วิไลลักษณ์ บูรณะ
เป็นที่ทราบกันดีว่าชาวอียิปต์มีความผูกพันกับเทพเจ้าและให้ความเคารพนับถือต่อเทพเจ้ามาหลายพันปี ซึ่งหนึ่งในเทพเจ้าหลายๆ องค์ที่ชาวอียิปต์ให้ความเคารพมากที่สุดจนถึงปัจจุบัน คือ “เทพโอซิริส” ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งชีวิตหลังความตาย ความศรัทธาของชาวอียิปต์ที่มีต่อเทพโอซิริสนำไปสู่ความเชื่อในเรื่องของวิญญาณและโลกหน้า การกระทำไม่ว่าดีหรือชั่วจะส่งผลต่อชีวิตในภายภาคหน้า ซึ่งความเชื่อดังกล่าวถูกนำมาใช้กับชีวิตความเป็นอยู่ ทำให้ผู้คนชาวอียิปต์เลือกกระทำความดีเพราะเกรงกลัวต่อบาป
เทพโอซิริส เป็นโอรสของเทพเจ้าสุริยเทพ หรือรู้จักกันในนาม “เทพเจ้ารา” ซึ่งเป็นเทพที่ปกครองเมืองไอยคุปต์ โดยมีมเหสีเป็นเทพีแห่งท้องฟ้า นามว่า “เทพีนัต” เทพโอซิริสมีพี่น้องร่วมพระบิดามารดาอยู่ 4 พระองค์ คือ เทพฮามาคิส(harmakhis) เทพแห่งรุ่งอรุณและนักรบ เทพเซธ (seth) เทพแห่งพายุและความรุนแรง เทพีไอซิส (isis) เทพีแห่งความรักและความอุดมสมบูรณ์ และเทพีเนฟธิส (nephtys) เทพีแห่งผู้คุ้มครองวิญญาณคนตาย ซึ่งพระองค์ทรงได้อภิเษกกับ เทพีไอซิส พระขนิษฐาของพระองค์ ว่ากันว่าเทพโอซิริสและเทพีไอซิสตกหลุมรักกันตั้งแต่อยู่ในพระครรภ์มารดา ต่อมาเทพีไอซิสจึงได้ให้กำเนิดพระโอรสนามว่า “เทพฮอรัส” เทพแห่งท้องฟ้า มีศีรษะเป็นนกเหยี่ยวซึ่งเป็นตัวแทนแห่งความฉลาดแหลมคม
เทพโอซิริสเป็นบุรุษเพศ มีลักษณะกายสีเขียว สวมใส่ผ้าสีขาวที่คล้ายผ้าห่อศพ บนพระเศียรมีมงกุฎประดับด้วยขนนกกระจอกเทศ และพระหัตถ์ 2 ข้าง ถือไม้หวดข้าวและไม้เท้าด้ามงอ เทพเจ้าโอซิริสได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเทพเจ้าแห่งชีวิตหลังความตาย ทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินคุณความดีและความชั่วของมวลมนุษย์ เทพโอซิริสถือเป็นเทพที่มีคุณธรรม มีความเมตตา มีความโอบอ้อมอารี ช่วยเหลือประชาชน รักความสันติและไม่นิยมความรุนแรง จึงเป็นที่รักของประชาชน
ตามตำนานในสมัยโบราณของอียิปต์เล่าว่า เมื่อเทพเจ้าราชราภาพลง พระองค์จึงสละราชสมบัติให้เทพโอซิริสขึ้นครองราชย์ปกครองไอยคุปต์แทน เนื่องจากเทพโอซิริสเป็นพระโอรสองค์โต ซึ่งเทพโอซิริส มีความปรารถนาที่จะให้อาณาจักรไอยคุปต์มีความเจริญรุ่งเรืองประชาชนมีความสุข มีความสามัคคีรักใคร่ปรองดอง และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี พระองค์และพระชายาจึงนำวิชาความรู้มาสั่งสอนให้กับประชาชน โดยปลูกฝังการอยู่ด้วยกันอย่างสันติ ทำให้บ้านเมืองสงบสุข และยังทรงสอนให้รู้จักเพาะปลูก ทำขนมปัง เลี้ยงสัตว์ รวมถึงการทำไวน์และเบียร์เพื่อใช้ในงานสังสรรค์ หลังจากที่อาณาจักรไอยคุปต์เจริญรุ่งเรืองแล้ว เทพโอซิริสก็ยังนำวิชาความรู้ไปเผยแพร่ในอาณาจักรต่างๆอีกด้วย ซึ่งสร้างความอิจฉาริษยาให้กับเทพเซธ พระอนุชา
