โดย อารียา บุญมาก
ย้อนกลับไปในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 “โรคไข้ทรพิษ” หรือ “โรคฝีดาษ” ได้ทำให้ผู้คนทั่วโลกล้มตายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเชื้อโรคสามารถแพร่กระจายไปในอากาศจากละอองน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยหรือจากการสัมผัสกับผิวหนังที่มีแผลฝีดาษ ซึ่งโรคนี้ไม่มีหนทางใดที่จะสามารถรักษาให้หายได้ หากมีชีวิตรอดอาจต้องตาบอดหรือมีแผลที่น่าเกลียดติดตัวไปตลอดชีวิต
ซึ่งในยุโรปแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคฝีดาษประมาณ 400,000 ราย โดยเฉพาะเด็กแรกเกิดในประเทศสวีเดนประมาณ 10% ต้องสังเวยชีวิตให้กับโรคร้ายนี้ทุกปี จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1796 เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ (Edward Jenner) นายแพทย์ชาวอังกฤษได้คิดค้นวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษขึ้นและได้ทำการทดลองใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อ นับแต่นั้นเป็นต้นมาอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคไข้ทรพิษก็น้อยลง จนในที่สุดโรคระบาดนี้ก็ได้ถูกกวาดล้างไปจนหมด
เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ (Edward Jenner) เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1749 ที่เมืองเบิร์กเลย์ ประเทศอังกฤษ เป็นบุตรชายของนักสอนศาสนา เขาเป็นคนฉลาดและช่างสังเกต ในช่วงวัยเด็กเขาได้ประดิษฐ์บอลลูนที่สามารถลอยขึ้นบนท้องฟ้าได้ แต่ผู้คนกลับเชื่อว่าที่บอลลูนสามารถลอยได้นั้นเป็นเพราะมีผีสิงอยู่ มิใช่เพราะความสามารถของเขา เมื่อจบการศึกษาจากชั้นมัธยมแล้ว เจนเนอร์ได้เขาศึกษาวิชาแพทย์ต่อที่มหาวิทยาลัยบริสตอล เมื่อสำเร็จการศึกษาก็ได้เข้าทำงานเป็นแพทย์ฝึกหัดที่เมืองเบิร์กเลย์บ้านเกิดของเขากับศัลยแพทย์ประจำเมือง ต่อมาเจนเนอร์ได้เดินทางไปยังกรุงลอนดอน เพื่อศึกษาวิชาแพทย์กับ จอห์น ฮันเตอร์ ศัลยแพทย์ผู้มีชื่อเสียง หลังจากจบการศึกษาแล้วเขาก็ได้เปิดคลีนิคอยู่ที่กรุงลอนดอน
ต่อมาในปี ค.ศ. 1792 โรคไข้ทรพิษได้แพร่ระบาดอย่างหนักไปทั่วทั้งทวีปยุโรป ซึ่งนั่นก็รวมถึงประเทศอังกฤษด้วย มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเป็นเด็ก เจนเนอร์จึงเริ่มศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับโรคไข้ทรพิษ และวันหนึ่งเขาก็ได้สังเกตเห็นว่า หญิงรีดนมวัวส่วนมากจะเป็นแผลฝีวัว มีแผลพุพองตามง่ามมือเพียงเท่านั้น แต่ไม่มีผู้ใดป่วยเป็นโรคไข้ทรพิษเลย เจนเนอร์จึงทดลองนำน้ำหนองในแผลของหญิงรีดนมวัวมาสกัดเป็นวัคซีน โดยการทำให้เชื่ออ่อนตัวลง จากนั้นได้นำวัคซีนไปทดลองกับสัตว์หลายชนิดจนกระทั่งในวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1796 เขาได้นำวัคซีนนั้นมาใช้กับคนเป็นครั้งแรก โดยฉีดให้กับ เจมส์ ฟีพส์ (James Phipps) เด็กชายวัย 8 ขวบ ผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดี ซี่งเขาได้ใช้วิธีการกรีดผิวหนังที่แขนให้เป็นแผล แล้วนำหนองฝีวัวใส่ลงไป ผลทำให้เจมส์ป่วยเป็นไข้เล็กน้อย หลังจากนั้นอีกประมาณ 2 เดือน เจนเนอร์ได้นำเชื้อไข้ทรพิษมาฉีดให้กับเจมส์อีกครั้ง ปรากฏว่าเจมส์ไม่ป่วยเป็นโรคไข้ทรพิษเลย ซึ่งก็ถือได้ว่านี่คือ “การปลูกฝี” ครั้งแรกของโลก
เมื่อเจนเนอร์ได้ทำการทดลองหลายครั้งจนมั่นใจและได้ปรับปรุงวัคซีนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เขาจึงนำผลการทดลองส่งให้กับทางราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน (Royal Society of London) แต่ผลงานของเขากลับไม่ได้รับความสนใจแม้แต่น้อย เขาจึงตีพิมพ์ผลงานผ่านหนังสือโดยใช้ชื่อหนังสือเล่มนี้ว่า An Inquiry into the Causes and Efects of the Variolae Vaccine ภายในหนังสือมีเนื้อหาเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้ทรพิษ โดยการปลูกฝีที่สกัดจากน้ำหนองของผู้ที่ป่วยเป็นโรคฝีดาษวัว ซึ่งผลงานของเขาถูกคัดค้านจากวงการแพทย์ว่าเป็นเรื่องหลอกหลวง แต่ประชาชนบางส่วนยังคงเชื่อถือและพากันมาให้เขาปลูกฝี ปรากฏว่าวิธีการของเขาสามารถป้องกันโรคไข้ทรพิษได้เป็นอย่างดี ผลงานของเขาจึงได้รับการยอมรับจากผู้คนในเวลาต่อมา และในปี ค.ศ.1800 ผลงานของเขาชิ้นนี้ได้รับการรับรองผลจากทางรัฐสภาของประเทศอังกฤษพร้อมกับเงินจำนวน 10,000 ปอนด์ เพื่อใช้ในการผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ และต่อมาได้รับเงินทุนสนับสนุนอีกจำนวน 20,000 ปอนด์ เพื่อใช้ในการค้นคว้าเรื่องวัคซีนอื่นๆ ต่อไป
