โดย พิมพ์ชนก ชมชื่นดี
หากจะกล่าวถึงบุคคลสำคัญของโรมัน ซึ่งถือเป็นรัฐบุรุษผู้ที่ทำให้อาณาจักรวรรดิโรมัน ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียง กลายเป็นเป็นที่รู้จักและน่าจดจำของพวกเราทุกคนจนถึงทุกวันนี้ คงไม่พ้น “จูเลียส ซีซาร์” (Julius Ceasar) ผู้นำกองทัพโรมันซึ่งสามารถตีชนะและยึดเมืองมากกว่า 800 เมือง จูเลียส ซีซาร์เข้ากวาดล้อมเมืองต่างๆเข้ามาเป็นอาณัติของกรุงโรมทั้งหมด ตั้งแต่ตอนเหนือของยุโรปจนถึงทางตอนใต้ของยุโรป จากประเทศสเปนไปถึงอียิปต์ รวมไปถึงแถบเอเชียด้วยและอีกหลายๆที่ ซึ่งเขามีความภูมิใจในความแกร่งกล้า และหึกเหิมในความสำเร็จของตนเป็นอย่างมาก ถึงขนาดที่เคยเกล่าไว้ว่า "ข้ามา ข้าเห็น ข้าพิชิต" หรือ Vini Vidi Vici ในภาษาลาติน
จูเลียส ซีซาร์ใช้ความสามารถของตน ไต่เต้าจากพลทหารเล็กๆ จนกลายเป็นผู้ดูแลการคลังของรัฐ ผู้ว่าสเปน และ กงศุลตามลำดับได้นั้น ก็ด้วยได้รับร่วมมือกับผู้ทรงอิทธิสองคนของสาธารณรัฐโรมันในขณะนั้น คือ “ปอมเปย์” และ “คราสซุส” จึงทำให้เขาได้รับเลือกเป็นแม่ทัพใหญ่ในเวลาต่อมา ซึ่งได้ยกพลออกไปรบกับพวกกอล หรือฝรั่งเศสในปัจจุบันนั้นเอง
ผลงานเช่นเด่นที่ทำให้จูเลียส ซีซาร์เป็นที่จดจำและเป็นที่ยอมรับ เหตุการณ์แรกที่สร้างชื่อคือที่ “อเลเซีย” ปัจจุบันคือประเทศฝรั่งเศส
ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นภูมิภาคที่ชาวโรมันรู้จักกันในนาม “กอล” ถือเป็นที่มั่นสุดท้ายของเวอร์ ซินเกอโทริกซ์ ผู้นำของกอล ด้วยความสามารถและกองกำลังที่มากมายของจูเลียส ซีซาร์ ทำให้โรมันสามารถเข้ายึดกอล ได้สำเร็จในช่วงสงครามกัลป์ลิก ช่วง 58-51 ปีก่อนคริสตกาล เรียกได้ว่าซีซาร์ใช้เวลาเพียง 7-8 ในการทำสงครามใหญ่และย่อยเพื่อนรวบรวมกอลเป็นส่วนหนึ่งของโรม ในครั้งนี้ เขาภูมิใจกับชัยชนะเป็นมาก และมีการนำตัวเวอร์ซินเกอร์โทริกซ์ ผู้นำกอล ใส่กรงแห่ประจานทั่วโรมันก่อนประหารชีวิต และได้จัดงานเฉลิมฉลองขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ในชัยชนะต่อชาวกอล
เหตุการณ์ที่สองเข้าครอบครองเกาะอังกฤษ จูเลียส ซีซาร์ ตัดสินใจยกทัพเข้ารุกรานโดย ใช้กำลังกองทัพทหารถึง 10,000 คน แม้ว่าจะสามารถขึ้นฝั่งได้ในเพียงข้ามคืน แต่แผนการก็ไม่ได้สำเร็จไปอย่างที่วางไว้ เพราะชาวบ้านพื้นเมืองได้เตรียมการต่อสู้ไว้รอคอยแล้ว จูเลียส ซีซาร์จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแผนขับไล่ชาวพื้นเมืองโดยวิธีอื่นและในที่สุดแล้ว ด้วยความเก่งกล้าและความความสามรถของเขา จูเลียส ซีซาร์ก็สามารถทำได้สำเร็จ
