โดย ณิชากร เผ่าพันธุ์
หากจะกล่าวถึงสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่น นอกจากวัฒนธรรมอันโดดเด่น เช่น ศาสตร์การชงชา ศิลปะเกี่ยวกับอาหาร ชุดประจำชาติ การละเล่นในวัง หรือรถไฟความเร็วสูงแล้ว สิ่ง ๆ หนึ่งซึ่งถูกบันทึกลงในหน้าประวัติศาสตร์อย่างภาคภูมิก็คือ ‘ดาบซามูไร’ อันอยู่คู่กับนักรบผู้ทระนงองอาจ
ดาบซามูไรถือเป็นอาวุธสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ยิ่งของเหล่านักรบซึ่งถูกเรียกกันอย่างแพร่หลายว่าซามูไร (ข้ารับใช้เจ้านายและแผ่นดิน) เป็นสิ่งของที่ได้รับการเคารพไม่แพ้ผู้เป็นนาย ยิ่งเจ้าของดาบน่าเกรงขามมากเท่าไร ดาบก็ยิ่งสูงส่งมากเท่านั้น ดังนั้นดาบแต่ละเล่มจึงถูกจำแนกให้แตกต่างออกไปตามความต้องการของผู้ถือครองและความเก่งกาจของผู้ตีดาบ
ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นมีดาบจำนวนไม่น้อยที่ถูกตีขึ้นเพื่ออุ้มชูศักดิ์ของจักรพรรดิ ตีเพื่อใช้ในการสงคราม หรือตีเพื่อต้องการเพิ่มงานศิลปะ การตีดาบในทุกยุคมีความหมายในตัวของมัน
โดยบทความของคุณ Miyuki Wonderland (http://miyuki-wonderland.exteen.com/) กล่าวว่าตนทำการแบ่งยุคสมัยของดาบซามูไรออกตามวิธีการตีดาบจำนวน 6 ยุค เพราะแต่ละยุคสมัยมีวิธีการตีดาบไม่เหมือนกัน ทั้งนี้เพื่อให้เห็นภาพชัดและเป็นลำดับขั้นของเวลา หากเห็นว่าดาบเล่มนี้มีการตีละเอียด สวยงาม ประณีต นั่นอาจเป็นดาบในสมัยหลัง เป็นต้น
ดังนั้นแล้ว ข้าพเจ้าจึงทำการแบ่งยุคสมัยของดาบออกเป็น 4 ยุคใหญ่ ๆ เพื่อให้เห็นภาพพัฒนาการของดาบในทำนองเดียวกัน ดังนี้
1. ยุคดาบโบราณ (Ancient Sword) (สมัยก่อนเฮอัน – สมัยนารา ราวปี 650-793) : เป็นช่วงที่ญี่ปุ่นเกิด
สงครามบ่อยครั้งจึงจำเป็นต้องใช้อาวุธซึ่งนำเข้าจากจีนและเกาหลีอย่างไม่มีทางเลือก โดยดาบ 2 ชนิดแรกที่นำเข้าคือ โจะคุโตะและเค็น ลักษณะเป็นดาบยาวและดาบทรงสั้นตามลำดับ แต่เพราะดาบทั้งสองชนิดไม่มีความคงทนมากพอจึงมีการแสวงหาอาวุธประเภทดาบแบบใหม่มาใช้งาน แต่ก็ยังไม่พบช่างตีดาบที่มีฝีมือจนกระทั่งถึงยุคดาบเก่า
2. ยุคดาบเก่า (Old Sword) (สมัยเฮอัน – นารา) : เพราะดาบนำเข้าจากต่างประเทศนั้นเป็นอาวุธที่บิ่นและเปราะง่าย ทั้งยังมีอายุการใช้งานที่ไม่คงทนเท่าไรนัก ด้วยเหตุนี้เอง ช่างตีดาบนามอามากุนิ ยาสึทสึนะ ซึ่งมีตำแหน่งเป็นช่างตีดาบของจักรพรรดิจึงทำการคิดค้นและริเริ่มกรรมวิธีผลิตดาบเพื่อความคงทนที่มากขึ้นโดยใช้หลัก 3 ข้อคือ 2.1 ควบคุมความเย็นเมื่อนำดาบออกจากเตา 2.2 ควบคุมจำนวนคาร์บอน หากเยอะไป ดาบจะแข็งง่ายและหักเร็ว จะต้องควบคุมให้ได้ปริมาณที่พอดี และ 2.3 นำสิ่งที่ปะปนมากับเหล็กในดาบออก ซึ่งวิธีดังกล่าวนี้ถือเป็นต้นกำเนิดการตีดาบซามูไรที่ต่อมามีการต่อยอดและพัฒนาเป็นดาบชนิดต่าง ๆ อย่างหลากหลายอีกด้วย
