สงครามวอเตอร์ลู (Waterloo)

โดย วิภาวี เพชรรื่น

สงครามวอเตอร์ลูเป็นอีกเหตุการณ์สำคัญหนึ่งที่มีชื่อเสียงมากในสงครามนโปเลียน และเป็นสงครามสุดท้ายในชีวิตของนโปเลียน ผู้ได้รับชัยในศึกครั้งนี้คือ ดยุคแห่งเวลลิงตัน อาเธอร์ เวลเลสลี่ย์ ถึงกับเอ่ยปากว่า ‘มันเป็นเรื่องที่เฉียดฉิวมาก’ เพราะสงครามครั้งนี้เป็นการรบที่ดุเดือด มีสภาพแวดล้อมที่โหดร้าย รวมถึงกลยุทธิ์แผนการโจมตีที่ละเอียดอ่อน

จุดฉนวนสาเหตุการเกิดสงครามวอเตอร์ลูเริ่มจากการประชุมสภาคองเกรสที่เวียนนา ซึ่งเป็นการประชุมก่อนถึงศึกวอเตอร์ลูเพียง 9 วัน ทางฝ่ายสัมพันธ์มิตรซึ่งประกอบด้วยรัสเซีย ปรัสเซีย ออสเตรียร่วมกับอังกฤษมาเข้าร่วมประชุมกัน และได้ข้อสรุปของการหารือกันว่านโปเลียนเป็นศัตรูและเป็นผู้สั่นคลอนสันติภาพของโลก จุดมุ่งหมายของการประชุมครั้งนี้ต้องการที่จะให้มีการจัดระเบียบยุโรปใหม่ทั้งหมด

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1814 จักรพรรดิ์นโปเลียนถูกกดดันให้สละราชสมบัติ และถูกเนรเทศให้ไปเกาะเอลบา ในระหว่างนั้นพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ก็ขึ้นครองราชย์แทน ในเวลา 10 เดือนต่อมานโปเลียนได้เสด็จหนีจากเกาะเอลบาเพื่อกลับมายังฝรั่งเศส ก่อนที่จะถึงปารีส กองทัพของนโปเลียนเจอกับกองทัพของนายพลเนย์ซึ่งเคยเป็นขุนพลคู่ใจ ทางฝั่งนายพลเนย์ก็ได้รับคำสั่งให้ไปจับนโปเลียนมาถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากันแต่ทหารของนายพลเนย์กลับไม่ยอมยิงปืนใส่นโปเลียน ต่างวิ่งเข้าไปต้อนรับนโปเลียน นายพลเนย์จึงต้องยอมจำนนและพานโปเลียนกลับมาครองราชย์ดังเดิม



ช่วงที่นโปเลียนกลับมาเป็นช่วงเวลาที่มีการประชุมแห่งเวียนนาอยู่ ตรงกับวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ.1815 ทางฝ่ายสัมพันธมิตรประกอบไปด้วยรัสเซีย, ปรัสเซีย, ออสเตรียและอังกฤษมาประชุมกัน ได้มติที่ประชุมคือนโปเลียนเป็นศัตรูและเป็นผู้สั่นคลอนสันติภาพของโลก สงครามจึงเริ่มต้นขึ้น ศึกครั้งนี้ทางฝ่ายสัมพันธมิตรได้ส่งกองทัพอังกฤษโดยมีดยุคแห่งเวลลิงตันหรือจอมพลอาเธอร์ เวลเลสลี่ย์เป็นแม่ทัพ และกองทัพปรัสเซียโดยมีจอมพลเกอร์ราด วอน บลูเกอร์เป็นแม่ทัพ เพื่อเผชิญหน้ากับกองทัพฝรั่งเศสของนโปเลียน

