โดย วรินทร์รัตน์ สิทธิเสนา
ในประเทศแถบแอฟริกา การเหยียดสีผิวถือเป็นเรื่องที่ร้ายแรงมาก คนผิวดำถูกจำกัดสิทธิ์อย่างมากมาย อาทิเช่น การเข้าถึงการศึกษา การสาธารณูปโภค รวมถึงการใช้สิทธิ์ต่างๆ ในฐานะพลเมืองที่เท่าเทียมกัน จึงเป็นเหตุให้ชายผู้หนึ่งลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อต่อต้านการเหยียดสีผิวและเรียกร้องสิทธิที่คนผิวสีสมควรที่จะได้รับ ชายคนนั้นมีชื่อว่า “ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์” (Martin Luther King Jr.)
มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ เกิดวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2472 เป็นที่รู้จักในนามของ “นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนชาวอเมริกัน” เขาเกิดที่แอตแลนตา รัฐเจอร์เจียร์ และเป็นลูกของพระแบปทิส ลูเธอร์จบการศึกษาด้านศาสนา จากมหาวิทยาลัยโครเซอร์ มหาวิทยาลัยแพนซิลวาเนีย และมหาวิทยาลัยบอสตัน เขามีศาสนาเข้ามาอยู่ในชีวิตของเขาตั้งแต่เด็กและนั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้เขาทำงานอย่างหนักเพื่อความเท่าเทียมกันของมนุษยชนในฐานะที่เขาเป็นคนผิวดำคนหนึ่ง
แม้กระทั่งในอเมริกาคนผิวดำถูกจำกัดสิทธิต่างๆมากมาย เช่น สิทธิในการขึ้นรถเมล์ การสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และยังรวมไปถึงการเหยียดสีผิวที่รุนแรงมากในสหรัฐอเมริกา จึงเป็นเหตุให้เขาหันมาเรียกร้องสิทธิของคนผิวดำมาตลอดชีวิตและในที่สุดเขาก็ประสบความสำเร็จ เนื่องจากศาลพิจารณาและตัดสินว่า การแบ่งแยกที่นั่งในการขึ้นรถเมล์เป็นเรืองที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และนั่นเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้เขาได้ขึ้นเป็นผู้นำของกระบวนการเคลื่อนไหวด้านสิทธิพลเมืองอย่างสันติในสหรัฐอเมริกา
ผลงานที่โดดเด่นและทำให้เขามีชื่อเสียง คือ การพูดสุนทรพจน์เรื่อง “ฉันมีความฝัน” (I have a dream) ที่อนุสาวรีย์ลิงคอล์นในวอชิงตัน ดี.ซี. ในครั้งนั้นมีผู้เข้าร่วมมากถึง 200,000 คน โดยมีเนื้อหาปลอบใจคนผิวดำว่า ถึงแม้ว่าวันนี้จะพบกับความยากลำบากแค่ไหน และพรุ่งนี้จะเป็นเช่นไร เราก็ยังมีความฝัน และความฝันนั้นจะเป็นความฝันที่ฝังลึกลงไปในความฝันของชาวอเมริกัน ฝันที่ว่าประเทศนี้จะสามารถดำรงอยู่ด้วยความหมายที่แท้จริงของหลักการที่บอกว่า “มนุษย์ทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน”
การพูดสุนทรพจน์ในครั้งนั้น ได้ถูกยอมรับว่าเป็นหลักการสำคัญในขบวนการเคลื่อนไหวด้านสิทธิพลเมืองแบบสันติ และมีเนื้อหาที่พูดถึงการเท่าเทียมกันซึ่งมันเป็นสิ่งที่ปรากฏชัดเจนอยู่ในรัฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐอเมริกา การพูดสุนทรพจน์ในครั้งนี้ยังเป็นการเคลื่อนไหวหรือการประท้วงแบบสันติ มีเนื้อหาที่พูดถึงความฝันและความเท่าเทียมกันของมนุษย์ ไม่ได้มีการพูดถึงความรุนแรงใดๆ ทั้งสิ้น
การพูดสุนทรพจน์ของมาร์ติน ลูเธอร์ และการตัดสินของศาลในครั้งนั้นทำให้เขาได้รับชัยชนะอย่างยิ่งใหญ่ และไม่ใช่เพียงแค่เขาเท่านั้นที่ชนะ ยังรวมไปถึงคนผิวดำทั้งมวลที่อาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย และนอกจากนั้นเขายังให้ความสนใจกับการปรับปรุงสภาพสังคมของคนผิวดำและคนยากจนให้มีสภาพสังคมที่ดีขึ้นอีกด้วย
แต่แล้วในที่สุดเขาก็ต้องจบชีวิตลงจากการถูกลอบยิงที่เมืองเมมฟิส รัฐเทนเนสซี เขาเสียชีวิตลงในวันที่ 4 เมษายน ปี 1968 โดยคนที่ยิงเขาคือ เจมส์ เอิร์ล เรย์ ซึ่งเป็นคนผิวขาว และถูกจับกุมในภายหลังที่ประเทศอังกฤษ โดยถูกตัดสินให้ติดคุกนานถึง 99 ปี
ความพยายามและความมีมานะของเขาทำให้เขาสามารถเรียกร้องสิทธิที่เขาและคนผิวดำที่อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาสมควรที่จะได้รับมาได้ และเขายังได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านความยุติธรรมทางเชื้อชาติมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ด้วย
อ้างอิง
personworld directory. เขียนเมื่อวันที่ 25 พ.ย 2557. มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ (Martin Luther King Jr.). (ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://personworld.exteen.com/20141125/martin-luther-king-jr
Siam Intelligence. ค้นเมื่อวันที่ 22 พ.ย. 58. ข้าพเจ้ามีความฝัน. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://www.siamintelligence.com/i-have-a-dream/
Sanook . เขียนเมื่อวันที่ 26 พ.ย. 56. มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์. (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://guru.sanook.com/4113/
ในประเทศแถบแอฟริกา การเหยียดสีผิวถือเป็นเรื่องที่ร้ายแรงมาก คนผิวดำถูกจำกัดสิทธิ์อย่างมากมาย อาทิเช่น การเข้าถึงการศึกษา การสาธารณูปโภค รวมถึงการใช้สิทธิ์ต่างๆ ในฐานะพลเมืองที่เท่าเทียมกัน จึงเป็นเหตุให้ชายผู้หนึ่งลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อต่อต้านการเหยียดสีผิวและเรียกร้องสิทธิที่คนผิวสีสมควรที่จะได้รับ ชายคนนั้นมีชื่อว่า “ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์” (Martin Luther King Jr.)