นอกจากทำเพื่อการสงครามแล้ว ดาบอีกหนึ่งหน้าที่ที่อามากุนิตีขึ้นและมีชื่อเสียงชื่อว่าดาบ ‘โคกะระสึมารุ’ เป็นดาบโค้งมีคมทั้งสองด้านอันเป็นดาบที่ผสมผสานระหว่างดาบโบราณทั้งสองชนิดนั่นคือโจะคุโตะและเค็นเข้าด้วยกัน ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่าเป็นดาบในคลังสมบัติพระจักรพรรดิ ไม่ถูกใช้งานจริง ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าเป็นดาบที่ถูกตีขึ้นเพื่อเชิดชูพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์เล่มแรก ๆ ของยุคนั่นเอง
นอกจากอามากุนิ ยาสึทสึนะแล้วยังมีฮนโจ มาซามุเนะ ช่างตีดาบซึ่งได้รับสมญานามว่าเป็นดาบแห่งความเยือกเย็น แต่ดาบมาซามูเนะหายไปอย่างไร้ร่องรอยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อมาคือมุรามาสะ ลูกศิษย์ของมาซามูเนะได้ทำการตีดาบเพื่อประชันฝีมืออาจารย์ตัวเอง แต่ดาบของมุรามะสะจะเครียดเคร่ง ดุดันและก้าวร้าวมากกว่า เชื่อว่ามีความคมเหนือธรรมชาติเพราะตีขึ้นจากความริษยาของนายช่าง เป็นต้น
ดาบที่กล่าวมาข้างต้นถือเป็นดาบที่ตีขึ้นเพื่อใช้งาน ส่วนดาบที่ถูกทำขึ้นด้วยจุดประสงค์เดียวกันคือเชิดชูพระเกียตริของพระมหากษัตริย์และหมุนเวียนเปลี่ยนมือผู้ถือครองแค่ในกลุ่มขุนนางนั้น ตามตำนานกล่าวว่ามีอยู่ 5 เล่มสำคัญได้แก่
มิกาซึกิ มุเนจิกะ : เป็นผลงานดาบที่มีใบดาบยาวถึง 80 ซม.จากฝีมือช่างตีดาบซันโจว มุเนจิกะ ประจำสำนักตีดาบซันโจว ดาบมุเนจิกะเป็นหนึ่งในดาบเลื่องชื่อทั้ง 5 เล่มของญี่ปุ่นที่สวยงาม คงทน น้ำหนักเบา และมีเอกลักษณ์ตรงใบดาบสลักรูปพระจันทร์เสี้ยวอันเป็นที่มาของนาม ‘มิกาซึกิ’ ในคราวต่อมา ถือได้ว่าเป็นดาบที่สวยงามที่สุดในบรรดาดาบทั้ง 5
โดจิกิริ ยาสุทซึนะ : เป็นดาบยาว (ทาจิ) ขนาด 79.9 เซน โดยฝีมือช่างตีดาบนามยาสุทซึนะประจำสำนักดาบโฮคิ โอฮาระ ไม่ระบุปีที่ตีแน่ชัด หากแต่ตกทอดเรื่อยมารุ่นสู่รุ่นในกลุ่มโจรปล้นสะดม เป็นดาบที่มีความยาวเทียบเท่ามิคาซึกิ เพียงแค่อยู่คนละสำนัก
โอนิมารุ คุนิทสึนะ : ความยาวของใบดาบอยู่ที่ 79.2 ต่างจากสองเล่มด้านบนเล็กน้อย ถูกตีขึ้นที่สำนักอะวะตะคุจิในสมัยคามาคุระ ซึ่งเทียบได้ว่าอยู่ในช่วงเดียวกันกับสมัยเฮอัน ไม่ระบุปีที่ตีและช่างตีดาบที่แน่ชัดเช่นกัน ในตอนแรกถูกตีขึ้นด้วยจุดประสงค์ให้บาคุฟุ (รัฐบาลของพระจักรพรรดิ พกดาบได้) ได้ใช้งาน หลังจากนั้นกลายเป็นสมบัติของตระกูลโฮโจและผลัดเปลี่ยนเจ้าของไปตามชัยชนะในสงคราม โดย ‘โอนิมารุ’ แปลว่าปีศาจ