หลังจากที่การประชุมแห่งเวียนนาจบลง ดยุคเวลลิงตันได้ไปพบกับนายพลบลูเกอร์เพื่อประชุมกันที่เพอร์มองต์ในวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ.1815 พวกเขาทั้งสองมีความคิดว่านโปเลียนจะไม่เป็นฝ่ายโจมตีก่อน แต่ถ้านโปเลียนบุกโจมตีก่อนก็จะรวมทัพที่ควอเตอร์ บราสกับซอมเบรฟเฟ่ จากนั้นทั้งสองได้แยกย้ายไปจัดเตรียมกองทัพของตนเอง โดยนายพลบลูเกอร์ไปตั้งทัพที่นาเมอร์ ส่วนดยุคเวลลิงตันไปตั้งทัพที่บรัสเซลส์

ในวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1815 นโปเลียนย้ายกองบัญชาการไปตั้งอยู่ที่ชาร์เลรอยด์ โดยที่ดยุคเวลลิงตันกับนายพลบลูเกอร์ไม่รู้ตัว ช่วงดึกวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1815 กองกำลังของนโปเลียนบุกเข้าโจมตีกองทัพปรัสเซียของนายพลบลูเกอร์ เกิดศึกประจันหน้าระหว่างฝรั่งเศสและปรัสเซียขึ้นที่เมืองลิกนี่ นโปเลียนมีจุดประสงค์ของการโจมตีครั้งนี้เพื่อให้กองทัพของนายพลบลูเกอร์ถอยห่างจากกองทัพของดยุคเวลลิงตัน จากนั้นนโปเลียนก็รอกำลังเสริมของนายพลเนย์เพื่อปิดฉากกองทัพปรัสเซีย แต่นายพลเนย์ไม่เข้าใจแผนของนโปเลียนจึงไม่ได้ส่งกองกำลังเสริมมาโจมตี ส่งผลให้การต่อสู้นี้นโปเลียนได้รับชัยชนะแต่ไม่เด็ดขาด ส่วนทางนายพลบลูเกอร์ก็ถอยทัพร่นไปให้อยู่ใกล้กับกองทัพของดยุคเวลลิงตัน

ความผิดพลาดของนโปเลียนเกิดขึ้นช่วงที่นโปเลียนต้องใช้ความรวดเร็วในการบุก แต่ว่าการรบของนโปเลียนช้ากว่าเกณท์ที่กำหนดไว้ ในวันที่ 16 -17 มิถุนายนนั้นจึงเป็นช่วงเวลาที่สูญเปล่า ในขณะเดียวกันดยุคเวลลิงตันก็รู้แผนการของนโปเลียนก่อนแล้วจึงเคลื่อนทัพมาที่วอเตอร์ลู



ในวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1815 ที่เมืองวอเตอร์ลู ประเทศเบลเยี่ยม ซึ่งเป็นวันที่สภาพอากาศไม่เอื้อต่อการรบ พื้นดินเต็มไปด้วยโคลน เป็นเหตุให้กองทัพของนโปเลียนเดินทัพช้ากว่าที่กำหนดไว้ จึงทำให้ศัตรูรู้แผนการของนโปเลียนทั้งหมด จากนั้นก็เริ่มเปิดศึกโจมตีประมาณช่วงเวลา 11 โมงครึ่ง การรบเป็นไปอย่างดุเดือดจนถึง 6 โมงเย็น ในวันนั้นทางกองทัพฝรั่งเศสสามารถยึดฟาร์มฮูทกรูมอนต์ได้สำเร็จ ในขณะที่กองทัพของเวลลิงตันกำลังเสียท่านั้น กองทัพของนายพลบลูเกอร์ก็โผล่มาสมทบได้ทันเวลา ระดมเข้าโจมตีกองทัพฝรั่งเศสจนย่อยยับ และผลการสู้รบของสงครามครั้งนี้คือฝ่ายกองทัพนโปเลียนขอยอมแพ้

