สงครามฝิ่น สงครามที่โลกไม่ลืมเลือน

โดย จณิสตา   แสนเพชร

เมื่อเอ่ยถึงสงครามครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ระหว่างโลกตะวันออกกับโลกตะวันตก หลายๆคนคงจะนึกถึงเหตุการณ์อย่างสงครามโลกหรือสงครามเวียดนามมาเป็นอันดับต้นๆ  แต่หารู้ไม่ว่ายังมีอีกหนึ่งสงครามซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญเช่นกัน นั่นก็คือสงครามฝิ่นระหว่างจีนกับอังกฤษ

ในยุคสมัยต้นๆ ประเทศจีนถือได้ว่าเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีความรุ่งโรจน์ในเรื่องของการค้าขายเป็นอย่างมาก  อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการการต่อเรือสำเภาและตัวของสินค้าจีนเองที่นำมาขายให้กับต่างแดนยกตัวอย่างเช่น สินค้าจำพวกใบชา ผ้าไหมและเครื่องลายคราม เป็นต้น ด้วยเหตุนี้จีนจึงเป็นที่ถูกจับตามองและเป็นที่ต้องการคบค้าสมาคมของพ่อค้าชาวตะวันตก   แต่ถึงกระนั้นนโยบายการค้าของจีนที่มีอยู่ก็ไม่เอื้ออำนวยต่อการค้าการลงทุนของชาติตะวันตกมากนัก  นั่นก็คือ ระบบการค้าแบบผูกขาดหรือที่ภาษาจีนแมนดารินเรียกว่า ก้งหอง

โดยระบบการค้าแบบนี้เองที่เป็นชนวนก่อให้เกิดสงครามครั้งใหญ่ตามมาภายหลัง ดังที่ได้กล่าวไปในข้างต้นแล้ว ซึ่งก็คือ สงครามฝิ่นระหว่างจีนกับอังกฤษ เหตุที่บอกว่าเป็นสงครามครั้งใหญ่เนื่องจากสงครามนี้ได้เกิดขึ้นต่อเนื่องกันถึงสองครั้งในยุคสมัยราชวงศ์ชิงของจีน ครั้งแรกอยู่ในช่วง ค.ศ.1834-1843 และครั้งที่สองอยู่ในช่วง ค.ศ.1856-1860  เว้นระยะเวลาห่างกันเพียงแค่ 13 ปี


ภาพวาดการทำสงครามทางเรือระหว่างจีนกับอังกฤษ

มาเริ่มต้นกันที่สงครามฝิ่นครั้งที่ 1  สาเหตุของการเกิดสงครามครั้งนี้มาจากการค้าขายที่ไม่เป็นธรรมที่จีนมีต่ออังกฤษ โดยจีนไม่ยอมรับข้อเรียกร้องระบบการค้าเสรีจากอังกฤษ ยังคงใช้ระบบการค้าแบบผูกขาดของตนดังเดิม มีการจำกัดเขตพื้นที่ทางการค้าให้กับพ่อค้าชาวอังกฤษแค่ในตัวเมืองกวางโจวและสุดท้ายคือการที่จีนไม่รับหรือนำเข้าสินค้าสินค้าจากอังกฤษทั้งๆที่อังกฤษก็ซื้อสินค้าจากตนไปมากมาย เหตุการณ์ครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อดุลการค้าของอังกฤษเป็นอย่างมาก

ผลที่ตามมาคือ อังกฤษพยายามหาช่องทางเอาคืนจีนโดยการแอบลักลอบนำฝิ่นซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งเสพติดชนิดหนึ่งที่มีต้นทุนถูกและขายได้ราคาแพงมาหลอกขายให้กับชาวจีน จนชาวจีนเกือบครึ่งค่อนประเทศติดฝิ่นกันถ้วนหน้า สร้างความหนักใจให้กับรัฐบาลจีนเป็นอย่างมาก ถึงขั้นประกาศห้ามการนำเข้าฝิ่น มีการยึดและทำลายฝิ่นที่หลงเหลืออยู่ รวมทั้งออกบทลงโทษอย่างจริงจังต่อผู้ขายและผู้เสพ


ภาพถ่ายการเสพฝิ่นของชาวจีนสมัยก่อน 

แต่กลับกลายเป็นว่าเหตุการณ์ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น จนจีนต้องส่งจดหมายไปหาพระนางเจ้าวิคตอเรียเพื่อถามถึงสาเหตุของการนำฝิ่นเข้ามาขายยังประเทศตน แต่พระนางเจ้าวิคตอเรียกลับปฏิเสธที่จะให้คำตอบและทำการบ่ายเบี่ยงโดยเรียกร้องให้จีนคืนสินค้าของตนที่ถูกยึดไว้มาแทน    ผู้นำจีนไม่เห็นชอบเป็นอย่างมาก จึงทำการปฏิเสธและนำเอาฝิ่นที่ยึดมาได้ไปทำลายทิ้งลงทะเล      เป็นผลให้อังกฤษเริ่มประกาศสงครามกับจีนอย่างเป็นทางการ

