จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 จักรพรรดิองค์สุดท้ายของเยอรมนี

โดย ศศิวิมล ผลไม้

จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2  แห่งเยอรมนี หรือ พระเจ้าไกเซอร์วิลเฮล์มที่ 2 เป็นหนึ่งในบุคคลที่รู้จักมากที่สุดของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง พระองค์เป็นผู้ที่นำพาเยอรมนีเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แต่สุดท้ายเยอรมนีก็ได้รับความพ่ายแพ้จนทำให้พระองค์ต้องสละราชสมบัติเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของเยอรมนี

จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ทรงมีพระนามเต็มว่า ฟรีดริช วิลเฮล์ม วิคเตอร์ อัลเบิร์ต หรือที่ รู้จักในนาม พระเจ้าไกเซอร์วิลเฮล์มที่ 2 เป็นพระราชโอรสองค์โตใน พระจักรพรรดิ ฟรีดริชที่ 3 กับ สมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย ประสูติเมื่อวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1859 พระองค์ทรงเสกสมรสกับ เจ้าหญิงออกัสตา วิคตอเรียเจ้าหญิงจาก  ปรัสเซีย มีพระราชโอรส 6 พระองค์และพระราชธิดา 1 พระองค์ พระเจ้าไกเซอร์วิลเฮล์มที่ 2 ทรงดำรงวาระตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 1888 ถึง    9 พฤศจิกายน 1918  รวมระยะเวลา 31 ปี


ภาพ จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี

ชีวิตในวัยเยาว์ของพระองค์ พระองค์เริ่มเรียนหนังสือตั้งแต่ 7 ขวบ  โดย พระองค์ต้องตื่น 6 โมงเช้าในฤดูร้อน และ 7 โมงในฤดูหนาวสิ้นสุดการเรียนในแต่ละวัน 6 โมงเย็นหรือ หนึ่งทุ่มแล้วแต่ฤดูได้พักสองครั้ง คือพักรับประทานอาหารเช้าและอาหารกลางวัน พักไม่เกิน 45นาที เนื้อหาก็ประกอบไปด้วย ประวัติศาสตร์ เลขคณิต ศาสนา ภูมิศาสตร์ต่อมามีการเพิ่มภาษา กรีก อังกฤษ ฝรั่งเศส ในบรรดาอาจารย์ทั้งหมดต่างก็เห็นพ้องว่าพระองค์ ฉลาด ความจำเยี่ยมและมีพรสวรรค์ด้านภาษา นับเป็นเรื่องที่หนักหนามากสำหรับเด็กตัวเล็กที่เกิดมาก็รับภาระอันใหญ่หลวงไม่แปลกใจเลยที่พระองค์ถูกเคี่ยวเข็ญตั้งแต่เด็กๆ ต่อมาพระองค์สำเร็จด้านการทหารและทรงเป็นผู้ที่มีความชื่นชมในศักยภาพทางทหารเป็นอย่างมาก

เยอรมนีในยุคสมัยภายใต้การปกครองของจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2  เป็นรัฐที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วเกิดความเปลี่ยนแปลงคือมีประชากรเพิ่มขึ้น เมืองและนครต่างๆเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและเต็มไปด้วยคนหนุ่มคนสาวที่ละทิ้งที่ดินเพื่อแสวงหาโอกาสในเมืองอุตสาหกรรมและเกิดการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของชนชั้นแรงงานเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากชนบทสูชีวิตในโรงงาน การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจสมัยนี้เป็นแนวทางสู่การพัฒนาทางการเมือง  พระเจ้าไกเซอร์วิลเฮล์มที่ 2 เป็นประมุขในขณะนั้นเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ทางการที่คับแคบพระองค์ต้องการที่จะใช้กำลังทางทหารขยายอิทธิพลของจักรวรรดิเยอรมันไปทั่วโลก จนตัดสินพระทัยนำเยอรมนีไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 และในที่สุดเยอรมนีก็พ่ายแพ้ไปในที่สุด