เทพเซธจึงได้รวบรวมคนทั้งหมด 72 คน เพื่อวางแผนหวังที่จะปลงพระชนม์เพื่อขึ้นครองราชย์แทน จึงได้คิดวางแผนจัดงานเฉลิมฉลองเพื่อเป็นเกียรติแด่โอซิริสฟาโรห์แห่งอียิปต์ เมื่อเทพโอซิริสมาตามคำเชิญ เทพเซธก็ออกอุบายว่าตนได้สร้างหีบขึ้นมาประดับด้วยงาช้างทองคำและเพชรพลอยวิจิตรงดงาม ให้ผู้คนภายในงานลองทดสอบลงไปในหีบ ถ้าหีบนี้พอดีตัวกับผู้ใดก็รับหีบไปได้เลย ซึ่งเป็นแท้จริงแล้วหีบใบนี้จัดทำขึ้นมาขนาดพอดีกับฟาโรห์โอซิริสเท่านั้น เมื่อไม่มีผู้ใดมีขนาดพอดีกับหีบใบนี้ เทพเซธก็เชิญเทพโอซิริสลงไปในหีบเพื่อทดสอบ ทันทีที่พระองค์เสด็จเข้าไปในหีบ หีบก็ถูกปิดลงและมัดอย่างหนาแน่นก่อนที่จะนำหีบนั้นไปโยนลงแม่น้ำไนล์เพื่อกำจัดเทพโอซิริส
เมื่อเทพีไอซิสทราบเรื่องก็รีบไปตามหาศพของพระสวามี และใช้ความรู้ทางการแพทย์ร่วมกับเวทมนตร์ชุบชีวิตเทพโอซิริสขึ้นอีกครั้ง เมื่อเทพโอซิริสฟื้นจากความตายพระองค์ก็ไม่ได้ลงโทษเทพเซธเพราะไม่นิยมความรุนแรงจึงปล่อยเทพเซธไป ซึ่งเทพเซธเองก็ไม่ได้รู้สึกสำนึกต่อการกระทำนั้นเลยกลับยิ่งพยายามวางแผนเพื่อปลงพระชนม์เทพโอซิริสขึ้นอีกครั้ง โดยคราวนี้เทพเซธทำการสับพระศพของโอซิริสออกเป็น 14 ชิ้น แล้วนำชิ้นส่วนทั้ง 14 ชิ้นไปโปรยกระจายทั่วอียิปต์ เพื่อไม่ให้เทพีไอซิสชุบชีวิตขึ้นมาได้อีก
เมื่อเทพีไอซิสทราบเรื่องก็โศกเศร้าเสียใจและพยายามตามหาชิ้นส่วนร่างกายของเทพโอซิริสเพื่อนำมาประกอบเป็นรูปร่างอีกครั้ง ซึ่งระหว่างการตามหาชิ้นส่วนของเทพโอซิริสนั้น เทพีไอซิสก็ได้ให้กำเนิดโอรสขึ้น นามว่า “ฮอรัส” เมื่อตามหาชิ้นส่วนของพระสวามีครบแล้วพระนางจึงคิดหาวิธีเก็บรักษาร่างกายของพระสวามีเพื่อไม่ให้เน่าเปื่อย โดยการนำชิ้นส่วนร่างกายมารวมกันแล้วห่อด้วยผ้าสีขาวมัดศพไว้เพื่อทำเป็น “มัมมี่” หวังที่จะชุบชีวิตเทพโอซิริสขึ้นอีกครั้ง แต่เทพโอซิริสปฏิเสธที่จะกลับมาเป็นมนุษย์อีกครั้ง เพราะพระองค์ทรงได้รับเลือกให้เป็นผู้ปกครองดินแดนแห่งความตายไปแล้ว
หลายปีต่อมาหลังจากที่เทพเซธขึ้นครองราชย์ปกครองอาณาจักรไอยคุปต์ เทพฮอรัสก็เติบโตขึ้นจนเป็นหนุ่ม ทรงได้เรียนวิชาต่างๆ จากพระมารดาและเทพฮามาคิส จึงมีวิชาความรู้ เวทมนตร์ และศิลปะในการรบทุกด้าน เทพฮอรัสจึงคิดกลับไปอาณาจักรไอยคุปต์เพื่อแก้แค้นเทพเซธแทนพระบิดา แต่ถูกพระมารดาห้ามไว้เพราะไม่ต้องการให้เกิดความรุนแรงต่อกัน ทำให้เทพฮอรัสเกิดบันดาลโทสะใช้ดาบฟันคอของพระมารดา เมื่อพระนางสิ้นพระชนม์ไป พระนางก็ทรงเป็นผู้ที่ช่วยให้คนตายได้ไปพบกับเทพโอซิริส เพื่อตัดสินความดีและความชั่ว ส่วนเทพฮอรัสและเทพฮามาคิสผู้มีศักดิ์เป็นลุงและทหารจึงได้ยกทัพกลับไปแก้แค้นเทพเซธแทนพระบิดาและชิงบัลลังก์กลับคืนมาได้สำเร็จ เทพฮอรัสจึงขึ้นเป็นฟาโรห์ปกครองอาณาจักรไอยคุปต์สืบไป