โอเดนตะ มิทสึโยะ : เป็นดาบที่มีความยาวเพียง 66.1 ซึ่งสั้นที่สุดในบรรดาดาบทั้ง 5 ประวัติของโอเดนตะไม่ปรากฏทั้งช่างตีและสำนักที่อาศัย รู้เพียงว่าอยู่ในสมัยเฮอันเท่านั้น
จูซึมารุ ทสึเนะทสึกุ : ความยาวของใบดาบคือ 81 อยู่ในสมัยคามาคุระเช่นเดียวกับโอนิมารุ ประจำสำนักตีดาบโค-อาโอเอะ และเป็นดาบเล่มเดียวจากทั้งหมดที่ปรากฏปีที่ตีคือ 1261- 1264 เชื่อกันว่าดาบเล่มนี้เคยเป็นสมบัติของพระนักปฏวัติศาสนานามนิจิเร็น ดังนั้นในปัจจุบันดาบจูซึมารุจึงถูกเก็บไว้ที่วัดฮงโกในฐานะสมบัติทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่น แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีข้อถกเถียงถึงสำนักตีดาบ โดยให้ข้อมูลว่าเนื้อดาบจูซึมารุต่างจากเนื้อดาบอื่น ๆ ในโค-อาโอเอะ ผู้เชี่ยวชาญบางท่านจึงเชื่อว่าอาจเป็นงานของทสึเนะทสึกุแห่งสำนักโคบิเซ็นที่ทำงานในสมัยเก็นเรียคุ (1184-1185) แทน
สมัยหลังจากนี้จะเป็นช่วงที่ดาบถูกตีขึ้นเพื่องานศิลปะเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากในช่วงหลังไม่ค่อยมีสงครามกันแล้ว ผู้คนส่วนใหญ่ รวมถึงช่างตีดาบจึงหันมาทำดาบเพื่องานศิลปะแทน ได้แก่ยุคดาบใหม่และยุคดาบสมัยปัจจุบัน (โมเดิร์น) ดังนี้
3. ยุคดาบใหม่ (New Sword) : ตรงกับสมัยเอโดะ ดาบถูกตีขึ้นด้วยความคิดใหม่คือต้องใหญ่ขึ้น หนักขึ้น หนาขึ้นเพื่อที่จะสามารถเพิ่มงานศิลปะลวดลายต่าง ๆ ลงไปได้ แน่นอนว่าไม่เน้นเรื่องการทำสงครามอีกต่อไปเพราะเอโดะคือยุคสงบสุขของญี่ปุ่น ในยุคนี้มีทั้งคนที่นิยมดาบลักษณะใหม่และกลุ่มคนที่ยังชมชอบลักษณะเดิมในยุคดาบเก่าอยู่ปะปนกันไป อีกทั้งยุคนี้ยังเป็นยุคที่กลุ่มนักรบซามูไรเฟื่องฟูมาก อย่างไรเสียอุปสงค์อุปทานระหว่างลูกค้าและช่างตีดาบย่อมเกิดขึ้นอยู่เนือง ๆ
3. ยุคดาบสมัยโมเดิร์น (Modern Sword) : เข้าสู่ยุคเมจิที่มีการปฏิวัติญี่ปุ่นเข้าสู่ความเป็นสากลแขนงใหม่ โดยญี่ปุ่นตัดสินใจปิดประเทศในปี 1876 หลังจากอเมริกาสั่งวางระเบิดเมืองฮิโรชิม่าและนางาซากิจนเสียหายยับเยิน ทำให้ทั้งเหล่าซามูไรและดาบถูกลดความสำคัญลงอย่างเห็นได้ชัด หากใครพกดาบจะถือว่าผิดกฎหมาย เพราะเหตุนั้นอาชีพช่างตีดาบจึงถูกลดความสำคัญลงมากแต่กลับไม่หายไป 100% โดยในช่วงสังคราม ดาบที่ใช้รบจะเป็นดาบเล่มใหญ่ที่เรียกว่ากุนโตะ ถูกตีขึ้นเพื่อใช้งามเพียงอย่างเดียว รูปร่างจึงไม่สวยงาม ไร้ความประณีตต่างจากดาบในยุคต่าง ๆ โดยสิ้นเชิง จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลงในที่สุด
