ตำนานมังกร เรื่องจริงหรือเรื่องเล่า

โดย ชิดหทัย เหล่าทองสาร

มังกร (dragon) เป็นสัตว์วิเศษที่รู้จักกันในวรรณคดีของจีนและตะวันตก แม้จะใช้คำว่ามังกร เหมือนกัน แต่มังกรของจีนและตะวันตกนั้นสื่อถึงสัตว์ต่างชนิดกัน มังกรของจีนมีรูปร่างลักษณะจัดอยู่ในประเภทสัตว์เลื้อยคลานหรืองู ไม่มีปีก แต่สามารถบินไปในอากาศได้ ส่วนมังกรของตะวันตกจะมีขา มีปีกและสามารถพ่นไฟได้

ในตำนานยุโรป มังกรเป็นสัตว์อันตรายและน่าสะพรึงกลัวสำหรับมนุษย์ มังกรจึงเป็นศัตรูตัวฉกาจของเหล่าวีรบุรุษทั้งหลาย การฆ่ามังกรและขึ้นเถลิงราชย์เป็นกษัตริย์. มังกรจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของกษัตริย์ ทั้งที่มีตัวตนจริง ๆ และในตำนานต่าง ๆ เช่น กษัตริย์อาเธอร์ ซึ่งมีนามสกุลว่า Pendragon มีความหมายว่า 'ศีรษะของมังกร' หรือ 'หัวหน้ามังกร' และมงกุฎของกษัตริย์อาเธอร์ ก็เป็นรูปมังกร ส่วนในตำนานจีน มังกรเป็นสัตว์มงคลและมีสถานะเป็นเทพเจ้า เสื้อคลุมมังกร 5 เล็บเป็นเครื่องทรงของที่กษัตริย์สามารถใช้ได้เท่านั้น ส่วนเครื่องทรงที่มีรูปมังกร 4 เล็บจะเป็นชุดสำหรับขุนนาง และ 3 เล็บสำหรับประชาชนทั่วไป



เราพบมังกรได้ง่ายและบ่อยมาก ไม่ว่าจะเป็นในตำนานของทางยุโรปหรือเอเชียก็ตาม เรียกว่าที่ใดมีอารยธรรมและตำนาน ที่นั่นก็ต้องมีมังกรเป็นของคู่กัน. มังกรนั้นมีรูปร่างและลักษณะหลายอย่าง แตกต่างไปตามความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น แต่โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะมีจุดเด่นคือ เป็นสัตว์ขนาดใหญ่ ร่างกายใหญ่โต มีพละกำลังมาก บางครั้งอาจพ่นไฟได้ หรือมีอำนาจเวทมนตร์มหาศาล และที่สำคัญคือ บินได้ (อาจจะมีปีกหรือไม่มีก็ได้) โดยขนาดรูปร่างและสีนั้น ก็แตกต่างกันไป

อย่างไรก็ตาม มังกรที่พบในตำนานของทางยุโรปและของทางเอเชียนั้น ค่อนข้างจะแตกต่างกันในแง่สัญลักษณ์ โดยเฉพาะคติของจีนที่มักจะถือว่า มังกรนั้นคือเทพเจ้า และเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นมงคล รวมถึงเป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิ (ซึ่งเป็นสมมติเทพ) แต่ทางยุโรปนั้นมักจะถือมังกรเป็นสัญลักษณ์ของความชั่วร้าย (อันเป็นคติที่สืบทอดมาจากความหวาดกลัวงูของชาวยุโรป)

ซึ่ง มังกรยุโรป (European dragon) เป็นมังกรในความเชื่อของยุโรปสมัยกลาง แต่มีความแตกต่างจากมังกรจีนหรือมังกรทิเบตมาก ซึ่งเป็นสัตว์กึ่งเทพเจ้ามีอิทธิฤทธิ์ดลบันดาลให้เกิดฝน เกิดความอุดมสมบูรณ์ได้ แต่มังกรของยุโรปเป็นสัตว์ที่เสมือนตัวแทนของความชั่วร้ายหรือปีศาจ เป็นสัตว์ที่มุ่งร้ายต่อมนุษย์ โดยมากมีลักษณะเป็นสัตว์สี่ขา มีปีกกว้างใหญ่คล้ายค้างคาว หางยาวปลายหางเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายหัวหอก สามารถพ่นไฟได้

