อิทธิพลของ แท่นพิมพ์ กูเตนเบิร์ก กับผลกระทบในปัจจุบัน

โดย ชนิตา  กันยามัย

ในโลกแห่งยุคโลกาภิวัตน์ ความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีในปัจจุบันมีการพัฒนาและเติบโตไปอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมนุษย์มีการเรียนรู้ พัฒนาและคิดค้นอยู่ตลอดเวลา จะเห็นได้จากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีในปัจจุบันที่ส่งผลให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีความสะดวกสบายมากขึ้น มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างง่ายดาย หรือที่เรียกกันว่า โลกไร้พรมแดน มีการพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ให้มีความทันสมัยและตอบโจทย์ความสะดวกสบายให้กับมนุษย์มากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกันกับเทคโนโลยีด้านการพิมพ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราใช้ประจำกันอยู่ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นในการศึกษา  การโฆษณา การตีพิมพ์หนังสือ ข่าว นิตยสาร หรือการติดต่อสื่อสารต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่ต้องพึ่งพาการพิมพ์กันทั้งสิ้น และกว่าที่เราจะมีแป้นพิมพ์ที่ใช้การได้อย่างสะดวกสบายเฉกเช่นทุกวันนี้ได้ ต้องมีการคิดค้นบุกเบิกและพัฒนามาเรื่อย ๆ กล่าวได้ว่าเพราะเทคโนโลยีด้านการพิมพ์หนังสือ จึงทำให้ทุกวันนี้ สามารถรับรู้และสืบทอด ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ ได้อย่างเอนกอนันต์ เพราะหากไม่มีเทคโนโลยีด้านการพิมพ์นี้แล้ว การคัดลอกความรู้ต่าง ๆด้วยมือมนุษย์เองนั้น ก็ยากที่จะทำให้ความรู้วิทยาการแขนงต่าง ๆ แพร่หลายอย่างกว้างไกลเฉกเช่นปัจจุบันนี้


ที่มา :  https://www.biographyonline.net/

โดยเทคโนโลยีการพิมพ์ที่ว่านั้น ต้องยกเครดิตให้กับนักประดิษฐ์ชาวเยอรมันผู้หนึ่ง นั่นคือ โยฮันเนิส กูเตนเบิร์ก (Johannes Gutenderg) ถึงแม้ว่าก่อนหน้านั้นราว 400 ปี จีนแผ่นดินใหญ่สามารถ ประดิษฐ์การพิมพ์ได้แล้ว แต่ทว่าก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย เพราะมุ่งรับใช้ราชสำนักเป็นสำคัญ ไม่เหมือนกับ กูเตนเบิร์ก ที่ทำให้การพิมพ์หนังสือแพร่หลายไปทั่วทุกหัวระแหง โดยนักประดิษฐ์ "แท่นพิมพ์แบบเคลื่อนที่" ผู้นี้ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 1941 ที่เมืองเมนซ์ ดินแดนเยอรมนี ได้ประดิษฐ์คิดค้นแท่นพิมพ์ดังกล่าวขึ้นมา เริ่มจากปี พ.ศ. 1982 ก่อนที่จะพัฒนามาโดยลำดับ และได้พิมพ์เอกสารต่าง ๆ มากมาย จนถือว่าได้เป็นงานหลักใน ชีวิตของเขา แต่ที่นับว่ายิ่งใหญ่ และรู้จักแพร่หลายกันอย่างที่สุด ก็คือ การพิมพ์ คัมภีร์ไบเบิล ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "กูเตนเบิร์ก ไบเบิล"  กูเตนเบิร์ก จึงได้ชื่อว่า เป็นบิดาแห่งการพิมพ์เนื่องมาจากเขาเกิดในดินแดนยุโรปที่มีตัวอักษรแค่ 26ตัว และปัญญาชนของโลกใช้วิทยาการนี้เผยแพร่ความคิด เขาจึงได้ชื่อว่าผู้ผลิตเครื่องพิมพ์ เพราะวิทยาการของเขาส่งผลต่อวิทยาการแขนงต่าง ๆของโลกสืบต่อมา

เมื่อมีการประดิษฐ์แป้นพิมพ์ที่ทำให้มนุษย์เราสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น แน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อสังคม และการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้าน สังคม เศษฐกิจ การศึกษา รวมไปถึงศาสนา ล้วนแล้วแต่ได้รับผลกระทบจากการประดิษฐ์แป้นพิมพ์กูเตนเบิร์ก ช่วงที่ กูเตนเบริ์ก คิดค้นแท่นพิมพ์นั้นเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างในยุโรป ไม่ว่าจะเป็นช่วงเดียวกับยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) หรือบทบาทของ มาร์ติน ลูเธอร์ ผู้นำศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ ที่แปลคัมภีร์ไบเบิ้ลจากภาษาละตินเป็นภาษาเยอรมัน จากนั้นก็อาศัยวิวัฒนาการของการพิมพ์ที่ทำให้คัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาเยอรมันแพร่หลายไปทั่ว และเริ่มโน้มน้าวให้คริสตชนเริ่มมาสนใจกับสิ่งที่เขียนในพระคัมภีร์ แทนที่จะไปเชื่อในสิ่งที่บาทหลวงบอก นอกจากนี้แล้วแป้นพิมพิ์กูเตนเบิร์ก ยังส่งผลกระทบมาถึงปัจจุบันในหลายๆด้านมีทั้งเป็นข้อดีและข้อเสีย  ดังตัวอย่างผลกระทบดังต่อไปนี้

