โดย ณัฐกานต์ อดทน
ความรักเป็นบ่อเกิดของทุกสรรพสิ่งบนโลกใบนี้ และความรักไม่จำกัดรูปแบบ อายุ เชื้อชาติ ศาสนา หรือแม้กระทั่ง “เพศ” ในปัจจุบันแนวความคิดเกี่ยวกับรักร่วมเพศ หรือ ชายรักชาย หญิงรักหญิง ได้รับอิทธิพลมาจากความเชื่อของศาสนาคริสต์ ในสมัยยุคกลาง ที่เชื่อว่ารักร่วมเพศคือบาป และเป็นสิ่งต้องห้าม ส่งผลให้ชาวรักร่วมเพศในปัจจุบันไม่กล้าที่จะแสดงตัวตน หรือความต้องการที่แท้จริงออกมา แต่ในสมัยกรีกโบราณนั้นกลับมองว่า พฤติกรรมรักร่วมเพศถือเป็นสิ่งที่สูงส่ง เป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติเพื่อเรียนรู้การเป็นผู้ใหญ่
2000 ปีก่อนคริสตกาล อารยธรรมกรีกรุ่งเรืองขึ้นจากอิทธิพลของอารยธรรมอียิปต์และอารยธรรมเมโสโปเตเมีย มีการปกครองแบบนครรัฐซึ่งเป็นอิสระต่อกัน มีศูนย์กลางสำคัญอยู่ที่ นครรัฐเอเธนส์ และนครรัฐสปาร์ต้า ประชาชนชาวกรีกทำอาชีพเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ ผู้หญิงไม่มีบทบาทในกิจการเกี่ยวกับสาธารณะใดๆ ทั้งสิ้น เป็นเพศที่ถูกเหยียดหยามไม่ต่างจากทาส ทำหน้าที่เป็นแม่ของลูกเท่านั้น การแต่งงานของชายหญิงนั้นเป็นเพียงหน้าที่ทางสังคมไม่ใช่ความรักที่ลึกซึ้ง ผู้ชายจึงสามารถไปมีความสัมพันธ์กับคู่รักเพศชายด้วยกัน เนื่องจากมีฐานะทางสังคมและสติปัญญาเท่าเทียมกัน
ในสังคมชาวกรีก จะถือว่ารูปร่างของมนุษย์เป็นสิ่งที่มีความงาม เด็กคนใดเกิดมาร่างกายพิการ หรือไม่แข็งแรงก็จะถูกนำไปฆ่า มนุษย์จึงใส่ใจกับร่างกายของตนเองผ่านการออกกำลังกายที่ยิมเนเซียม (Gymnasium) ซึ่งเป็นสถานที่ที่รวมกิจกรรมที่มีการฝึกฝนร่างกายและการแข่งขันกีฬา รวมทั้งการพบปะพูดคุยกันในเรื่องราวต่างๆ ของชายชาวกรีก และเป็นสถานที่ที่ไว้มาชมเรือนร่างในหมู่ผู้ชายด้วยกันเองเนื่องจากพวกเขาออกกำลังกายด้วยสภาพที่เปลือยกายเสมอ
นอกจากนี้ ในสมัยกรีกโบราณมีการทำสงครามกันอยู่บ่อยครั้ง ชายชาวกรีกจึงทุ่มเทและมุ่งมั่นให้กับการฝึกรบอย่างเข้มงวด เมื่อได้ไปออกรบซึ่งใช้เวลานานหลายปี ทำให้ทหารชาวกรีกมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเพื่อนชายของตน บางตำนานกล่าวว่า ความสัมพันธ์เช่นนี้ ถือเป็นการบวงสรวงเทพเจ้าเพื่อช่วยให้ได้รับชัยชนะในสงคราม เรื่องราวต่างๆ ในสังคมกรีกนั้นจะปรากฏให้เห็นในงานศิลปะ เช่น สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม วรรณกรรม รวมทั้งงานเขียนทางปรัชญา และสามารถสะท้อนแนวคิดในเรื่องรักร่วมเพศได้เช่นกัน
จากการศึกษาของวราคุณ ทิมรอด (2548) ได้แบ่งปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดความนิยมรักร่วมเพศในสมัยกรีกโบราณ ออกเป็นปัจจัยใหญ่ๆ 3 แบบ ดังนี้
1. สังคมและวัฒนธรรมของผู้ชายเอเธนส์
