ศิลาจารึกเคนซิงตัน (Kensington Rune Stone)

โดย ธมลวรรณ  จงดี

ปริศนาที่น้อยคนนักที่จะได้ยินเกี่ยวกับศิลาจารึกเคนซิงตัน  (Kensington Rune Stone)  ที่เจอในเมืองเคนซิงตัน  รัฐมินนิโซตา  สหรัฐอเมริกา  สิ่งที่น่าสงสัยคือ  เหตุใดการสลักแบบอักษรรูน  (Runic writing)  ของชาวนอร์สโบราณ  (แถบสแกนดิเนเวีย)  จึงได้ไปเจอที่สหรัฐอเมริกา  ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ห่างไกลกันมาก  จากแถบยุโรปที่มีผู้คนใช้อักษรนี้  มีข้อสันนิษฐานประการหนึ่งว่าชาวยุโรปได้เดินทางเข้ามาแผ่นดินอเมริกาก่อนโคลัมบัส ทำให้เกิดการศึกษามากมายสำหรับศิลาจารึกนี้  และเป็นการศึกษาที่ท้าทายสำหรับพวกเราที่เคยเรียนตามหนังสือประวัติศาสตร์ว่ากลุ่มของโคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกาเป็นกลุ่มแรก


ภาพ  Kensington Rune Stone
ที่มา  :  https://www.kensingtonrunestone.us/

ใครเป็นผู้ค้นพบ?

ศิลาจารึกเคนซิงตัน  (Kensington Runstone)  ถูกค้นพบเมื่อปี  ค.ศ. 1898  โดยชาวสวนชาวสวีเดน  ชื่อว่า  โอลอฟ  โอแมน  (Olof Ohman)  ขณะที่เขากำลังปรับแต่งดินเพื่อทำฟาร์ม  ที่เมืองเคนซิงตัน  รัฐมินนิโซตา  (Kensington, Minnesota)  ซึ่งบางคนสันนิษฐานว่าลูกชายของเขาที่ชื่อ  เอ็ดเวิร์ด  โอแมน  (Edward Ohman)  เป็นผู้ที่ไปพบ  บ้างก็ว่าโอลอฟทำขึ้นมาเอง  แต่ต่อมาความจริงก็ถูกเปิดเผยคือโอลอฟไม่ได้ทำขึ้นมาเอง จากการรายงานของ สกอท โวลเทอร์ (Scott Wolter) และ เชอร์รี่ เวกลาห์น (Sherry Veglahn)  จากบริษัทอเมริกัน เอนจิเนียริ่ง เทสติ้ง (American Engineering Testing, Inc.) โดยใช้กล้องจุลทรรศน์สำหรับตรวจสอบแร่ประกอบหิน แต่ก็ยังไม่มั่นใจว่าใครเป็นผู้ไปพบ  สิ่งที่แน่นอนคือ  ศิลาจารึกนี้ถูกค้นพบจากใต้ดิน 


ภาพ  Olof Ohman ผู้ค้นพบศิลาจารึกอักษรรูน?
ที่มา  :  http://kahsoc.org/ohman.htm

ลักษณะของศิลาจารึกเมื่อถูกค้นพบเป็นอย่างไร?

Kensington Rune Stone ถูกค้นพบในลักษณะที่คว่ำหน้าตรงด้านที่ถูกเขียนไว้ และถูกพันโดยรากต้นแอซป์  (aspen tree)  ที่มีอายุราวๆ  กว่า  30  ปี  ศิลาจารึกมีความสูง  30  นิ้ว  กว้าง  16  นิ้ว  หนา  6  นิ้ว  ศิลานี้ถูกจารึกโดยใช้อักษรรูน  (Runic Writing ในภาษาพื้นเมืองแถบสแกนดิเนเวียเรียกฟูทาร์ก (futhark หรือ fuþark) ซึ่งหมายถึงตัวอักษร ข้อความ หรือจารึก ในภาษาเยอรมันเก่า หมายถึง ประหลาดหรือความลับ ทำให้เชื่อว่าอักษรนี้มีความเกี่ยวข้องกับเวทมนตร์ ทฤษฎีเกี่ยวกับจุดกำเนิดของอักษรรูน ได้แก่ อักษรนี้ถูกออกแบบโดยอิสระ ไม่ขึ้นกับอักษรอื่น การเขียนเริ่มขึ้นในยุโรปใต้และถูกนำไปทางเหนือโดยเผ่าเยอรมัน เป็นแบบให้อักษรละตินและอักษรอีทรัสคันในเวลาต่อมา) 


ภาพวาดเหตุการณ์จำลองเมื่อศิลาจารึกถูกค้นพบ

การศึกษาศิลาจารึก  Kensington Rune Stone?

