โดย ฐนนนต์ แสงวงษา
ในสังคมอินเดียที่มีความอยุติธรรมที่สุดแห่งหนึ่งของโลกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการแบ่งประชาชนออกเป็นวรรณะตามศาสนาฮินดู จากเด็กชายที่เกิดในอวรรณะ (คนนอกวรรณะ) สู่การเป็นรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมคนแรกของประเทศ ทั้งยังเป็นประธานร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศและเป็นผู้ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้กลับมารุ่งเรืองอีกครั้งอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
ท่านผู้นั้นคือ ดร.บี. อาร์. อัมเพทการ์ (Dr. B. R. Ambedkar) เกิดในครอบครัวจัณฑาลหรืออธิศูทรที่ยากจนเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2434 ณ หมู่บ้านของคนจัณฑาลชื่ออัมพาวดี อำเภอรัตนคีรี รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย บิดาชื่อ”รามชี สักปาล” (Ramji Sakpal) เคยมีอาชีพเป็นทหารมาก่อน เมื่อปลดประจำการแล้วจึงมายึดอาชีพกรรมกรขายแรงงานที่หาเช้ากินค่ำ มารดาเป็นสตรีวรรณะจัณฑาลเหมือนกันชื่อ “ภีมาไพ” (Bhimabai) ทั้งสองมีลูกด้วยกันถึง 14 คน อัมเพทการ์นับว่าเป็นคนสุดท้อง แต่ต่อมาพี่น้องส่วนใหญ่ก็เสียชีวิต เหลือกันอยู่เพียง 5 ชีวิตเท่านั้น
สังคมอินเดียซึ่งประชากรส่วนใหญ่กว่า 80 เปอร์เซ็นต์นับถือศาสนาฮินดูนั้น มีการแบ่งประชาชนออกเป็น 4 วรรณะคือ 1.วรรณะพราหมณ์ 2.วรรณะกษัตริย์ 3.วรรณะแพศย์ 4.วรรณะศูทร วรรณะทั้งสี่นี้เรียกว่าเป็นพวก ”สวรรณะ” (คนมีวรรณะ) นับว่ายังมีเกียรติมีฐานะในสังคมอินเดียเหมือนคนปกติทั่วไป แต่นอกจากทั้งสี่วรรณะนี้แล้วยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งพระเจ้าของศาสนาฮินดูไม่ยอมจัดให้สังกัดวรรณะใด คนทั่วไปจึงเรียกพวกเขาว่าเป็นพวก “อวรรณะ” (คนนอกวรรณะ) อาจเรียกอีกชื่อได้ว่าวรรณะที่ 5 ก็ได้ ซึ่งเป็นวรรณะที่ “ภีม” (Bhim) ชื่อเมื่อยังเล็กของ ดร.อัมเพทการ์ อยู่
ด้านการศึกษาพออายุได้ 2 ขวบ ก็เข้าเรียนที่โรงเรียนประถมแห่งหนึ่ง จนอายุได้ 4 ขวบ มารดาก็ถึงแก่กรรมลาจากไป บิดาของภีมก็ไม่ย่อท้อทำงานอย่างหนักเพื่อส่งลูกให้ได้เรียนหนังสือให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อภีมเรียนจบชั้นประถมศึกษาแล้วพ่อก็ส่งเสียให้เขาได้เรียนในชั้นมัธยมศึกษาต่อทันที ชีวิตในโรงเรียนของภีมเต็มไปด้วยการดูถูกเหยียดหยาม ที่โรงเรียนภีมจะถูกให้นั่งหลังห้องแยกจากเด็กคนอื่น เขาไม่มีสิทธิ์จะอ่าน โคลง กลอน ภาษาสันสกฤตเหมือนเพื่อนร่วมชั้นคนอื่น เพราะภาษาสันสกฤตเป็นภาษาที่สงวนไว้สำหรับชนชั้นสูงเช่นวรรณะพราหมณ์เท่านั้น หรือหากภีมหิวน้ำขึ้นมาก็ไม่มีสิทธิ์จะไปตักน้ำดื่มด้วยตนเอง ถ้าเกิดหิวกระหายจริงๆภีมต้องเป็นฝ่ายขอร้องเพื่อนที่มีจิตใจอารีมาตักให้ แล้วค่อยๆรินน้ำไม่ให้อวัยวะส่วนใดของภีมไปถูกภาชนะใส่น้ำหรือไปสัมผัสกับผู้มีเมตตารินน้ำใส่ปากให้เขา