แม้ว่าในตำนานจะดูเหมือน ความดีของเทพโอซิริสจะพ่ายแพ้ต่อความชั่วของเทพเซธ แต่เทพโอซิริสก็ยังคงเป็นที่รัก ที่เคารพนับถือของประชาชนตลอดมา เมื่อตายไปก็ยังได้รับให้เป็นผู้ยิ่งใหญ่แห่งชีวิตโลกหลังความตาย ทำหน้าที่ตัดสินความดีความชั่วของมวลมนุษย์อีกด้วย และในตอนจบของตำนาน เทพเซธก็ต้องพ่ายแพ้ต่อเทพฮอรัสพระโอรสของเทพโอซิริสอยู่ดี ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า ท้ายที่สุดความดีย่อมเอาชนะความชั่วได้เสมอ และคนดีย่อมได้รับการยกย่องและเป็นที่รักของผู้คนไม่ว่าจะอยู่ที่ในใดก็ตาม
อ้างอิง
ตำนานศึกเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์ (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2558, จาก http://www.komkid.com/
เจ้าโอซิริส (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2558, จาก http://www.oknation.net/blog/oleang/2012/04/01/entry-9
เทพโอซิริส(Osiris) เทพแห่งสันติของชาวอียิปต์ (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2558, จาก http://www.tumnandd.com/
โอซิริสและไอซิส ตำนานรักแห่งแม่น้ำไนล์ (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2558, จาก http://writer.dek-d.com/
เป็นที่ทราบกันดีว่าชาวอียิปต์มีความผูกพันกับเทพเจ้าและให้ความเคารพนับถือต่อเทพเจ้ามาหลายพันปี ซึ่งหนึ่งในเทพเจ้าหลายๆ องค์ที่ชาวอียิปต์ให้ความเคารพมากที่สุดจนถึงปัจจุบัน คือ “เทพโอซิริส” ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งชีวิตหลังความตาย ความศรัทธาของชาวอียิปต์ที่มีต่อเทพโอซิริสนำไปสู่ความเชื่อในเรื่องของวิญญาณและโลกหน้า การกระทำไม่ว่าดีหรือชั่วจะส่งผลต่อชีวิตในภายภาคหน้า ซึ่งความเชื่อดังกล่าวถูกนำมาใช้กับชีวิตความเป็นอยู่ ทำให้ผู้คนชาวอียิปต์เลือกกระทำความดีเพราะเกรงกลัวต่อบาป
เทพโอซิริส เป็นโอรสของเทพเจ้าสุริยเทพ หรือรู้จักกันในนาม “เทพเจ้ารา” ซึ่งเป็นเทพที่ปกครองเมืองไอยคุปต์ โดยมีมเหสีเป็นเทพีแห่งท้องฟ้า นามว่า “เทพีนัต” เทพโอซิริสมีพี่น้องร่วมพระบิดามารดาอยู่ 4 พระองค์ คือ เทพฮามาคิส(harmakhis) เทพแห่งรุ่งอรุณและนักรบ เทพเซธ (seth) เทพแห่งพายุและความรุนแรง เทพีไอซิส (isis) เทพีแห่งความรักและความอุดมสมบูรณ์ และเทพีเนฟธิส (nephtys) เทพีแห่งผู้คุ้มครองวิญญาณคนตาย ซึ่งพระองค์ทรงได้อภิเษกกับ เทพีไอซิส พระขนิษฐาของพระองค์ ว่ากันว่าเทพโอซิริสและเทพีไอซิสตกหลุมรักกันตั้งแต่อยู่ในพระครรภ์มารดา ต่อมาเทพีไอซิสจึงได้ให้กำเนิดพระโอรสนามว่า “เทพฮอรัส” เทพแห่งท้องฟ้า มีศีรษะเป็นนกเหยี่ยวซึ่งเป็นตัวแทนแห่งความฉลาดแหลมคม