ในวันที่สามารถยึดเกาะได้นั้น เกิดความวุ่นวายขึ้นกับกองทัพของเขาเนื่องด้วยวันนั้นน้ำทะเลขึ้นสูงจึงทำให้เรือที่ใช้ในการทำการรบเสียหายไปหลายลำ ทำให้ซีซาร์ต้องตัดสินใจยกทัพกลับ และต้องเสียเวลาเข้ายึดเกาะอังกฤษไปอีกหลายเดือน
ในปีถัดมา ช่วงเดือนเมษายน ซีซาร์ได้ทำการเตรียดการรบขึ้นอีกครั้ง ครั้งนี้มีการเตรียมกองทัพเรือถึง 600 ลำ และมีทหารถึง 28 กอง ยกทักถึงเมืองเซนต์ อาลลานส์ ใช้เวลาถึงช่วงฤดูหนาวจึงยกทัพกลับพร้อมเชลยสึกจำนวนมาก และครั้งนี้จุเชียส ซีซาร์ได้นำความยินดีความตื่นเต้นมายังสู่ประชาชนโรมัน เพราะได้รับชัยชนะกลับมาสู่กรุงโรมนั้นเอง
การปกครองแต่เพียงผู้เดียวถึง 10 ปีเต็มของเขา ในการรบทุกครั้ง จูเลียส ซีซาร์ปฏิเสธไม่ยอมใส่แม้แต่หมวกเหล็กเพื่อให้ทหารจำเขาได้ เขาไม่เคยตกใจจนทำตัวไม่ถูกให้กองทหารของเขาเห็น และไม่ว่าจะทำอะไรเขาจะทำอย่างเชื่อมั่นในตนเองเสมอ ตลอดเวลาเขามักจะคิดถึงแต่ความสง่างามความยิ่งใหญ่ของเขาในฐานะเป็นผู้นำ แต่อย่างไรก็ดี เมื่อจูเลียส ซีซาร์ ได้เป็นใหญ่ เขาก็ลุแก่อำนาจ และด้วยความทะเยอทะยานและความบ้าอำนาจ ทำให้เขากระหายสงคราม จนขึ้นชื่อเรื่องความโหดร้ายทารุณ ... จาก รัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่…... จูเลียส ซีซาร์ กลับกลายเป็นผู้ทำลายสาธารณรัฐโรมันด้วยตัวเขาเอง
วะระสุดท้ายของชีวิตของ จูเลียส ซีซาร์ ถูกลอบสังหารโดย แคสซิอุส มาร์คุส จูนิอุส บรูตุส ผู้ซึ่งเป็นลูกเลี้ยงของเขาเอง ซึ่งแต่ก่อนนั้นเป็นนักโทษที่เขาได้นิรโทษกรรมและได้นำมาเลี้ยงไว้ในฐานะบุตรบุญธรรมแทน และเป็นหนึ่งในผู้วางแผนทรยศปฏิรูปของเขาในครั้งนี้ด้วย จูเลียร์ ซีซาร์ถูกใช้มีดและดาบแทงจนเสียชีวิต ในวันไอดส์มีนาคม (15 มีนาคม) 44 ปีก่อนคริสตกาล ผลของการลอบสังหารนี้นำไปสู่สงครามกลางเมืองผู้ปลดปล่อย และการกำเนิดจักรวรรดิโรมันในบั้นปลาย
ถึงแม้ว่าเขาจะเสียชีวิตไปแล้ว แต่ความตายของเขาก็ได้ถูกโลกจารึกไว้ ถึงความยิ่งใหญ่ ในฐานะผู้ซึ่งมีความเป็นผู้นำอันล้ำเลิศ ผู้ซึ่งนำความยิ่งใหญ่มาสู่สาธารณรัฐโรมันทำให้อาณาจักรวรรดิโรมัน มีชื่อเสียงและกลายเป็นเป็นที่รู้จักและน่าจดจำของพวกเราทุกคนจนถึงทุกวันนี้ มหาบุรุษผู้นี้คือ จูเลียส ซีซาร์นักรบผู้น่าเกรงขามแห่งโรมันนั้นเอง
อ้างอิง
จูเลียส ซีซาร์. (ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 1 มีนาคม 2558, จาก: http://th.wikipedia.org/wiki/
มิสแซฟไฟร์. 2557. จุดจบรัฐบุรุษผุ้ยิ่งใหญ่ “จูเลียส ซีซาร์”. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2558, จาก: http://www.thairath.co.th/content/417260
