วิทยาการการพิมพ์ ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

โดย วิภารัตน์ มนัสสา

ถ้าจะกล่าวถึงการพิมพ์ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากของมนุษย์ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันถือได้ว่าเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้สิ่งต่างได้มากขึ้น รู้หนังสือมากขึ้น การพิมพ์ได้มีมาตั้งแต่ในสมัยอารยธรรมโบราณ ได้รู้จักการใช้ของแข็งกดลงบนดินทำให้เกิดลวดลายตัวอักษร เรียกว่าอักษรลิ่ม ต่อมาได้มีการพัฒนามาเรื่อย และมีชาวจีนได้คิดวิธีทำกระดาษขึ้นมาได้ และได้กลายเป็นวัสดุสำคัญเท่ากับการเขียนและพิมพ์

ในสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการมีประดิษฐกรรมใหม่เกิดขึ้นมากเช่น เครื่องพิมพ์ การขนส่งที่รวดเร็วช่วยให้ความรู้ด้านวิชาการแผ่นใหม่แผ่ออกไปอย่างรวดเร็วกว้างขวาง ความเจริญของการพิมพ์ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความแตกต่างวัฒนธรรมระหว่างชาติได้ดีขึ้น การพิมพ์ทำให้คนเราสามารถดึงดูดข้อมูลและภาพที่อยู่ในความคิดและมโนภาพออกมาให้เห็นไม่ว่าจะเป็นตัวหนังสือ ภาพที่ต้องการสื่อออกมา การพิมพ์ทำให้เกิดความคิดที่สร้าสรรค์หรือ ประโยชน์ของการพิมพ์นั้นนำไปสู่การปฏิรูปศาสนา Reformation และเริ่มต้นสมัยใหม่ไม่เป็นสมัยแห่งเหตุผล

สมัยแห่งการรู้แจ้ง Enlightenment ได้มีการสำรวจดินแดนต่างๆ การปฏิวัติการเกษตรและการปฏิวัติอุสาหกรรม และนำไปสู่การขยายอิทธิพลของกลุ่มประเทศมหาอำนาจยุโรปในสมัยจักรวรรดิ ผลกระทบต่อสังคมในปัจจุบัน การขึ้นของการพิมพ์นั้นทำให้เกิดการผลิตที่เป็นแบบเดียวกัน และเป็นการผลิตแบบซ้ำๆและเป็นจำนวนมาก ผลกระทบของการพิมพ์ได้เข้าไปสู้จิตใจและสังคมของมนุษย์เราทีละน้อยๆแม้ว่าในช่วงแรก มีการต่อต้านโดยเฉพาะกลุ่มทำงานศิลปะยุคกลาง โดยสรุปแล้ว ผลผลิตจากGutenberg Era นั้นค่อนข้างจะขัดแย้งกับสังคมก่อนหน้านั้นที่เติมไปด้วยการสื่อสารทางวาจา

การพิมพ์นั้นก่อให้เกิดผลกระทบมากมายในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ การเมือง สังคม กล่าวคือ การพิมพ์ทำให้ผู้อ่านหนังสือได้รับความรู้ในสาขาต่างๆมากมายและทำให้ชนรุ่นหลังสามารถที่จะสร้างฐานความรู้ต่อยอดจากความรู้ความสำเร็จเก่าๆได้ซึ่งแตกต่างจากสมัยก่อนที่ความรู้เก่าๆจะเปลี่ยนแปลงไปได้จากการถ่ายทอดแบบปากต่อปากเช่นการแพร่กระจายของคริสต์ศาสนาผ่านการพิมพ์ไบเบิลนับล้าน ๆ เล่มสู่ประชาชนในแทบทุกมุมโลกนำไปสู่การเกิดขึ้นของความคิดในเรื่องคุณธรรม การทำงานหนัก การประหยัด อดออม ความรัก ความเมตตา ฯลฯ ตามหลักศาสนา คงไม่ผิดถ้าจะกล่าวว่า Gutenberg มีอิทธิพลอย่างมากต่อการแพร่กระจายของคริสตศาสนา การพิมพ์เป็นสิ่งที่ทำให้ศิลปะในยุคเรอเนสซองซ์คงทนอยู่ต่อไปได้และทำให้เข้าถึงได้กับทุกๆคนซึ่งการจำกัดการถ่ายทอดความรู้และความคิดอย่างในยุคกลางจะไม่เกิดขึ้นอีกและไม่มีสิ่งใดที่จะสูญหายอีกต่อไป และส่งผลกระทบสังคมปัจจุบัน จากการค้นพบสิ่งประดิษฐ์ของ กูเตนเบิร์ก ที่ส่งผลให้มีวิวัฒนาการของการพิมพ์จากอดีตมาถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้การเกิดขึ้นของการพัฒนาการพิมพ์นั้น ทำให้เกิดการผลิตที่เป็นแบบเดียวกัน และเป็นการผลิตแบบซ้ำๆ และเป็นจำนวนมาก การผลิตซ้ำๆ นั้น ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่คนเราเริ่มกลายเป็นผู้รับอย่างเดียว ในเชิงของวัตถุนิยม หรือกลายเป็นทาสของสังคมวัตถุนิยมนั่นเอง แท่นพิมพ์ Gutenberg  ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของการเกิดหนังสือเลยก็ว่าได้ เพราะ โยฮันเนส กูเตนเบิร์ก (Johannes Gutenberg) ได้เริ่มการคิดค้นแท่นพิมพ์ขึ้นเพื่อจัดทำตัวอักษรและจะจัดทำเป็นหนังสือต่อไป และ โยฮันเนส กูเตนเบิร์ก (Johannes Gutenberg) ก็ได้จัดทำคัมภีร์เล่มแรกของโลกขึ้นจากการใช้แท่นพิมพ์นี้ จึงทำให้ยุคปัจจุบันมีหนังสือมากมายเกิดขึ้นไว้เพื่อศึกษาต่อไป

แท่นพิมพ์ Gutenberg   ก็ได้มีการพัฒนาแท่นพิมพ์รุ่นใหม่ ๆ ขึ้น ในปัจจุบัน และ ส่งผลให้ในปัจจุบันมีหนังสือมากมายหลากหลายรูปแบบให้คนในปัจจุบันได้ซื้อหาหนังสือต่าง ๆ มาอ่านและหาความรู้กันต่อไป ทั้งหมดนี้เกิดจากการคิดค้นแท่นพิมพ์ของ  โยฮันเนส กูเตนเบิร์ก (Johannes Gutenberg)  ทั้งนั้นเพราะถ้าหาก โยฮันเนส กูเตนเบิร์ก (Johannes Gutenberg) ไม่คิดค้นเครื่องพิมพ์ตัวหนังสือขึ้นมาอาจจะทำให้ปัจจุบันการพิมพ์เป็นสิ่งที่ยากก็เป็นได้


อ้างอิง

วรากรณ์ สามโกเศศ.(2556) Gutenberg เปลี่ยนแปลงโลกยิ่งกว่าอินเตอร์เน็ต. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2557, จาก http://mediamonitor.in.th/gutenberg

โฟโต้เฟส คริส. (2556) แท่นพิมพ์ Gutenberg กับผลกระทบต่อสังคมในปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อ เมื่อ 6 มีนาคม 2557,จาก http://photofacekid.blogspot.com/2013/07/gutenberg.html

พูลศิริ กาบุญก้ำ. (2556) ผลกระทบต่อสังคมปัจจุบันของแท่นพิมพ์ Gutenberg. สืบค้นเมื่อ เมื่อ 6 มีนาคม 2557, จาก http://aipzyy.blogspot.com/2013/07/




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น