ในทัศนะของข้าพเจ้า อาจกล่าวได้ว่าญี่ปุ่นสามารถรักษาอัตลักษณ์อันดีงามนี้ไว้ตราบเท่าทุกวันนี้ได้อย่างดี เพราะถึงแม้ว่าในสมัยปัจจุบัน (หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา) ดาบซามูไรจะไม่ได้ถูกใช้ในฐานะอาวุธ แต่ญี่ปุ่นก็ยังคงเก็บรักษาสิ่งมีค่าเหล่านี้ไว้ในฐานะเครื่องเตือนใจทั้งทางสมบัติชาติและทางวัฒนธรรมว่าครั้งหนึ่ง วีรบุรุษของพวกเขาสามารถผ่านสงครามมาด้วยอาวุธทรงคุณค่าอย่างดาบซามูไรเหล่านี้
อ้างอิง
สมัยของดาบญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2558, จาก: http://miyuki-wonderland.exteen.com/20150528/d
ประวัติดาบ: Tenka Goken. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2558, จาก: https://goo.gl/WGVFzG
ประวัติดาบ: Mikazuki Munechika part 2. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2558, จาก: https://goo.gl/UB3gWG
ตำนานดาบมาซามุเนะ และมุรามาสะ. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2558, จาก: http://game.sanook.com/954042/
วีระชัย โชคมุกดา. (2556). ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น. กรุงเทพมหานคร: ยิปซี กรุ๊ป
5 ดาบในตำนานของญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2558, จาก: http://goo.gl/H8gYtf
หากจะกล่าวถึงสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่น นอกจากวัฒนธรรมอันโดดเด่น เช่น ศาสตร์การชงชา ศิลปะเกี่ยวกับอาหาร ชุดประจำชาติ การละเล่นในวัง หรือรถไฟความเร็วสูงแล้ว สิ่ง ๆ หนึ่งซึ่งถูกบันทึกลงในหน้าประวัติศาสตร์อย่างภาคภูมิก็คือ ‘ดาบซามูไร’ อันอยู่คู่กับนักรบผู้ทระนงองอาจ
ดาบซามูไรถือเป็นอาวุธสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ยิ่งของเหล่านักรบซึ่งถูกเรียกกันอย่างแพร่หลายว่าซามูไร (ข้ารับใช้เจ้านายและแผ่นดิน) เป็นสิ่งของที่ได้รับการเคารพไม่แพ้ผู้เป็นนาย ยิ่งเจ้าของดาบน่าเกรงขามมากเท่าไร ดาบก็ยิ่งสูงส่งมากเท่านั้น ดังนั้นดาบแต่ละเล่มจึงถูกจำแนกให้แตกต่างออกไปตามความต้องการของผู้ถือครองและความเก่งกาจของผู้ตีดาบ
ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นมีดาบจำนวนไม่น้อยที่ถูกตีขึ้นเพื่ออุ้มชูศักดิ์ของจักรพรรดิ ตีเพื่อใช้ในการสงคราม หรือตีเพื่อต้องการเพิ่มงานศิลปะ การตีดาบในทุกยุคมีความหมายในตัวของมัน
โดยบทความของคุณ Miyuki Wonderland (http://miyuki-wonderland.exteen.com/) กล่าวว่าตนทำการแบ่งยุคสมัยของดาบซามูไรออกตามวิธีการตีดาบจำนวน 6 ยุค เพราะแต่ละยุคสมัยมีวิธีการตีดาบไม่เหมือนกัน ทั้งนี้เพื่อให้เห็นภาพชัดและเป็นลำดับขั้นของเวลา หากเห็นว่าดาบเล่มนี้มีการตีละเอียด สวยงาม ประณีต นั่นอาจเป็นดาบในสมัยหลัง เป็นต้น