มังกรในตำนานพื้นบ้านของยุโรป มักเป็นสัตว์ที่เฝ้าสมบัติและหวงทรัพย์สินเหล่านั้น โดยมากมักจับเอาเจ้าหญิงแสนสวยไปขังไว้บนยอดปราสาท และเป็นอัศวินซึ่งเสมือนวีรบุรุษเข้ามาช่วยเจ้าหญิงและฆ่ามังการนั้นตาย

ตำนานมังกรของยุโรป ที่เป็นที่รู้จัก เช่น ซิคฟรีด (Siegfried) ในตำนานแร็กนาร็อกของยุโรปเหนือ ที่สังหารมังกรแล้วเลือดมังการอาบตัวทำให้เกิดความอมตะ ไม่มีวันตาย เป็นต้น

กระนั้นมังกรของยุโรป ก็มักใช้เป็นตราสัญลักษณ์ของตระกูลขุนนาง อัศวิน หรือประดับบนธงของบางประเทศ เวลส์ เป็นต้น เพราะถือเป็นการแสดงถึงพลังอำนาจ

และเมื่อพูดถึงมังกร ผู้คนส่วนใหญ่คิดว่ามันเป็นสัตว์ในเทพนิยาย เป็นเรื่องเล่าปรัมปรา แต่บางคนก็สงสัยต่อไปอีกว่า มันมีจริงหรือเปล่า? อาจจะเป็นไดโนเสาร์พันธุ์ใดพันธุ์หนึ่งได้ไหม? ทุกวันนี้มันมีหลงเหลืออยู่บ้างสักตัวหรือไม่? มีใครขุดเจอฟอสซิลยืนยันการมีตัวตนอยู่จริงของสัตว์สายพันธุ์นี้บ้างหรือเปล่า ?

เราพบเรื่องเล่ามังกรจากตำนานจากทั่วโลก มีเรื่องเกี่ยวกับมังกรมากมาย จากหลากหลายวัฒนธรรมทั่วทุกมุมโลก ตั้งแต่ยุคที่ยังไม่มีการติดต่อถึงกัน แต่กลับมีรูปแบบคล้ายคลึงกัน พวกเขาเอามังกรมาจากไหน ถ้าพวกเขาไม่ได้เห็นมันจริงๆ ตั้งแต่เรื่องเล่านิทานปรำปราของชาวบ้านที่บันทึกอย่างเป็นทางการ

ทั้งภาพวาดบนฝาผนัง ภาพแกะสลักนูนต่ำ ภาพจากกระจกสี รูปปั้น รูปแกะสลัก แม้กระทั่งบันทึกข้อความ ที่บรรยายลักษณะของสัตว์ชนิดนี้ไว้อย่างละเอียด โดยทั่วไปฝรั่ง ให้ความหมายมังกรว่า เป็นสัตว์ในตำนาน เป็นสิ่งมีชีวิต ที่มีลักษณะคล้ายงู หรือสัตว์เลื้อยคลาน คำว่า Dragon มาจากภาษากรีก หมายถึง งูยักษ์ งูน้ำ หรือปลาทะเลยักษ์  คำๆ นี้เพิ่งถูกนำมาใช้เป็นศัพท์ภาษาอังกฤษ ในต้นศตวรรษที่ 13 มานี่เอง เรื่องของมังกรที่เก่าแก่ที่สุดพบ กำไลหยกรูปมังกร มีอายุราว 8,000 ปีก่อน ในบันทึกของชาวจีน ราว 4 พันกว่าปีก่อน พูดถึงข้าราชการคนหนึ่ง ที่ทุ่มเทกายใจ แก้ไขปัญหาอุทกภัยอย่างต่อเนื่องถึง 33 ปี  โดยไม่เคยกลับไปเยี่ยมครอบครัวเลย สุดท้ายก็แก้ปัญหาได้สำเร็จ ชาวจีนยุคนั้นจึงเชื่อว่า เขาเป็นมังกรมาเกิดเป็นมนุษย์ เพื่อช่วยเหลือผู้คนให้พ้นทุกข์ยาก มังกรในความเชื่อของจีน จึงเปรียบเสมือนเทพเจ้า เป็นสิ่งมงคล ชนชาติโบราณ อย่างชาวสุเมเรียน ราว 4 พันปีก่อน ก็มีเรื่องมังกรที่เป็นรูปแบบของเทพเจ้า ใช้ร่างกายตนเอง สร้างฟ้าและมหาสมุทร เช่นกัน

