การต่อสู้เรียกร้องสิทธิและเสรีภาพของคนผิวสีในอเมริกา

โดย พีรวัชร ศรีหลิ่ง

การแบ่งแยกสีผิวและการเหยียดเชื้อชาติโดยเฉพาะต่อคนนิโกร มีมาตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคมและได้สืบเนื่องจากมาจนถึงการปฏิวัติอเมริกาและสืบเนื่องมาจนถึงสงครามกลางเมืองที่ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐทางเหนือและทางใต้จนนำไปสู่การเลิกทาสในที่สุด หากแต่หลังจากนั้น การแบ่งแยกสีผิวและความรุนแรงได้เพิ่มมากขึ้น และในปัจจุบันการแบ่งแยกสีผิวก็ยังมีให้เห็นอยู่ทั่วไป

ย้อนกลับไปในปี เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2406 ระหว่างสงครามกลางเมืองอเมริกัน อับราฮัม ลินคอล์น ประกาศให้เสรีภาพแก่ทาสในสิบรัฐซึ่งเป็นกบฏอยู่ขณะนั้น แม้ว่าจะไม่สามารถบังคับใช้กับรัฐฝ่ายใต้ได้ แต่ก็ส่งผลให้สงครามนี้ถูกเปลี่ยนเป็นสงครามเลิกทาส ทำให้ชนผิวดำพากันสมัครเข้าเป็นทหารในกองทัพฝ่ายเหนือ ทำให้สร้างความโกรธแก่ชาวใต้ผิวขาว ในปี พ.ศ.2408 หลังจากสงครามฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้จบลง ด้วยชัยชนะของฝ่ายเหนือ ทำให้คนผิวสี ได้รับการยอมรับ เท่าเทียมกับคนผิวขาว จึงทำให้กลุ่มชลผิวขาวไม่พอใจ

หลังจากที่มีการยกเลิกระบบทาสแล้ว ได้มีกลุ่มอดีตนายทาสเก่าทำการรวมตัวกันขึ้น เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยที่จะให้ทาสและคนผิวดำมีความเท่าเทียมกับคนผิวขาว จึงจัดตั้งสมาคม  Klu Klax Klan  ที่มีการใช้ความรุนแรงในการกวาดล้างคนผิวดำ ในช่วงปี พ.ศ. 2410-2470 เกิดการฆ่าคนผิวสีเชื้อสาย แอฟริกาอย่างมาก ถ้าคนผิวสีออกนอกบริเวณที่กำหนด คนผิวขาวจะรุมทำร้าย มีทั้งการแขวนคอ และเผาทั้งเป็น อีกทั้งยังเผาทำลายบ้านเรือน คนผิวสีถูกบังคับให้ใช้แรงงานเป็นทาส โดนกดขี่ขมเหง กลั่นแกล้ง และการเอาเปรียบจากชนผิวขาว ซึ่งเป็นการกระทำที่ไร้มนุษยธรรม และการที่คนผิวสีมีการปฏิบัติตัวเป็นคนค้ายา เป็นโสเภณี   นั่นก็เพราะถูกกีดกันจากคนผิวขาวไม่ให้ได้รับการศึกษาที่ดี


สมาคม  Klu Klax Klan  องค์กรเหยียดสีผิว
ที่มา : http://www.cmxseed.com/

ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ในช่วงที่ระบบทาสยังคงมีบทบาทอยู่ มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากเจ้านายต่อทาสในการปกครอง ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ไม่มีกฎหมายใดๆที่เข้ามารองรับความเป็นมนุษย์ของทาส ทำให้เจ้านายสามารถจะกระทำการใดๆก็ได้กับทาส ซึ่ง ส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องที่ไม่สมควรที่จะกระทำต่อผู้อื่น การกระทำดังกล่าวมักเป็นไปในทางที่กดขี่และพยายามทำให้ทาสหวาดกลัวและมีความจงรักภักดี

