โดย สุพัตรา แสงกองมี
เรื่องราวที่กล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับวีรกรรมของกษัตริย์ลีโอนีดาส (Leonidas I) ซึ่งเป็นกษัตริย์ยอดนักรบของชาวสปาร์ตา ที่เสียสละชีวิตตนเองต่อต้านกองทัพขนาดใหญ่จากจักรวรรดิเปอร์เซีย เมื่อครั้งยกทัพมารุกรานนครรัฐกรีกที่ช่องเขาเทอร์โมฟีเลีย (Thermopylae) ซึ่งได้กลายเป็นตำนานนักรบในประวัติศาสตร์อีกคนหนึ่งที่คนทั้งโลกจดจำ และยังเป็นที่เล่าขานกันมาตราบจนถึงทุกวันนี้
กษัตริย์ลีโอนีดาส (Leonidas I) ประสูติเมื่อ ปีที่ 540 ก่อนคริสตกาล เป็นโอรสคนที่ 2 จากภรรยาคนแรกของกษัตริย์อนาซิสไดดาสที่ 2 บรรพบุรุษสืบทอดเชื้อสายมาจากชาวดอเรียน มีพระมเหสีพระนามว่า กอร์โก (Gorgo) เมื่อกษัตริย์ลีโอนีดาสมีอายุได้ 7 ชันษา พระองค์ถูกนำออกจากครอบครัวเพื่อฝึกการต่อสู้ ให้มีร่างกายและจิตใจที่เข้มแข็ง มีความทนทานต่อสภาพที่ทุกข์ยากลำบาก รวมทั้งมีความเชี่ยวชาญในการนำทัพ
ปีที่ 480 ก่อนคริสตกาล กษัตริย์เซอร์เซสที่ 1 ได้นำกองทัพเปอร์เซียขนาดมหาศาลจำนวน 500,000 คน ประกอบไปด้วยทัพบกและทัพเรือ โดยทรงนำทัพมาด้วยพระองค์เอง เข้าโจมตีดินแดนกรีกทางเขตมาซิโดเนีย เพื่อเป็นการล้างแค้นแทนกษัตริย์ดาริอุส ซึ่งเป็นพระบิดาของพระองค์ ถือเป็นการเปิดฉากสงครามเปอร์เซียครั้งที่ 2 หลังจากที่กษัตริย์ดาริอุสเคยพ่ายแพ้สงครามแก่พันธมิตรแห่งกรีกในสงครามเปอร์เซียครั้งแรก
เมื่อทราบข่าว นครรัฐสำคัญของกรีกได้รวมตัวกันเพื่อเตรียมตัวตั้งรับทัพเปอร์เซีย ประกอบไปด้วยกองทัพผสมระหว่าง ทหารเอเธนส์ สปาตาร์ และนครพันธมิตร กว่า 7,000 นาย นำทัพโดยกษัตริย์ลีโอนีดาสแห่งสปาตาร์ พระองค์ได้นำไพร่พลเคลื่อนทัพไปตั้งมั่นอยู่ที่ช่องเขาเทอร์โมฟีเลีย (Thermopylae) เพื่อสกัดกองทัพเปอร์เซียไว้จนกว่าบรรดาพันธมิตรของพระองค์จะสามารถรวมพลเตรียมกองทัพบกและทัพเรือเสร็จกษัตริย์เซอร์เซสทรงส่งทูตไปเจรจากับกษัตริย์ลีโอนีดาส ให้ทำการยอมจำนนและถอยทัพกับไป