การแบ่งเพศในสมัยกรีกนั้นจะแบ่งเป็นฝ่ายรุกและฝ่ายรับ ฝ่ายรุก ได้แก่ ชายสูงวัย ส่วนฝ่ายรับนั้น ได้แก่ เด็กหนุ่มและผู้หญิง ทำให้เห็นว่าในสมัยกรีกโบราณนั้นให้ความสำคัญกับผู้อาวุโสและมีลักษณะเป็นสังคมปิตาธิปไตย ในสังคมและวัฒนธรรมของกรีก เด็กหนุ่มอายุต่ำกว่า 18 ปีต้องได้รับการอบรมศึกษาเพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่และพร้อมต่อการปฏิบัติหน้าที่ในการเป็นพลเมือง ชายสูงวัยจึงทำหน้าที่เป็นครู เพื่อสอนทักษะการใช้ชีวิต การล่าสัตว์ การรบ สอนอ่านและเขียนหนังสือ ความใกล้ชิดนี้เองจึงนำไปสู่ความสัมพันธ์แบบชายรักชาย ความสัมพันธ์เช่นนี้ชาวกรีกมองว่าเป็นสถาบันที่ทำให้สังคมสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ การอบรมโดยชายผู้อาวุโสกว่าจะช่วยยกระดับจิตใจ ฝึกความอดทน ความเคารพ ความกล้าหาญ เป็นต้น
2. งานเขียนทางปรัชญา
นักปรัชญาชาวกรีกที่สำคัญที่สุดผู้หนึ่ง คือ เพลโต (Plato) โดยงานเขียนทางปรัชญาที่มีชื่อเสียงของเขาคือ “ซิมโพเซียม” เป็นวรรณกรรมในรูปแบบบทสนทนาในงานเลี้ยงสำคัญของชายชาวกรีก หัวข้อที่สนทนากันคือเรื่องความรัก โดยเฉพาะรักร่วมเพศ ที่เรียกว่า “Platonic Love” ซึ่งเขามองว่า ความรักที่ถูกต้องของผู้ชายสูงอายุที่มีต่อเด็กหนุ่ม ไม่ใช่การหาความสำราญทางร่างกาย แต่เป็นการช่วยสร้างความงามหรือความดีให้เกิดขึ้นในจิตใจของผู้นั้น และงานเขียนชิ้นนี้มีอิทธิพลมากต่อทัศนคติของชาวกรีกโบราณ
3. เทพปกรณัมกรีก
ชาวกรีกมีความเชื่อแบบพหุเทวนิยม โดยเทพเจ้าสำคัญมี 12 องค์ หนึ่ง ในนั้นคือ ซุสซึ่งเป็นราชาแห่งเทพเจ้ามีความสัมพันธ์แบบรักร่วมเพศกับ “แกนีมีด” โอรสองค์เล็กของกษัตริย์แห่งทรอย แกนีมีดเป็นเด็กหนุ่มรูปงาม ทำให้ซุสเกิดความหลงใหล จึงแปลงกายเป็นนกอินทรีย์ลักพาตัวแกนีมีดขึ้นไปบนเขาโอลิมปัส และให้ทำหน้าที่รินเหล้าให้เหล่าเทพเจ้า เรื่องราวของเทพปกรณัมกรีกสะท้อนความคิดความเชื่อในเรื่องรักร่วมเพศได้เป็นอย่างดี เนื่องจากชาวกรีกเชื่อว่า เทพเจ้ามีอารมณ์ ความรู้สึก รูปร่าง หน้าตาเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ต่างกันที่เทพเจ้ามีพลังอำนาจเหนือมนุษย์
จากปัจจัยดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า แนวคิดรักร่วมเพศมีมานานกว่าพันปี โดยเฉพาะในสมัยกรีกโบราณที่มองว่า รักร่วมเพศเป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้ชายต้องเรียนรู้ เป็นความรักอันชอบธรรมที่เกิดจากความรู้สึกอันบริสุทธิ์ แต่ในปัจจุบันพฤติกรรมรักร่วมเพศนั้นไม่เป็นที่ยอมรับนัก เพราะคิดว่ารักร่วมเพศคือความผิดปกติ หากผู้อ่านได้อ่านบทความนี้แล้ว การเปิดโลกทัศน์และมีทัศนคติที่กว้างไกลเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะความรักเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย ไม่จำกัดแค่เพียงเพศชายและเพศหญิงเท่านั้น
อ้างอิง
วราคุณ ทิมรอด.บทวิเคราะห์แนวคิดรักร่วมเพศที่ปรากฏในงานจิตรกรรมบนภาชนะเครื่องปั้นดินเผากรีก.สารนิพนธ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2548.
