ลัทธิฟาสซิสต์ (Fascism)

โดย  สุชาวลี นารี

หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ระยะเวลาหลังจากนั้นไม่นานได้ถือกำเนิดลัทธิหนึ่งขึ้น ชื่อว่า ลัทธิฟาสซิสต์ (Fascism) ในประเทศอิตาลี ลัทธินี้เป็นลัทธิที่แฝงไปด้วยการปกครองที่ต้องมีการปกครองอย่างเข้มแข็ง แต่ในขณะเดียวกันนั้นจะเต็มไปด้วยจิตวิญญาณในความรักชาติเกิด ความภูมิใจในตัวตน ในชาติกำเนิด จนผู้คนต่างเรียกลัทธิฟาสซิสต์นี้ว่า ลัทธิคลั่งชาติ

ลัทธิฟาสซิสต์หรือลัทธิคลั่งชาติเกิดขึ้นในประเทศอิตาลี โดยเรียกการปกครองว่า “ฟาซิโอ (Fascio)” มาจากภาษาละติน มีความหมายว่า สหภาพ หรือสมาชิก หรือสามารถที่จะแปลได้อีกว่าเป็นแขนงไม้ที่พันรอบขวาน โดยมีมาตั้งแต่สมัยโรมันโดยมนุษย์นิยมเรียกกันว่า”ฟาสเซล” ถือเกิดขึ้นโดยลิคเตอร์เป็นกลุ่มคนที่มีหน้าที่ในการดูแลความสงบเรียบร้อย ซึ่งแท้จริงแล้วนั้นลัทธิฟาสซิสต์นั้นเป็นชื่อของอาณาจักรโรมันสมัยก่อนนั่นเอง  ในความที่ว่า”แขนงไม้ที่พันรอบขวาน”ความหมายมันคือ เมื่อไม้มีอยู่แท่งเดียวก็จะหักง่าย แต่เมื่อนำไม้มารวมกันนั้นจะหักยากมาก เปรียบเสมือนการสื่อถึงกลุ่มหรือชนชาติที่มีประชาชนรวมตัวกันหรืออยู่อาศัยร่วมกันด้วยความแข็งแกร่งไร้เทียมทาน



สัญลักษณ์ของลัทธิฟาสซิสต์


ลัทธิฟาสซิสต์ถือว่าเป็นลักษณะการปกครองของรัฐ แนวคิดของฟาสซิสต์จะทุ่มไปที่ความเป็นรัฐนั้นสำคัญกว่าตน จะมีการแทรกซึมแนวคิดของตนเข้าสู่ชีวิตประจำวันของชาวอิตาลีในทุกแง่ทุกส่วนซึ่งเป้าหมายก็เพื่อให้ชาวอิตาลีกลายเป็นประเทศที่มีพรรคการเมืองเดียวได้สำเร็จ โดยการปกครองนั้นฟาสซิสต์จะมีผู้นำเผด็จการที่จะต้องเป็นผู้ปกครองที่ใช้อำนาจในการควบคุมดูแลรัฐและประชาชน โดยมีการใช้ขบวนการการเมืองปฏิวัติเพื่อจัดระเบียบชาติตามอุดมการณ์ของลัทธินี้เช่น การเคารพรัฐ การอุทิศให้แก่ผู้นำที่เข้มแข็ง การเน้นความคลั่งชาติ เป็นต้น

มุมมองการเมืองของลัทธินี้มองว่าเป็นความรุนแรงของสงครามและจักรวรรดิ แต่ก็เป็นวิธีการบรรลุการฟื้นพลังของชาติ ที่ทำให้เกิดความหนักแน่น ความเข้มแข็งในชนชาตินี้ อีกนัยหนึ่งเพื่อการขยายอาณาเขตแทนชาติที่อ่อนแอกว่า การปกครองในลัทธิฟาสซิสต์นั้นประชาชนภายในรัฐจึงต้องเชื่อฟังผู้นำสูงสุด เพื่อให้ประเทศชาติอยู่รอดปลอดภัยและมีการพัฒนาไปตามที่หวังไว้


มุสโสลินีและฮิตเลอร์ผู้นำลัทธิฟาสซิสต์
ที่มา https://sites.google.com/site/tayty3011/kar-khyay-taw-khxng-laththi-fassist-laea-laththi-nasi