แต่กษัตริย์ลีโอนีดาสได้ทรงปฏิเสธ กษัตริย์เซอร์เซสจึงตัดสินใจส่งกองทัพบุกเข้าโจมตีทัพของกษัตริย์ลีโอนีดาส ในช่วงสองวันแรกของการรบนั้นกษัตริย์ลีโอนีดาสเป็นฝ่ายได้เปรียบเนื่องจากสปาตาร์เป็นรัฐทางทหาร ที่ถือได้ว่ามีความเข้มแข็งที่สุดในประวัติศาสตร์ของกรีกโบราณ แต่แล้วโชคชะตากลับเข้าข้างเปอร์เซีย เนื่องจากมีชาวกรีกผู้ทรยศนาม เอพิเทส (Ephialtes) ได้ไปเข้าเฝ้ากราบทูลกษัตริย์เซอร์เซส ถึงช่องทางที่สามารถผ่านไปได้โดยขอสิ่งตอบแทนเป็นของรางวัล ตอนรุ่งเช้าในวันที่สามของสงครามนั้น แม่ทัพเปอร์เซียได้นำทหารจำนวนหนึ่งไปตามเส้นทางลับนี้และพบกับกองทหารชาวโพเชี่ยน1,000 นาย ที่กษัตริย์ลีโอนีดาสได้ให้มาเฝ้าเส้นทางไว้ ทั้งสองฝ่ายจึงเกิดการต่อสู้กัน เปอร์เซียเป็นฝ่ายชนะทำให้เปอร์เซียสามารถยึดเส้นทางนี้ได้ทั้งหมด
เมื่อกษัตริย์ลีโอนีดาสทรงทราบว่ากองทัพของตนถูกล้อมรอบ จึงทำการเรียกประชุมแม่ทัพนายกองทั้งหมดและออกคำสั่งให้ทัพจากนครกรีกอื่นๆ ถอยทัพไปรวมพลกับกองทัพพันธมิตร ส่วนตนเองพร้อมทหารสปาตาร์อีก 300 นายจะคอยสู้เพื่อถ่วงเวลาทหารเปอร์เซียไว้เพื่อให้ทัพกรีกหนีไปได้อย่างปลอดภัย แม้ว่าในการรบครั้งนี้ชาวสปาตาร์จะสามารถสังหารทหารเปอร์เซียได้มากมาย รวมทั้งพระอนุชาสองพระองค์ของพระเจ้าเซอร์เซสแต่เนื่องจากมีกำลังพลน้อยกว่าทำให้ในที่สุดกษัตริย์ลีโอนีดาสพร้อมด้วยทหารสปาตาร์ 300 นายของพระองค์ก็ถูกสังหารจนสิ้น
หลังจากทัพเปอร์เซียผ่านช่องเขาเทอร์โมฟีเลีย (Thermopylae)ไปได้ กองทัพเปอร์เซียก็เข้าโจมตีนครเอเธนส์พร้อมกับนครอื่นๆอีกหลายนคร แต่ต่อมากองทัพเรือของเอเธนส์ที่นำโดยเธมิสโตเคิล สามารถเอาชนะทัพเรือเปอร์เซียได้ที่ซาลามีส (Salamis) จนทำให้กองทัพเปอร์เซียของกษัตริย์เซอร์เซสต้องถอยทัพกลับไปพร้อมกับความปราชัย ด้วยความโกรธแค้นกษัตริย์เซอร์เซสได้สั่งให้ทำการตัดหัวร่างอันไร้วิญญาณของกษัตริย์ลีโอนีดาสและนำร่างไปตรึงกับแผ่นไม้ กษัตริย์เซอร์เซสทรงรู้สึกสำนึกได้ในภายหลัง จึงสั่งให้ฝั่งพระศพของกษัตริย์ลีโอนีดาสอย่างสมพระเกียรติในบริเวณช่องเขาเทอร์โมฟีเลีย (Thermopylae) และในอีก 40 ปีต่อมาพระศพของกษัตริย์ลีโอนีดาสก็ถูกส่งกลับคืนสู่สปาร์ตา
บทเรียนที่ได้จากสงครามครั้งนี้สะท้อนให้เราเห็นว่า สงครามไม่เคยสร้างสรรสิ่งที่ดีแก่ใคร ทุกฝ่ายต่างสูญเสียด้วยกันทั้งสิ้น สงครามเป็นเพียงวิธีการที่ใช้ทำลายล้างหรือยุติข้อขัดแย้งซึ่งต้องแลกมาด้วยเลือดและความสูญเสียเพียงเท่านั้น...
