ภาพจิตรกรรมบนผนังและเพดานที่ วิหารซิสติน (The Sistine Chapel)

โดย พิณยดา  ทองรักษ์

โบสถ์น้อยซิสทีน เป็นโบสถ์น้อยภายในพระราชวังพระสันตะปาปา ซึ่งเป็นที่ประทับอย่างเป็นทางการของพระสันตะปาปาในนครรัฐวาติกัน โบสถ์น้อยซิสทีนมึชื่อเสียงในทางสถาปัตยกรรมเพราะเป็นสถานที่ที่ทำให้ระลึกถึงพระวิหารของพระเจ้าโซโลมอนในพันธสัญญาเดิม, การตกแต่ง, จิตรกรรมฝาผนังโดยจิตรกรผู้มีชื่อเสียงในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยารวมทั้งมีเกลันเจโลผู้วาดเพดานของโบสถ์จนที่เป็นที่เลื่องลือ และสุดท้ายคือความสำคัญในการเป็นสถานที่ทำการประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปาองค์ใหม่

จุดประสงค์และประวัติศาสตร์

โบสถ์น้อยซิสทีนเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นสถานที่สำหรับการประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปาองค์ใหม่ ในสมัยสมเด็จพระสันตะปาปาซิกส์ตุสที่ 4ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีด้วยกันทั้งหมด 200 คนรวมทั้งนักบวช, เจ้าหน้าที่ของวาติกัน, และผู้นำฆราวาส

ปฏิทินพระสันตะปาปากำหนดไว้ว่าจะต้องมีการทำพิธีทางศาสนา 50 หนต่อปี ในจำนวน 50 หน 35 หนจะเป็นการทำพิธีมิสซา และใน 35 หนนั้น 8 จะทำภายในมหาวิหารนักบุญเปโตรโดยมีผู้ร่วมพิธีเป็นอันมาก ซึ่งรวมทั้งคริสต์มาส และอีสเตอร์มิสซา ในสองโอกาสนี้ผู้เป็นประธานในพิธีจะเป็นองค์พระสันตะปาปาเอง มิสซาอีก 27 ครั้งจะจัดในบริเวณที่เล็กกว่าคือในชาเปลซิสตินซึ่งสร้างบนชาเปลเก่าที่เรียกว่า “กัปเปลลามัจโจเร” ซึ่งใช้ทำพิธีเช่นเดียวกัน

“กัปเปลลามัจโจเร” หรือ โบสถ์น้อยหลัก ได้ชื่อเช่นนั้นเพราะมีโบสถ์น้อยอีกแห่งหนึ่งที่ใช้โดยพระสันตะปาปาสำหรับทำพิธีประจำวัน ในสมัยพระสันตะปาปาซิกส์ตุสที่ 4 เป็นโบสถ์ที่สมเด็จพระสันตะปาปานิโคลัสที่ 5ซึ่งตกแต่งโดยฟราอันเจลีโก “กัปเปลลามัจโจเร” ตามหลักฐานมีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1368 จากการติดต่อระหว่างพระสันตะปาปาซิกส์ตุสที่ 4 กับ อันเดรียส์แห่งเทรบิซอนด์เมื่อ “กัปเปลลามัจโจเร” ก็อยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรมมากก่อนที่จะถูกรื้อทิ้งเพื่อสร้างชาเปลปัจจุบัน

โบสถ์น้อยหลังปัจจุบันออกแบบโดยบาชิโอ พอนเทลลิสำหรับพระสันตะปาปาซิกส์ตุสที่ 4 ซึ่งโบสถ์ได้ตั้งชื่อตาม การก่อสร้างคุมโดย โจวันนี เด ดอลชี ระหว่างปี ค.ศ. 1473 ถึงปี ค.ศ. 1484 ขนาดของชาเปลปัจจุบันเป็นขนาดพอๆ กับชาเปลเดิม หลังจากสร้างเสร็จภายในก็ตกแต่งด้วยจิตรกรรมฝาผนังโดยจิตรกรคนสำคัญๆ ที่สุดของคริสต์ศตวรรษที่ 15 รวมทั้งซันโดร บอตตีเชลลี, กีร์ลันดาโย (Ghirlandaio) และ เปรูจีโน (Perugino)