ศิลาจารึกนี้ถูกแปลโดย  ดร.  ริชาร์ด  นีลเซน  (Dr. Richard Neilsen)  การจารึกโดยใช้อักษรรูน  (Runic) ซึ่งเป็นของชาวนอร์สโบราณ  (แถบสแกนดิเนเวีย)  และเป็นการเขียนที่ไม่ปะติดปะต่อกัน รวมทั้งพบว่ามีการเขียนอยู่สองช่วงจึงเขียนเสร็จ  เนื้อหากล่าวถึงการเดินทางและการผจญภัยของผู้สลัก  เป็นข้อความสั้นๆ  ที่ต้องมีการหาความหมาย

ต่อมา  Faram Research Foundation  ก็ได้ถอดรหัสออกมา  รวมถึงสังเกตตำแหน่งของหินสลักจนได้รู้จุดที่เรียกว่า  Inspiration Peak  (จุดที่สูงที่สุดของ  The Leaf Mountains  หรือ  The Leaf Hills Moraines  และของ  Otter Tail County  รัฐมินนิโซตา  สหรัฐอเมริกา)  เขาได้ทำการวัดต่อมาจากข้อมูลที่ถอดรหัสได้  จนทำให้เราได้รู้อาณาเขตของอเมริกาเหนือ


ภาพแสดงถึงจุด  Inspiration  Peak  และประเทศสหรัฐอเมริกา  บน  Google  map  และตัวเลขที่ได้จากการถอดรหัส


ภาพแสดงถึงการคำนวณพื้นที่ของประเทศสหรัฐอเมริกาจากการถอดรหัสตัวเลข
โดยมีจุด  Inspiration  peak  เป็นจุดหลัก


ภาพแสดงถึงจุดของสถานที่สำคัญบนโลกจากจากการถอดรหัสตัวเลข
โดยมีจุด  Inspiration  peak  เป็นจุดหลัก 

เปรียบเทียบเวลาของการสร้างสถานที่สำคัญบนโลกและเชื่อมโยงความสัมพันธ์จากจากการถอดรหัสตัวเลขโดยมีจุด  Inspiration  peak  เป็นจุดหลักจาก  Kensington  Rune  Stone

1. สโตนเฮนจ์  (Stonehenge), UK  3100  ปีก่อนคริสต์ศักราช
2. Monte Alban Pyramid, Oaxaca Mexico  500  ปีก่อนคริสต์ศักราช
3. Pigeon Point Geoglyph, Minnesota USA  ค.ศ. 1200 
4. Manchester, Ohio Geoglyph USA  ค.ศ. 1300
5. Geoglyph near 23rd Street NW, Washington DC USA    ค.ศ. 1400
6. Point du Raz Geoglyphs, Bretagne, France    ค.ศ. 1400
7. Malabo Island Geoglyphs, Equatorial New Guinea, West Africa    ค.ศ. 1400
8. Cape of Good Hope Geoglyphs, South Tip of Africa   ค.ศ. 1400
9. Atanacio Geoglyphs, Mexico   ค.ศ. 1400
10. Newport Tower, Newport, RI USA   ค.ศ. 1473
11. Kensington  Rune  Stone  ค.ศ. 1362 - 1492

ปัจจุบัน  Kensington  Rune  Stone  ถูกนำไปไว้ในพิพิธภัณฑ์รูนสโตน  (Runestone  Museum)  ณ เมืองอเล็กซานเดรีย  รัฐมินนิโซตา  สหรัฐอเมริกา

จากการศึกษาศิลาจารึกนี้ทำให้เห็นถึงความซับซ้อนของคนโบราณที่สามารถคิดค้นปริศนาที่ยากจะเข้าใจต่อคนทั่วไปได้  อย่างไรก็ตาม  ปัจจุบันนี้เรายอมรับว่าศิลาจารึกนี้มีไว้เพื่อกำหนดอาณาเขตของประเทศสหรัฐอเมริกา  รวมถึงมีความสัมพันธ์กับสถานที่สำคัญบนโลกอย่างน่าเหลือเชื่ออีกด้วย


อ้างอิง  

 Faram, A. (2017). The Kensington Runestone "An Ancient Mystery Solved". The Faram Foundation Website. Retrieved  September  18,2018, from : http://www.thekensingtonrunestone.com/

Kensington Rune stone. KRS.us Website. Retrieved  September  18,2018, from : https://www.kensingtonrunestone.us/

McCulloch, J. Huston. (2002). The Kensington Runestone. College of Arts and Sciences, The Ohio State University Website.  Retrieved  September  18,2018, from : http://www.econ.ohio-state.edu/jhm/arch/kens/kens.htm

Runes. Wikipedia, the free encyclopedia Website. Retrieved  September  18,2018, from : https://en.wikipedia.org/wiki/Runes

Runestone. Runestone  Museum Website. Retrieved  September  18,2018, from : https://www.runestonemuseum.org/runestone

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น