ผลกระทบจากสงครามฝิ่นครั้งที่ 1 นี้ ทำให้จีนต้องลงนามในสนธิสัญญานานกิง เนื่องจากเป็นผู้แพ้ในสงคราม และต้องจ่ายค่าปฏิกรณ์สงครามเป็นจำนวนเงินมหาศาล ทำการเปิดเมืองท่าให้อังกฤษได้มาทำการค้าขายเพิ่มขึ้นอีก 5 แห่ง ชดใช้ค่าฝิ่นที่ทำลายไป อีกทั้งยังต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตอีกด้วย เหตุการณ์ครั้งนี้ได้สร้างความบอบช้ำให้จีนเป็นอย่างมาก


ภาพสนธิสัญญานานกิง
ที่มา : https://writer.dek-d.com/

ต่อมาเป็นสงครามฝิ่นครั้งที่ 2  ที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง หลังจากผ่านสงครามครั้งแรกไปได้เพียงแค่ 13 ปี   โดยครั้งนี้มีสาเหตุมากจากการที่อังกฤษเรียกร้องที่จะแก้ไขสนธิสัญญานานกิง เพื่อให้ตนได้รับผลประโยชน์ทางการค้าจากจีนมากขึ้น อีกทั้งยังเกิดจากการที่จีนไปจับกุมลูกเรือชาวจีนที่อยู่บนเรือบรรทุกสินค้าที่ทำการจดทะเบียนเป็นของอังกฤษ ทำให้อังกฤษเกิดความไม่พอใจ พยายามทำการเจรจาต่อรองให้ปล่อยลูกเรือเหล่านั้นไป แต่ถึงจะทำเช่นไรจีนก็ยังปฏิเสธอยู่ดี อังกฤษจึงได้เริ่มประกาศทำสงครามกับจีนอย่างเป็นทางการอีกครั้ง โดยในครั้งนี้ได้มีฝรั่งเศส รัสเซียและสหรัฐอเมริกาเข้ามาร่วมด้วย

ท้ายที่สุดจีนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้แก่สงครามอีกครั้งและต้องลงนามในสัญญาเทียนจินเพิ่ม ผลกระทบที่ตามมาคือจีนต้องเปิดเมืองท่าเพิ่มขึ้นอีก 11 แห่งทำให้ชาติตะวันตกเข้ามาค้าขายในจีนได้อย่างสะดวกและเริ่มแผ่อิทธิพลมากจนจีนอยู่ภายใต้กึ่งเมืองขึ้น-กึ่งศักดินา นอกจากนี้จีนยังต้องออกนโยบายการเสียภาษีนำเข้าไม่เกินร้อยละ 2.5 แก่ชาติตะวันตกทั้ง 4 ประเทศ และต้องเสียพื้นที่เกาะฮ่องกงไป

การสิ้นสุดของสงครามครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่ออังกฤษก็ยอมส่งมอบเกาะฮ่องกงคืนให้กับจีน ในวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ.1997

จากเหตุการณ์ในอดีตครั้งนี้จะเห็นได้ว่า ฉนวนเหตุของการเกิดสงครามนั้น มักมาจากเหตุการณ์เล็กๆน้อยๆอย่างการขัดผลประโยชน์กันของบุคคลสองฝ่าย แต่พอขาดการประนีประนอมก็ย่อมเปลี่ยนจากปัญหาเล็กๆให้กลายเป็นปัญหาใหญ่อย่างการทำสงครามได้ ซึ่งพึงแต่จะให้ความสูญเสียทั้งฝ่ายที่ได้รับชัยชนะและฝ่ายที่พ่ายแพ้  ทางที่ดีควรจะทำการเจรจาประนีประนอมให้ได้ผลประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย

สุดท้ายแล้วผู้เขียนอยากจะฝากข้อคิดเล็กๆน้อยๆไว้เป็นสิ่งเตือนใจให้กับผู้อ่านทุกคนว่า “เหตุการณ์ในอดีตได้สอนให้เรารู้ถึงพิษภัยของสงครามว่าไม่เคยให้ประโยชน์แก่ฝ่ายใด ไม่ว่าจะเป็นผู้แพ้หรือผู้ชนะ มีแต่จะสร้างความสูญเสีย และการทำสงครามไม่ใช่คำตอบของทุกๆสิ่ง”


อ้างอิง

สุมาลี  สุขดานนท์. (2554). สงครามฝิ่น. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2559, จาก : http://www.tri.chula.ac.th/triresearch/hongkongport/poppy.html

Thai Chinese.Net . ประวัติศาสตร์จีนยุคก้าวสู่จีนยุคใหม่-สงครามฝิ่น (ค.ศ. 1839-1842) . (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2559, จาก : http://www.thaichinese.net/History/history-modern2.html

Joytotheworld . สงครามฝิ่นครั้งที่ 1 . (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2559, จาก : http://board.postjung.com/934978.html

Topten Thailand . (2556). 10 เรื่องน่ารู้ในสงครามฝิ่น.  (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2559, จาก :  http://www.toptenthailand.com/topten/detail/20131120002248652


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น