พิธีมิสซาครั้งแรกภายในชาเปลซิสตินฉลองกันเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1483 ซึ่งเป็นวันสมโภชแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ และเป็นวันสถาปนาของโบสถ์ซึ่งอุทิศให้พระนางมารีย์พรหมจารี โบสถ์นี้ยังเป็นสถานที่ทำพิธีของพระสันตะปาปาอยู่จนทุกวันนี้ ภายในโบสถ์มีที่สำหรับร้องเพลงสวดซึ่งเป็นที่ ๆ เพลงสวดหลายเพลงเขียนขึ้นที่นี่รวมทั้ง “Miserere (Allegri)” ซึ่งเป็นเพลงสำหรับร้องสดุดีในโอกาสวันพฤหัสบดีศักดิ์สิทธิ์ (Maundy Thursday)

โบสถ์น้อยซิสทีนนั้นสมเด็จพระสันตะปาปาซิกส์ตุสที่ 4 ทรงให้สร้างขึ้นภายในวังพระสันตะปาปา ณ ด้านเหนือของนครรัฐวาติกัน ติดกับมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ โดยสร้างเสร็จใน ค.ศ. 1481 ผนังและเพดานภายในโบสถ์น้อยนั้นตกแต่งด้วยจิตรกรรมฝาผนังของจิตรกรหลายคนในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลี ซึ่งถือเป็นจิตรกรชั้นปรมาจารย์ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในจำนวนนี้รวมถึงโดเมนนิโค เกอร์ลันเดา, เปียโตร เปรูจิโน และซานโดร บอตติเชลลี ในระหว่าง ค.ศ. 1508 ถึง ค.ศ. 1512 โบสถ์ยังได้รับการตกแต่งเพิ่มเติมด้วยจิตรกรรมเพดานของมีเกลันเจโล ภายใต้การอุปถัมภ์ของสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 และด้วยภาพ "การตัดสินครั้งสุดท้าย" ซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 ทรงว่าจ้างให้มีเกลันเจโลเขียนจนแล้วเสร็จใน ค.ศ. 1541 นอกจากนี้ จิตรกรรมฝาผนังชั้นล่างของโบสถ์ยังตกแต่งด้วยพรมทอแขวนผนังอันเลื่องชื่อ ซึ่งราฟาเอลออกแบบขึ้นในช่วง ค.ศ. 1515 ถึง ค.ศ. 1516 เป็นอันสิ้นสุดการตกแต่งภายในโบสถ์

ในช่วงระหว่างปี ค.ศ.1508 ถึง 1512 ไมเคิล แองเจิลโล เขาได้รับมอบหมายให้ทำการ เขียนภาพบนหลังคาโค้งของวิหารซิสทายในโรมซึ่งประกอบด้วยภาพเขียนขนาดใหญ่ นับร้อยๆ ภาพ และแต่ละภาพที่ถูกเขียนขึ้นนั้นได้สร้างความตกตะลึงให้กับสายตา ของชาวโลกมาแล้ว ไมเคิล แองเจิลโล ต้องทำงานอยู่บนนั่งร้านที่สูงถึง 60 ฟุต หรือ 18 เมตรจากพื้น และครอบคลุมพื้นที่อีก 10,000 ตารางฟุต หรือ 930 ตารางเมตร ตลอดเวลาเขาต้องเขียนรูปในท่านอนให้หลังแนบติดกับนั่งร้านจนเป็นตะคริวทุกๆ วัน ปูนเปียกจะถูกทาบนหลังคา และไมเคิลก็จำเป็นที่จะต้องเขียนภาพในแต่ละส่วนให้ เสร็จก่อนที่ปูนจะแห้ง และไม่สามารถที่จะแก้ไขถ้ารูปเกิดผิดพลาดได้เลย