อ้างอิง
ณภัค เสรีรักษ์. (2550).300 กับ สงครามแห่งอุดมการณ์.สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2558 จาก http://www.prachatai.com/journal/2007/03/12208
ย้อนรอย 300 : ประวัติศาสตร์ชาตินักรบ.(2550). สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2558 จาก http://www.artsmen.net/content/show.php?Category=warboard&No=5231
อัศวินแห่งการเวลา. (2554). คุยเฟื่องเรื่องประวัติศาสตร์ ตอน สงครามกรีกเปอร์เชีย 3 ศึกเทอร์โมไพเล สปาร์ตันชาตินักรบ. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2558 จาก http://writer.dek-d.com/churocker/story/viewlongc.php?id=648832&chapter=5
เรื่องราวที่กล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับวีรกรรมของกษัตริย์ลีโอนีดาส (Leonidas I) ซึ่งเป็นกษัตริย์ยอดนักรบของชาวสปาร์ตา ที่เสียสละชีวิตตนเองต่อต้านกองทัพขนาดใหญ่จากจักรวรรดิเปอร์เซีย เมื่อครั้งยกทัพมารุกรานนครรัฐกรีกที่ช่องเขาเทอร์โมฟีเลีย (Thermopylae) ซึ่งได้กลายเป็นตำนานนักรบในประวัติศาสตร์อีกคนหนึ่งที่คนทั้งโลกจดจำ และยังเป็นที่เล่าขานกันมาตราบจนถึงทุกวันนี้
กษัตริย์ลีโอนีดาส (Leonidas I) ประสูติเมื่อ ปีที่ 540 ก่อนคริสตกาล เป็นโอรสคนที่ 2 จากภรรยาคนแรกของกษัตริย์อนาซิสไดดาสที่ 2 บรรพบุรุษสืบทอดเชื้อสายมาจากชาวดอเรียน มีพระมเหสีพระนามว่า กอร์โก (Gorgo) เมื่อกษัตริย์ลีโอนีดาสมีอายุได้ 7 ชันษา พระองค์ถูกนำออกจากครอบครัวเพื่อฝึกการต่อสู้ ให้มีร่างกายและจิตใจที่เข้มแข็ง มีความทนทานต่อสภาพที่ทุกข์ยากลำบาก รวมทั้งมีความเชี่ยวชาญในการนำทัพ
เมื่อทราบข่าว นครรัฐสำคัญของกรีกได้รวมตัวกันเพื่อเตรียมตัวตั้งรับทัพเปอร์เซีย ประกอบไปด้วยกองทัพผสมระหว่าง ทหารเอเธนส์ สปาตาร์ และนครพันธมิตร กว่า 7,000 นาย นำทัพโดยกษัตริย์ลีโอนีดาสแห่งสปาตาร์ พระองค์ได้นำไพร่พลเคลื่อนทัพไปตั้งมั่นอยู่ที่ช่องเขาเทอร์โมฟีเลีย (Thermopylae) เพื่อสกัดกองทัพเปอร์เซียไว้จนกว่าบรรดาพันธมิตรของพระองค์จะสามารถรวมพลเตรียมกองทัพบกและทัพเรือเสร็จกษัตริย์เซอร์เซสทรงส่งทูตไปเจรจากับกษัตริย์ลีโอนีดาส ให้ทำการยอมจำนนและถอยทัพกับไป
แต่กษัตริย์ลีโอนีดาสได้ทรงปฏิเสธ กษัตริย์เซอร์เซสจึงตัดสินใจส่งกองทัพบุกเข้าโจมตีทัพของกษัตริย์ลีโอนีดาส ในช่วงสองวันแรกของการรบนั้นกษัตริย์ลีโอนีดาสเป็นฝ่ายได้เปรียบเนื่องจากสปาตาร์เป็นรัฐทางทหาร ที่ถือได้ว่ามีความเข้มแข็งที่สุดในประวัติศาสตร์ของกรีกโบราณ แต่แล้วโชคชะตากลับเข้าข้างเปอร์เซีย เนื่องจากมีชาวกรีกผู้ทรยศนาม เอพิเทส (Ephialtes) ได้ไปเข้าเฝ้ากราบทูลกษัตริย์เซอร์เซส ถึงช่องทางที่สามารถผ่านไปได้โดยขอสิ่งตอบแทนเป็นของรางวัล ตอนรุ่งเช้าในวันที่สามของสงครามนั้น แม่ทัพเปอร์เซียได้นำทหารจำนวนหนึ่งไปตามเส้นทางลับนี้และพบกับกองทหารชาวโพเชี่ยน1,000 นาย ที่กษัตริย์ลีโอนีดาสได้ให้มาเฝ้าเส้นทางไว้ ทั้งสองฝ่ายจึงเกิดการต่อสู้กัน เปอร์เซียเป็นฝ่ายชนะทำให้เปอร์เซียสามารถยึดเส้นทางนี้ได้ทั้งหมด