เมื่อระบบทาสได้รับถูกยกเลิกไป ทาสบางกลุ่มยังไม่มีความพร้อมที่จะดำรงอยู่อย่างเสรี  ทำให้เกิดปัญหาที่ว่า คนกลุ่มนี้จะดำรงอยู่อย่างไรในสังคม ซึ่งไม่อาจปฏิเสธได้ว่ามีจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถปรับตัวกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ สุดท้ายแล้วคนกลุ่มนี้จะจัดอยู่ในกลุ่มคนที่ไร้ที่อยู่ หรือว่างงาน ทำให้เกิดปัญหาอาชญากรรมและปัญหาทางสังคมอื่นๆ ตามมาอีกเป็นจำนวนมาก คนกลุ่มนี้ยังไม่มีความพร้อมและความสามารถที่จะใช้ชีวิตได้อย่างโดดเดี่ยว โดยขาดการควบคุมดูแล ทำให้เป็นข้ออ้างของกลุ่มคนที่ไม่ต้องการให้ทาสเป็นอิสระ


ภาพจากภาพยนตร์เรื่อง 12 years a slave แสดงให้เห็นถึงการเป็นทาสของคนผิวดำ
ที่มา : http://www.historyextra.com/

วีรบุรุษผู้ปลดปล่อยคนผิวสี

จากการที่คนผิวสี ถูกบังคับและกดขี่ขมเหง ทำให้พวกเขาทนไม่ได้ จึงได้รวมตัวกัน ประท้วงต่อรัฐบาล เพื่อเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพ และ วีรบุรุษผู้เป็นผู้นำแห่งคณะปฏิวัติเพื่อสิทธิและเสรีภาพของคนผิวสี เขาคนนั้นคือ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง

มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ เป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง และเป็นหมอสอนศาสนา เกิดเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2472 ที่เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย เป็นบุตรคนกลางของบาทหลวงไมเคิล คิงและนางอเบอร์ต้า วิลเลี่ยม คิง ได้รับการศึกษาจากวิทยาลัยมอร์เฮาส์ แอตแลนตา จากวิทยาลัยการศาสนาโครเซอร์ เพนซิลเวเนีย และจากมหาวิทยาลัยบอสตัน

ต่อมาได้กลายเป็นผู้นำขบวนการเรียกร้องสิทธิเสมอภาคของชาวผิวดำ โดยใช้แนวทางต่อต้านที่ใช้ความนุ่มนวลตามแนวทางของมหาตมะคานธี

จากทักษะการพูดต่อสาธารณะที่เป็นที่เลื่องลือ คิงได้เป็นผู้นำในการคว่ำบาตรไม่ยอมรับการแบ่งแยกคนผิวดำที่ไม่ให้โดยสารรถประจำทาง ร่วมกับคนผิวขาวที่เมืองมอนต์โกเมอรี รัฐแอละบามาและจัดประชุมผู้นำคริสเตียนตอนใต้ ในระหว่างนี้เขาถูกจับขังคุกหลายครั้ง

ดังคำที่ว่าสถานการณ์จะสร้างวีรบุรุษ ในปี พ.ศ. 2506 คิงเป็นผู้นำในการเดินขบวนอย่างสันติที่อนุสาวรีย์ลินคอล์นในวอชิงตัน ดี.ซี. โดยมีผู้เข้าร่วมเดินมากถึง 200,000 คน ในการประชุมครั้งนี้เองที่คิงได้แสดงสุนทรพจน์ที่มีชื่อเสียงของเขาคือ "ข้าพเจ้ามีความฝัน" (I Have a Dream) ในโอกาสนี้เขายังได้ประกาศว่า อเมริกาจะปราศจากความลำเอียงและไม่มีอคติต่อคนผิวสี

และในปีเดียวกันนี้เอง มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ได้รับรางวัลสันติภาพเคเนดี (Kendy Peace Prize) รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ความสำเร็จสูงสุดของเขาได้แก่การท้าทายอำนาจของกฎหมายแบ่งแยกผิวในภาคใต้ของสหรัฐฯ หลังจากปี พ.ศ. 2508 เป็นต้นไป มาร์ติน ลูเธอร์ คิงได้หันความสนใจไปเน้นการรณรงค์ให้มีการปรับปรุงสภาพสังคมของคนผิวดำ และคนยากจนในภาคเหนือของประเทศซึ่งพบว่าง่ายกว่า