เทพโอซิริสเป็นบุรุษเพศ มีลักษณะกายสีเขียว สวมใส่ผ้าสีขาวที่คล้ายผ้าห่อศพ บนพระเศียรมีมงกุฎประดับด้วยขนนกกระจอกเทศ และพระหัตถ์ 2 ข้าง ถือไม้หวดข้าวและไม้เท้าด้ามงอ เทพเจ้าโอซิริสได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเทพเจ้าแห่งชีวิตหลังความตาย ทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินคุณความดีและความชั่วของมวลมนุษย์ เทพโอซิริสถือเป็นเทพที่มีคุณธรรม มีความเมตตา มีความโอบอ้อมอารี ช่วยเหลือประชาชน รักความสันติและไม่นิยมความรุนแรง จึงเป็นที่รักของประชาชน
ภาพเทพโอซิริส และ เทพีไอซิส
ตามตำนานในสมัยโบราณของอียิปต์เล่าว่า เมื่อเทพเจ้าราชราภาพลง พระองค์จึงสละราชสมบัติให้เทพโอซิริสขึ้นครองราชย์ปกครองไอยคุปต์แทน เนื่องจากเทพโอซิริสเป็นพระโอรสองค์โต ซึ่งเทพโอซิริส มีความปรารถนาที่จะให้อาณาจักรไอยคุปต์มีความเจริญรุ่งเรืองประชาชนมีความสุข มีความสามัคคีรักใคร่ปรองดอง และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี พระองค์และพระชายาจึงนำวิชาความรู้มาสั่งสอนให้กับประชาชน โดยปลูกฝังการอยู่ด้วยกันอย่างสันติ ทำให้บ้านเมืองสงบสุข และยังทรงสอนให้รู้จักเพาะปลูก ทำขนมปัง เลี้ยงสัตว์ รวมถึงการทำไวน์และเบียร์เพื่อใช้ในงานสังสรรค์ หลังจากที่อาณาจักรไอยคุปต์เจริญรุ่งเรืองแล้ว เทพโอซิริสก็ยังนำวิชาความรู้ไปเผยแพร่ในอาณาจักรต่างๆอีกด้วย ซึ่งสร้างความอิจฉาริษยาให้กับเทพเซธ พระอนุชา
เทพเซธจึงได้รวบรวมคนทั้งหมด 72 คน เพื่อวางแผนหวังที่จะปลงพระชนม์เพื่อขึ้นครองราชย์แทน จึงได้คิดวางแผนจัดงานเฉลิมฉลองเพื่อเป็นเกียรติแด่โอซิริสฟาโรห์แห่งอียิปต์ เมื่อเทพโอซิริสมาตามคำเชิญ เทพเซธก็ออกอุบายว่าตนได้สร้างหีบขึ้นมาประดับด้วยงาช้างทองคำและเพชรพลอยวิจิตรงดงาม ให้ผู้คนภายในงานลองทดสอบลงไปในหีบ ถ้าหีบนี้พอดีตัวกับผู้ใดก็รับหีบไปได้เลย ซึ่งเป็นแท้จริงแล้วหีบใบนี้จัดทำขึ้นมาขนาดพอดีกับฟาโรห์โอซิริสเท่านั้น เมื่อไม่มีผู้ใดมีขนาดพอดีกับหีบใบนี้ เทพเซธก็เชิญเทพโอซิริสลงไปในหีบเพื่อทดสอบ ทันทีที่พระองค์เสด็จเข้าไปในหีบ หีบก็ถูกปิดลงและมัดอย่างหนาแน่นก่อนที่จะนำหีบนั้นไปโยนลงแม่น้ำไนล์เพื่อกำจัดเทพโอซิริส
ภาพเทพเซธ เทพแห่งพายุและความรุนแรง
เมื่อเทพีไอซิสทราบเรื่องก็รีบไปตามหาศพของพระสวามี และใช้ความรู้ทางการแพทย์ร่วมกับเวทมนตร์ชุบชีวิตเทพโอซิริสขึ้นอีกครั้ง เมื่อเทพโอซิริสฟื้นจากความตายพระองค์ก็ไม่ได้ลงโทษเทพเซธเพราะไม่นิยมความรุนแรงจึงปล่อยเทพเซธไป ซึ่งเทพเซธเองก็ไม่ได้รู้สึกสำนึกต่อการกระทำนั้นเลยกลับยิ่งพยายามวางแผนเพื่อปลงพระชนม์เทพโอซิริสขึ้นอีกครั้ง โดยคราวนี้เทพเซธทำการสับพระศพของโอซิริสออกเป็น 14 ชิ้น แล้วนำชิ้นส่วนทั้ง 14 ชิ้นไปโปรยกระจายทั่วอียิปต์ เพื่อไม่ให้เทพีไอซิสชุบชีวิตขึ้นมาได้อีก