พระธรรมเก่าของชาวคริสต์ อายุราว 3 พันกว่าปี มีการพูดถึงมังกรทะเล เป็นมังกรอีกสายพันธุ์หนึ่ง มีชื่อเฉพาะว่า เลเวียธาน ที่เกเรและดุร้าย ทำร้ายผู้คน พระเจ้าจึงทำลายเสีย ซึ่งคาดว่าอาจฆ่าไม่หมด เพราะภายหลังยังมีการพบเห็นมังกรลักษณะนี้อีก จากบันทึกของเรือเดินสมุทร

ราวคริสตศตวรรษที่ 3 ชาวแอชแท็กซ์ที่ป่าเถื่อน ฆ่าคนเป็นว่าเล่น ก็มีเทพเจ้ามังกรเหมือนกัน พวกเขาถือว่ามังกรเป็นเทพเจ้าแห่งการเกษตร มีรูปร่างเป็นงูยักษ์มีขน และต้องเซ่นสังเวยด้วยคนเป็นๆ การเพาะปลูกจึงจะได้ผลผลิตที่ดี จึงใช้พวกเชลยสงครามเป็นเหยื่อ

ทั้งหมดเป็นตำนานแบบที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร มีภาพวาด มีการแกะสลัก มีการกราบไหว้บูชา และเซ่นสังเวยกันอย่างจริงจัง แต่ที่เป็นเรื่องเล่าในหมู่ชาวบ้านสืบทอดกันมา ก็มีอยู่เยอะกว่านี้มากไปทั่วโลก ภาพลักษณ์ของมังกรในยุคแรกๆ รูปร่างจะเหมือนงูยักษ์ ไม่มีขา ไม่มีปีก ไม่มีเครา

ผู้เชี่ยวชาญบางคนบอกว่ามันเป็น “ไททันโอโบอา” งูยักษ์จากยุคพาลีโอซีน อยู่ในสายพันธุ์โบเดีย เป็นงูขนาดใหญ่ไม่มี เขายาวได้ถึง 15 เมตร หนักได้ถึง 2,000 กก. จากกระดูกที่ขุดพบ เป็นต้นตระกูลงูเหลือม ตัวใหญ่กว่าอนาคอนด้าที่ใหญ่ที่สุดที่เคยเจอราว 10 เท่า

ราว 65-23 ล้านปีก่อน เป็นยุคพาลีโอซีน คือ ที่มีคาร์บอนไดออกไซด์หนาแน่นกว่าปัจจุบันหลายเท่า อุณหภูมิของโลกสูงกว่าป่าดิบชื้นในปัจจุบันราว 3-4 องศาเซลเซียส ต้นไม้จะมีขนาดใหญ่มาก สัตว์เลือดเย็นก็ต้องตัวใหญ่มากๆ เช่นกัน ตัว “ไททันโอโบอา” จะมีชีวิตอยู่ยุคนี้ แต่นักชีววิทยายังไม่มีเหตุผลมาสนับสนุนว่า มันจะเป็นไททันโอโบอา มันควรจะเป็นสัตว์สายพันธุ์อื่นเสียมากกว่า