แต่ภายใต้ความอาภัพของภีมก็มีหนึ่งคนที่สังเกตุถึงความตั้งใจเรียนขยันหมั่นเพียรตินั้นคือครูประจำชั้นซึ่งเป็นพราหมณ์เห็นความดีที่มีอยู่ในตัวภีม ครูจึงช่วยแบ่งอาหารให้เป็นบางมื้อ แล้วอยู่มาวันหนึ่งครูคนนี้ก็เรียกภีมไปหาแล้วอนุญาติให้ใช้นามสกุลของตัวเองแทนนามสกุล “สักปาละ” (ซึ่งเป็นนามสกุลที่ใครได้ยินก็รู้ว่าเป็นวรรณะจัณฑาล) ตั้งแต่นั้นมาภีมจึงมีนามสกุลใหม่ว่า “อัมเพทการ์” ภีม สักปาละ กลายเป็น ภีม อัมเพทการ์ ทำให้เขามีความมุ่งมานะพยายามขึ้นอีกมากมายและเขาก็จบด้วยผลการเรียนที่ดีมากรวมทั้งวิชาภาษาอังกฤษที่คะแนนสูงกว่าวิชาอื่นๆด้วย
ต่อมา อัมเพทการ์สอบเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยบอมเบย์ (มหาวิทยาลัยมุมไบในปัจจุบัน)เขาเป็นจัณฑาลคนแรกที่ได้เข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยโดยได้รับทุนการศึกษาจากมหาราชาแห่งแคว้นบาโรดาหลังจากจบการศึกษาทางด้านเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์เขาก็ได้รับทุนไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียและวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน
อัมเพทการ์กลับสู่อินเดียด้วยปริญญาไม่ต่ำกว่า 7 ใบ เขาได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ทางด้านเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์การเมืองที่วิทยาลัยซิดนาห์มในบอมเบย์ หลังจากนั้นเขาก็เคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านการแบ่งชนชั้นวรรณะอย่างจริงจังได้ก่อตั้งพรรคการเมืองชื่อ “พรรคกรรมกรอิสระ” และได้รับเชิญเข้าเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ดร.อัมเพทการ์ร่วมมือกับพรรคคองเกรสของอินเดียต่อสู้กับจักรวรรดิอังกฤษจนที่สุดอินเดียก็ได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2490 เพราะเหตุนี้รัฐบาลอินเดียก็แต่งตั้งให้ ดร.อัมเพทการ์รับหน้าที่อันสำคัญที่สุดในชีวิตของเขาคือ การเป็นประธานร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศ ดร.อัมเพทการ์จึงทำหน้าที่ปลดปล่อยคนอินเดียให้เป็นอิสระจากระบบวรรณะด้วยการเขียนรัฐธรรมนูญอินเดียตอนนึงว่า “ไม่ให้ประชาชนอินเดียมีการเลือกปฏิบัติต่อกันและกันด้วยเหตุผลทางวรรณะ และวรรณะจัณฑาลนั้นก็ยุบทิ้งเสียซิ้นซาก”
หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจสำคัญทางการเมืองแล้ว ดร.อัมเพทการ์ก็หันมาทำงานปลดปล่อยคนจัณฑาลให้เป็นอิสระอีกทางหนึ่ง ด้วยการประกาศตนเป็นพุทธมามกะ ดร.อัมเพทการ์ได้เป็นประธานทำพิธีปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะที่เมืองนาคปุระเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม 2499 ในพิธีอันสำคัญยิ่งมีคนจัณฑาลเข้าร่วมปฏิญาณตนหลายแสนคน หลังจากการปฏิญาณตน ดร.อัมเพทการ์ได้รับการยกย่องจากมหาชนว่า “เป็นผู้เปิดประตูดินแดนภาระตะเพื่อนำพระพุทธศาสนาคืนมาตุภูมิ” พระพุทธศาสนาที่เรือนหายไปจากประเทศอินเดียกว่า 1500 ปี มีโอกาสกลับมารุ่งโรจน์อีกครั้งหนึ่งในยุคสมัยของ ดร.อัมเพทการ์นี่เอง หลังจากนั้นไม่นานท่านก็ล้มป่วยและเสียชีวิตอย่างสงบในบ้านพัก