ลัทธิฟาสซิสต์มีผู้นำเผด็จการชาวอิตาลีชื่อ เบนิโต มุสโสลินี ซึ่งเป็นผู้นำที่เอาลัทธิฟาสซิสต์มาใช้ ในการปกครองประเทศ เขาเข้าสู่สงครามความรุนแรงด้วยความคิดที่อยากจะชนะ อยากจะสำเร็จและใช้เวลาเพียงไม่นาน แต่นั่นกลับไม่ใช่ มันทำให้เขาเห็นถึงผลต่างๆที่เกิดขึ้นกับสงครามที่เขาได้เข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมจากการใช้อำนาจเข้าสู้กันรวมทั้งความวุ่นวายของประชาชนที่ควบคุมไม่ได้ ในความหมายของ มุสโสลินี นั้นคือแนวคิดทางการเมืองที่รัฐบาลจะมีการออกกฎบังคับและควบคุมในส่วนต่างๆซึ่งประชาชนไม่มีสิทธิ์เข้ามาเกี่ยวข้องในการตัดสินใจในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับประเทศอย่างเด็ดขาด ผู้นำหรือผู้ปกครองจะต้องมีความเข้มแข็ง แข็งแกร่งอยู่ตลอดเพื่อที่จะปกครองประชาชนได้ และมีหลายประเทศที่นำลัทธิฟาสซิสต์ไปใช้ เช่น อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ในนาซีเยอรมณี

อุดมการณ์ของฟาสซิสต์ คือเชื่อในกฎธรรมชาติที่กำหนดมาเพื่อความไม่เท่าเทียมกันของมนุษย์ รวมถึงการเชิดชูและเปรียบเทียบความมีสิทธิ ความเสมอภาคของคนชั้นสูงที่มีศักยภาพมากกว่าพวกชั้นต่ำที่ทำลายอารยธรรม ซึ่งความเชื่อเช่นนี้จะนำพาไปสู่การทำสงครามล้างเผ่าพันธุ์ และสร้างโศกนาฏกรรม รอยแผลที่ยากแก่การลบเลือนในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติจากความเชื่อที่ผิดๆ ซึ่งในเวลาต่อมานั้น ลัทธิฟาสซิสต์เริ่มที่ถูกเลือนหายไปเพราะความคิดหรืออุดมการณ์ที่ดูล้าหลังหรือเถื่อนมากเกินไป ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองจึงเกิดการแข่งขันขึ้นระหว่างคอมมิวนิสต์และประชาธิปไตยขึ้นแทน

กล่าวได้ว่าลัทธิฟาสซิสต์ถือเป็นลัทธิการปกครองรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่าเผด็จการ มีการรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางที่ผู้นำแต่เพียงผู้เดียวซึ่งการปกครองในลักษณะนี้ถือว่าเป็นการปิดกั้นทางความคิดความเห็นในเรื่องต่างๆทำให้ประชาชนขาดสิทธิ เสรีภาพ ในการดำรงชีวิตที่อาจจะอยู่ในรูปแบบที่ถูกบังคับ เพราะถ้าไม่ปฏิบัติตามหรือขัดแย้งก็จะได้รับการลงโทษได้ อย่างไรก็ตามลัทธิฟาสซิสต์นี้ถึงจะมีการปกครองที่เผด็จการรวมไปถึงการมีทหารเป็นจำนวนมาก ให้ความสำคัญที่ตัววีรบุรุษ ความแข็งแกร่ง ความมั่นคงของลัทธิ แต่ก็ยังคงคำนึงถึงการใช้ชีวิตของประชาชนอยู่เสมอเพื่อให้ลัทธิเกิดความสงบสุขและมีความสามัคคี ดังนั้นพวกลัทธิฟาสซิสต์จะมีคำขวัญที่เตือนตนเองอยู่เสมอ นั่นคือ “สามัคคีคือพลัง” ซึ่งสอดคล้องกับความหมายในเรื่องของไม้ที่นำมารวมกันนั่นเอง


อ้างอิง

กังวาล ทองเนตร.2554. ฟาสซิสต์คืออะไร.(ออนไลน์).สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2559.จาก:
https://www.facebook.com/.

วีระชัย  โชคมุกดา.2556. สงครามโลกครั้งที่1,2ประวัติศาสตร์การเข่นฆ่าที่โลกต้องเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่2.   กรุงเทพฯ:ยิปซี สำนักพิมพ์.

สมเกียรติ วันทะนะ. 2551. อุดมการณ์ทางการเมืองร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์อักษรข้าวสวย.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น