เมื่อกษัตริย์ลีโอนีดาสทรงทราบว่ากองทัพของตนถูกล้อมรอบ จึงทำการเรียกประชุมแม่ทัพนายกองทั้งหมดและออกคำสั่งให้ทัพจากนครกรีกอื่นๆ ถอยทัพไปรวมพลกับกองทัพพันธมิตร ส่วนตนเองพร้อมทหารสปาตาร์อีก 300 นายจะคอยสู้เพื่อถ่วงเวลาทหารเปอร์เซียไว้เพื่อให้ทัพกรีกหนีไปได้อย่างปลอดภัย แม้ว่าในการรบครั้งนี้ชาวสปาตาร์จะสามารถสังหารทหารเปอร์เซียได้มากมาย รวมทั้งพระอนุชาสองพระองค์ของพระเจ้าเซอร์เซสแต่เนื่องจากมีกำลังพลน้อยกว่าทำให้ในที่สุดกษัตริย์ลีโอนีดาสพร้อมด้วยทหารสปาตาร์ 300 นายของพระองค์ก็ถูกสังหารจนสิ้น
หลังจากทัพเปอร์เซียผ่านช่องเขาเทอร์โมฟีเลีย (Thermopylae)ไปได้ กองทัพเปอร์เซียก็เข้าโจมตีนครเอเธนส์พร้อมกับนครอื่นๆอีกหลายนคร แต่ต่อมากองทัพเรือของเอเธนส์ที่นำโดยเธมิสโตเคิล สามารถเอาชนะทัพเรือเปอร์เซียได้ที่ซาลามีส (Salamis) จนทำให้กองทัพเปอร์เซียของกษัตริย์เซอร์เซสต้องถอยทัพกลับไปพร้อมกับความปราชัย ด้วยความโกรธแค้นกษัตริย์เซอร์เซสได้สั่งให้ทำการตัดหัวร่างอันไร้วิญญาณของกษัตริย์ลีโอนีดาสและนำร่างไปตรึงกับแผ่นไม้ กษัตริย์เซอร์เซสทรงรู้สึกสำนึกได้ในภายหลัง จึงสั่งให้ฝั่งพระศพของกษัตริย์ลีโอนีดาสอย่างสมพระเกียรติในบริเวณช่องเขาเทอร์โมฟีเลีย (Thermopylae) และในอีก 40 ปีต่อมาพระศพของกษัตริย์ลีโอนีดาสก็ถูกส่งกลับคืนสู่สปาร์ตา
บทเรียนที่ได้จากสงครามครั้งนี้สะท้อนให้เราเห็นว่า สงครามไม่เคยสร้างสรรสิ่งที่ดีแก่ใคร ทุกฝ่ายต่างสูญเสียด้วยกันทั้งสิ้น สงครามเป็นเพียงวิธีการที่ใช้ทำลายล้างหรือยุติข้อขัดแย้งซึ่งต้องแลกมาด้วยเลือดและความสูญเสียเพียงเท่านั้น...
อ้างอิง
ณภัค เสรีรักษ์. (2550).300 กับ สงครามแห่งอุดมการณ์.สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2558 จาก http://www.prachatai.com/journal/2007/03/12208
ย้อนรอย 300 : ประวัติศาสตร์ชาตินักรบ.(2550). สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2558 จาก http://www.artsmen.net/content/show.php?Category=warboard&No=5231
อัศวินแห่งการเวลา. (2554). คุยเฟื่องเรื่องประวัติศาสตร์ ตอน สงครามกรีกเปอร์เชีย 3 ศึกเทอร์โมไพเล สปาร์ตันชาตินักรบ. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2558 จาก http://writer.dek-d.com/churocker/story/viewlongc.php?id=648832&chapter=5
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น