ่งเป็นระบบที่ครอบคลุมทั้งทางด้านการเมืองการปกครอง สังคม และ เศรษฐกิจของยุโรปยุคกลางในเวลาต่อมา คำว่า Feudalism มาจากคำว่า ฟีฟ (Fief) หมายถึง ที่ดินที่เป็นพันธสัญญาระหว่างเจ้านายที่เป็นเจ้าของที่ดิน ซึ่งเจ้าของที่ดินจะเป็นพวกขุนนางที่เรียกว่า ลอร์ด (Lord) กับผู้ใช้ประโยชน์ในที่ดิน คือ ข้า หรือเรียกว่า วัสซัล (Vassal) ความสัมพันธ์ในระบบฟิวดัลคือความสัมพันธ์ระหว่างผู้อุปถัมภ์กับผู้ได้รับการอุปถัมภ์

ระบบฟิวดัลนั้น เริ่มจากกษัตริย์ที่เจ้านายชั้นสูงของระบบและเป็นเจ้าของที่ดินทั้งราชอาณาจักร จะทรงพระราชทานที่ดินให้กับขุนนางระดับสูงในท้องถิ่นเพื่อให้ขุนนางระดับสูงจงรักภักดีและเป็นการตอบแทนความดีความชอบจากการทำสงคราม ทั้งกษัตริย์และขุนนางจะมีพันธะต่อกัน และขุนนางมีหน้าที่ส่งทหารมาช่วยเหลือเมื่อมีสงคราม ส่งภาษีตามเวลาที่กำหนด ส่วนกษัตริย์มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองและความยุติธรรมแก่ขุนนาง ส่วนประชาชนที่เป็นข้าติดที่ดินจะได้รับการคุ้มครองจากขุนนางระดับสูง จากนั้นขุนนางจะนำที่ดินนั้นมาหาผลประโยชน์และปกครองดูแลผู้คนดูแลคนที่จะทำมาหากินบนที่ดิน ประชาชนที่อาศัยและทำงานในที่ดินนั้นเรียกว่า เซิร์ฟ (serf) หรือข้าติดที่ดิน

ดังนั้น ระบบนี้จึงเป็นการแบ่งที่ดินลงไปเป็นทอดๆ ขุนนางล่างสุดคืออัศวิน โดยมีปราสาทเป็นศูนย์กลาง ซึ่งเป็นที่อยู่ของขุนนางและครอบครัว บริเวณที่ดินโดยรวมเป็นที่ทำกินของชาวนาและเชิร์ฟ ซึ่งรวมกันเป็นหมู่บ้าน ซึ่งชาวนาและเซิร์ฟจะต้องแบ่งผลผลิตให้เจ้าของที่ดินเป็นค่าตอบแทน ความสัมพันธ์หรือข้อตกลงของลอร์ดกับวัสซัล เรียกว่า “การแสดงความจงรักภักดี” (homage) หรือ สวามิภักดิ์

การที่กษัตริย์แต่งตั้งขุนนางให้ดูแลประชาชนเพื่อเป็นการตอบแทนให้กับขุนนางที่ช่วยเหลือ ซึ่งขุนนางก็ต้องตอบแทนกษัตริย์โดยการช่วยเหลือด้านต่างๆ ให้กับกษัตริย์ซึ่งระบบฟิวดัลจึงเป็นระบบที่แสดงถึงการจงรักภักดีหรือสวามิภักดิ์ที่มีต่อกัน

อ้างอิง

ระบบฟิวดัล.สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2557, จาก http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2024c5c736408109

ประวัติศาสตร์สากล. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2557, จาก http://suphannigablog.wordpress.com/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-3/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%A5/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น