สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ

โดย ปภาวี สุนทรมณีรัตน์

“เราเป็นราชินีไม่ใช่กษัตริย์ที่ลุ่มหลงแต่ในอิสริยศที่จะได้มาจากการชนะสงคราม เราเป็นแม่ของประชาชนพลเมือง เราก็หวังอย่างที่แม่พึงหวังให้ลูก นั่นคือการอยู่ดีมีความสุขตามอัตภาพ”  เป็นคำกล่าวและบทพิสูจน์ให้เห็นว่าพระองค์คือยุคทองอันรุ่งโรจน์สมัยหนึ่งของอังกฤษ ทรงได้รับพระฉายานามว่า “ราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์” เพราะพระองค์ทรงเป็นราชินีที่ไม่มีการสมรสตลอดพระชนชีพ กว่าที่พระองค์จะทรงทำให้ประเทศอังกฤษเป็นประเทศมหาอำนาจนั้นต้องพบกับอุปสรรคบททดสอบอะไรบ้างนั้น เราจะมาทำความรู้จักกับพระองได้ต่อจากนี้กับ พระราชินีอลิซาเบธที่1แห่งอังกฤษ ได้เลยค่ะ

พระราชินีอลิซาเบธ ในสมัยที่ยังดำรงยศเจ้าหญิง พระองค์ทรงเป็นพระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 กับสมเด็จพระราชินีแอนน์ โบลีน พระมเหสีพระองค์ที่ 2 ซึ่งถูกประหารชีวิตโดยการบั่นพระเศียรเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 พระชนมายุได้เพียงเกือบ 3 พรรษา จากนั้นพระองค์ก็ทรงถูกประกาศว่าเป็นพระราชธิดานอกกฎหมายโชคชะตาเล่นตลกกับชีวิตชองพระองค์ ทำให้พระองค์ไม่ได้การยอมรับให้อยู่ในราชสมบัติ  ชีวิตในวัยเด็กของพระองค์ยากลำบากมากและเต็มไปด้วยอันตรายในทุกกทาง  พระองค์ ต้องทนทุกข์จากการถูกประหารชีวิตของพระมารดา และการไม่ชื่นชอบของพระบิดา แต่พระองค์ก็ได้รับการศึกษาเป็นอย่างดี และได้รับการเลี้ยงดูท่ามกลางศรัทธาในนิกายโปรแตสแตนท์

เมื่อพระชนมายุ 16 พรรษา ลอร์ดทอมัส ซีมัวร์ ผู้บัญชาการสูงสุดแห่งกองทัพเรือได้วางแผนขออภิเษกสมรสกับพระองค์เพื่อหลอกใช้พระองค์เป็นเครื่องมือหาทางล้มล้างรัฐบาล แต่พระองค์ทรงหลบเลี่ยงได้อย่างนุ่มนวลและต่อมาลอร์ดซีมัวร์ก็ได้ถูกประหารชีวิตในความผิดฐานกบฏ  ระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถแมรี่ที่ 1 การแสดงตนเป็นโปรแตสแตนท์ของพระองค์ทำให้สมเด็จพระราชินีแมรีพี่สาว ซึ่งเป็นคาทอลิก รู้สึกหวั่นไหว เพราะสงสัยว่าพระองค์ทรงมีส่วนร่วมในการสนับสนุนฝ่ายก่อการโปรเตสแตนต์ พระนางเอลิซาเบทจึงถูกจองจำไว้ที่หอคอยแห่งลอนดอน

โชคชะตาชองพระองค์มาถึงจุดเปลี่ยนเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1  พระเชษฐภคินีต่างพระมารดาได้สวรรคตลง  พระองค์ทรงได้รับการยอมรับเป็นอย่างมากจากประชาชนที่หวังจะได้มีเสรีภาพทาง ศาสนามากขึ้น หลังจากที่พระองค์ได้ถูกกดขี่มาโดยตลอดในรัชกาลก่อนๆ พระองค์จึงได้ขึ้นครองราชย์ ท่ามกลางความขัดแย้งต่าง ๆ มากมายทั้งการเมืองและการศาสนา บรรดาอำมาตย์ ขุนนางต่างแตกแยกกัน


สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1
ที่มา: http://th.wikipedia.org/

สิ่งแรกที่พระราชินีนาถเอลิซาเบธทรงทำหลังจากที่พระองค์ทรงได้ขึ้นครองราชคือการสนับสนุนการก่อตั้งสถาบันโปรเตสแตนต์อังกฤษ ซึ่งมีพระองค์เองเป็น “ประมุขสูงสุด” นโยบายทางศาสนาของพระองค์เป็นนโยบายที่ดำเนินตลอดมาในช่วงรัชสมัยการปกครอง ภายใต้การนำอย่างแข็งขันของ เซอร์วิลเลียม เซซิล ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ (ต่อมาเลื่อนเป็นลอร์ดเบอร์กเลย์) กฎหมายสนับสนุนคาทอลิกของพระนางแมรีที่ 1 จึงได้ถูกยกเลิกและนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ ก็ได้รับการสถาปนาขึ้น