ตำนานเทพกรีกตอน9:รักฉบับYในเทพกรีก. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2558, จาก http://2busy2know.com/
สังคมกรีซ…สังคมรักร่วมเพศ. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2558, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=JDQH8tOywCw
ความรักเป็นบ่อเกิดของทุกสรรพสิ่งบนโลกใบนี้ และความรักไม่จำกัดรูปแบบ อายุ เชื้อชาติ ศาสนา หรือแม้กระทั่ง “เพศ” ในปัจจุบันแนวความคิดเกี่ยวกับรักร่วมเพศ หรือ ชายรักชาย หญิงรักหญิง ได้รับอิทธิพลมาจากความเชื่อของศาสนาคริสต์ ในสมัยยุคกลาง ที่เชื่อว่ารักร่วมเพศคือบาป และเป็นสิ่งต้องห้าม ส่งผลให้ชาวรักร่วมเพศในปัจจุบันไม่กล้าที่จะแสดงตัวตน หรือความต้องการที่แท้จริงออกมา แต่ในสมัยกรีกโบราณนั้นกลับมองว่า พฤติกรรมรักร่วมเพศถือเป็นสิ่งที่สูงส่ง เป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติเพื่อเรียนรู้การเป็นผู้ใหญ่
2000 ปีก่อนคริสตกาล อารยธรรมกรีกรุ่งเรืองขึ้นจากอิทธิพลของอารยธรรมอียิปต์และอารยธรรมเมโสโปเตเมีย มีการปกครองแบบนครรัฐซึ่งเป็นอิสระต่อกัน มีศูนย์กลางสำคัญอยู่ที่ นครรัฐเอเธนส์ และนครรัฐสปาร์ต้า ประชาชนชาวกรีกทำอาชีพเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ ผู้หญิงไม่มีบทบาทในกิจการเกี่ยวกับสาธารณะใดๆ ทั้งสิ้น เป็นเพศที่ถูกเหยียดหยามไม่ต่างจากทาส ทำหน้าที่เป็นแม่ของลูกเท่านั้น การแต่งงานของชายหญิงนั้นเป็นเพียงหน้าที่ทางสังคมไม่ใช่ความรักที่ลึกซึ้ง ผู้ชายจึงสามารถไปมีความสัมพันธ์กับคู่รักเพศชายด้วยกัน เนื่องจากมีฐานะทางสังคมและสติปัญญาเท่าเทียมกัน
ที่มา: http://www.bloggang.com/
ในสังคมชาวกรีก จะถือว่ารูปร่างของมนุษย์เป็นสิ่งที่มีความงาม เด็กคนใดเกิดมาร่างกายพิการ หรือไม่แข็งแรงก็จะถูกนำไปฆ่า มนุษย์จึงใส่ใจกับร่างกายของตนเองผ่านการออกกำลังกายที่ยิมเนเซียม (Gymnasium) ซึ่งเป็นสถานที่ที่รวมกิจกรรมที่มีการฝึกฝนร่างกายและการแข่งขันกีฬา รวมทั้งการพบปะพูดคุยกันในเรื่องราวต่างๆ ของชายชาวกรีก และเป็นสถานที่ที่ไว้มาชมเรือนร่างในหมู่ผู้ชายด้วยกันเองเนื่องจากพวกเขาออกกำลังกายด้วยสภาพที่เปลือยกายเสมอ
นอกจากนี้ ในสมัยกรีกโบราณมีการทำสงครามกันอยู่บ่อยครั้ง ชายชาวกรีกจึงทุ่มเทและมุ่งมั่นให้กับการฝึกรบอย่างเข้มงวด เมื่อได้ไปออกรบซึ่งใช้เวลานานหลายปี ทำให้ทหารชาวกรีกมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเพื่อนชายของตน บางตำนานกล่าวว่า ความสัมพันธ์เช่นนี้ ถือเป็นการบวงสรวงเทพเจ้าเพื่อช่วยให้ได้รับชัยชนะในสงคราม เรื่องราวต่างๆ ในสังคมกรีกนั้นจะปรากฏให้เห็นในงานศิลปะ เช่น สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม วรรณกรรม รวมทั้งงานเขียนทางปรัชญา และสามารถสะท้อนแนวคิดในเรื่องรักร่วมเพศได้เช่นกัน
จากการศึกษาของวราคุณ ทิมรอด (2548) ได้แบ่งปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดความนิยมรักร่วมเพศในสมัยกรีกโบราณ ออกเป็นปัจจัยใหญ่ๆ 3 แบบ ดังนี้
1. สังคมและวัฒนธรรมของผู้ชายเอเธนส์
