แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น

โดย  อภิชญา   ไร่วิบูลย์

ในปัจจุบันนี้การเกิดแผ่นดินไหวในโลกก็เพิ่มมากขึ้น  แผ่นดินไหวเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้า  จึงมักมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวอยู่เสมอ  แม้ในปัจจุบันเทคโนโลยีด้านการเตือนภัยที่เกิดจากแผ่นดินไหวจะมีการพัฒนา  และมีความก้าวหน้าไปอย่างมาก   แต่ก็ยังมีการเสียชีวิตของผู้คนเป็นจำนวนมากและไม่สามารถทำให้ลดลงได้หรืออาจจะลดลงได้แต่ภัยพิบัติก็ยังคาดชีวิตคนมากน้อยตามความรุนแรงของแผ่นดินไหว

ผลจากแรงสั่นสะเทือน ทำให้อาคารบ้านเรือนจำนวนมากได้รับความเสียหาย และถึงกับพังถล่ม รวมถึงก่อให้เกิดเพลิงไหม้ ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบพากันแตกตื่นและหนีตายออกมาอยู่บนท้องถนน ดังกรณีที่มักเกิดเสมอในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่นเป็นต้น

ประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่บนพื้นที่เสี่ยงภัยต่อการเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงเนื่องจากว่าตั้งอยู่บริเวณวงแหวนไฟ และใต้บริเวณเกาะคิวชูนี้มีการเคลื่อนที่ของแผ่นทะเลฟิลิปปินส์มุดตัวใต้แผ่นยูเรเชีย ด้วยความเร็วประมาณ 58 มิลลิเมตร/ปี เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่มีขนาดมากกว่า 7 (Mw) ส่วนใหญ่ที่เกิดบนเกาะญี่ปุ่นจะเป็น แผ่นดินไหวตื้น (ความลึก 0 - 69 กิโลเมตร)

แผ่นดินไหวครั้งใหญ่  เมื่อวันที่  11  มีนาคม  พ.ศ.2554  เวลา  14:46 น. ตามเวลาท้องถิ่น  ได้เกิดแผ่นดินไหววัดแรงสั่นได้ขนาด  9.0  แมกนิจูด  ความลึก  32  กิโลเมตร   การเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้นับได้ว่ารุนแรงเป็นอันดับ  4  ของของโลกที่มีการบันทึกมา  สภาพปัญหาของแผ่นดินไหวได้เคลื่อนเกาะฮอนชูไปทางตะวันออก  24  เมตร  และเคลื่อนแกนหมุนของโลกไปเกือบ  10  เซนติเมตร  แผ่นดินไหวที่กล่าวมาได้ย้ายตำแหน่งแกนโลกไป  25  เซนติเมตร  หลังจากเกิดแผ่นดินไหวนักวิจัยก็ได้ทำการเจาะพื้นมหาสมุทรตรงที่มีการขยับตัวของรอยเลื่อนลึกลงไป  800  เมตร  ซึ่งพบว่าตามแนวรอยเลื่อนมีค่า  cocfficient of friction 0.1 ซึ่งต่ำมาก  ซึ่งรอยนี้มีโอกาสเคลื่อนตัวได้ง่ายถ้าเกิดดินถล่ม  มีชั้นดินเหนียวก็จะเลื่อนง่าย  เป็นเพราะรอยเลื่อนมีแร่ดินเหนียวแทรกอยู่มาก  ทำให้รอยเลื่อนที่พบว่ามีขนาดความกว้างแค่ไม่ถึง  5  เมตร  และสามารถทำให้เกิดการเลื่อนของรอยเลื่อนได้มากถึง  50  เมตร



ภูเขาไฟเอโซะ เกาะคิวชู ที่ตั้งอยู่ห่างจากเมืองคุมาโมโตะ 50 กิโลเมตร หลังแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2559 เริ่มส่งสัญญาณการปะทุ  

เมื่อวันที่  22  พฤศจิกายน  พ.ศ.2557 เวลา 22:08 ตามเวลาท้องถิ่น  เกิดแผ่นดินไหวขนาดความรุนแรง 6.8  แมกนิจูด ที่จังหวัดนากาโน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงโตเกียวประมาณ 250 กิโลเมตร ซึ่งแรงสั่นสะเทือนรู้สึกได้ในหลายจังหวัดโดยรอบเช่น จังหวัดนีกาตะ จังหวัดกุมมะ รวมถึกรุงโตเกียว โดยมีคนไทยอยู่ราวๆประมาณ 2,200 คน เมื่อเวลา 23:00 ไม่มีคำสั่งอพยพและไม่มีประกาศเตือนสึนามิ รวมทั้งไม่มีรายงานการเสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บจากแผ่นดินไหวครั้งนี้  และไม่มีรายงานว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เมืองชิคะ ในจังหวัดอิชิคาวะ อยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดนากาโน ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด ต่อมาบริษัทเดินรถไฟ  JR East  ระงับการให้บริการรถไฟชินคันเซ็นหลายเส้นทางเช่น Nagano Shinkansen, Tohoku Shinkansen, Akita Shinkansen และ Yamagata Shinkansen  แต่เมื่อเวลาประมาณ 01:40 น. วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ได้มีรายงานเพิ่มเติมว่ามีผู้บาดเจ็บจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้แล้วประมาณ 20 ราย