นอกจากนั้น เจนเนอร์ยังมีผลงานการค้นคว้าอื่นๆ อีก ได้แก่ การค้นพบวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า และโรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) การค้นพบว่าจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการเน่าเสีย การค้นพบวิธีการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์โดยการนำมาต้ม หรือเรียกว่า พาสเจอร์ไรเซชั่น (Pasteurization) และการค้นพบวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรค วัณโรค โรคคอตีบ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผลงานที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติ
หากวันนั้นเขาสิ้นหวังและท้อถอย เพียงเพราะการไม่ได้รับความเชื่อถือและถ้อยคำดูถูกจากผู้อื่น ก็คงจะมีประชากรโลกจำนวนมากที่อาจต้องเสียชีวิตไปจากโรคภัยร้ายนี้ ความมุ่งมั่นและคุณงามความดีของเอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ ได้สร้างคุณูประการให้โลกเป็นอย่างสูง และ ภายหลังการเสียชีวิตของเขา เมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1823 รัฐบาลอังกฤษจึงจัดสร้างอนุสาวรีย์ที่จัตุรัสฟอลการ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่แสดงถึงการช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ให้รอดพ้นจากโรคไข้ทรพิษ
อ้างอิง
วิกิพีเดีย. (2558). โรคฝีดาษ. ค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2558, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/โรคฝีดาษ
วิทยา ปานะบุตร, วิสิทธิ์ โรจน์พจนรัตน์. (2554). บุคคลสำคัญของโลก . ใน บุญศรี ไพรัตน์ (บรรณาธิการ), ความรู้รอบตัวฉบับรอบรู้ 2554 (หน้า 60).กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา
Ruttxiah . (2555). เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ (Edward Jenner). ค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2558 จาก
http://www.thaigoodview.com/node/129601
ย้อนกลับไปในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 “โรคไข้ทรพิษ” หรือ “โรคฝีดาษ” ได้ทำให้ผู้คนทั่วโลกล้มตายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเชื้อโรคสามารถแพร่กระจายไปในอากาศจากละอองน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยหรือจากการสัมผัสกับผิวหนังที่มีแผลฝีดาษ ซึ่งโรคนี้ไม่มีหนทางใดที่จะสามารถรักษาให้หายได้ หากมีชีวิตรอดอาจต้องตาบอดหรือมีแผลที่น่าเกลียดติดตัวไปตลอดชีวิต
ซึ่งในยุโรปแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคฝีดาษประมาณ 400,000 ราย โดยเฉพาะเด็กแรกเกิดในประเทศสวีเดนประมาณ 10% ต้องสังเวยชีวิตให้กับโรคร้ายนี้ทุกปี จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1796 เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ (Edward Jenner) นายแพทย์ชาวอังกฤษได้คิดค้นวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษขึ้นและได้ทำการทดลองใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อ นับแต่นั้นเป็นต้นมาอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคไข้ทรพิษก็น้อยลง จนในที่สุดโรคระบาดนี้ก็ได้ถูกกวาดล้างไปจนหมด