อีกหนึ่งที่ผิดพลาดจากการตัดสินพระทัยของพระองค์คือทรงประกาศให้วันที่ 24 มีนาคมเป็นวันหยุดให้พักการรบ 1 วันด้วยความประมาทที่คิดว่าจะเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ ปรากฏว่าการรุกของเยอรมนีหยุดชะงักไป การขาดแคลนรถถังหรือปืนใหญ่เคลื่อนที่ทำให้ฝ่ายเยอรมันไม่สามารถรวมกำลังกันรุกต่อไปได้ การตัดสินพระทัยที่ผิดพลาดอย่างมหันต์นี้เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ฝ่ายมหาอำนาจกลางพ่ายแพ้ไปในที่สุดและต้องเสียค่าปฏิกรรมสงครามแก่ประเทศที่ชนะอย่างมหาศาลเยอรมีในขณะนั้นต้องเสียทั้งเงินและเกียรติภูมิเป็นอันมาก

หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงในปี 1918 พระองค์ทรงสละราชสมบัติ และเสด็จไปประทับที่ประเทศเนเธอร์แลนด์   เยอรมนีก็ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบสาธารณรัฐ เป็นอันว่าจักรวรรดิเยอรมนีก็ต้องล้มสลายไป  พระองค์ได้สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1941 จากโรคก้อนเลือดอุดตันในปอดที่ประเทศเนเธอแลนด์ เมื่อพระชนม์ 82 พรรษา  และในทุกๆปีจะมีการแสดงความเคารพในวันครบรอบการสิ้นพระชนม์ของพระองค์เพื่อเป็นการแสดงความเคารพจักรพรรดิเยอรมนีองค์สุดท้าย ฮิตเลอร์ก็ได้ส่งพวงหรีดใหญ่โตเยี่ยงนาซีประดับดอกลิลลี ออฟ เดอะวัลเลย์ไปมอบให้ในงานปลงพระศพของพระองค์  

แม้ว่าจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 นำพาเยอรมนีพ่ายแพ้ทำให้ราชวงศ์ที่ปกครองล่มสลาย แต่ชาวเยอรมันก็ได้ให้ความเคารพในฐานะจักรพรรดิองค์สุดท้ายของเยอรมนี  การตัดสินพระทัยของจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2ได้สร้างบทเรียนที่สำคัญให้แก่โลกได้รู้คือการประมาทแม้แต่วินาทีเดียวก็สามารถนำพาซึงหายนะได้โดยเฉพาะในยามสงครามแม้เสียววินาทีก็สำคัญ  บทเรียนของจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2ก็ไม่ได้ทำให้เยอรมนีกลัวความพ่ายแพ้หรือสำนึกต่อความสูญเสียแต่อย่างใดในเวลาต่อมาเยอรมนีก็นำพาโลกเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สองที่ขยายไปทั่วภูมิภาคของโลกที่นำโดย อดอฟ ฮิตเลอร์ และสุดท้ายเยอรมนีก็พ่ายแพ้ไปอีกครั้งไม่ว่าฝ่ายไหนจะแพ้หรือชนะย่อมเกิดความสูญเสียเสมอ    อย่างไรก็ตามการตัดสินใจด้วยสงครามไม่ใช่การตัดสินใจที่ดีที่สุดแต่การตัดสินใจด้วยความสันติวิธีต่างหากล่ะคือสิ่งที่ดีที่สุด


อ้างอิง    

การรุกฤดูใบไม้ผลิ.  (ม.ป.ป).  ค้นเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2558, จาก : https://sites.google.com/site/sngkhramlokkhrangthi12/sen-thang-khxng-sngkhram/kar-ruk-vdu-bimi-phli

สมใจ  ไพโรจน์ธีระรัชต์.  (2550).  ประวัติศาสตร์เยอรมนีสมัยใหม่.  กรุงเทพ:มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Catrine Clay.  (2553).   คิง ไกเซอร์ ซาร์ สามกษัตริย์ผู้นำโลกเข้าสู่สงคราม.  กรุงเทพ:มติชน

ไกเซอร์วิลเฮล์มที่2แห่งเยอรมนี.  (2554).  ค้นเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2558, จาก : http://www.tiewrussia.com/catalog.php?idp=530

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น