ทีมกู้ภัยเข้าไปค้นหาประชาชนผู้รอดชีวิตที่ติดอยู่ในซากบ้านที่พังทลาย บริเวณที่เกิดดินถล่มในเมือง มินาไมโซะ จังหวัดคุมาโมโตะ 


จะเห็นได้ว่าช่วงเวลาในการเกิดแผ่นดินไหวเป็นช่วงเวลาที่คนส่วนใหญ่นอนหลับพักผ่อนอยู่ในอาคารทำให้ ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เสียชีวิตจากการโดยตึกถล่มทับและติดอยู่ในซากตึก

และเนื่องจากจุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวเกิดขึ้นใกล้เมืองมากก็จะทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากใกล้บริเวณจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว พื้นดินจะสั่นสะเทือนมาก และจะปลดปล่อยคลื่นออกมาทุกความถี่ ไม่ว่าอาคารสูงหรือเตี้ยก็จะสั่นสะเทือนได้หมด คลื่นความถี่นี้จะต่ำลงในระยะทางที่ไกลออกไป ดังนั้นอาคารในตัวเมืองที่มีความสูงตั้งแต่ 7 ชั้นขึ้นไปถึงจะรับรู้ถึงแรงสะเทือนได้

อีกทั้งความลึกของจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวในครั้งนี้จัดว่าเป็นแผ่นดินไหวระดับตื้น ยิ่งจุดศูนย์กลาง แผ่นดินไหวตื้นมากเท่าไหร่ยิ่งทำให้พื้นดินสั่นสะเทือนมากขึ้น สำหรับอาคารที่แข็งแรง สร้างได้ตามมาตรฐานต้านแผ่นดินไหวสามารถลดความสูญเสียของชีวิตและทรัพย์สินได้ดีกว่า


ปราสาทคุมาโมโตะโบราณสถานที่สร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2150 ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ แผ่นดินไหวครั้งนี้    


ประเทศญี่ปุ่นจัดว่าเป็นประเทศที่มีมาตรการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับภัยแผ่นดินไหวได้เป็นอย่างดี จะเห็นได้ว่าประชาชนส่วนใหญ่มีระเบียบวินัย ทราบถึงวิธีการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดแผ่นดินไหว มีความรู้ความ เข้าใจเกี่ยวกับภัยแผ่นดินไหวและทราบว่าหากเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่แล้วจะเกิดแผ่นดินไหวตามอีกเป็น จานวนมาก ในเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวตาม ประมาณ 800 ครั้ง (วันที่ 25 เมษายน 2559) เฉลี่ยการเกิดแผ่นดินไหวตามวันละ 100 ครั้ง ทำให้บ้านเรือนที่ยังไม่พังทลายทั้งหลังไม่มีความปลอดภัยสาหรับอยู่อาศัยในช่วงนี้ อาจพังทลายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวตามได้ตลอดเวลา ดังนั้น ประชาชนส่วนใหญ่จะอพยพออกจากบ้านหลังจากเกิดแผ่นดินไหวไปพักยังศูนย์อพยพที่ถูกสร้างอย่างแข็งแรง ปลอดภัย มีของใช้จำเป็นเตรียมไว้ในแต่ละพื้นที่ และในแต่ศูนย์อพยพก็จะมีการเตรียมอาหารสำเร็จรูป น้ำดื่ม และสิ่งของจาเป็นพื้นฐานสาหรับผู้อพยพ พร้อมกันนี้หลังจากเกิดแผ่นดินไหวก็จะมีหน่วยกู้ภัยที่ได้รับการ ฝึกฝนเข้าไปค้นหาผู้รอดชีวิตที่ติดอยู่ในซากอาคารที่พังทลาย

ส่วนของประเทศไทยถึงจะไม่ได้มีภัยแผ่นดินไหวรุนแรงเท่ากับประเทศญี่ปุ่น แต่ก็ทำให้เราได้รับรู้ว่าควรปฏิบัติตนอย่างไร ถ้าหากเกิดแผ่นดินไหวขึ้น และได้รับรู้มาตรการต่างๆ ที่ควรปฏิบัติตาม และในส่วนหน่วยงานของรัฐก็ไม่ควรประมาท อาจจะประยุกต์และเรียนรู้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นเพื่อเป็น บทเรียนสำหรับเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยในอนาคตได้


อ้างอิง

วิชาการธรณีไทย.  แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น.  สืบค้นเมื่อวันที่  5  มกราคม  2559, จาก : http://www.geothai.net/2011-tohoku-earthquake/

Kapook.  แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น.  สืบค้นเมื่อวันที่  5  มกราคม  2559 , จาก : http://hilight.kapook.com/view/56994

Highlight  Kapook.  แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น.  สืบค้นเมื่อวันที่  5  มกราคม  2559, จาก : http://hilight.kapook.com/view/111745

Sanook . แผ่นดินไหว คุมะโมโตะ ญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2559, จาก: http://news.sanook.com/1980802/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น