ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน (Ludwig van Beethoven)

โดย รินรดา  คมฤทัย

ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน นักดนตรีและนักประพันธ์เพลงในยุคคลาสสิค เป็นบุคคลผู้ริเริ่มดนตรียุคโรแมนติก ผู้ที่ไม่เคยย่อท้อต่ออุปสรรคทางการได้ยิน และสามารถสร้างสรรค์ผลงานการประพันธ์ออกมาได้อย่างสวยงาม

ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน (Ludwig van Beethoven) เกิดที่เมืองบอนน์ ประเทศเยอรมัน ในวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ.1770 เป็นบุตรของครอบครัวนักดนตรีโจฮันน์ ฟาน เบโทเฟน นักร้องประจำราชสำนักแห่งกรุงบอนน์ และมาเรีย แมคดาเลนนา โดยครอบครัวของเบโทเฟนนั้นมีเชื้อสายเฟลมิช จากเมืองเมเชเลน ประเทศเบลเยียม แม่ของเบโทเฟนเสียชีวิตเนื่องจากโรควัณโรคกำเริบ ทำให้พ่อติดเหล้าอย่างนักและโดนไล่ออกจากงาน เบโทเฟนจึงต้องทำหน้าที่ดูแลบิดาและน้องของเขา



เบโทเฟนเริ่มเล่นดนตรีตอนอายุ 5 ปี โดยการบังคับจากพ่อที่หวังจะทำให้เบโทเฟนมีความสามารถเหมือนกับโมสาร์ท จากการกระทำของพ่อทำให้เบโทเฟนเกิดความรู้สึกเกลียดการเล่นดนตรี แต่เนื่องจากในตอนนั้นเขามีภาระทางบ้านที่ต้องดูแล จึงเป็นแรงผลักดันให้เบโทเฟนตั้งใจเรียนดนตรี จนสามารถแสดงคอนเสิร์ตครั้งแรกได้เมื่อตอนอายุ 7 ขวบ ที่เมืองโคโลญจน์ และเขาได้เริ่มเรียนดนตรีอย่างจริงจังกับคริสเตียน กอทท์ลอบ นีฟ หัวหน้าวงดนตรีในสำนักของเจ้าเมืองบอนน์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นบุคคลผู้ที่สร้างความสามารถทางด้านดนตรีให้กับเบโธเฟนมากที่สุด เบโธเฟนเริ่มงานด้านดนตรีในตำแหน่งผู้ช่วยของ นีฟ ต่อมาได้รับตำแหน่งหัวหน้าวงดนตรีในสำนักของเจ้าเมืองบอนน์ เมื่อมีอายุได้ 12 ปี ก็เริ่มที่จะประพันธ์เพลงเปียโนได้ด้วยตนเอง

เบโทเฟนได้พบกับโยเซฟ ไฮเดน บุคคลผู้ที่เคยทำงานอยู่ในราชสำนักกรุงบอนน์ ในปี 1792 ขณะที่ไฮเดนเดินทางกลับจากอังกฤษและแวะเยี่ยมราชสำนักกรุงบอนน์ที่ทำงานเก่าของตน เขาได้เห็นถึงความสามารถและแววอัจฉริยะของเบโทเฟน จึงได้เสนอให้เบโทเฟนไปเรียนดนตรีกับตนเองที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียขณะอายุ 16 ปี ตอนอยู่เวียนนาเบโทเฟนมีโอกาสเล่นดนตรีให้โมสาร์ทชม โมสาร์ทได้ชื่นชมในความสามารถของเบโทเฟนอย่างมากถึงขนาดกล่าวว่า "จงคอยดูเด็กคนนี้ให้ดี วันหนึ่งเขาจะดังก้องไปทั่วโลก" ขณะที่เบโทเฟนประสบความสำเร็จในฐานะนักเปียโนเอก พ่อของเขาก็ได้ป่วยหนักและเสียชีวิตลง

ประมาณปี 1796 อายุ 26 ปี เบโทเฟนได้เริ่มมีปัญหาหูตึง ปี 1800 หันมาประพันธ์เพลงอย่างจริงจัง ได้ย้ายไปอยู่ในเมืองเล็กๆ นอกเวียนนาชื่อ Heiligenstadi ตามคำแนะนำของแพทย์ในปี 1801 ประมาณปี 1814 เขาได้เริ่มประพันธ์เพลงที่มีพลังเต็มไปด้วยความรู้สึกที่ระบายออกมาอย่างรุนแรงและงดงามเพราะสูญเสียการได้ยินเสียงสูงๆ เป็นเพลงที่แสดงออกถึงอารมณ์ที่ชัดเจน มีความเสรีและแหวกแนว แตกต่างจากแบบแผนของเพลงในสมัยนั้น จนถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า "เป็นนักดนตรีนอกแบบแผน ทำให้เกิดอันตรายต่อศิลปะทางดนตรี"

ปี 1819 เขาได้หยุดแสดงคอนเสิร์ตในที่สาธารณะเนื่องจากหูทั้งสองข้างของเขาได้สูญเสียการได้ยินอย่างถาวร แต่ยังคงประพันธ์เพลงต่อมาจนเกิดเพลง Symphony no.3 ซึ่งเป็นเพลงแรกที่ใส่อารมณ์และความรู้สึกอย่างรุนแรงโดยละทิ้งกฎเกณฑ์ของยุคคลาสสิคทั้งหมด นอกจาก Symphony no.3 แล้วเพลงที่ได้ประพันธ์ตอนสูญเสียการได้ยินยังมี Symphony no.5 และ Symphony no.9 ด้วย เบโทเฟนปรากฎตัวครั้งสุดท้ายในการแสดงคอนเสิร์ต Symphony no.9  ในปี 1824

ปี1826 โรคลำไส้ได้กำเริบและทำให้อาการของเบโทเฟนทรุดหนักลง จนในวันที่ 26 มีนาคม 1827 เบโทเฟนได้เสียชีวิตลงที่กรุงเวียนนา ขณะที่มีอายุ 57 ปี และศพของเขาได้ฝังอยู่ที่สุสานในกลางกรุงเวียนนา

ลักษณะเพลงของเบโทเฟนคือการใช้จังหวะขัดและการใช้เสียงที่ไม่กลมกลืนในการสร้างความตึงเครียดและความตื่นเต้นในบทเพลง รวมถึงการใช้ความเงียบสร้างความตึงเครียดด้วย ใช้เทคนิคและรูปแบบเพลงในยุคคลาสสิค แต่ได้เพิ่มพลังความเข้มข้นลงไปทำให้ดนตรีในยุคนั้นจึงเป็นที่มาของดนตรีในรูปแบบใหม่

ผลงานในการเปลี่ยนแนวดนตรีของเขา ทำให้นักวิชาการทางดนตรีตั้งชื่อยุคของดนตรีในสมัยนั้นขึ้นใหม่ขึ้นว่า ยุคโรแมนติก นั่นเอง


อ้างอิง

บีโธเฟน  อัฉริยะผู้ไม่ยอมแพ้. (2010). ค้นข้อมูล 3กันยายน2558, จาก www.unigang.com/Article/5367

ลุควิค ฟาน เบโธเฟน (Ludwig van Beethoven). (2014). ค้นข้อมูล 29สิงหาคม2558, จาก https://marinaiso.wordpress.com/

ลุดวิก แวน บีโธเฟน (Ludwig van Beethovan). (2014). ค้นข้อมูล 29สิงหาคม2558, จาก http://personworld.exteen.com/

Ludwig van Beethoven. (2015). ค้นข้อมูล 3กันยายน2558, จาก http://en.wikipedia.org/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น