อินทิรา คานธี (Indira Gandhi) สตรีบันลือโลก

โดย วาทณี มีระหงษ์

หากจะกล่าวถึงบทบาท สิทธิและเสรีภาพของสตรีในอดีต คงจะมีไม่มากนักหรือถูกจำกัดอยู่ในวงที่สังคมจัดวางไว้ให้ เพียงเพราะพละกำลังไม่เท่าเทียมเพศชายบวกกับเหตุผลประการอื่นเพิ่มเติม จึงเกิดทัศนคติว่า "ผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง" ผู้หญิงเป็นเพียงผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเท่านั้น แต่ปัจจุบัน สังคมได้ปรับเปลี่ยนทัศนคติเหล่านี้ เปิดโอกาสให้ผู้หญิงมีบทบาท สิทธิเสรีภาพทางความคิดในหลาย ๆ ด้าน เป็นปัจจัยทำให้ผู้หญิงเริ่มมีอิทธิพลเหนือบุรุษเพศ เริ่มมีผู้นำการบริหารและการปกครองด้วยศักยภาพที่ทัดเทียมกับเพศชาย จนสามารถก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งผู้นำทางการเมืองที่เข้มแข็ง แข็งแกร่ง ดังเช่นเธอคนนี้ "อินทิรา คานธี - สตรีบันลือโลก"

นางอินทิรา คานธี (IndiraPriyadasini Gandhi ) หรือชื่อเดิมว่า "อินทิราปรียาทาสินีเนห์รู" อดีตนายกรัฐมนตรีหญิงของอินเดียเกิดเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 1917 ที่เมืองอัลฮาบัดทางตอนเหนือของอินเดียเป็นบุตรสาวคนเดียวของอดีตนายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย "ยวาหระวาลเนห์รู" และนางกามาลาคอล
อินทิรา    คานธี สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจากโรงเรียนปาถะ ภวนะ (Patha Bhavana) และเข้ารับการศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยซัมเมอร์วิลล์ เมืองออกซ์ฟอร์ด ( Summerville College) แต่ก็ไม่ได้สำเร็จการศึกษา



นามสกุล "คานธี" ของเธอไม่ได้มีความเกี่ยวข้องทางสายเลือดกับมหาตะคานธีแต่มาจากการสมรสกับนายเฟโรซีคานธีหนุ่มเชื้อสายเปอร์เซียและมีบุตรชายสองคนคือราชีพและสัญชัย คานธีซึ่งต่างก็ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่อจากอินทิรา โดยเฉพาะราชีฟ คานธี ซึ่งในเวลาต่อมาเขาก็ได้ขึ้นครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอินเดีย  ส่วนสัญชัย ได้เสียชีวิตจากเหตุเครื่องบินตกในปี 2523

ประวัติการทำงานของอินทิราเริ่มต้นจากการเป็นเลขานุการให้กับเนห์รูนายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดียพ่อของเธอหลังจากที่พ่อของเธอได้ขึ้นครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้เธอได้เรียนรู้ทักษะการเป็นผู้นำทางการปกครองของอินเดียจากการช่วยทำงานที่ทำเนียบและร่วมเดินทางไปต่างประเทศหลังจากที่พ่อของเธอได้เสียชีวิตลงเธอก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกราชยสภาและทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารสนเทศและการออกอากาศ ในรัฐบาลของนายลัลบาฮาดูร์ชาตรีนายกมนตรีคนที่ 2 ของอินเดียซึ่งเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจต่อมาอินทิราก็ได้รับคัดเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ของอินเดีย

ในระหว่างที่เธอดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเธอก็ได้ขึ้นแท่นเป็นนายก ฯ ที่ได้รับที่ได้รับความนิยมสูงสุดเมื่ออินเดียชนะสงครามต่อต้านปากีสถาน,การปฎิวัติสีเขียวในอินเดีย และผลงานอีกมากมายที่สนับสนุนให้ชื่อเสียของเธอเป็นที่กล่าวขวัญกันอย่างล้มหลามว่าเธอเป็นผู้นำหญิงที่เด็ดเดี่ยวและฉลาดหลักแหลมที่สุดแต่ในปี1974 สภาสูงสุดของอัลลาฮาบัดจับได้ว่าเธอทุจริตจึงเป็นเหตุให้เธอต้องถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และห้ามการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาหกปี


ที่มา: https://www.quora.com/

ในปี 1980 เธอได้กลับเข้ามาสู่เก้าอี้นายกรัฐมนตรีอีกครั้ง แต่เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างชาวอินเดียที่นับถือศาสนาซิกข์และฮินดูเนื่องจากผู้นำของซิกข์กล่าวว่า ชาวซิกข์มีอำนาจอธิปไตยและเป็นชุมชนที่ปกครองตนเองกลุ่มชาวซิกข์ต้องการเรียกร้องให้มีการจัดตั้งรัฐซิกข์ขึ้นมาในอินเดียเหนือ ในอาณาบริเวณตั้งแต่รัฐปัญจาบพื้นที่บางส่วนของรัฐหรยาณารัฐหิมาจัลประเทศดินแดนสหภาพจันฑีครห์และรัฐราชสถานคำกล่าวนี้ได้สร้างความไม่พอใจให้กับรัฐบาลอินเดียเป็นอย่างมากเนื่องจากรัฐบาลทองว่าเป็นความต้องการแบ่งแยกดินแดนของชาวซิกข์นำไปสู่สถานการณ์ที่รุนแรงมากขึ้นโดยอินทิราได้ออกคำสั่งใช้กำลังทหารโจมตีวิหารทองคำของชาวซิกข์เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความขัดแย้งและความไม่พอใจให้กับทุก ๆ ฝ่ายจนนำไปสู่สงครามกลางเมืองมีผู้เสียชีวิตหลานพันคนประชาชนถูกข่มขืนและทารุณกรรมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจมีการเผาทำลายห้องสมุดของชาวซิกข์รวมถึงสถานประกอบศาสนกิจด้วย

ในเวลาต่อมาอินทิราถูกลอบสังหารโดยองครักษ์ชาวซิกข์ของเธอใช้อาวุธปืนกระหน่ำยิงกว่า 30 นัดเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 1984 บริเวณสวนในทำเนียบนายกรัฐมนตรีการเสียชีวิตของเธอทำให้เกิดกระแสต่อต้านชาวซิกข์รุนแรงมากขึ้นทำให้ชาวซิกข์บริสุทธิ์ต้องถูกสังเวยชีวิตไปกว่า 2,000 คน

อินทิรา นับได้ว่าเป็นผู้นำหญิงที่มีความเด็ดขาด เชื่อมั่นในตนเองสูง และค่อนข้างมีความคิดที่รุนแรง โดยอุปนิสัยเหล่านี้ของเธอ เป็นเหตุให้เธอต้องเสียชีวิตลงจากการออกคำสั่งให้ทหารใช้ความรุนแรงจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมา พร้อมกับความรุนแรงและความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินที่ทวีคูณมากขึ้น แต่ผู้นำหญิงคนนี้ ไม่ได้ขึ้นครองอำนาจพร้อมกับความรุนแรงและความขัดแย้งทางศาสนาเพียงอย่างเดียว แต่เธอยังได้สร้างผลงานที่ทำให้ชาวอินเดียไม่สามารถลบเธอออกจากความทรงจำได้ คือการจัดการกับอำนาจที่อยู่ในกำมือของเธอให้เป็นประโยชน์ จนทำให้อินเดียชนะสงครามกับปากีสถาน และสามารถปลดปล่อยบังคลาเทศได้ในปี พ.ศ.2514 อีกทั้งยังเป็นผู้ริเริ่มการปฏิวัติสีเขียวเพื่อรับประกันความมั่นคงทางอาหารให้แก่อินเดีย รวมถึงการรวมอำนาจจากรัฐที่เคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ให้มาเป็นผืนแผ่นดินอินเดียเช่นเดิม

ซึ่งมรดกจากการปกครองของเธอ กลายเป็นบทเรียนสำคัญให้กับนักการเมืองยุคต่อมาในด้านการใช้ความรุนแรงและการจัดการอำนาจในกำมือ โดยมิให้เกิดรอยร้าวจากความแตกต่างระหว่างบุคคลในสังคมอินเดียมากกว่าที่เคยเป็น อีกทั้งทางตอนใต้ของอินเดียยังได้นับถือและสักการะเธอพร้อมกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์เทพเจ้าในศาสนาอีกด้วย ราวกับเป็นเทพเจ้าหญิงที่มีความเข้มแข็งและเด็ดเดี่ยวทัดเทียมเท่ากับเพศชาย


อ้างอิง

เอกชัย จันทรา. (2556). 100 บุคคลสำคัญของโลก. กรุงเทพฯ: ยิปซี.

อินทิรา คานธี : บุคคลน่ารู้ , สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2559 จาก http://sameaf.mfa.go.th/th/important_person/detail.php?ID=2982

อินทิรา คานธี. (2552). สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2559 จาก http://www.komchadluek.net/news/detail/35130

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น