1) การลดต้นทุนการทำหนังสือ เพราะการคัดลอกด้วยมือทำให้การทำหนังสือต้องใช้ต้นทุนสูงและได้หนังสือในจำนวนจำกัด แต่เครื่องพิมพ์ของกูเตนเบิร์กทำให้สามารถทำหนังสือได้จำนวนมากและมีต้นทุนต่ำลงแถมยังประหยัดเวลาอีกด้วย 

 2) กระจายความรู้และการแพร่หลายอย่างรวดเร็ว เพราะผู้คนสามารถซื้อหนังสือมาอ่านได้ง่ายกว่าเดิม และเกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย โดยนักศึกษาสามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากตำราในห้องสมุด

3)  ในสังคมปัจจุบันการพิมพ์ทำให้คนพูดกันน้อยลง และก่อให้เกิดการสื่อสารที่ผิดๆถูกๆ ทำให้คนเข้าใจกันผิดมากขึ้นเพราะการพิมพ์ไม่ได้ยินน้ำเสียงของคนพูด อาจทำให้สื่อความหมายกันในทางที่ผิดได้  และ ในตอนนี้การพิมพ์เป็นเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมากขึ้น หากเราไม่รู้จักใช้มันให้ถูกวิธีก็อาจเป็นโทษแก่ตัวเราเองได้

4)  การพิมพ์ทำให้มี หนังสือพิมพ์ สารที่เป็นกระดาษหรือป้ายโฆษณาเช่น ใบปลิว หรือว่า สิ่งของต่าง ๆที่เกี่ยวข้องในการพิมพ์ที่ไม่ใช้แล้วทำให้เกิดมลพิษขึ้นมาและเป็นสารเคมีที่อันตรายทำลายธรรมชาติเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว

5) การพิมพ์ในด้านการสื่อสารกัน  ในปัจจุบันก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ มนุษย์มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างสะดวกสะบายประหยัดเวลา และเปิดโลกกว้างให้คนที่อยู่ต่างที่ต่างถิ่นได้พูดคุยกันอย่างใกล้ชิด ทำให้เราอยู่ใกล้กันยิ่งขึ้น หรือที่เรียกกันว่า โลกไร้พรมแดนนั่นเอง

6) ส่งผลให้ในปัจจุบันมีหนังสือมากมายหลากหลายรูปแบบให้คนในปัจจุบันได้ซื้อหาหนังสือต่าง ๆ มาอ่านและหาความรู้กันต่อไป ทั้งหมดนี้เกิดจากการคิดค้นแท่นพิมพ์ของ  โยฮันเนส กูเตนเบิร์ก (Johannes Gutenberg)  ทั้งนั้นเพราะถ้าหาก โยฮันเนส กูเตนเบิร์ก (Johannes Gutenberg) ไม่คิดค้นเครื่องพิมพ์ตัวหนังสือขึ้นมาอาจจะทำให้ปัจจุบันการพิมพ์เป็นสิ่งที่ยากก็เป็นได้

จะเห็นว่าโลกเรามีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา เทคโนโลยีการพิมพ์ก็เช่นกัน เพราะปัจจุบันนี้มีการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คือสิ่งพิมพ์ที่สร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ บรรจุเนื้อหาที่เป็นตัวอักษร หรืออาจมีภาพ เสียง กราฟฟิก วีดิทัศน์ ภาพเคลื่อนไหวต่อเนื่อง และสื่อประสมอื่น ๆ หรือเชื่อมโยงไปยังหนังสือเล่มอื่นหรือแหล่งข้อมูลภายนอกได้ โดยเป็นข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัลที่สามารถอ่านและดูบนเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่น ๆ ทั้งในระบบออนไลน์ ออฟไลน์ ซึ่งก็จะสะดวกสบายและมีประสิทธิภาพในการหาข้อมูลและการอ่านได้มากกว่าหนังสืออีกด้วย จึงถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนามาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน และยังคงมีอิทธิพลต่อผู้คนในสังคมปัจจุบันเป็นอย่างมาก

กว่าที่เราจะมีแป้นพิมพ์ที่ใช้กันอย่างสะดวกสบายเฉกเช่นทุกวันนี้ได้นั้น ต้องมีการพัฒนาสืบต่อกันมาเป็นทอดๆผ่านกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ที่ไม่มีวันสิ้นสุด การประดิษฐ์แป้นพิมพ์กูเตนเบิร์กนั้นสร้างมาเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ เพื่อให้มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแป้นพิมพ์หรือสิ่งประดิษฐ์ต่างๆล้วนแล้วแต่มีทั้งผลกระทบในด้านบวกและด้านลบ หากเราใช้ให้พอดีและเกิดประโยชน์ก็จะเป็นผลดีหากเราใช้มากจนเกิดไปในทางที่ผิดก็จะทำให้เกิดผลเสียต่อตัวเราเองดังตัวอย่างที่เราได้กล่าวแล้วไปข้างต้น อาจกล่าวได้ว่าสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ก็เหมือนกับมีดสองคมมีทั้งคุณและโทษ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะใช้ในทางใด  เพราะทุกอย่างล้วนมีทั้งข้อดีและข้อเสียเสมอ


อ้างอิง

Savanan kuntakiaw. สืบค้นเมื่อ วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556, จาก: http://suvanan561744032.blogspot.com

พงศ์วินัย ทองคำ.  สืบค้นเมื่อ วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556, จาก: http://xtreme8295.blogspot.com/2013/07/gutenberg_22.html

นายนิธิกร สิทธิขันแก้ว. สืบค้นเมื่อ วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556, จาก: http://kerokob.blogspot.com/2013/07/johannes-gutenberg-1450-friele.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น