เซอร์เซซิลยังได้ให้การสนับสนุนการปฏิรูปในสกอตแลนด์ ซึ่งทำให้พระราชินีแมรีแห่งสกอตแลนด์กลับคืนบัลลังก์ได้อีก ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งกันขึ้นกับพวกลัทธิแคลวิน โดยจอห์น นอกซ์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งนิกายโปรแตสแตนท์ ซึ่งได้จับพระองค์จองจำและบังคับให้สละราชบัลลังก์ ทำให้พระองค์ต้องหลบหนีไปประทับในอังกฤษแต่ก็ถูกจับกักบริเวณอีก ซึ่งต่อมาเหตุการณ์นี้ได้กลายเป็นจุดสนใจและเป็นศูนย์รวมชาวคาทอลิกที่รวมตัวกันต่อต้านนิกายโปรแตสแตนท์ ได้มีการประกาศให้พวกที่นับถือนิกายคาทอลิกเลิกนับถือพระองค์เป็นราชินี แผนการโค่นล้มสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ถูกเปิดเผยบ่อยครั้งขึ้น และอีกครั้งหนึ่งโดยการสนับสนุนลับๆ ของพระนางแมรี จึงทำให้พระนางถูกประหารชีวิต

พระองค์ได้เพิ่มและหาพันธมิตรเพื่อที่จะได้เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่นิกายโปรแตสแตนท์มากขึ้น และในขณะเดียวกันการแบ่งแยกศัตรูฝ่ายคาทอลิกรุนแรงมากขึ้นด้วย พระองค์ทรงแสร้งทำเป็นยอมให้เชื้อพระวงศ์ต่างประเทศหลายรายเจรจาขออภิเษกสมรสกับพระองค์ แต่พระองค์ก็ไม่ได้จริงจังและไม่ได้ทรงกำหนดให้มีการสืบรัชทายาทไว้แต่อย่างใด และด้วยการสิ้นพระชนม์ของพระราชินีแมรีแห่งสกอตแลนด์ ทำให้พระนางได้ทรงทราบข่าวด้วยความพอพระทัยว่า องค์รัชทายาท คือพระเจ้าเจมส์ที่ 1 ทรงเป็นโปรแตสแตนท์


สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1
ที่มา: http://th.wikipedia.org/

ในด้านการปกครองพระราชินีอลิซาเบธพระองค์ทรงดำเนินนโยบายที่เป็นสายกลางมากกว่าพระราชบิดา พระอนุชา และ พระเชษฐภคินี คำขวัญที่ทรงถืออยู่คำหนึ่งคือ “video et taceo” (ไทย: ข้าพเจ้ารู้แต่ข้าพเจ้าไม่พูด)  นโยบายดังกล่าวสร้างความอึดอัดใจให้แก่บรรดาราชองคมนตรี แต่ก็เป็นนโยบายที่ทำให้ทรงรอดจากการสร้างความสัมพันธ์ทางการเมืองและทางการมีคู่ในทางที่ไม่ถูกไม่ควรมาหลายครั้ง แม้ว่าจะทรงดำเนินนโยบายการต่างประเทศอย่างระมัดระวัง และทรงสนับสนุนการสงครามในเนเธอร์แลนด์  ฝรั่งเศส และ ไอร์แลนด์อย่างครึ่งๆ กลางๆ แต่ชัยชนะที่ทรงมีต่อกองเรืออาร์มาดาของสเปน ทำให้ทรงมีชื่อว่าทรงมีส่วนเกี่ยวข้องกับชัยชนะอันสำคัญที่ถือกันว่าเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของอังกฤษ

กล่าวว่าพระองค์ทรงเป็นผู้มีอารมณ์หุนหันพลันแล่น และบางครั้งก็ทรงเป็นผู้นำผู้ที่ไม่มีความเด็ดขาด ทรงได้รับผลประโยชน์จากโชคมากกว่าที่จะทรงใช้พระปรีชาสามารถ ทำให้ในปลายรัชสมัยเกิด ปัญหาต่างๆ ทางเศรษฐกิจและทางการทหารทำให้บ้านเมืองอ่อนแอลง อย่างไรก็ดี พระองค์ทรงมีความสุนทรีย์ทางบทกวี  ดังเช่น พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 พระบิดาของพระองค์ และพระองค์ทรงเขียนวรรณกรรมไว้หลายเรื่อง

สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1สวรรคต เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2146 ราชวงศ์ทิวดอร์ก็ได้สิ้นสุดลง  และการสืบต่อราชบัลลังก์โดย พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งราชวงศ์สจวร์ตเป็นไปด้วยความเรียบร้อย การครองราชย์ที่ยาวนานของพระองค์ตรงกับช่วงที่อังกฤษเริ่มมีแสนยานุภาพทางทะเลของโลก

พระองค์แสดงให้เห็นถึงความเด็ดเดี่ยวและห้าวหาญ ทรงพระปรีชาสามารถบริหารราชการแผ่นดินได้อย่างดีเยี่ยมนำความรุ่งเรืองมาสู่ประเทศ ถึงจะแม้พระองค์จะเป็นอิสตรี แต่พระองค์ทรงมีหัวใจที่เป็นพระมหากษัตริย์ เพราะอังกฤษในทุกวันนี้ล้วนเกิดจากการวางรากฐานที่แข็งแรงจากพระราชินีอลิซาเบธที่1 แห่งอังกฤษ

อ้างอิง

“พระราชินีอลิซาเบธที่1แห่งอังกฤษ” สืบค้นเมื่อ25 เมษายนพ.ศ.2558,จาก
http://th.wikipedia.org/

“เรื่องน่าสนใจไม่น้อย เกี่ยวกับ สมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่ 1 เเห่งอังกฤษ” สืบค้นเมื่อ25 เมษายนพ.ศ.2558  แหล่งที่มา
http://www.t-pageant.com/

“สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ” สืบค้นเมื่อ25 เมษายนพ.ศ.2558  แหล่งที่มา
http://flash-mini.com/history/


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น