ที่มา http://p4.s1sf.com/
มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ เกิดวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2472 เป็นที่รู้จักในนามของ “นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนชาวอเมริกัน” เขาเกิดที่แอตแลนตา รัฐเจอร์เจียร์ และเป็นลูกของพระแบปทิส ลูเธอร์จบการศึกษาด้านศาสนา จากมหาวิทยาลัยโครเซอร์ มหาวิทยาลัยแพนซิลวาเนีย และมหาวิทยาลัยบอสตัน เขามีศาสนาเข้ามาอยู่ในชีวิตของเขาตั้งแต่เด็กและนั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้เขาทำงานอย่างหนักเพื่อความเท่าเทียมกันของมนุษยชนในฐานะที่เขาเป็นคนผิวดำคนหนึ่ง
แม้กระทั่งในอเมริกาคนผิวดำถูกจำกัดสิทธิต่างๆมากมาย เช่น สิทธิในการขึ้นรถเมล์ การสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และยังรวมไปถึงการเหยียดสีผิวที่รุนแรงมากในสหรัฐอเมริกา จึงเป็นเหตุให้เขาหันมาเรียกร้องสิทธิของคนผิวดำมาตลอดชีวิตและในที่สุดเขาก็ประสบความสำเร็จ เนื่องจากศาลพิจารณาและตัดสินว่า การแบ่งแยกที่นั่งในการขึ้นรถเมล์เป็นเรืองที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และนั่นเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้เขาได้ขึ้นเป็นผู้นำของกระบวนการเคลื่อนไหวด้านสิทธิพลเมืองอย่างสันติในสหรัฐอเมริกา
ผลงานที่โดดเด่นและทำให้เขามีชื่อเสียง คือ การพูดสุนทรพจน์เรื่อง “ฉันมีความฝัน” (I have a dream) ที่อนุสาวรีย์ลิงคอล์นในวอชิงตัน ดี.ซี. ในครั้งนั้นมีผู้เข้าร่วมมากถึง 200,000 คน โดยมีเนื้อหาปลอบใจคนผิวดำว่า ถึงแม้ว่าวันนี้จะพบกับความยากลำบากแค่ไหน และพรุ่งนี้จะเป็นเช่นไร เราก็ยังมีความฝัน และความฝันนั้นจะเป็นความฝันที่ฝังลึกลงไปในความฝันของชาวอเมริกัน ฝันที่ว่าประเทศนี้จะสามารถดำรงอยู่ด้วยความหมายที่แท้จริงของหลักการที่บอกว่า “มนุษย์ทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน”
การพูดสุนทรพจน์ในครั้งนั้น ได้ถูกยอมรับว่าเป็นหลักการสำคัญในขบวนการเคลื่อนไหวด้านสิทธิพลเมืองแบบสันติ และมีเนื้อหาที่พูดถึงการเท่าเทียมกันซึ่งมันเป็นสิ่งที่ปรากฏชัดเจนอยู่ในรัฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐอเมริกา การพูดสุนทรพจน์ในครั้งนี้ยังเป็นการเคลื่อนไหวหรือการประท้วงแบบสันติ มีเนื้อหาที่พูดถึงความฝันและความเท่าเทียมกันของมนุษย์ ไม่ได้มีการพูดถึงความรุนแรงใดๆ ทั้งสิ้น
การพูดสุนทรพจน์ของมาร์ติน ลูเธอร์ และการตัดสินของศาลในครั้งนั้นทำให้เขาได้รับชัยชนะอย่างยิ่งใหญ่ และไม่ใช่เพียงแค่เขาเท่านั้นที่ชนะ ยังรวมไปถึงคนผิวดำทั้งมวลที่อาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย และนอกจากนั้นเขายังให้ความสนใจกับการปรับปรุงสภาพสังคมของคนผิวดำและคนยากจนให้มีสภาพสังคมที่ดีขึ้นอีกด้วย
แต่แล้วในที่สุดเขาก็ต้องจบชีวิตลงจากการถูกลอบยิงที่เมืองเมมฟิส รัฐเทนเนสซี เขาเสียชีวิตลงในวันที่ 4 เมษายน ปี 1968 โดยคนที่ยิงเขาคือ เจมส์ เอิร์ล เรย์ ซึ่งเป็นคนผิวขาว และถูกจับกุมในภายหลังที่ประเทศอังกฤษ โดยถูกตัดสินให้ติดคุกนานถึง 99 ปี
ความพยายามและความมีมานะของเขาทำให้เขาสามารถเรียกร้องสิทธิที่เขาและคนผิวดำที่อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาสมควรที่จะได้รับมาได้ และเขายังได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านความยุติธรรมทางเชื้อชาติมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ด้วย
อ้างอิง
Siam Intelligence. ค้นเมื่อวันที่ 22 พ.ย. 58. ข้าพเจ้ามีความฝัน. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://www.siamintelligence.com/i-have-a-dream/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น