การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา

โดย กัญญ์วรา ประดิษฐากร

ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของมนุษย์ที่มีอยู่ทั่วโลก มนุษย์เรามีความต้องการจะรักษาชาติพันธุ์ของตนเองไว้ จนทำให้บางครั้งเกิดเป็นความขัดแย้งระหว่างชาติพันธุ์ เหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวทุตซี่ ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่เป็นความขัดแย้งระหว่างสองชนชาติ

ประเทศรวันดา เป็นประเทศหนึ่งในทวีปแอฟริกา ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่กว่า 11 ล้านคน มีภูมิประเทศที่ไม่ติดกับพื้นที่ชายฝั่งทะเล แต่ติดกับทะเลสาบเกรทเลค (Great Lake) มีภูเขาสูงที่อุดมสมบูรณ์มากมาย ประชากรในประเทศรวันดาจะประกอบอาชีพเกษตรกรรม แต่เป็นการทำเกษตรกรรมในครัวเรือนเป็นส่วนใหญ่ มิใช่การทำเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์ หรือเพื่อค้าขาย ประเทศรวันดาจึงเป็นประเทศที่ยากจน บวกกับปัญหาดินมีสภาพที่เสื่อมโทรม ลงเรื่อยๆ เนื่องจากมีความหนาแน่นของประชากรสูง ทำให้ประชาชนในประเทศรวันดามีปัญหา ด้านสุขภาพ และมีประชาชนเป็นโรคขาดสารอาหารเป็นจำนวนมาก


แผนที่ประเทศรวันดา

ประเทศรวันดามีประชากรที่มีความแตกต่างกันทางชาติพันธุ์ โดยมีประชากรชาวทุตซี่ ชาวฮูตู และชาวทวา ประชากรในประเทศรวันดาส่วนใหญ่เป็นชาวฮูตู เพียงประมาณร้อยละ 14 เท่านั้นที่เป็นชาวทุตซี่ และอีกร้อยละ 1 เป็นชาวทวา ก่อนหน้าการตกเป็นประเทศในอาณานิคมของประเทศเบลเยี่ยมในช่วงศตวรรษที่19

ประชาชนชาวทุตซี่และฮูตูใช้ชีวิตร่วมกันได้อย่างปกติ และประกอบอาชีพต่างกันออกไป โดยชาวทุตซี่จะประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ ส่วนชาวฮูตูจะทำเกษตรกรรม เมื่อประเทศ อาณานิคมเข้ามาในรวันดาโดยผ่านชาวทุตซี่และเข้าใจว่าชาวทุตซี่เป็นชนชั้นปกครอง จึงทำการแบ่งแยกประชากรในประเทศรวันดาออกอย่างชัดเจน โดยการทำบัตรประจำตัว คล้ายกับบัตรประชาชน ที่ระบุชัดเจนว่าแต่ละคนมีเชื้อสายอะไร และและมอบสิทธิให้กับ ชาวทุตซี่มากกว่า จนกลายเป็นปมที่เป็นเหตุแห่งความขัดแย้ง ซึ่งถูกสะสมไว้ในใจของชาวฮูตู มาเป็นเวลานาน

เมื่อได้รับเอกราชจาก เบลเยี่ยม รัฐบาลที่มาจากฝ่ายชนเผ่าทุตซี่ขึ้นบริหารประเทศรวันดา อย่างไรก็ตามความขัดแย้งของความแตกต่างทางชาติพันธุ์ยังคงอยู่สังคมของประเทศรวันดาและถูกพูดถึงอยู่เรื่อยๆรวมถึงเข้ามาเป็นประเด็นที่พัวพันกับการเมือง จนกระทั้งทำให้ฝ่ายฮูตู ปฏิวัติและยึดอำนาจรัฐบาลชาวทุตซี่ ทำให้ชาวทุตซี่ จำนวนมากอพยพไปอยู่ทางตอนเหนือ ของประเทศ ซึ่งติดกับประเทศอูกันดา

