สมเด็จพระจักรพรรดินีฟาโรห์หญิงฮัตเชปซุต

โดย อนันตชัย ปรีชาชาญ

ฟาโรห์หญิงฮัตเชปซุตเป็นกษัตริย์ที่ห้าในราชวงศ์ที่สิบแปด ของอารยธรรมอียิปต์ นักไอคุปต์วิทยา กล่าวว่า พระนางเป็นที่รู้จักกันว่า “ เป็นอิสตรีผู้ยิ่งใหญ่พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ “  พระนางมีพระบิดาและพระมารดาชื่อ ทุตโมสที่1 กับ พระราชินีอาโมซิส ชื่อของพระนางฮัตเชปซุต มีความหมายว่า “ยอดขันติยา” พระนางได้แต่งงานกับทุตโมสที่2 มีพระธิดาหนึ่งองค์ชื่อ เจ้าหญิงเนเฟอร์รูเร

ต่อมาพระนางได้ขึ้นครองราชย์นั่งบัลลังก์ เป็นฟาโรห์หญิง ในปี 1479-1458 ก่อนคริสตศักราช ซึ่งนั่งบัลลังก์คู่กับ ทุตโมสที่2 ทุตโมซิสขึ้นครองราชย์ได้ 14 ปี ก็สิ้นพระชนม์ จึงทำให้พระนางฮัตเชปซุตได้ครองราชย์เต็มตัว พระนางมีความสามารถด้านศิลปะ และ การพาณิช และมีความเฉลียวฉลาดและเก่งกว่าฟาโรห์ชายหลายๆองค์ พระนางถูกยกย่องและถูกยอมรับจากขุนนางและเหล่าทหาร ว่ามีความเก่งกาจกว่าผู้ชายหลายๆคนมาก สาเหตุที่พระนางมีความเก่ง เพราะ ตอนเด็กๆพระบิดาได้พาพระนางไปราชการด้วยทุกๆที่ จึงทำให้เกิดการปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก



ตลอดสมัยของพระนางฮัตเชปซุต แผ่นดินอียิปต์สงบร่มเย็นมีเพียงสงครามย่อยๆในนูเบียและคาบสมุทรไซนายอย่างละครั้งเท่านั้น ในยุคนี้ได้ชื่อว่าเป็นยุคแห่งความรุ่งเรืองทางการค้าและศิลปะ พระนางได้ส่งกองเรือไปสำรวจดินแดนพันต์  ซึ่งอยู่ตอนในของแอฟริกาและนำสินค้ามีค่าต่างๆกลับมาสู่อียิปต์ พระนางมีเสนาบดีคู่ใจชื่อ เซเนมุท เซเนมุทเป็นเสนาบดีคู่ใจ และยังเป็นสถาปนิกที่เก่งมากคนนึง เซเนมุทได้ออกแบบวิหาร และสิ่งก่อสร้างสถาปัตยกรรมต่างๆในสมัยของพระนางฮัตเชปซุต

หลังจากที่พระนางมีพระธิดา กับ ทุตโมสที่2 แล้ว ยังมีพระโอรสกับพระชายารอง ชื่อ ไอซิส พระโอรสมีชื่อว่า ทุตโมสที่3 พระนางได้ดูแลเลี้ยงดูทุตโมสที่3 เป็นอย่างดี และเมื่อทุตโมสที่3 โตขึ้น พระนางก็แต่งตั้งทุตโมสที่3 เป็นแม่ทัพอีกด้วย

หลังจากที่พระนางฮัตเชปซุตขึ้นครองราชย์ได้ 21 ปี ในปีที่ 22  ก็สิ้นสุดสุดลง และทุตโมสที่3 ก็ได้ขึ้นครองราชย์นั่งบัลลังก์แทน และฟาโรห์ฮัตเชปซุตก็หายสาปสูญไปจากหน้าประวัติศาสตร์อย่างลึกลับ รวมทั้งเซเนมุทเสนาบดีคู่ใจ โดยไม่มีใครทราบว่าเกิดอะไรขึ้น กับทั้งสอง บางทีทั้งคู่อาจถูกกำจัดไปโดยฝ่ายของทุตโมซิสที่3 ซึ่งกำลังเรืองอำนาจหรือไม่เช่นนั้นพระนางก็อาจสละราชสมบัติและหนีไปกับเซเนมุทก็เป็นได้ หลักฐานและบันทึกเกี่ยวกับพระนางถูกทำลาย จนแทบไม่มีอะไรเหลือ โดยฟาโรห์ทุตโมซิสที่3 ซึ่งไม่พอใจที่ต้องอยู่ในอำนาจของพระนางมาเป็นเวลานาน

พระนางครองราชย์รวมแล้ว 22 ปี และพระนางยังได้ชื่อว่า เป็นกษตริย์ที่ประสบความสำเร็จในการบริหารราชการแผ่นดินมากที่สุดพระองค์หนึ่ง ในอาณาจักรอียิปต์

ต่อมามีนักโบราณคดี ค้นพบหลุมฝังศพที่เชื่อว่าเป็น หลุมฝังศพของพระนางฮัตเชปซุต ชื่อว่าหลุม เควี 60 และได้ค้นพบรูปปั้น รูปสลักของฟาโรห์ฮัตเชปซุต มีลักษณะการแต่งกายคล้ายกับฟาโรห์ชาย ใบหน้ามีหนวดเครา ซึ่งทำให้นักโบราณคดีที่ค้นพบงงมาก สาเหตุที่ทำให้รูปปั้น รูปสลักของพระนางฮัตเชปซุตมีลักษณะเหมือนกับผู้ชาย เพราะเนื่องจากในสมัยนั้นพระนางได้แต่งกายเหมือนกับชาย และนำเครามาติดให้เหมือนผู้ชาย เพื่อปลอมตัวในการสงคราม และสู้รบกับศัตรู หากพระนางแต่งกายเป็นหญิงออกไปสู้รบก็จะทำให้ศัตรูไม่เกรงกลัวต่ออาณาจักรอียิปต์ เพราะมีผู้หญิงเป็นผู้ปกครองบ้านเมือง

ความยิ่งใหญ่ของฟาโรห์หญิงพระองค์นี้มีมากมาย พระนางเก่งกาจจน ฟาโรห์ทุสโมสที่ 3 สั่งทำลายชื่อของพระนางทุกแห่งและสลักชื่อของตนเองไปแทนบ้าง สลักชื่อฟาโรห์องค์อื่นแทนบ้าง แต่ถึงกระนั้น สิ่งที่เหลืออยู่เพียงน้อยนิดนี้ก็ยังบอกถึงความยิ่งใหญ่ของพระนางได้เป็นอย่างดี แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถลบล้างความจริงทั้งหมดได้ ชื่อของพระนางก็ยังคงมาปรากฏมาถึงยุคสมัยนี้

อ้างอิง

ตำนานอียิปต์ โอม... ตอนที่ 26 .ฟาโรห์หญิงฮัตเชปซุต. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2558 ,จาก:
 http://writer.dek-d.com/doraeko/story/viewlongc.php?id=211222&chapter=26

มหาคัมภีร์ ฮัทจั๊ต. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2558, จาก:
http://www.hatjut.com/articles/144999/ประวัติ.html

ประวัติศาสตร์อียิปต์. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2558, จาก:
http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m3-9/no07-22/project/page014.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น