ในที่สุดไมเคิล แองเจิลโล เขาก็สามารถเขียนภาพเสร็จสมบูรณ์ทั้งหมดด้วยตัวของเขาเอง โครงสร้างของเพดานโบสถ์น้อยซิสตีนประกอบด้วยคันทวยโค้งลงมาสิบสองช่วงสำหรับรองรับเพดานโค้ง แต่ละช่องก็เหมาะเจาะกับการเขียนภาพอัครทูต ภาพเขียน ทั้งหมดสามารถแบ่งได้เป็น 9 ตอนด้วยกัน โดยเริ่มด้วยภาพการสร้างสิ่งต่างๆ ใน พระคัมภีร์บทปฐมกาล จนไปถึงตอนที่น้ำท่วมโลก ภาพเขียนอีกส่วนหนึ่งแสดงถึง บรรพบุรุษของพระคริสต์ โดยเขียนตามประวัติจากพระคัมภีร์ไบเบิ้ลภาพเขียนทั้งหมด นั้นต่างมีขนาดใหญ่และแสดงรายละเอียดต่างๆ ได้อย่างงดงาม จนน่าอรรศจรรย์ เป็นเวลากว่า 20 ปีหลังจากเขียนภาพ บนหลังคาวิหารซิสทายเสร็จแล้ว ไมเคิลแองเจิลโล ได้เขียนภาพ "การพิพากษาครั้งสุดท้าย " เป็นภาพที่มีขนาดใหญ่มากและครอบคลุม พื้นที่กำแพงทั้งหมดที่อยู่หลังแท่นบูชาในโบสถ์ ด้วยขนาดและฝีมือในการเขียนที่เป็นเลิศ รวมทั้งความหมายของภาพทำให้ภาพเขียนนี้เป็นงานเขียนบนฝาผนังอันทรงคุณค่าอย่างสูง

ภาพเขียนในโบสถ์น้อยซิสทีนถือกันว่าเป็นภาพเขียนชุดที่สำคัญที่สุดของจิตรกรรมจากยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ที่รวมทั้งภาพเขียนแต่ละภาพและบางภาพที่เขียนโดยมีเกลันเจโลบนเพดานที่ถือกันว่าเป็นงานชิ้นเอกของศิลปะตะวันตกตั้งแต่สร้างกันมา จิตรกรรมฝาผนังภายในโบสถ์น้อยซิสทีนโดยเฉพาะบนเพดานและในโค้งพระจันทร์ครึ่งซีก (Lunette) โดยมีเกลันเจโลได้รับการบูรณะหลายครั้งมาก่อนหน้าที่จะได้รับการบูรณะครั้งล่าสุดระหว่าง ค.ศ. 1980 ถึง ค.ศ. 1994 การปฏิสังขรณ์ครั้งหลังสุดมีผลกระทบกระเทือนต่อนักประวัติศาสตร์ศิลปะและผู้รักงานศิลปะโดยทั่วไปอย่างลึกซึ้ง เพราะเป็นการบูรณะที่ทำให้เห็นสีและรายละเอียดที่ไม่ได้เห็นกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี และถึงกับกล่าวกันว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นผลทำให้ตำราที่เกี่ยวกับมีเกลันเจโลทุกตำราต้องได้รับการเขียนใหม่หมด

กระนั้นการบูรณะครั้งล่าสุดนี้ก็ยังมีนักประวัติศาสตร์ศิลป์บางคนที่ไม่เห็นด้วยกับการปฏิสังขรณ์ครั้งนี้ เช่นเจมส์ เบ็ค แห่ง องค์การผู้สังเกตการณ์ศิลปะนานาชาติ ผู้วิจารณ์ต่อต้านโครงการนี้อย่างรุนแรงโดยให้ความเห็นว่าผู้ปฏิสังขรณ์ไม่เข้าใจถึงวัตถุประสงค์อันแท้จริงของจิตรกร ซึ่งเป็นประเด็นที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ต่อมา


อ้างอิง

ภาพจิตรกรรมบนผนังและเพดานที่ วิหารซิสติน (The Sistine Chapel). (2556) สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม พ.ศ.2557 ,จาก http://artsofmichaelangelo.blogspot.com/2013_08_01_archive.html

โบสถ์น้อยซิสทีน – วิกิพีเดีย. จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม พ.ศ.2557 ,จาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B9%8C%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%99

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น