โดย ณัฐภัทร ทักษิณสิทธิ์
เมื่อกล่าวถึงประเทศจีน เราก็จะทราบดีว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดขึ้นอยู่เสมอ ทั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการปกครอง โดยการปกครองต้องมีผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง และจะมีทั้งกลุ่มผู้ที่ชื่นชอบ และกลุ่มผู้ที่ไม่ชอบในการปกครองนั้น ซึ่งพร้อมที่จะต่อต้านผู้ปกครองอยู่เสมอ ดังที่ปรากฏออกมาให้เราได้ยินอยู่บ่อยๆในนามว่า “กบฏ” กบฏมีอยู่ให้เห็นในทุกอารยธรรม ทุกยุคสมัย และกบฏที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยประวัติศาสตร์จีน เช่น กบฏไท่ผิง กบฏนักมวย กบฏโพกผ้าเหลือง เป็นต้น
กบฏโพกผ้าเหลือง เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 184 – ค.ศ. 205 ตรงกับสมัยจักรพรรดิเลนเต้(รัชกาลที่ 24 แห่งราชวงศ์ฮั่น ค.ศ. 168 – ค.ศ. 189) เป็นจุดกำเนิดให้แผ่นดินจีนเข้าสู่ยุคแห่งการแตกแยก มีจุดประสงค์เพื่อล้มล้างราชวงศ์ฮั่น สร้างความโกลาหล ระหองระแหง เป็นเหตุให้หัวเมืองต่างๆแข็งข้อและฉวยโอกาสตั้งตนเป็นใหญ่แตกเป็นก๊ก รบพุ่งแย่งชิงอำนาจกัน กระทั่งเหลือ 3 ก๊กที่ยืนหยัดสู้รบกันอยู่ได้ ดังที่รู้จักกันในนาม สามก๊ก
ในสมัยจักรพรรดิฮวนเต้ (รัชกาลที่ 3 ก่อนสิ้นราชวงศ์ฮั่น) เหตุที่พระองค์ไม่มีพระโอรส จึงได้ขอลูกของเล่าจั้ง เชื้อพระวงศ์ชั้นสูงของราชวงศ์ฮั่นมาเลี้ยง และตั้งชื่อว่า “เลนเต้” ทรงโปรดพระโอรสเลนเต้มาก ขนาดที่ตั้งให้เป็นรัชทายาทองค์ต่อไป ครั้นจักรพรรดิฮวนเต้สวรรคต เลนเต้ได้รับราชสมบัติเถลิงนาม “จักรพรรดิเลนเต้” ด้วยวัย 12 พรรษาและได้สถาปนาพระราชมารดาเป็นพระพันปีหลวงตังไทเฮา
กระทั่งล่วงไป 10 กว่าปี จักรพรรดิเลนเต้เริ่มไม่สนพระทัยในราชการบ้านเมือง หลงระเริงในสุรานารี มอมเมามัวมาย เชื่อถือและเคารพแต่ขันทีที่เป็นมิจฉาทิฐิ ขนาดที่เรียกหนึ่งในขันทีว่า “พระชนกบุญธรรม” ขันทีประพฤติผิดกลับเป็นถูก ปล่อยให้ขันทีรีดไถประชาชนคล้ายรีดเลือดกับปู และเหตุด้วยราคาข้าวที่พุ่งกระฉูด ประกอบกับการเก็บภาษีที่โหดเกินใครของราชสำนัก เพื่อมาสร้างปราการกำแพงป้องกันภัยจากต่างชาติ ทั้งๆที่ภัยภายในกำลังจะเกิดก็ยังไม่สนใจ และภัยพิบัติน้ำท่วมใหญ่จากแม่น้ำฮวงโห กลับกระทำตนตามใจแห่งพระองค์จนเสียซึ่งราชประเพณี ผู้ใดไม่ฟังโอวาทก็ปลดจากราชการ กฎหมายแผ่นดินเต็มไปด้วยความยุ่งเหยิง และเกิดโจรปล้นสะดมในอาณาเขต ประชาชนได้รับความเดือนร้อน แร้นแค้นทุกหย่อมหญ้า เกิดเป็นปัญหาที่ทะลักเหมือนเขื่อนแตกใส่ราชสำนัก
ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้มีสามพี่น้องนาม เตียวก๊ก เตียวโป้ เตียวเหลียง ภายใต้อุดมการณ์ล้มล้างราชวงศ์ฮั่น ที่มี 10 ขันทีปกครองอยู่เบื้องหลัง ร่วมกันตั้งตนเป็นกลุ่มผู้นำการกบฏด้วยการสั่งสมบารมี จากการเป็นหมอสมุนไพรบำบัดรักษาชาวบ้านที่เจ็บป่วย ผู้คนเมื่อได้รู้ข่าวก็นับถือเตียวก๊กเป็นอันมากจนถวายตนเป็นศิษย์ เตียวก๊กเก็บเล็กผสมน้อยรวบรวมศิษย์ชาวบ้านและชาวนา จากร้อยเป็นพันเป็นหมื่นจนขยายเป็นกองทัพศิษย์ติดอาวุธในที่สุด คาดว่ามีผู้ร่วมก่อการประมาณ 1,000,000 คน และแจกจ่ายผ้าเหลืองแก่เหล่ากองทัพตนให้โพกศีรษะเพื่อเป็นสัญลักษณ์สำคัญในการก่อกบฏไล่ยึดครอง ขยายอำนาจไปยังหัวเมืองต่างๆ จึงได้รับการขนานนามว่า “กบฏโพกผ้าเหลือง ( ค.ศ. 184–205 )”
ภายหลังที่เตียวก๊กผู้นำการกบฏป่วยตาย ก็ทำให้กบฏโพกผ้าเหลืองไม่แข็งแรงเหมือนเดิม อ่อนกำลังเรื่อยไปทุกที และก็ถูกปราบปรามโดยกองทัพจากทางราชสำนัก สุดท้ายก็เหลือเพียงกองกำลังติดอาวุธที่มีทหารไม่กี่พันนาย และล่มสลายลงในที่สุด เมื่อปี ค.ศ. 205 และแล้วภารกิจในการล้มราชวงศ์ฮั่นของเตียวก๊กก็ไม่สำเร็จ แต่ก็ถือได้ว่า ทำให้เกิดความแตกแยกครั้งยิ่งใหญ่ในแผ่นดินจีนได้เยอะทีเดียว
แผ่นดินจีนได้ชื่อว่ายิ่งใหญ่ไพศาลก็จริง แต่กว่าจะรวมมาเป็นผืนแผ่นดินเดียวกันได้ ก็ต้องแลกมาด้วยการสูญเสียที่มากมายมหาศาลเช่นกัน และเหตุการณ์ทั้งดีร้ายได้เกิดวนเวียนไม่รู้จบสิ้น ดังจะเห็นมีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจว ราชวงศ์ฉิน มาราชวงศ์ฮั่น ก็ได้เกิดกบฏโพกผ้าเหลือง ทำให้ประชาชนแตกแยก ระหองระแหง เกิดเป็นสามก๊ก เป็นเหตุให้สิ้นสุดราชวงศ์ฮั่น ดังมีคำกล่าวว่า “เดิมแผ่นดินจีนทั้งปวงนั้น เป็นสุขมาช้านานแล้วก็เป็นศึก ครั้นศึกสงบแล้วก็เป็นสุข (สามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)) ” และจะเห็นว่าผู้ที่มีกำลังต่างก็ต้องการความเป็นใหญ่ สร้างความน่าเชื่อถือของตน เพื่อช่วงชิงความเป็นใหญ่ ให้ได้มาซึ่งอำนาจสูงสุดในการปกครองผู้คน “อำนาจ” เป็นแรงขับให้ผู้คนเกิดความทะเยอทะยาน ไม่ว่าจะกี่ยุคกี่สมัย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรจะเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เพื่อเป็นสิ่งย้ำเตือนว่า เราจะไม่หวนกลับมาทำให้ประวัติศาสตร์ที่ไม่ดีเกิดขึ้นอีกครา
อ้างอิง
เจ้าพระยาพระคลัง(หน). สามก๊ก. พิมพ์ครั้งที่ 27. นนทบุรี : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า 2000, 2555.
สุภฤกษ์ บุญทอง. สามก๊ก(ฉบับการ์ตูน). ปทุมธานี : สกายบุ๊ก, 2554.
คอสมอส. “จิ๋นซีฮ่องเต้” ใน บันทึกโลกฉบับรวมเล่ม 1-2. หน้า 33-40. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊ค (2006). 2552.
วิกิพิเดีย. กบฏโพกผ้าเหลือง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%8F%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%81%E0%B8%9C%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87 . (วันที่สืบค้นข้อมูล : 5 ตุลาคม 2558).
วิกิพิเดีย. ราชวงศ์ฮั่น. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B8%AE%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99 .