ดังนั้นแล้ว ข้าพเจ้าจึงทำการแบ่งยุคสมัยของดาบออกเป็น 4 ยุคใหญ่ ๆ เพื่อให้เห็นภาพพัฒนาการของดาบในทำนองเดียวกัน ดังนี้
1. ยุคดาบโบราณ (Ancient Sword) (สมัยก่อนเฮอัน – สมัยนารา ราวปี 650-793) : เป็นช่วงที่ญี่ปุ่นเกิด
สงครามบ่อยครั้งจึงจำเป็นต้องใช้อาวุธซึ่งนำเข้าจากจีนและเกาหลีอย่างไม่มีทางเลือก โดยดาบ 2 ชนิดแรกที่นำเข้าคือ โจะคุโตะและเค็น ลักษณะเป็นดาบยาวและดาบทรงสั้นตามลำดับ แต่เพราะดาบทั้งสองชนิดไม่มีความคงทนมากพอจึงมีการแสวงหาอาวุธประเภทดาบแบบใหม่มาใช้งาน แต่ก็ยังไม่พบช่างตีดาบที่มีฝีมือจนกระทั่งถึงยุคดาบเก่า
โจะคุโต
เค็น
2. ยุคดาบเก่า (Old Sword) (สมัยเฮอัน – นารา) : เพราะดาบนำเข้าจากต่างประเทศนั้นเป็นอาวุธที่บิ่นและเปราะง่าย ทั้งยังมีอายุการใช้งานที่ไม่คงทนเท่าไรนัก ด้วยเหตุนี้เอง ช่างตีดาบนามอามากุนิ ยาสึทสึนะ ซึ่งมีตำแหน่งเป็นช่างตีดาบของจักรพรรดิจึงทำการคิดค้นและริเริ่มกรรมวิธีผลิตดาบเพื่อความคงทนที่มากขึ้นโดยใช้หลัก 3 ข้อคือ 2.1 ควบคุมความเย็นเมื่อนำดาบออกจากเตา 2.2 ควบคุมจำนวนคาร์บอน หากเยอะไป ดาบจะแข็งง่ายและหักเร็ว จะต้องควบคุมให้ได้ปริมาณที่พอดี และ 2.3 นำสิ่งที่ปะปนมากับเหล็กในดาบออก ซึ่งวิธีดังกล่าวนี้ถือเป็นต้นกำเนิดการตีดาบซามูไรที่ต่อมามีการต่อยอดและพัฒนาเป็นดาบชนิดต่าง ๆ อย่างหลากหลายอีกด้วย
นอกจากทำเพื่อการสงครามแล้ว ดาบอีกหนึ่งหน้าที่ที่อามากุนิตีขึ้นและมีชื่อเสียงชื่อว่าดาบ ‘โคกะระสึมารุ’ เป็นดาบโค้งมีคมทั้งสองด้านอันเป็นดาบที่ผสมผสานระหว่างดาบโบราณทั้งสองชนิดนั่นคือโจะคุโตะและเค็นเข้าด้วยกัน ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่าเป็นดาบในคลังสมบัติพระจักรพรรดิ ไม่ถูกใช้งานจริง ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าเป็นดาบที่ถูกตีขึ้นเพื่อเชิดชูพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์เล่มแรก ๆ ของยุคนั่นเอง
โคกะระสึมารุ
นอกจากอามากุนิ ยาสึทสึนะแล้วยังมีฮนโจ มาซามุเนะ ช่างตีดาบซึ่งได้รับสมญานามว่าเป็นดาบแห่งความเยือกเย็น แต่ดาบมาซามูเนะหายไปอย่างไร้ร่องรอยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อมาคือมุรามาสะ ลูกศิษย์ของมาซามูเนะได้ทำการตีดาบเพื่อประชันฝีมืออาจารย์ตัวเอง แต่ดาบของมุรามะสะจะเครียดเคร่ง ดุดันและก้าวร้าวมากกว่า เชื่อว่ามีความคมเหนือธรรมชาติเพราะตีขึ้นจากความริษยาของนายช่าง เป็นต้น