ยุคถัดมา ตำนานมังกรก็กลายร่างมาเป็นเหมือนจิ้งเหลนยักษ์ วิวัฒนาการให้มีขา แต่ทุกยุค ทุกสมัย ทุกสถานที่ มังกรก็พ่นไฟได้ แม้แต่มังกรที่อยู่ในน้ำ ยกเว้นมังกรจีนเท่านั้นที่ไม่สามารถพ่นไฟ เพราะจากตำนานเป็นเทพเจ้า นักวิทยาศาสตร์เมืองนอกเขาลงทุนศึกษามังกรกันอย่างจริงจัง ถึงขนาดมีศาสตร์ด้านมังกรกันเสียด้วยซ้ำ

เมื่อ 65 ล้านปีก่อนในยุคครีเตเชียส เกิดปรากฏการณ์สูญพันธุ์ครั้งใหญ่ ที่เกิดจากการที่อุกาบาตรยักษ์พุ่งชนโลก ที่คาบสมุทรยูคาทาน ทำให้ไดโนเสาร์ตายกันเป็นเบือ แต่จากการค้นพบฟอสซิล ก็พบว่ายังมีไดโนเสาร์จำนวนหนึ่งรอดตาย และดำรงชีวิตต่อมาได้อีกราว 3 แสนปี จึงสิ้นสุดยุคครีเตเชียส แต่เพราะสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ใหญ่ๆ อีก ไดโนเสาร์สายพันธุ์ที่รอดมาได้จึงต้องวิวัฒนาการให้มีขนาดเล็กลง เช่น นกดึกดำบรรพ์ตัวใหญ่กว่าม้า และกินม้าเป็นอาหาร ปรับตัวให้มีขนาดเล็กลง โดยภาพรวมวิวัฒนาการของมังกร จึงมีความคล้ายคลึงกับไดโนเสาร์ มากกว่าจะเป็นสัตว์ยุคใหม่ แต่ไม่เคยมีใครเจอฟอสซิลของมังกร เช่นเดียวกับนก ที่มีการพบฟอสซิลน้อยมาก เพราะนกบินได้ มันสามารถหนีออกจากสถานการณ์เลวร้ายได้ง่ายกว่าสัตว์เลื้อยคลาน มีบันทึกการพบเห็นมังกรในยุคใหม่

ในศตวรรษ์ที่ 15 มีคนปีนเขา ตกลงในปล่องปากถ้ำ บนเทือกเขาคาร์เพเทียน โรมาเนีย  มีการส่งทีมช่วยเหลือ ตำรวจพบศพแช่แข็ง และซากสัตว์ที่ไม่เคยพบมาก่อน พวกเขาตั้งแลปชั่วคราวขึ้นในบ้านกลางป่า แล้วขอให้นักวิทยาศาสตร์จากพิพิธภัณฑ์ลอนดอน เข้าไปช่วยตรวจสอบเบื้องต้น ก่อนจะขนย้ายมาเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ลอนดอนในภายหลัง สิ่งที่พบ เป็นสัตว์เลื้อยคลาน มีรยางค์ 3 คู่ (ส่วนที่ยื่นออกมาจากร่างกาย)  เท่ากับมี 4 ขา ลักษณะของกล้ามเนื้อมีการใช้งานทุกขา แปลว่าสัตว์นี้เดิน 4 เท้า มีกรงเล็บขนาดใหญ่สำหรับการล่า และเป็นอาวุธป้องกันตัว มีหางยาวเกือบเท่าความยาว จากหัวถึงโคนหาง ปลายหางเป็นรูปลูกศร คาดว่าใช้เป็นอาวุธ และช่วยบังคับทิศทางในการบิน