ในขณะเดียวกัน ชาวทุตซี่จำนวนนึงก็จัดตั้งกองกำลังเพื่อต่อต้านนรัฐบาลชาวฮูตูโดยเรียกตนเองว่า RPF หรือ กลุ่มแนวหน้ารักชาติรวันดา นำโดย นายพอล คากาเม


นายพอล คากาเม

ใน ปี ค.ศ. 1994 ประธานาธิบดี จูเวนาล ฮับยาริมานา ซึ่งเป็นรัฐบาลชาวฮูตู ได้ตกลงทำการเจรจา สงบศึกกับฝ่าย RPF ซึ่งการเจรจาในครั้งนี้ถือว่าประสบผลสำเร็จ แต่ทางฝ่ายลูกน้องของจูเวนาล ไม่เห็นด้วย หลังจากการเจรจาสงบศึกของทั้งสองฝ่าย ก็เกิดโศกนาฎกรรมกับประธานาธิบดีจูเวนาล เหตุการณ์ในครั้งนี้ไม่เพียงแต่ทำให้สูญเสีย ประธานาธิบดีของประเทศรวันดา แต่ยังรวมไปถึง การตายของบุคคลสำคัญของประเทศบุรุนดีอีกด้วย ชาวฮูตูจำนวนมากคิดว่าเป็นฝีมือของชาวทุตซี่ ซึ่งแท้จริงแล้วคือ ลูกน้องของจูเวนาลที่ไม่พอใจกับการเจรจาสงบศึกนี่เอง ที่เป็นผู้ลงมือสังหาร การตายของประธานาธิบดีจูเวนาลถูกทำให้กลายเป็นชนวนแห่งความโกรธแค้น และเป็นจุดเริ่มต้น ของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวทุตซี่ ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากเกิดเหตุการณ์นี้อย่างรวดเร็ว ในเวลาไม่ถึง24ชั่วโมง



ในวันที่ 6 เมษายน 1994 ชาวฮูตูพยายามสังหารชาวทุตซีที่พบโดยเพ่งเป้าไปที่ ผู้ชายทุกวัย ส่วนหญิงชาวทุตซีถูกจับมาข่มขืนและสังหารทุกคน ส่วนผู้ที่รอดมาได้ ต้องกลายเป็นผู้ติดเชื้อเอดส์ ซึ่งเป็นหญิงทุกวัยและยังมีหญิงที่กำลังตั้งครรภ์รวมอยู่ด้วย

ในขณะที่เหตุการณ์ความรุนแรงในครั้งนี้ปะทุขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีความช่วยเหลือจากต่างประเทศที่จะ เข้ามายับยั้งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของประเทศรวันดาในครั้งนี้ ประเทศต่างๆทำแค่เพียงอพยพพา คนของตนออกจากรวันดา เหตุการณ์ทวีความรุนแรงขึ้น เมื่อกองกำลังฝ่าย RPF ได้โต้ตอบโดย การสังหารนายกรัฐมนตรีของชาวฮูตู ทำให้ชาวฮูตูโกรธแค้น และพยายามฆ่าชาวทุตซี่ให้ได้มากขึ้น รวมถึงเพิ่มความรุนแรงกับวิธีการฆ่าให้โหดเหี้ยมมากยิ่งขึ้น

เหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 1994 ไปจนถึงกลางเดือนกรกฎาคม จากนั้น กองกำลัง RPF นำโดย นายพอล คากาเม เข้ายึดอำนาจขับไล่รัฐบาลชาวฮูตู ทำให้การฆ่าล้าง เผ่าพันธุ์ในรวันดาสิ้นสุดลง หลังจากการมีชัยในครั้งนี้ ทำให้ประชาชนชาวฮูตูและทหารบ้านทำการ อพยพเคลื่อนย้ายไปในประเทศคองโก