เมื่อเทพีไอซิสทราบเรื่องก็โศกเศร้าเสียใจและพยายามตามหาชิ้นส่วนร่างกายของเทพโอซิริสเพื่อนำมาประกอบเป็นรูปร่างอีกครั้ง ซึ่งระหว่างการตามหาชิ้นส่วนของเทพโอซิริสนั้น เทพีไอซิสก็ได้ให้กำเนิดโอรสขึ้น นามว่า “ฮอรัส” เมื่อตามหาชิ้นส่วนของพระสวามีครบแล้วพระนางจึงคิดหาวิธีเก็บรักษาร่างกายของพระสวามีเพื่อไม่ให้เน่าเปื่อย โดยการนำชิ้นส่วนร่างกายมารวมกันแล้วห่อด้วยผ้าสีขาวมัดศพไว้เพื่อทำเป็น “มัมมี่” หวังที่จะชุบชีวิตเทพโอซิริสขึ้นอีกครั้ง แต่เทพโอซิริสปฏิเสธที่จะกลับมาเป็นมนุษย์อีกครั้ง เพราะพระองค์ทรงได้รับเลือกให้เป็นผู้ปกครองดินแดนแห่งความตายไปแล้ว
หลายปีต่อมาหลังจากที่เทพเซธขึ้นครองราชย์ปกครองอาณาจักรไอยคุปต์ เทพฮอรัสก็เติบโตขึ้นจนเป็นหนุ่ม ทรงได้เรียนวิชาต่างๆ จากพระมารดาและเทพฮามาคิส จึงมีวิชาความรู้ เวทมนตร์ และศิลปะในการรบทุกด้าน เทพฮอรัสจึงคิดกลับไปอาณาจักรไอยคุปต์เพื่อแก้แค้นเทพเซธแทนพระบิดา แต่ถูกพระมารดาห้ามไว้เพราะไม่ต้องการให้เกิดความรุนแรงต่อกัน ทำให้เทพฮอรัสเกิดบันดาลโทสะใช้ดาบฟันคอของพระมารดา เมื่อพระนางสิ้นพระชนม์ไป พระนางก็ทรงเป็นผู้ที่ช่วยให้คนตายได้ไปพบกับเทพโอซิริส เพื่อตัดสินความดีและความชั่ว ส่วนเทพฮอรัสและเทพฮามาคิสผู้มีศักดิ์เป็นลุงและทหารจึงได้ยกทัพกลับไปแก้แค้นเทพเซธแทนพระบิดาและชิงบัลลังก์กลับคืนมาได้สำเร็จ เทพฮอรัสจึงขึ้นเป็นฟาโรห์ปกครองอาณาจักรไอยคุปต์สืบไป
แม้ว่าในตำนานจะดูเหมือน ความดีของเทพโอซิริสจะพ่ายแพ้ต่อความชั่วของเทพเซธ แต่เทพโอซิริสก็ยังคงเป็นที่รัก ที่เคารพนับถือของประชาชนตลอดมา เมื่อตายไปก็ยังได้รับให้เป็นผู้ยิ่งใหญ่แห่งชีวิตโลกหลังความตาย ทำหน้าที่ตัดสินความดีความชั่วของมวลมนุษย์อีกด้วย และในตอนจบของตำนาน เทพเซธก็ต้องพ่ายแพ้ต่อเทพฮอรัสพระโอรสของเทพโอซิริสอยู่ดี ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า ท้ายที่สุดความดีย่อมเอาชนะความชั่วได้เสมอ และคนดีย่อมได้รับการยกย่องและเป็นที่รักของผู้คนไม่ว่าจะอยู่ที่ในใดก็ตาม
อ้างอิง
ตำนานศึกเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์ (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2558, จาก http://www.komkid.com/
เจ้าโอซิริส (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2558, จาก http://www.oknation.net/blog/oleang/2012/04/01/entry-9
เทพโอซิริส(Osiris) เทพแห่งสันติของชาวอียิปต์ (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2558, จาก http://www.tumnandd.com/
โอซิริสและไอซิส ตำนานรักแห่งแม่น้ำไนล์ (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2558, จาก http://writer.dek-d.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น