กองทหารโรมันไร้พ่าย ลีเจียนแนร์ (Legionaires)

โดย นิธิ  อึงพินิจพงศ์

เป็นที่ทราบกันดีว่าอาณาจักรโรมันนั้นเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่มากที่สุดใน อารยธรรมตะวันตกในช่วงยุคคลาสสิค โรมันได้มอบอารยธรรม มากมายไว้ให้กับชาวโลก ซึ่งเป็นรากฐานของวิทยาการที่นำมาประยุกต์ใช้อยู่ในทุกๆวันนี้  และหนึ่งในนั้นคือ การทหารที่มีประสิทฺธิภาพอันสูงส่งของชาวโรมัน ที่สามารถเอาชนะและรวบรวมพื้นที่รอบๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไว้ภายใต้ชื่อของโรมได้สำเร็จ

กองทหารมืออาชีพของโรมันเหล่านี้ถูกจัดตั้งเป็นรูปเป็นร่างขึ้นเมื่อปี 107 BC โดย มาริอัส (Gaius Marius) ผู้เป็นแม่ทัพโรมันในสมัยนั้น ทำให้ทหารเป็นอาชีพที่มีเกียรติและน่าภาคภูมิใจสำหรับชาวโรมัน ผู้ที่เป็นทหารเป็นด้วยความสมัครใจต้องรับราชการทหารเป็นเวลา 25 ปี ซึ่งใน 5 ปีสุดท้ายจะเป็นงานที่เบาสำหรับทหารผ่านศึก เมื่อเกษียณแล้วทางการจะสนับสนุนชีวิตของทหารผ่านศึกเต็มที่ในกรณีที่ต้องการออกไปประกอบอาชีพส่วนตัว


ที่มา : http://www.truthnet.org/

กองทหารโรมันถูกจัดแบ่งเป็นกลุ่มๆ เหมือนระบบ กองทัพ กองพัน กองร้อย ของทหารในปัจจุบัน ซึ่งใน กองทัพจะมีทหาร 6,000 คนเรียกว่า ลีเจียน (Legion ) แล้วแบ่ง เป็น 10 กองพันละ 600 คนเรียกว่า คอร์ฮอรท์ ( Cohort ) และแบ่งเป็น 6 กองร้อยอีกมีทหาร 100 คนเรียกว่า เซนจูรี่ ( Century ) ซึ่งในแต่ละเซนจูรี่ ต้องดูแลกันและกัน จึงประกอบไปด้วยทหารหลายแบบ เช่น พ่อครัว ช่างเย็บ ช่างตีเหล็ก หมอ เป็นต้น

เมื่อมีการแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจนทหารโรมันก็สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างพี่น้อง เมื่อถึงเวลารบพวกเขาสามารถแปรแถว ตั้งโล่ให้เป็นกระบวนทัพต่างๆ มากมายได้ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีสุดในชื่อของ กระบวนทัพเต่า เทสทูโด ( Testudo ) ที่ทหารโรมันสามารถป้องกันการโจมตีจากระยะไกลได้ เมื่อข้าศึกเข้าประชิด แล้วพวกเขาได้ทำการขว้างหอกที่มีประสิทธิภาพสูงออก ไปใส่ศัตรูก่อนจะทำการเข้าประทะอย่างมีระเบียบ ทหารโรมันยืนชิดติดกันตั้งโล่ขึ้น ที่ศัตรูอยากที่จะต่อกรได้



นอกจากนี้ประกอบกับยุทธอุปกรณ์ที่ประสิทธิภาพสูงแล้วยิ่งทำให้พวกเขาแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น ด้วยชุดเกราะและหมวกจากเหล็กสามารถปกป้องทหารโรมันได้เป็นอย่างดี รวมถึงอาวุธอย่าง
  • ดาบสั้น (Gladius) จากเหล็ก แม้ไม่รุนแรง แต่สร้างบาดแผลฉกรรจ์ และทำให้เสียชีวิตได้ง่ายๆ
  • หอกสำหรับขว้าง (Javelins) ที่ปลายหอกออกแบบมาคล้ายฉมวกที่แทงเข้าไปแล้วดึงออกไม่ได้
  • เครื่องยิงธนู ขนาดเล็ก (Scorpion) ขนาดใหญ่ (Ballista) มีพลังในการทำลายล้างสูง

 แต่อย่างไรก็ตามชีวิตที่น่าภาคภูมิใจของทหารโรมันนั้นไม่ได้เป็นแต่เพียงเครื่องจักรสังหารเท่านั้น แต่ในยามสงบก็สามารถทำงานพัฒนาด้านอื่นๆ ได้ เช่นกัน โดยเฉพาะในการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ให้กับชุมชน เช่น ท่อส่งน้ำ การสร้างถนน ป้อมปราการ หรือแม้กระทั่ง สิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่อย่างวิหาร พาร์เธออน นั้นก็เป็นผลงานของทหารโรมัน ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ทหารโรมันยังทำหน้าที่เป็นตำรวจ คอยดูแลความสงบแก่ประชาชนในยามสงบอีกด้วย


อ้างอิง

Sumner, G. and Raffaele D'Amato. Arms and Armour of the Imperial Roman Soldier. Frontline Books, 2009.

Watson, G.R. The Roman Soldier. Cornell University Press, 1993.

Matyszak, Philip. Legionary: the Roman soldier's (unofficial) manual. Thames & Hudson, 2009.

Cowan, Ross, and Angus McBride. Roman Legionary: 58 BC - AD 69. Osprey Publishing, 2003.

Legionaires.  Wikipedia. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2558.  จาก : https://en.wikipedia.org/wiki/Legionary.

Roman army.  Wikipedia. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2558.  จาก : https://en.wikipedia.org/wiki/.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น