ปัจจุบันเหตุการณ์ในรวันดายุติลงแล้วกว่า 20ปี โดยมี ประธานาธิบดี พอล คากาเม เป็นผู้ปกครอง ประเทศ นายพอล คากาเมล พยายามพัฒนารวันดาให้ดีขึ้น สำหรับ เหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ในรวันดาตลอดช่วงหนึ่งร้อยวัน ที่ประเทศรวันดากลายเป็นนรกบนดิน ของชาวทุตซี่ และชาวฮูตูที่หัวไม่รุนแรง ซึ่งประมาณการว่ามีชาวรวันดาเสียชีวิตราว 800,000-1,070,000 คน ซึ่งเป็นชาวรวันดาเชื้อสายทุตซีราวแปดแสนคน นับเป็นปริมาณการฆ่าล้าง เผ่าพันธุ์ที่สูงมากในระยะเวลาเพียงสั้นๆ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อันโหดเหี้ยมนี้กลายเป็นหนึ่ง ในโศกนาฏกรรมในหน้าประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของมนุษยชาติเลยก็ว่าได้

เหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ เพราะผู้คนต้องใช้เวลานานมาก กว่าจะสั่งสมความเกลียดชั่งซึ่งกันและกัน จนนำไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อันโหดเหี้ยมนี้ อาจต้องมีหลากหลายปัจจัยที่เป็นเชื้อเพลิง ทำให้เหตุการณ์ความรุนแรงนี้จุดติดขึ้นมาได้ อย่างไรก็ตามแม้การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดาจะมีสาเหตุหลักมาจากการปลุกปั่นของนักการเมือง โดยใช้สื่อที่สามารถเจาะเข้าไปถึงตัวประชาชนได้ง่าย และดึงเอาความเกลียดชังในความแตกต่างระหว่างชาติพันธุ์ที่แฝงอยู่ในใจมาโดยตลอดเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญ แต่ยังมีอีกข้อสังเกต ต่างๆมากมายที่ถูกวิเคราะห์ออกมาว่าเป็นปัจจัยในเหตุการณ์นี้ เช่น การออกบัตรประจำตัวที่ เจาะจงว่า ใครเป็นชาวทุตซี่ ใครเป็นชาวฮูตู การทำให้ผู้คนในรวันดารู้สึกถึงความแตกต่างกัน อย่างชัดเจน เป็นความผิดพลาดของประเทศเจ้าอาณานิคมอย่างเบลเยี่ยมที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ ความรุนแรงขึ้นในรวันดา

การสูญเสียอย่างมหาศาลในครั้งนี้เป็นบทเรียนราคาแพงให้กับประเทศรวันดา และประเทศ อื่นๆทั่วโลก ชัยชนะของชาวทุตซี่ในเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตมาก เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งอื่นๆที่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ ผู้ที่ก่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ไม่เคยได้รับ ชัยชนะและไม่เคยได้เป็นผู้ปกครองแม้แต่ครั้งเดียว เช่นเดียวกับในกรณีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว ในที่สุด ฮิตเลอร์ที่เป็นผู้เริ่มก่อสงครามก็เป็นฝ่ายที่แพ้ ในรวันดาก็เกิดขึ้นแล้วในกรณีเดียวกัน ไม่เพียงแต่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวที่ เราสามารถนำมาเปรียบเทียบได้ ยังมีอีกให้เห็นในหลาย ประเทศหลายเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ที่เราจะพบว่าสุดท้ายฝ่ายที่ลงมือเข็ญฆ่าจะเป็น ผู้แพ้ภัยตัวเองทุกครั้งไป ฉะนั้นท้ายที่สุดแล้ว การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์จึงไม่ใช่ทางออกที่สามารถ ทำให้ความเกลียดชังในความต่างยุติลงได้


อ้างอิง

puma. (2556).  ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา (Rwanda Genocide). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2559, จาก: http://www.komkid.com/

YouTube. (2557). เรียนรู้การเพาะพันธุ์ความเกลียดชังในรวันดา กับ ประจักษ์ ก้องกีรติ (วิดีโอ). สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2559, จาก:  https://www.youtube.com/watch?v=M07sH_XRar4

lancetana. (2556). "Difference Between Hutu and Tutsi.". (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2559, จาก: http://www.differencebetween.net/miscellaneous/difference-between-hutu-and-tutsi/





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น