ความดีงามหลายสิ่งหลายอย่างมากที่ ดร.อัมเพทการ์ ได้ทำไว้แก่ประเทศอินเดีย การยกเลิกระบบวรรณะ การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาอีกทั้งยังมีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยไม่ต่ำกว่า 4 แห่งและอีกมากมาย ท่านได้เปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่าง ดังนั้นท่านจึงได้รับการยกย่องจากคนจัณฑาลและปัญญาชนเสมือนหนึ่งเป็นวีรบุรุษของชาติ มีผู้สร้างอนุสาวรีย์ให้ท่านกระจายไปทั่วอินเดียหลายแห่ง รัฐบาลอินเดียยังประกาศยกย่องท่านให้วันที่ 14 เมษายน ของทุกปีซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของ ดร.อัมเพทการ์ เป็นวันหยุดราชการอีกด้วย จากคนต่ำต้อยเกิดวรรณะจัณฑาล สุดท้ายได้รับการเทิดทูนจากมหาชนให้เป็นดั่งวีรบุรุษและเทพเจ้าองค์หนึ่งของประเทศอินเดีย
อ้างอิง
ว.วชิรเมธี. (2554). คนดลใจ : HEROES. กรุงเทพมหานคร: ปราณ
ดร.ภีมราว รามชี อามเพฑกร (ดร.อัมเบดก้าร์). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม พ.ศ.2558 เข้าถึงได้จาก : http://www.huexonline.com/knowledge_detail.php?knowledge_id=38
ภีมราว รามชี อามเพฑกร. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม พ.ศ.2558
เข้าถึงได้จาก : https://th.wikipedia.org/
พานิชพล มงคลเจริญ. ดร.อัมเบดการ์ ผู้ที่ชาวพุทธควรยกย่อง. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม พ.ศ.2558 เข้าถึงได้จาก : http://krooair.blogspot.com/2009/08/blog-post_25.html
ในสังคมอินเดียที่มีความอยุติธรรมที่สุดแห่งหนึ่งของโลกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการแบ่งประชาชนออกเป็นวรรณะตามศาสนาฮินดู จากเด็กชายที่เกิดในอวรรณะ (คนนอกวรรณะ) สู่การเป็นรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมคนแรกของประเทศ ทั้งยังเป็นประธานร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศและเป็นผู้ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้กลับมารุ่งเรืองอีกครั้งอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
ท่านผู้นั้นคือ ดร.บี. อาร์. อัมเพทการ์ (Dr. B. R. Ambedkar) เกิดในครอบครัวจัณฑาลหรืออธิศูทรที่ยากจนเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2434 ณ หมู่บ้านของคนจัณฑาลชื่ออัมพาวดี อำเภอรัตนคีรี รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย บิดาชื่อ”รามชี สักปาล” (Ramji Sakpal) เคยมีอาชีพเป็นทหารมาก่อน เมื่อปลดประจำการแล้วจึงมายึดอาชีพกรรมกรขายแรงงานที่หาเช้ากินค่ำ มารดาเป็นสตรีวรรณะจัณฑาลเหมือนกันชื่อ “ภีมาไพ” (Bhimabai) ทั้งสองมีลูกด้วยกันถึง 14 คน อัมเพทการ์นับว่าเป็นคนสุดท้อง แต่ต่อมาพี่น้องส่วนใหญ่ก็เสียชีวิต เหลือกันอยู่เพียง 5 ชีวิตเท่านั้น
