มหาวิหารดูโอโม่ (Duomo de Milano)

โดย กมลชนก อินทะกนก

ใครที่ได้มาเยือนอิตาลี สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งที่เรามักจะไม่พลาดต้องไปเยือนให้ได้ นั่นคือ มหาวิหารอันศักดิ์สิทธิ์อย่าง Duomo de Milano หรือมหาวิหารดูโอโม่ ในเมืองมิลานประเทศอีตาลีนั่นเอง

มหาวิหารสไตล์กอธิคแห่งนี้ได้ชื่อว่ามีระยะเวลาในการสร้างนานถึง 579 ร้อยปี ซึ่งถือเป็นการสร้างสรรค์งานสถาปัตกรรมที่นานที่สุดแห่งหนึ่งเลยก็ว่าได้ มหาวิหารดูโอโม่มีความสูงถึง 108.5 เมตร ยาว 148 เมตร และความกว้าง 88 เมตร ซึ่งมีขนาดใหญ่รองลงมาจากมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ ในนครรัฐวาติกันและสามารถจุคนได้มากถึง 40,000 คน


ที่มา: https://www.ilovetogo.com/

ด้วยศรัทธาอันแรงกล้าของเหล่ามหานักบุญจึงร่วมกันรับบริจาคจากคริสตชนทั้งหลายสร้างมหาวิหารขนาดใหญ่แห่งนี้ ขึ้นในปี ค.ศ.1386 โดยการนำของ พระอัครสังฆราชอันโตนิโอ ดาซารุสโซ่  (Antonio da Saluzzo)และการสนับสนุนของ เจียน กัลเลอัซโซ วิสกอนติ ( GianGaleazzo Visconti) พระญาติของพระอัครสังฆราช อันโตนิโอและมีวิศวกรคนแรกคือ  ซโมเนดาร์เออเซนิโก (Simone da Orsenigo) โดยวางแผนสร้างมหาวิหารแห่งนี้ด้วยอิฐในแบบ กอธิค ลอมบาร์ค ตามแบบฝรั่งเศส Rayonnant  Gothic ไม่ใช่ในแบบ อิตาลี โครงการนี้ได้รับการควบคุมออกแบบอย่างเคร่งครัดภายใต้ชื่อ “Fabbrica del Duomo”

ศิลปะแบบกอธิคของมหาวิหารดูโอโม่สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของสติปัญญาและอัฉริยะภาพของสถาปนิกในสมัยกลาง โดยเฉพาะประเทศฝรั่งเศสที่มีสถาปัตยกรรมกอธิคมากมาย ประมาณว่าหินที่นำมาสร้างนั้นมีมากกว่าการสร้างพิรามิดในอียิปต์เสียอีก มหาวิหารดูโอโม่แห่งนี้จึงสะท้อนให้เห็นถึงความน่าทึ่งของสถาปัตยกรรมกอธิคที่มีระยะเวลาการสร้างที่ยาวนานและความสามารถของช่างฝีมือที่เก่งกาจที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานอันน่าเกรงขามแสดงถึงพลังอำนาจของคริสตจักรได้เป็นอย่างดี


ที่มา: https://www.ilovetogo.com/

นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11  เป็นต้นมาที่ยุโรปฟื้นตัวจากสภาวะเศรษฐกิจและการเมือง การสร้างมหาวิหาร (Cathedral) ซึ่งเป็นโบสถ์ที่ประทับของบิชอปประจำเมืองต่างๆ ก็เกิดขึ้นไปทั่วยุโรปในยุคกลาง ถือเป็นงานสร้างสรรค์ที่เป็นความโดดเด่นในสมัยกลาง โดยพัฒนามาจากศิลปะแบบโรมาเนสถ์ซึ่งประกอบด้วยหน้าต่างเล็กเรียวยาว คูหาโค้ง (Vault) กำแพงหนาใช้เป็นโครงสร้างในการรับน้ำหนักของอาคารและหลังคา โดยศิลปะกอธิคมีลักษณะโปร่งบางและชดช้อย สถาปนิกได้พัฒนาเทคนิคโดยการใช้ค้ำยันหรือครีบ (Buttress) หรือครีบยันชั้นลอย (flying buttress) เพื่อยันน้ำหนักของอาคารทั้งสองข้าง ทั้งมีเสาหิน (Column) เพื่อรองรับน้ำหนักของหลังคาและเพดานหรือโค้งคูหาสันไขว้ (cross vault) จึงทำให้อาคารในรูปแบบสถาปัตยกรรมกอธิคไม่ต้องอาศัยกำแพงที่หนาเพื่อรองรับน้ำหนักของหลังคาและโครงสร้างอีกต่อไป หน้าต่างเป็นลักษณะโค้งแหลม (Pointed arch) ขนาดกว้างที่แสงสว่างสามารถลอดผ่านได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการประดับกระจกสีต่างๆ มาตัดต่อประกอบกันเป็นภาพหรือลวดลายภายในกรอบช่องแสงหรือหน้าต่างเล็ก เหนือประตูทางเข้ายังประดับการแกะสลักลวดลายวิจิตรบรรจงของแม่พระ พระเยซู ตลอดจนนักบุญต่างๆ เป็นการฟื้นฟูการสร้างปะติมากรรมศิลาสลักแบบลอยตัว (Bas relief) ที่เป็นนิยมกันในสมัยจักรวรรดิโรมันทั้งภายนอกและภายในอาคาร (อนันต์ชัย เลาหะพันธุ, 2553)


ที่มา : https://www.ilovetogo.com/

ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้มีการต่อเติมยอดเสาของมหาวิหาร โดยหล่อรูปปั้นเคลือบทองทั้งองค์ เป็นรูปพระแม่มาเรีย บนยอดเสาระดับความสูง 108.5 เมตร ในชื่อ มาดอนนิน่า (madonnina) ความสูงของรูปปั้นนี้สูงถือ 4 เมตร เป็นปะติมากรรมเคลือบทองคำที่สูงเท่าตึกสามชั้นจวบจนกระทั้งผ่านช่วงเวลาอันยาวนานการก่อสร้างแห่งนี้ก็แล้วเสร็จในวันที่ 6 มกราคม ปีค.ศ. 1965 โดย นโปเลียนโบนาพาร์ท (Napoleon Bonaparte) ได้ตัดสินใจปิดประตูบานสุดท้ายลง จบการสร้างสรรค์สถาปัตกรรมอันยาวนานกว่าห้าร้อยปีได้สำเร็จ

ดูโอโม่ จึงนับได้ว่าเป็นมหาวิหารที่ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างและซ่อมแซมยาวนานมากที่สุด เป็นระยะเวลาถึง 579 ปี จึงนับเป็นอีกสถานที่แห่งหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานและควรค่าแก่การเยี่ยมชมของผู้ที่ชื่นชอบงานศิลปะเป็นอย่างมาก

อ้างอิง

iLovetogo.  2558.  มหาวิหารแห่งมิลาน (Duomo di Milano).  (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2558, จาก https://www.ilovetogo.com/

Kwangtourcenter.  2558. มิลาน (Milano).  (ออนไลน์).  แหล่งทีมา: http://www.letsseeholiday.net/. 1กันยายน 2558.

อนันค์ชัย เลาหะพันธุ.  (2553).  เรื่องน่ารู้ในยุโรปสมัยกลาง (3).  กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น