(วันที่สืบค้นข้อมูล : 5 ตุลาคม 2558).
เมื่อกล่าวถึงประเทศจีน เราก็จะทราบดีว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดขึ้นอยู่เสมอ ทั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการปกครอง โดยการปกครองต้องมีผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง และจะมีทั้งกลุ่มผู้ที่ชื่นชอบ และกลุ่มผู้ที่ไม่ชอบในการปกครองนั้น ซึ่งพร้อมที่จะต่อต้านผู้ปกครองอยู่เสมอ ดังที่ปรากฏออกมาให้เราได้ยินอยู่บ่อยๆในนามว่า “กบฏ” กบฏมีอยู่ให้เห็นในทุกอารยธรรม ทุกยุคสมัย และกบฏที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยประวัติศาสตร์จีน เช่น กบฏไท่ผิง กบฏนักมวย กบฏโพกผ้าเหลือง เป็นต้น
กบฏโพกผ้าเหลือง เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 184 – ค.ศ. 205 ตรงกับสมัยจักรพรรดิเลนเต้(รัชกาลที่ 24 แห่งราชวงศ์ฮั่น ค.ศ. 168 – ค.ศ. 189) เป็นจุดกำเนิดให้แผ่นดินจีนเข้าสู่ยุคแห่งการแตกแยก มีจุดประสงค์เพื่อล้มล้างราชวงศ์ฮั่น สร้างความโกลาหล ระหองระแหง เป็นเหตุให้หัวเมืองต่างๆแข็งข้อและฉวยโอกาสตั้งตนเป็นใหญ่แตกเป็นก๊ก รบพุ่งแย่งชิงอำนาจกัน กระทั่งเหลือ 3 ก๊กที่ยืนหยัดสู้รบกันอยู่ได้ ดังที่รู้จักกันในนาม สามก๊ก
ในสมัยจักรพรรดิฮวนเต้ (รัชกาลที่ 3 ก่อนสิ้นราชวงศ์ฮั่น) เหตุที่พระองค์ไม่มีพระโอรส จึงได้ขอลูกของเล่าจั้ง เชื้อพระวงศ์ชั้นสูงของราชวงศ์ฮั่นมาเลี้ยง และตั้งชื่อว่า “เลนเต้” ทรงโปรดพระโอรสเลนเต้มาก ขนาดที่ตั้งให้เป็นรัชทายาทองค์ต่อไป ครั้นจักรพรรดิฮวนเต้สวรรคต เลนเต้ได้รับราชสมบัติเถลิงนาม “จักรพรรดิเลนเต้” ด้วยวัย 12 พรรษาและได้สถาปนาพระราชมารดาเป็นพระพันปีหลวงตังไทเฮา
กระทั่งล่วงไป 10 กว่าปี จักรพรรดิเลนเต้เริ่มไม่สนพระทัยในราชการบ้านเมือง หลงระเริงในสุรานารี มอมเมามัวมาย เชื่อถือและเคารพแต่ขันทีที่เป็นมิจฉาทิฐิ ขนาดที่เรียกหนึ่งในขันทีว่า “พระชนกบุญธรรม” ขันทีประพฤติผิดกลับเป็นถูก ปล่อยให้ขันทีรีดไถประชาชนคล้ายรีดเลือดกับปู และเหตุด้วยราคาข้าวที่พุ่งกระฉูด ประกอบกับการเก็บภาษีที่โหดเกินใครของราชสำนัก เพื่อมาสร้างปราการกำแพงป้องกันภัยจากต่างชาติ ทั้งๆที่ภัยภายในกำลังจะเกิดก็ยังไม่สนใจ และภัยพิบัติน้ำท่วมใหญ่จากแม่น้ำฮวงโห กลับกระทำตนตามใจแห่งพระองค์จนเสียซึ่งราชประเพณี ผู้ใดไม่ฟังโอวาทก็ปลดจากราชการ กฎหมายแผ่นดินเต็มไปด้วยความยุ่งเหยิง และเกิดโจรปล้นสะดมในอาณาเขต ประชาชนได้รับความเดือนร้อน แร้นแค้นทุกหย่อมหญ้า เกิดเป็นปัญหาที่ทะลักเหมือนเขื่อนแตกใส่ราชสำนัก
ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้มีสามพี่น้องนาม เตียวก๊ก เตียวโป้ เตียวเหลียง ภายใต้อุดมการณ์ล้มล้างราชวงศ์ฮั่น ที่มี 10 ขันทีปกครองอยู่เบื้องหลัง ร่วมกันตั้งตนเป็นกลุ่มผู้นำการกบฏด้วยการสั่งสมบารมี จากการเป็นหมอสมุนไพรบำบัดรักษาชาวบ้านที่เจ็บป่วย ผู้คนเมื่อได้รู้ข่าวก็นับถือเตียวก๊กเป็นอันมากจนถวายตนเป็นศิษย์ เตียวก๊กเก็บเล็กผสมน้อยรวบรวมศิษย์ชาวบ้านและชาวนา จากร้อยเป็นพันเป็นหมื่นจนขยายเป็นกองทัพศิษย์ติดอาวุธในที่สุด คาดว่ามีผู้ร่วมก่อการประมาณ 1,000,000 คน และแจกจ่ายผ้าเหลืองแก่เหล่ากองทัพตนให้โพกศีรษะเพื่อเป็นสัญลักษณ์สำคัญในการก่อกบฏไล่ยึดครอง ขยายอำนาจไปยังหัวเมืองต่างๆ จึงได้รับการขนานนามว่า “กบฏโพกผ้าเหลือง ( ค.ศ. 184–205 )”
ภายหลังที่เตียวก๊กผู้นำการกบฏป่วยตาย ก็ทำให้กบฏโพกผ้าเหลืองไม่แข็งแรงเหมือนเดิม อ่อนกำลังเรื่อยไปทุกที และก็ถูกปราบปรามโดยกองทัพจากทางราชสำนัก สุดท้ายก็เหลือเพียงกองกำลังติดอาวุธที่มีทหารไม่กี่พันนาย และล่มสลายลงในที่สุด เมื่อปี ค.ศ. 205 และแล้วภารกิจในการล้มราชวงศ์ฮั่นของเตียวก๊กก็ไม่สำเร็จ แต่ก็ถือได้ว่า ทำให้เกิดความแตกแยกครั้งยิ่งใหญ่ในแผ่นดินจีนได้เยอะทีเดียว
แผ่นดินจีนได้ชื่อว่ายิ่งใหญ่ไพศาลก็จริง แต่กว่าจะรวมมาเป็นผืนแผ่นดินเดียวกันได้ ก็ต้องแลกมาด้วยการสูญเสียที่มากมายมหาศาลเช่นกัน และเหตุการณ์ทั้งดีร้ายได้เกิดวนเวียนไม่รู้จบสิ้น ดังจะเห็นมีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจว ราชวงศ์ฉิน มาราชวงศ์ฮั่น ก็ได้เกิดกบฏโพกผ้าเหลือง ทำให้ประชาชนแตกแยก ระหองระแหง เกิดเป็นสามก๊ก เป็นเหตุให้สิ้นสุดราชวงศ์ฮั่น ดังมีคำกล่าวว่า “เดิมแผ่นดินจีนทั้งปวงนั้น เป็นสุขมาช้านานแล้วก็เป็นศึก ครั้นศึกสงบแล้วก็เป็นสุข (สามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)) ” และจะเห็นว่าผู้ที่มีกำลังต่างก็ต้องการความเป็นใหญ่ สร้างความน่าเชื่อถือของตน เพื่อช่วงชิงความเป็นใหญ่ ให้ได้มาซึ่งอำนาจสูงสุดในการปกครองผู้คน “อำนาจ” เป็นแรงขับให้ผู้คนเกิดความทะเยอทะยาน ไม่ว่าจะกี่ยุคกี่สมัย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรจะเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เพื่อเป็นสิ่งย้ำเตือนว่า เราจะไม่หวนกลับมาทำให้ประวัติศาสตร์ที่ไม่ดีเกิดขึ้นอีกครา
อ้างอิง
เจ้าพระยาพระคลัง(หน). สามก๊ก. พิมพ์ครั้งที่ 27. นนทบุรี : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า 2000, 2555.
สุภฤกษ์ บุญทอง. สามก๊ก(ฉบับการ์ตูน). ปทุมธานี : สกายบุ๊ก, 2554.
คอสมอส. “จิ๋นซีฮ่องเต้” ใน บันทึกโลกฉบับรวมเล่ม 1-2. หน้า 33-40. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊ค (2006). 2552.
วิกิพิเดีย. กบฏโพกผ้าเหลือง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
วิกิพิเดีย. ราชวงศ์ฮั่น. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
(วันที่สืบค้นข้อมูล : 5 ตุลาคม 2558).
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น