นอกจากนี้ คิง  ยังมีบทบาทสำคัญในการต่อต้านสงครามเวียดนามและร่วมต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ แต่ในวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 2511 เขาถูกยิงเสียชีวิตในขณะที่อายุได้เพียง 39 ปีเท่านั้น  หลังจากเขาถูกลอบสังหาร เขาได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านเพื่อความยุติธรรมทางเชื้อชาติจวบจนทุกวันนี้  วันที่ 15 มกราคมทุกๆ ปี ซึ่งเป็นวันเกิดของมาร์ติน ลูเธอร์ คิง ได้รับการประกาศให้เป็น "วันมาร์ติน ลูเธอร์ คิง" วันนักขัตรระดับชาติและค่อยๆ ได้รับทยอยการยอมรับจากรัฐต่างๆ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับนับตั้งแต่ พ.ศ. 2529 เป็นต้นมา
…ข้าพเจ้ามีความฝัน ความฝันที่มีรากอยู่บนความฝันแบบอเมริกัน ว่าวันหนึ่งชาตินี้จะยืนขึ้นและธำรงอยู่บนหลักการของศาสนา พวกเรายืนหยัดในสัจจะที่ชัดแจ้งโดยตัวมันเองว่า มนุษย์ทุกคนถูกสร้างขึ้นมาให้เท่าเทียมกัน...


มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ แสดงสุนทรพจน์

การเหยียดสีผิวในปัจจุบัน

แม้ว่าในปัจจุบัน จะเกิดการเข้าใจกันระหว่างมนุษย์มากขึ้น มีกฎหมายมารองรับสิทธิและเสรีภาพของคนอเมริกา มีการรณรงค์ต่อต้านการเหยียดสีผิว ถึงจะมีคนดังที่เป็นคนผิวสีอาทิเช่น ประธานาธิบดี สหรัฐอเมริกา บารัค โอบาม่า ดาราฮอลลีวู้ดอย่าง วิล สมิท นักบาสชื่อดัง ไมเคิล จอร์แดน  ออกมาเป็นกระบอกเสียงต่อต้านการเหยียดสีผิว  แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การเหยียดสีผิวยังมี และ ดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน ยังมีคนผิวขาวบางกลุ่ม ที่มีแนวคิดการเหยียดหยามสีผิวฝั่งอยู่ในใจ คอยต่อต้านและกีดกันอย่างสารพัด บางครั้งมันทำให้เด็กตัวเล็กๆ  เกิดความกดดัน และสงสัยว่าตัวเองผิดอะไร ต้องทนต่อการดูถูก การกลั่นแกล้ง และคำดูหมิ่น มันอาจจะทำให้เขากลายเป็นอาชญากรในอนาคตก็เป็นได้ แต่ถึงกระนั้นแล้วก็ยังมีคนที่ต่อสู้เพื่อสิทธิและเสรีภาพของคนผิวสีมาจนถึงปัจจุบัน

 ถึงแม้ว่าการกระทำของ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ จะไม่สามารถทำให้คนผิวสีสามารถมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกับคนผิวขาวได้ แต่การกระทำของเขานั้น เป็นเหมือนดังแรงผลักดัน ให้กับคนผิสีอีกจำนวนมากออกมาเรียกร้องความเท่าเทียมของมนุษย์ เขาเป็นเหมือนดั่งไอดอล ของคนผิวสีในปัจจุบัน เขาสามารถสร้างแรงบัลดาลใจให้กับทุกคนที่มีความหวัง และคำพูดหนึ่งของเราก็เป็นคติประจำใจของผู้เขียน นั่นคือ “ถ้าบินไม่ได้ ก็ให้วิ่งไป ถ้าวิ่งไม่ได้ ก็ให้เดินไป” คำพูดนี้เป็นเหมือนแรงบัลดาลใจของทุกคน แม้ว่าหนทางมันจะยากเย็นแค่ไหน ก็จงไปให้ถึงฝัน พยายามก้าวไปข้างหน้า อย่าหยุดยั้ง

“It always seems impossible until it’s done.”
Nelson Mandela


อ้างอิง

อนันตชัย จินดาวัฒน์.(2554).เอกราชอาบเลือด ปลดแอกอณานิคมโลก.กรุงเทพมหานคร.ยิปซี

 ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ (2551). ความคิดทางการเมืองของคนอเมริกันผิวดำ : จากทาสสู่เสรีชน. กรุงเทพฯ : แสงดาว ,หน้า 41

ความเป็นทาสและการแบ่งแยกสีผิว. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2559, จาก : https://juicewave.wordpress.com/2013/03/13/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80/

มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2559, จาก : http://guru.sanook.com/4113/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น