จูเลียส ซีซาร์ ล้มเพราะบารมี.(คอลัมน์บ้านเมืองออนไลน์).สืบค้นวันที่ 26 กุมพาพันธ์ 2558 ,จาก: http://www.banmuang.co.th/column/other/274
บทความที่เกี่ยวข้อง
จูเลียส ซีซาร์ (Julius Ceasar)
คลีโอพัตรา (Cleopatra)
จุดจบอันน่าสลดของ จูเลียส ซีซาร์
หากจะกล่าวถึงบุคคลสำคัญของโรมัน ซึ่งถือเป็นรัฐบุรุษผู้ที่ทำให้อาณาจักรวรรดิโรมัน ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียง กลายเป็นเป็นที่รู้จักและน่าจดจำของพวกเราทุกคนจนถึงทุกวันนี้ คงไม่พ้น “จูเลียส ซีซาร์” (Julius Ceasar) ผู้นำกองทัพโรมันซึ่งสามารถตีชนะและยึดเมืองมากกว่า 800 เมือง จูเลียส ซีซาร์เข้ากวาดล้อมเมืองต่างๆเข้ามาเป็นอาณัติของกรุงโรมทั้งหมด ตั้งแต่ตอนเหนือของยุโรปจนถึงทางตอนใต้ของยุโรป จากประเทศสเปนไปถึงอียิปต์ รวมไปถึงแถบเอเชียด้วยและอีกหลายๆที่ ซึ่งเขามีความภูมิใจในความแกร่งกล้า และหึกเหิมในความสำเร็จของตนเป็นอย่างมาก ถึงขนาดที่เคยเกล่าไว้ว่า "ข้ามา ข้าเห็น ข้าพิชิต" หรือ Vini Vidi Vici ในภาษาลาติน
จูเลียส ซีซาร์ใช้ความสามารถของตน ไต่เต้าจากพลทหารเล็กๆ จนกลายเป็นผู้ดูแลการคลังของรัฐ ผู้ว่าสเปน และ กงศุลตามลำดับได้นั้น ก็ด้วยได้รับร่วมมือกับผู้ทรงอิทธิสองคนของสาธารณรัฐโรมันในขณะนั้น คือ “ปอมเปย์” และ “คราสซุส” จึงทำให้เขาได้รับเลือกเป็นแม่ทัพใหญ่ในเวลาต่อมา ซึ่งได้ยกพลออกไปรบกับพวกกอล หรือฝรั่งเศสในปัจจุบันนั้นเอง
ผลงานเช่นเด่นที่ทำให้จูเลียส ซีซาร์เป็นที่จดจำและเป็นที่ยอมรับ เหตุการณ์แรกที่สร้างชื่อคือที่ “อเลเซีย” ปัจจุบันคือประเทศฝรั่งเศส
ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นภูมิภาคที่ชาวโรมันรู้จักกันในนาม “กอล” ถือเป็นที่มั่นสุดท้ายของเวอร์ ซินเกอโทริกซ์ ผู้นำของกอล ด้วยความสามารถและกองกำลังที่มากมายของจูเลียส ซีซาร์ ทำให้โรมันสามารถเข้ายึดกอล ได้สำเร็จในช่วงสงครามกัลป์ลิก ช่วง 58-51 ปีก่อนคริสตกาล เรียกได้ว่าซีซาร์ใช้เวลาเพียง 7-8 ในการทำสงครามใหญ่และย่อยเพื่อนรวบรวมกอลเป็นส่วนหนึ่งของโรม ในครั้งนี้ เขาภูมิใจกับชัยชนะเป็นมาก และมีการนำตัวเวอร์ซินเกอร์โทริกซ์ ผู้นำกอล ใส่กรงแห่ประจานทั่วโรมันก่อนประหารชีวิต และได้จัดงานเฉลิมฉลองขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ในชัยชนะต่อชาวกอล
เหตุการณ์ที่สองเข้าครอบครองเกาะอังกฤษ จูเลียส ซีซาร์ ตัดสินใจยกทัพเข้ารุกรานโดย ใช้กำลังกองทัพทหารถึง 10,000 คน แม้ว่าจะสามารถขึ้นฝั่งได้ในเพียงข้ามคืน แต่แผนการก็ไม่ได้สำเร็จไปอย่างที่วางไว้ เพราะชาวบ้านพื้นเมืองได้เตรียมการต่อสู้ไว้รอคอยแล้ว จูเลียส ซีซาร์จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแผนขับไล่ชาวพื้นเมืองโดยวิธีอื่นและในที่สุดแล้ว ด้วยความเก่งกล้าและความความสามรถของเขา จูเลียส ซีซาร์ก็สามารถทำได้สำเร็จ