ดาบที่กล่าวมาข้างต้นถือเป็นดาบที่ตีขึ้นเพื่อใช้งาน ส่วนดาบที่ถูกทำขึ้นด้วยจุดประสงค์เดียวกันคือเชิดชูพระเกียตริของพระมหากษัตริย์และหมุนเวียนเปลี่ยนมือผู้ถือครองแค่ในกลุ่มขุนนางนั้น ตามตำนานกล่าวว่ามีอยู่ 5 เล่มสำคัญได้แก่
มิกาซึกิ มุเนจิกะ : เป็นผลงานดาบที่มีใบดาบยาวถึง 80 ซม.จากฝีมือช่างตีดาบซันโจว มุเนจิกะ ประจำสำนักตีดาบซันโจว ดาบมุเนจิกะเป็นหนึ่งในดาบเลื่องชื่อทั้ง 5 เล่มของญี่ปุ่นที่สวยงาม คงทน น้ำหนักเบา และมีเอกลักษณ์ตรงใบดาบสลักรูปพระจันทร์เสี้ยวอันเป็นที่มาของนาม ‘มิกาซึกิ’ ในคราวต่อมา ถือได้ว่าเป็นดาบที่สวยงามที่สุดในบรรดาดาบทั้ง 5
โดจิกิริ ยาสุทซึนะ : เป็นดาบยาว (ทาจิ) ขนาด 79.9 เซน โดยฝีมือช่างตีดาบนามยาสุทซึนะประจำสำนักดาบโฮคิ โอฮาระ ไม่ระบุปีที่ตีแน่ชัด หากแต่ตกทอดเรื่อยมารุ่นสู่รุ่นในกลุ่มโจรปล้นสะดม เป็นดาบที่มีความยาวเทียบเท่ามิคาซึกิ เพียงแค่อยู่คนละสำนัก
โอนิมารุ คุนิทสึนะ : ความยาวของใบดาบอยู่ที่ 79.2 ต่างจากสองเล่มด้านบนเล็กน้อย ถูกตีขึ้นที่สำนักอะวะตะคุจิในสมัยคามาคุระ ซึ่งเทียบได้ว่าอยู่ในช่วงเดียวกันกับสมัยเฮอัน ไม่ระบุปีที่ตีและช่างตีดาบที่แน่ชัดเช่นกัน ในตอนแรกถูกตีขึ้นด้วยจุดประสงค์ให้บาคุฟุ (รัฐบาลของพระจักรพรรดิ พกดาบได้) ได้ใช้งาน หลังจากนั้นกลายเป็นสมบัติของตระกูลโฮโจและผลัดเปลี่ยนเจ้าของไปตามชัยชนะในสงคราม โดย ‘โอนิมารุ’ แปลว่าปีศาจ
โอเดนตะ มิทสึโยะ : เป็นดาบที่มีความยาวเพียง 66.1 ซึ่งสั้นที่สุดในบรรดาดาบทั้ง 5 ประวัติของโอเดนตะไม่ปรากฏทั้งช่างตีและสำนักที่อาศัย รู้เพียงว่าอยู่ในสมัยเฮอันเท่านั้น
จูซึมารุ ทสึเนะทสึกุ : ความยาวของใบดาบคือ 81 อยู่ในสมัยคามาคุระเช่นเดียวกับโอนิมารุ ประจำสำนักตีดาบโค-อาโอเอะ และเป็นดาบเล่มเดียวจากทั้งหมดที่ปรากฏปีที่ตีคือ 1261- 1264 เชื่อกันว่าดาบเล่มนี้เคยเป็นสมบัติของพระนักปฏวัติศาสนานามนิจิเร็น ดังนั้นในปัจจุบันดาบจูซึมารุจึงถูกเก็บไว้ที่วัดฮงโกในฐานะสมบัติทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่น แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีข้อถกเถียงถึงสำนักตีดาบ โดยให้ข้อมูลว่าเนื้อดาบจูซึมารุต่างจากเนื้อดาบอื่น ๆ ในโค-อาโอเอะ ผู้เชี่ยวชาญบางท่านจึงเชื่อว่าอาจเป็นงานของทสึเนะทสึกุแห่งสำนักโคบิเซ็นที่ทำงานในสมัยเก็นเรียคุ (1184-1185) แทน
สมัยหลังจากนี้จะเป็นช่วงที่ดาบถูกตีขึ้นเพื่องานศิลปะเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากในช่วงหลังไม่ค่อยมีสงครามกันแล้ว ผู้คนส่วนใหญ่ รวมถึงช่างตีดาบจึงหันมาทำดาบเพื่องานศิลปะแทน ได้แก่ยุคดาบใหม่และยุคดาบสมัยปัจจุบัน (โมเดิร์น) ดังนี้