การแบ่งเพศในสมัยกรีกนั้นจะแบ่งเป็นฝ่ายรุกและฝ่ายรับ ฝ่ายรุก ได้แก่ ชายสูงวัย ส่วนฝ่ายรับนั้น ได้แก่ เด็กหนุ่มและผู้หญิง ทำให้เห็นว่าในสมัยกรีกโบราณนั้นให้ความสำคัญกับผู้อาวุโสและมีลักษณะเป็นสังคมปิตาธิปไตย ในสังคมและวัฒนธรรมของกรีก เด็กหนุ่มอายุต่ำกว่า 18 ปีต้องได้รับการอบรมศึกษาเพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่และพร้อมต่อการปฏิบัติหน้าที่ในการเป็นพลเมือง ชายสูงวัยจึงทำหน้าที่เป็นครู เพื่อสอนทักษะการใช้ชีวิต การล่าสัตว์ การรบ สอนอ่านและเขียนหนังสือ ความใกล้ชิดนี้เองจึงนำไปสู่ความสัมพันธ์แบบชายรักชาย ความสัมพันธ์เช่นนี้ชาวกรีกมองว่าเป็นสถาบันที่ทำให้สังคมสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ การอบรมโดยชายผู้อาวุโสกว่าจะช่วยยกระดับจิตใจ ฝึกความอดทน ความเคารพ ความกล้าหาญ เป็นต้น
2. งานเขียนทางปรัชญา
นักปรัชญาชาวกรีกที่สำคัญที่สุดผู้หนึ่ง คือ เพลโต (Plato) โดยงานเขียนทางปรัชญาที่มีชื่อเสียงของเขาคือ “ซิมโพเซียม” เป็นวรรณกรรมในรูปแบบบทสนทนาในงานเลี้ยงสำคัญของชายชาวกรีก หัวข้อที่สนทนากันคือเรื่องความรัก โดยเฉพาะรักร่วมเพศ ที่เรียกว่า “Platonic Love” ซึ่งเขามองว่า ความรักที่ถูกต้องของผู้ชายสูงอายุที่มีต่อเด็กหนุ่ม ไม่ใช่การหาความสำราญทางร่างกาย แต่เป็นการช่วยสร้างความงามหรือความดีให้เกิดขึ้นในจิตใจของผู้นั้น และงานเขียนชิ้นนี้มีอิทธิพลมากต่อทัศนคติของชาวกรีกโบราณ
3. เทพปกรณัมกรีก
ชาวกรีกมีความเชื่อแบบพหุเทวนิยม โดยเทพเจ้าสำคัญมี 12 องค์ หนึ่ง ในนั้นคือ ซุสซึ่งเป็นราชาแห่งเทพเจ้ามีความสัมพันธ์แบบรักร่วมเพศกับ “แกนีมีด” โอรสองค์เล็กของกษัตริย์แห่งทรอย แกนีมีดเป็นเด็กหนุ่มรูปงาม ทำให้ซุสเกิดความหลงใหล จึงแปลงกายเป็นนกอินทรีย์ลักพาตัวแกนีมีดขึ้นไปบนเขาโอลิมปัส และให้ทำหน้าที่รินเหล้าให้เหล่าเทพเจ้า เรื่องราวของเทพปกรณัมกรีกสะท้อนความคิดความเชื่อในเรื่องรักร่วมเพศได้เป็นอย่างดี เนื่องจากชาวกรีกเชื่อว่า เทพเจ้ามีอารมณ์ ความรู้สึก รูปร่าง หน้าตาเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ต่างกันที่เทพเจ้ามีพลังอำนาจเหนือมนุษย์
จากปัจจัยดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า แนวคิดรักร่วมเพศมีมานานกว่าพันปี โดยเฉพาะในสมัยกรีกโบราณที่มองว่า รักร่วมเพศเป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้ชายต้องเรียนรู้ เป็นความรักอันชอบธรรมที่เกิดจากความรู้สึกอันบริสุทธิ์ แต่ในปัจจุบันพฤติกรรมรักร่วมเพศนั้นไม่เป็นที่ยอมรับนัก เพราะคิดว่ารักร่วมเพศคือความผิดปกติ หากผู้อ่านได้อ่านบทความนี้แล้ว การเปิดโลกทัศน์และมีทัศนคติที่กว้างไกลเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะความรักเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย ไม่จำกัดแค่เพียงเพศชายและเพศหญิงเท่านั้น
อ้างอิง
วราคุณ ทิมรอด.บทวิเคราะห์แนวคิดรักร่วมเพศที่ปรากฏในงานจิตรกรรมบนภาชนะเครื่องปั้นดินเผากรีก.สารนิพนธ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2548.
ตำนานเทพกรีกตอน9:รักฉบับYในเทพกรีก. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2558, จาก http://2busy2know.com/
สังคมกรีซ…สังคมรักร่วมเพศ. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2558, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=JDQH8tOywCw
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น