ในวันที่สามารถยึดเกาะได้นั้น เกิดความวุ่นวายขึ้นกับกองทัพของเขาเนื่องด้วยวันนั้นน้ำทะเลขึ้นสูงจึงทำให้เรือที่ใช้ในการทำการรบเสียหายไปหลายลำ ทำให้ซีซาร์ต้องตัดสินใจยกทัพกลับ และต้องเสียเวลาเข้ายึดเกาะอังกฤษไปอีกหลายเดือน
ในปีถัดมา ช่วงเดือนเมษายน ซีซาร์ได้ทำการเตรียดการรบขึ้นอีกครั้ง ครั้งนี้มีการเตรียมกองทัพเรือถึง 600 ลำ และมีทหารถึง 28 กอง ยกทักถึงเมืองเซนต์ อาลลานส์ ใช้เวลาถึงช่วงฤดูหนาวจึงยกทัพกลับพร้อมเชลยสึกจำนวนมาก และครั้งนี้จุเชียส ซีซาร์ได้นำความยินดีความตื่นเต้นมายังสู่ประชาชนโรมัน เพราะได้รับชัยชนะกลับมาสู่กรุงโรมนั้นเอง
การปกครองแต่เพียงผู้เดียวถึง 10 ปีเต็มของเขา ในการรบทุกครั้ง จูเลียส ซีซาร์ปฏิเสธไม่ยอมใส่แม้แต่หมวกเหล็กเพื่อให้ทหารจำเขาได้ เขาไม่เคยตกใจจนทำตัวไม่ถูกให้กองทหารของเขาเห็น และไม่ว่าจะทำอะไรเขาจะทำอย่างเชื่อมั่นในตนเองเสมอ ตลอดเวลาเขามักจะคิดถึงแต่ความสง่างามความยิ่งใหญ่ของเขาในฐานะเป็นผู้นำ แต่อย่างไรก็ดี เมื่อจูเลียส ซีซาร์ ได้เป็นใหญ่ เขาก็ลุแก่อำนาจ และด้วยความทะเยอทะยานและความบ้าอำนาจ ทำให้เขากระหายสงคราม จนขึ้นชื่อเรื่องความโหดร้ายทารุณ ... จาก รัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่…... จูเลียส ซีซาร์ กลับกลายเป็นผู้ทำลายสาธารณรัฐโรมันด้วยตัวเขาเอง
ถึงแม้ว่าเขาจะเสียชีวิตไปแล้ว แต่ความตายของเขาก็ได้ถูกโลกจารึกไว้ ถึงความยิ่งใหญ่ ในฐานะผู้ซึ่งมีความเป็นผู้นำอันล้ำเลิศ ผู้ซึ่งนำความยิ่งใหญ่มาสู่สาธารณรัฐโรมันทำให้อาณาจักรวรรดิโรมัน มีชื่อเสียงและกลายเป็นเป็นที่รู้จักและน่าจดจำของพวกเราทุกคนจนถึงทุกวันนี้ มหาบุรุษผู้นี้คือ จูเลียส ซีซาร์นักรบผู้น่าเกรงขามแห่งโรมันนั้นเอง
อ้างอิง
จูเลียส ซีซาร์. (ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 1 มีนาคม 2558, จาก: http://th.wikipedia.org/wiki/
มิสแซฟไฟร์. 2557. จุดจบรัฐบุรุษผุ้ยิ่งใหญ่ “จูเลียส ซีซาร์”. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2558, จาก: http://www.thairath.co.th/content/417260
จูเลียส ซีซาร์ ล้มเพราะบารมี.(คอลัมน์บ้านเมืองออนไลน์).สืบค้นวันที่ 26 กุมพาพันธ์ 2558 ,จาก: http://www.banmuang.co.th/column/other/274
บทความที่เกี่ยวข้อง
จูเลียส ซีซาร์ (Julius Ceasar)
คลีโอพัตรา (Cleopatra)
จุดจบอันน่าสลดของ จูเลียส ซีซาร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น