หลังจากสงครามครั้งนี้นโปเลียนถูกบังคับให้สละราชบัลลังก์อีกครั้ง และถูกส่งตัวไปยังเกาะเซนต์เฮเลน่าจนสิ้นพระชนม์ ก่อนสิ้นพระชนม์นโปเลียนได้สูญเสียความทรงจำ รวมทั้งเห็นภาพหลอน ท่านจากโลกนี้ไปอย่างผู้แพ้ และสิ้นหวังได้ไม่นาน ก็กลับมามีชื่อเสียง ทั้งในฐานะกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ แม่ทัพผู้เก่งกล้าสามารถ และนักปกครองอัจฉริยะ ตำนานของนโปเลียนถูกสร้างใหม่ และเล่าขานจากคนรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่งจนถึงปัจจุบัน ส่วนดยุคเวลลิงตันท่านได้รับการยกย่องให้เป็นวีรบูรุษผู้พิชิตนโปเลียน ถึงกองทัพอังกฤษจะเป็นฝ่ายชนะแต่ท่านกลับรู้สึกช้ำใจที่ได้รับชัย เพราะมีทหารล้มตายเป็นจำนวนมาก สงครามครั้งนี้เป็นการปิดฉากของสงครามนโปเลียนอย่างถาวร

“ชัยชนะท่ามกลางซากศพเป็นชัยชนะที่น่าเศร้ายิ่งนัก” เป็นประโยคที่ดยุคเวลลิงตันได้กล่าวไว้หลังจากได้รับชัยชนะที่วอเตอร์ลู เห็นได้ชัดว่าสงครามมักให้บทเรียนที่เป็นความทุกข์ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายแพ้หรือชนะ สงครามไม่ใช่ทางออกของผู้ที่ต้องการความสงบสุขแต่เป็นเครื่องหมายของความมีอำนาจของผู้ที่แสวงหาอำนาจอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพราะเมื่อแพ้หรือชนะสงคราม สงครามก็ยังเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า ฝ่ายที่ชนะบ้านเมืองอาจจะเจริญขึ้นแต่ก็เสี่ยงที่จะตกเป็นเป้าของมหาอำนาจอื่น ส่วนฝ่ายที่แพ้อาจส่งผลเสียต่อบ้านเมือง แต่ไม่ได้ทำให้บ้านเมืองถดถอยเสมอไป เพราะความพ่ายแพ้ของนโปเลียนในสงครามวอเตอร์ลูเป็นการฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์ของฝรั่งเศสเป็นครั้งที่สอง น่าเสียดายที่ความทะเยอทะยานของนโปเลียนกลับมาทำร้ายตนเอง


อ้างอิง

iseehistory.  (2550).  Waterloo ความมโหฬารของสงครามปราบจักรพรรดิ์นโปเลียน.  (ออนไลน์).  สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2559, จาก http://www.iseehistory.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=492575

Quincy.  (2554).  สงครามนโปเลียน.  (ออนไลน์).  สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2559, จาก http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=197819.0;wap2

symmetryrebirth.  (2554).  สมรภูมิวอเตอร์ลู.  (ออนไลน์).  สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2559, จาก http://symmetryrebirth.exteen.com/20110618/entry

พิไลรัตน์ อินจันทร์.  (2556).  ตำนานสงครามวอเตอร์ลู.  (ออนไลน์).  สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2559 จาก https://aung06510087.wordpress.com/2013/02/24/ตำนานสงครามวอเตอร์ลู/

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ23.9.65

    จริงไหมที่กลุ่มทุนยิว.ให้ทั้ง2ฝ่ายยืมเงินเป็นทุนรบกัน...แล้วออกข่าวว่าอังกฤษจะแพ้สงคราม...แล้วไปกว้านซื้อทรัพย์สินราคาถูกของอังกฤษ..
    แล้วตัดเงินยืมทางฝรั่งเศษเพื่อให้อังกฤษชนะ.เพื่อหวังให้ทรัพย์ที่ตนซื้อไว้มีใลค่าสูงขึ้น

    ตอบลบ