ที่มา: http://ambedkaree.com/
ด้านการศึกษาพออายุได้ 2 ขวบ ก็เข้าเรียนที่โรงเรียนประถมแห่งหนึ่ง จนอายุได้ 4 ขวบ มารดาก็ถึงแก่กรรมลาจากไป บิดาของภีมก็ไม่ย่อท้อทำงานอย่างหนักเพื่อส่งลูกให้ได้เรียนหนังสือให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อภีมเรียนจบชั้นประถมศึกษาแล้วพ่อก็ส่งเสียให้เขาได้เรียนในชั้นมัธยมศึกษาต่อทันที ชีวิตในโรงเรียนของภีมเต็มไปด้วยการดูถูกเหยียดหยาม ที่โรงเรียนภีมจะถูกให้นั่งหลังห้องแยกจากเด็กคนอื่น เขาไม่มีสิทธิ์จะอ่าน โคลง กลอน ภาษาสันสกฤตเหมือนเพื่อนร่วมชั้นคนอื่น เพราะภาษาสันสกฤตเป็นภาษาที่สงวนไว้สำหรับชนชั้นสูงเช่นวรรณะพราหมณ์เท่านั้น หรือหากภีมหิวน้ำขึ้นมาก็ไม่มีสิทธิ์จะไปตักน้ำดื่มด้วยตนเอง ถ้าเกิดหิวกระหายจริงๆภีมต้องเป็นฝ่ายขอร้องเพื่อนที่มีจิตใจอารีมาตักให้ แล้วค่อยๆรินน้ำไม่ให้อวัยวะส่วนใดของภีมไปถูกภาชนะใส่น้ำหรือไปสัมผัสกับผู้มีเมตตารินน้ำใส่ปากให้เขา
แต่ภายใต้ความอาภัพของภีมก็มีหนึ่งคนที่สังเกตุถึงความตั้งใจเรียนขยันหมั่นเพียรตินั้นคือครูประจำชั้นซึ่งเป็นพราหมณ์เห็นความดีที่มีอยู่ในตัวภีม ครูจึงช่วยแบ่งอาหารให้เป็นบางมื้อ แล้วอยู่มาวันหนึ่งครูคนนี้ก็เรียกภีมไปหาแล้วอนุญาติให้ใช้นามสกุลของตัวเองแทนนามสกุล “สักปาละ” (ซึ่งเป็นนามสกุลที่ใครได้ยินก็รู้ว่าเป็นวรรณะจัณฑาล) ตั้งแต่นั้นมาภีมจึงมีนามสกุลใหม่ว่า “อัมเพทการ์” ภีม สักปาละ กลายเป็น ภีม อัมเพทการ์ ทำให้เขามีความมุ่งมานะพยายามขึ้นอีกมากมายและเขาก็จบด้วยผลการเรียนที่ดีมากรวมทั้งวิชาภาษาอังกฤษที่คะแนนสูงกว่าวิชาอื่นๆด้วย
ต่อมา อัมเพทการ์สอบเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยบอมเบย์ (มหาวิทยาลัยมุมไบในปัจจุบัน)เขาเป็นจัณฑาลคนแรกที่ได้เข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยโดยได้รับทุนการศึกษาจากมหาราชาแห่งแคว้นบาโรดาหลังจากจบการศึกษาทางด้านเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์เขาก็ได้รับทุนไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียและวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน
อัมเพทการ์กลับสู่อินเดียด้วยปริญญาไม่ต่ำกว่า 7 ใบ เขาได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ทางด้านเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์การเมืองที่วิทยาลัยซิดนาห์มในบอมเบย์ หลังจากนั้นเขาก็เคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านการแบ่งชนชั้นวรรณะอย่างจริงจังได้ก่อตั้งพรรคการเมืองชื่อ “พรรคกรรมกรอิสระ” และได้รับเชิญเข้าเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ดร.อัมเพทการ์ร่วมมือกับพรรคคองเกรสของอินเดียต่อสู้กับจักรวรรดิอังกฤษจนที่สุดอินเดียก็ได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2490 เพราะเหตุนี้รัฐบาลอินเดียก็แต่งตั้งให้ ดร.