จักรพรรดิไททัส (Titus)

โดย ธีรวัฒน์ หงส์วงค์

จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงในโลกมีหลายท่าน และต่างก็มีชื่อเสียงเรียงนามในเรื่องคุณงามความดีและความสามารถหลากหลายของตนเอง หนึ่งในนั้นคือ จักรพรรดิไททัส บุตรชายองค์ที่สองแห่งราชวงศ์เฟลเวีย  จักรพรรดิไททัสมีชื่อเสียงในการปกครอง และมีผลงานชิ้นเอกในการสร้างสถาปัตยกรรมในกรุงโรม  นั้นก็คือ สนามกีฬากลางแจ้งเฟลเวียน Flavian Amphitheatre หรือที่คุ้นชินในชื่อ สนามกีฬาโคลอสเซี่ยม (The Colosseum) ในปัจจุบันนั่นเอง

จักรพรรดิไททัส (Titus) หรือ ไททัส เฟลเวียส เวสปาซิอานัส (Titus Flavius Vespa) เป็นบุตรของจักรพรรดิเวสเปเซียนของจักรวรรดิโรมัน ไททัสเป็นจักรพรรดิองค์ที่สองและมีพระอนุชาชื่อโดมิเนียม ราชวงศ์เฟลเวียแห่งจักรวรรดิโรมันมีเพียงสามพระองค์เท่านั้น คือ แห่งราชวงศ์เฟลเวีย ที่ก่อตั้งโดยพระราชบิดาจักรพรรดิเวสเปเซียน ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่มีจักรพรรดิเพียงสามพระองค์ ที่รวมทั้งจักรพรรดิโดมิเชียนพระอนุชาผู้ครองราชย์ต่อจากไททัส


             
ไททัสถือเป็นแม่ทัพที่ยิ่งใหญ่และรับราชการภายใต้การปกครองของพระบิดา ทำสงครามในจังหวัดยูเดีย  ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ67-70 ในการทำทำสงครามครั้งนั้นต้องยุติการทำสงครามชั่วคราว เพราะจักรพรรดิเนโรเสด็จสวรรคตอย่างกะทันหัน เมื่อจักรพรรดิเนโรผู้มีฉายาเนโรจอมโหดเสด็จสวรรคต จักรดิพรรดิเวสเปเซียนผู้เป็นพระราชบิดาของไททัสจึงเข้าชิงอำนาจในการเป็นจักรพรรดิ  และในครั้งนี้เวสเปเซียนจึงได้รับการประกาศให้เป็นพระจักรพรรดิเมื่อวันที่1ก.ค. ค.ศ69  ไททัสได้รับมอบหมายให้ทำสงครามปราบปรามชาวยิวในจังหวัดยูเดียต่อให้เสร็จสิ้น และในครั้งนี้ไททัสสามารถนำชัยชนะกลับมาได้สำเร็จตามที่รับมอบหมาย ก็ได้นำทัพทำศึกสงครามชนะและทำสงครามสำเร็จตามที่ได้รับมอบหมายจากพระบิดาในค.ศ.70 โดยวิธีการล้อมกรุงเยรุซาเล็ม ในครั้งนี้ไททัสมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ตนเองได้ทำการรบสำเร็จลุล่วงเป็นอย่างดี และเพื่อเป็นเกียรติให้แก่ตนเองนั้น เขาจึงสร้างประตูชัยเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในความสำเร็จครั้งนั้น        

ในระหว่างที่พระจักรพรรดิเวสเปเซียนครองราชย์  ไททัสในขณะนั้นมีตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชากองทหารรักษาพระองค์แพรเทอเลียน ซึ่งมีหน้าที่อารักขาจักรพรรดิและกำจัดจักรพรรดิหรือราชวงศ์ที่ทำผิดกฎร้ายแรงหรือออกนอกลู่นอกทาง โดยจะรับคำสั่งจากสภาซีแนต แต่กลับกันไททัสกลับทำตัวเสื่อมเสียเสียเอง เขาได้แอบมีความสัมพันธ์กับพระราชินีชาวยิว แบแรนิชผู้เป็นลูกสาวของกริพาที่ 1 ซึ่งทำให้เขาถูกวิพากวิจารเป็นอย่างหากให้เขาขึ้นครองราชแทนพระบิดา แต่เมื่อไททัวขึ้นครองราชเขาก็พิสุจน์ให้ประชาชนเห็นว่าเขาสามารถทำหน้าที่ในการปกครองได้ดี ไม่แพ้พระบิดาของเขาเอง และสิ่งสาคัญที่ทำให้จักรพรรดิไททัสนั้นมีชื่อเสียงในการสร้างกรุงโรม คือในรัชสมัยของพระจักรพรรดิเวสเปเซียน ไททัสได้สร้างสนามกีฬากลางแจ้งเฟลเวียนหรือที่เรียกกัน โคลอสเซียม
         


ที่มา: http://www.telegraph.co.uk/
         
สนามกีฬาFlavian Amphitheatre หรือ สนามกีฬาโคลอสเซียม The Colosseum  ถือเป็นสนามกีฬากลางแจ้งขนาดใหญ่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงโรม เริ่มสร้างเมื่อสมัยพระจักรพรรดิเวสเปเซียนแห้งจักรวรรดิโรมันและสร้างเสร็จในสมัยสมันจักรพรรดิไททัสประมาณปีค.ศ.80 อัฒจันทร์ป็นรูปวงกลมก่อด้วยอิฐและหินวัดโดยรอบได้ประมาณ 527 เมตร สูง 57 เมตร สามารถจุผู้ชมได้ประมาณ 50,000 คน ขึ้นชื่อในเรื่องการออกแบบโดยสร้างให้สนามกีฬามีลักษณะเป็นรูปวงรี เพื่อให้ผู้ชมรู้สึกเข้าใกล้นักกีฬา และมีการออกแบบทางระบายน้ำเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในสนามขณะเกิดฝนตกอีกด้วย ซึ่งกลายเป็นต้นแบบของสนามกีฬาต่างๆในปัจจุบันนี้ ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 10 ปีและที่สำคัญในปี 2550 ได้รับการคัดเลือกจากองค์กร New 7 Wanders ให้เป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก
         
จักรพรรดิไททัส พระองค์ครองราชย์ได้ไม่ถึง2ปี  แต่ได้รับการยกย่องถึงขั้นที่ว่า เมื่อภายหลังพระองค์เสด็จสวรรคตลงด้วยไข้ ในวันที่ 13 กันยายน ค.ศ.81 พระองค์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเทพ (Apotheosis )  โดยสภาซีเนตของโรมัน ซึ่งแน่นอนว่าบุคคลที่ได้รับการยกย่องให้เป็นเทพได้นั้นจะต้องมีผลงานที่น่ายกย่องเป็นอย่างมาก  ถึงแม้พระองค์จะครองราชย์ได้ไม่นานแต่ผลงานและคุณงามความดีของพระองค์ก็จารึกให้พวกเราได้เห็นผ่านสถาปัตยกรรมชิ้นเอกในปัจจุบันนี้นั้นเอง
                                                                       
อ้างอิง

bloggang.2015. จักรพรรดิไททัส. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2558,จาก  : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=01-2012&date=31&group=25&gblog=265

slideshare. จักรพรรดิไททัส. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2558,
จาก: http://www.slideshare.net/sutasineekotayee1/ss-45455760

จักรพรรดิไททัส.(ออนไลน์).สืบค้นวันที่ 30 เมษายน 2558,
จาก: http://lv.termwiki.com/TH/Titus



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น