3. ยุคดาบใหม่ (New Sword) : ตรงกับสมัยเอโดะ ดาบถูกตีขึ้นด้วยความคิดใหม่คือต้องใหญ่ขึ้น หนักขึ้น หนาขึ้นเพื่อที่จะสามารถเพิ่มงานศิลปะลวดลายต่าง ๆ ลงไปได้ แน่นอนว่าไม่เน้นเรื่องการทำสงครามอีกต่อไปเพราะเอโดะคือยุคสงบสุขของญี่ปุ่น ในยุคนี้มีทั้งคนที่นิยมดาบลักษณะใหม่และกลุ่มคนที่ยังชมชอบลักษณะเดิมในยุคดาบเก่าอยู่ปะปนกันไป อีกทั้งยุคนี้ยังเป็นยุคที่กลุ่มนักรบซามูไรเฟื่องฟูมาก อย่างไรเสียอุปสงค์อุปทานระหว่างลูกค้าและช่างตีดาบย่อมเกิดขึ้นอยู่เนือง ๆ
3. ยุคดาบสมัยโมเดิร์น (Modern Sword) : เข้าสู่ยุคเมจิที่มีการปฏิวัติญี่ปุ่นเข้าสู่ความเป็นสากลแขนงใหม่ โดยญี่ปุ่นตัดสินใจปิดประเทศในปี 1876 หลังจากอเมริกาสั่งวางระเบิดเมืองฮิโรชิม่าและนางาซากิจนเสียหายยับเยิน ทำให้ทั้งเหล่าซามูไรและดาบถูกลดความสำคัญลงอย่างเห็นได้ชัด หากใครพกดาบจะถือว่าผิดกฎหมาย เพราะเหตุนั้นอาชีพช่างตีดาบจึงถูกลดความสำคัญลงมากแต่กลับไม่หายไป 100% โดยในช่วงสังคราม ดาบที่ใช้รบจะเป็นดาบเล่มใหญ่ที่เรียกว่ากุนโตะ ถูกตีขึ้นเพื่อใช้งามเพียงอย่างเดียว รูปร่างจึงไม่สวยงาม ไร้ความประณีตต่างจากดาบในยุคต่าง ๆ โดยสิ้นเชิง จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลงในที่สุด
ลักษณะดาบกุนโตะ
ในทัศนะของข้าพเจ้า อาจกล่าวได้ว่าญี่ปุ่นสามารถรักษาอัตลักษณ์อันดีงามนี้ไว้ตราบเท่าทุกวันนี้ได้อย่างดี เพราะถึงแม้ว่าในสมัยปัจจุบัน (หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา) ดาบซามูไรจะไม่ได้ถูกใช้ในฐานะอาวุธ แต่ญี่ปุ่นก็ยังคงเก็บรักษาสิ่งมีค่าเหล่านี้ไว้ในฐานะเครื่องเตือนใจทั้งทางสมบัติชาติและทางวัฒนธรรมว่าครั้งหนึ่ง วีรบุรุษของพวกเขาสามารถผ่านสงครามมาด้วยอาวุธทรงคุณค่าอย่างดาบซามูไรเหล่านี้
อ้างอิง
สมัยของดาบญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2558, จาก: http://miyuki-wonderland.exteen.com/20150528/d
ประวัติดาบ: Tenka Goken. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2558, จาก: https://goo.gl/WGVFzG
ประวัติดาบ: Mikazuki Munechika part 2. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2558, จาก: https://goo.gl/UB3gWG
ตำนานดาบมาซามุเนะ และมุรามาสะ. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2558, จาก: http://game.sanook.com/954042/
วีระชัย โชคมุกดา. (2556). ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น. กรุงเทพมหานคร: ยิปซี กรุ๊ป
5 ดาบในตำนานของญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2558, จาก: http://goo.gl/H8gYtf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น