อัมเพทการ์รับหน้าที่อันสำคัญที่สุดในชีวิตของเขาคือ การเป็นประธานร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศ ดร.อัมเพทการ์จึงทำหน้าที่ปลดปล่อยคนอินเดียให้เป็นอิสระจากระบบวรรณะด้วยการเขียนรัฐธรรมนูญอินเดียตอนนึงว่า “ไม่ให้ประชาชนอินเดียมีการเลือกปฏิบัติต่อกันและกันด้วยเหตุผลทางวรรณะ และวรรณะจัณฑาลนั้นก็ยุบทิ้งเสียซิ้นซาก”
ที่มา: http://www.tricycle.com/
หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจสำคัญทางการเมืองแล้ว ดร.อัมเพทการ์ก็หันมาทำงานปลดปล่อยคนจัณฑาลให้เป็นอิสระอีกทางหนึ่ง ด้วยการประกาศตนเป็นพุทธมามกะ ดร.อัมเพทการ์ได้เป็นประธานทำพิธีปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะที่เมืองนาคปุระเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม 2499 ในพิธีอันสำคัญยิ่งมีคนจัณฑาลเข้าร่วมปฏิญาณตนหลายแสนคน หลังจากการปฏิญาณตน ดร.อัมเพทการ์ได้รับการยกย่องจากมหาชนว่า “เป็นผู้เปิดประตูดินแดนภาระตะเพื่อนำพระพุทธศาสนาคืนมาตุภูมิ” พระพุทธศาสนาที่เรือนหายไปจากประเทศอินเดียกว่า 1500 ปี มีโอกาสกลับมารุ่งโรจน์อีกครั้งหนึ่งในยุคสมัยของ ดร.อัมเพทการ์นี่เอง หลังจากนั้นไม่นานท่านก็ล้มป่วยและเสียชีวิตอย่างสงบในบ้านพัก
ความดีงามหลายสิ่งหลายอย่างมากที่ ดร.อัมเพทการ์ ได้ทำไว้แก่ประเทศอินเดีย การยกเลิกระบบวรรณะ การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาอีกทั้งยังมีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยไม่ต่ำกว่า 4 แห่งและอีกมากมาย ท่านได้เปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่าง ดังนั้นท่านจึงได้รับการยกย่องจากคนจัณฑาลและปัญญาชนเสมือนหนึ่งเป็นวีรบุรุษของชาติ มีผู้สร้างอนุสาวรีย์ให้ท่านกระจายไปทั่วอินเดียหลายแห่ง รัฐบาลอินเดียยังประกาศยกย่องท่านให้วันที่ 14 เมษายน ของทุกปีซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของ ดร.อัมเพทการ์ เป็นวันหยุดราชการอีกด้วย จากคนต่ำต้อยเกิดวรรณะจัณฑาล สุดท้ายได้รับการเทิดทูนจากมหาชนให้เป็นดั่งวีรบุรุษและเทพเจ้าองค์หนึ่งของประเทศอินเดีย
อ้างอิง
ว.วชิรเมธี. (2554). คนดลใจ : HEROES. กรุงเทพมหานคร: ปราณ
ดร.ภีมราว รามชี อามเพฑกร (ดร.อัมเบดก้าร์). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม พ.ศ.2558 เข้าถึงได้จาก : http://www.huexonline.com/knowledge_detail.php?knowledge_id=38
ภีมราว รามชี อามเพฑกร. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม พ.ศ.2558
เข้าถึงได้จาก
พานิชพล มงคลเจริญ. ดร.อัมเบดการ์ ผู้ที่ชาวพุทธควรยกย่อง. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม พ.ศ.2558 เข้าถึงได้จาก : http://krooair.blogspot.com/2009/08/blog-post_25.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น