ต่อมาในปี ค.ศ. 1792 โรคไข้ทรพิษได้แพร่ระบาดอย่างหนักไปทั่วทั้งทวีปยุโรป ซึ่งนั่นก็รวมถึงประเทศอังกฤษด้วย มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเป็นเด็ก เจนเนอร์จึงเริ่มศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับโรคไข้ทรพิษ และวันหนึ่งเขาก็ได้สังเกตเห็นว่า หญิงรีดนมวัวส่วนมากจะเป็นแผลฝีวัว มีแผลพุพองตามง่ามมือเพียงเท่านั้น แต่ไม่มีผู้ใดป่วยเป็นโรคไข้ทรพิษเลย เจนเนอร์จึงทดลองนำน้ำหนองในแผลของหญิงรีดนมวัวมาสกัดเป็นวัคซีน โดยการทำให้เชื่ออ่อนตัวลง จากนั้นได้นำวัคซีนไปทดลองกับสัตว์หลายชนิดจนกระทั่งในวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1796 เขาได้นำวัคซีนนั้นมาใช้กับคนเป็นครั้งแรก โดยฉีดให้กับ เจมส์ ฟีพส์ (James Phipps) เด็กชายวัย 8 ขวบ ผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดี ซี่งเขาได้ใช้วิธีการกรีดผิวหนังที่แขนให้เป็นแผล แล้วนำหนองฝีวัวใส่ลงไป ผลทำให้เจมส์ป่วยเป็นไข้เล็กน้อย หลังจากนั้นอีกประมาณ 2 เดือน เจนเนอร์ได้นำเชื้อไข้ทรพิษมาฉีดให้กับเจมส์อีกครั้ง ปรากฏว่าเจมส์ไม่ป่วยเป็นโรคไข้ทรพิษเลย ซึ่งก็ถือได้ว่านี่คือ “การปลูกฝี” ครั้งแรกของโลก
เมื่อเจนเนอร์ได้ทำการทดลองหลายครั้งจนมั่นใจและได้ปรับปรุงวัคซีนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เขาจึงนำผลการทดลองส่งให้กับทางราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน (Royal Society of London) แต่ผลงานของเขากลับไม่ได้รับความสนใจแม้แต่น้อย เขาจึงตีพิมพ์ผลงานผ่านหนังสือโดยใช้ชื่อหนังสือเล่มนี้ว่า An Inquiry into the Causes and Efects of the Variolae Vaccine ภายในหนังสือมีเนื้อหาเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้ทรพิษ โดยการปลูกฝีที่สกัดจากน้ำหนองของผู้ที่ป่วยเป็นโรคฝีดาษวัว ซึ่งผลงานของเขาถูกคัดค้านจากวงการแพทย์ว่าเป็นเรื่องหลอกหลวง แต่ประชาชนบางส่วนยังคงเชื่อถือและพากันมาให้เขาปลูกฝี ปรากฏว่าวิธีการของเขาสามารถป้องกันโรคไข้ทรพิษได้เป็นอย่างดี ผลงานของเขาจึงได้รับการยอมรับจากผู้คนในเวลาต่อมา และในปี ค.ศ.1800 ผลงานของเขาชิ้นนี้ได้รับการรับรองผลจากทางรัฐสภาของประเทศอังกฤษพร้อมกับเงินจำนวน 10,000 ปอนด์ เพื่อใช้ในการผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ และต่อมาได้รับเงินทุนสนับสนุนอีกจำนวน 20,000 ปอนด์ เพื่อใช้ในการค้นคว้าเรื่องวัคซีนอื่นๆ ต่อไป
นอกจากนั้น เจนเนอร์ยังมีผลงานการค้นคว้าอื่นๆ อีก ได้แก่ การค้นพบวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า และโรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) การค้นพบว่าจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการเน่าเสีย การค้นพบวิธีการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์โดยการนำมาต้ม หรือเรียกว่า พาสเจอร์ไรเซชั่น (Pasteurization) และการค้นพบวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรค วัณโรค โรคคอตีบ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผลงานที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติ
หากวันนั้นเขาสิ้นหวังและท้อถอย เพียงเพราะการไม่ได้รับความเชื่อถือและถ้อยคำดูถูกจากผู้อื่น ก็คงจะมีประชากรโลกจำนวนมากที่อาจต้องเสียชีวิตไปจากโรคภัยร้ายนี้ ความมุ่งมั่นและคุณงามความดีของเอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ ได้สร้างคุณูประการให้โลกเป็นอย่างสูง และ ภายหลังการเสียชีวิตของเขา เมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1823 รัฐบาลอังกฤษจึงจัดสร้างอนุสาวรีย์ที่จัตุรัสฟอลการ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่แสดงถึงการช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ให้รอดพ้นจากโรคไข้ทรพิษ
อ้างอิง
วิกิพีเดีย. (2558). โรคฝีดาษ. ค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2558, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/โรคฝีดาษ
วิทยา ปานะบุตร, วิสิทธิ์ โรจน์พจนรัตน์. (2554). บุคคลสำคัญของโลก . ใน บุญศรี ไพรัตน์ (บรรณาธิการ), ความรู้รอบตัวฉบับรอบรู้ 2554 (หน้า 60).กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา
http://www.thaigoodview.com/node/129601
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น