ปีกทั้งสองข้าง มีลักษณะเป็นพังผืดคล้ายปีกค้างคาว แต่การที่สัตว์ใดๆ ก็ตามจะบินได้ ขึ้นอยู่กับน้ำหนักที่ยกได้ของปีก ความกว้างและความยาวของปีก กับน้ำหนักตัว ปีกสัตว์นี้ ยาวราว 6 เมตร น้ำหนักตัวราว 400 กิโลกรัม ถ้าประมาณจากขนาดที่เห็น สรุปว่ามีน้ำหนักมากเกินไป ปีกที่มีไม่สามารถยกตัวมันขึ้นจากพื้นได้ หัวใจขนาดใหญ่และมี 4 ห้อง มีระบบไหลเวียนโลหิตที่ทรงพลัง สามารถดึงเลือดและออกซิเจนปริมาณมาก ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อทั่วร่างกายได้ในเวลาสั้นๆ และต่อเนื่อง ความเป็นไปได้คือ เชื่อกันว่าสัตว์คล้ายมังกรนี้ มีวิวัฒนาการมาจากมังกรทะเล จึงเป็นไปได้ว่าเลือดมังกรมีโปรตีนชนิดพิเศษ เหมือนที่มีในปลาทะเลน้ำลึก อันจะช่วยในการป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัวจากความเย็น ทำให้สามารถอาศัยอยู่บนเขาสูง ในถ้ำน้ำแข็ง หรือที่ๆ มีสภาพอากาศหนาวเย็นได้ โดยไม่แข็งตาย กระดูกมีโพรงอย่างเป็นระเบียบ มันคือรูปแบบของสัตว์ปีก กระดูกชนิดนี้มีความแข็งแรงพอ แต่น้ำหนักเบากว่ากระดูกสัตว์บกมากกว่าครึ่ง จึงทำให้มันมีน้ำหนักน้อยกว่าที่เห็น แต่ก็เป็นต้นเหตุให้เราไม่เจอฟอสซิลด้วยเหมือนกัน เพราะกระดูกชนิดนี้ย่อยสลายได้เร็ว ถ้าไม่ถูกทับถมอยู่ในโคลนหรือเถ้าภูเขาไฟ นอกจากปอดแล้ว ยังมีถุงลมขนาดใหญ่อีกด้วย ใช้สำหรับกักเก็บก๊าซไฮโดรเจน อันได้มาจากกระบวนการย่อยอาหาร ในกระเพาะอาหารของสัตว์กินเนื้อทุกชนิด จะมีแบคทีเรียที่ทำหน้าที่ย่อยสลายอาหาร คาดว่าในสัตว์คล้ายมังกร คงมีแบคทีเรียชนิดที่สร้างก๊าซโฮโดรเจนขึ้น จากนั้นอวัยวะพิเศษ และได้ทำการแยก และลำเลียงไปกักเก็บไว้ในถุงลม เนื่องจากไฮโดรเจนเบากว่าอากาศมาก มันจึงถูกใช้เพื่อช่วยเรื่องการลอยตัวในอากาศเป็นหลัก ปีกที่มีจึงมีขนาดที่เพียงพอต่อการยกตัวขึ้นจากพื้น บิน ร่อน บังคับทิศทาง และทำความเร็ว ขนาดใหญ่จึงไม่ใช่ความอ้วนจากไขมันหรือกล้ามเนื้อทั้งหมด แต่มีปริมาณของก๊าซที่น้ำหนักเบากว่าอากาศอยู่เกือบจะเป็น 1 ใน 4 ของปริมาตรร่างกาย ก๊าซไฮโดรเจนในถุงลม ไวไฟ ติดไฟได้ง่าย และดีกว่ามีเทน มีพังผืดแข็งแรงปิดด้านบนเพดานปาก ติดกับช่วงคอ เหมือนที่พบในจระเข้ ช่องปิดที่เพดานน่าจะทำหน้าที่เป็นวาล์วเปิดปิดในการส่งก๊าซ แต่การที่ไฟจะจุดติดได้ จำเป็นต้องมีประกายไฟ มาถึงส่วนหัว มันมีเขาแหลมด้วย คงเอาไว้ใช้ข่มขู่ศัตรู ใช้เป็นอาวุธ รวมถึงการหาคู่ มีฟัน 2 ประเภทคือ

1. ฟันยาวปลายแหลม ที่พบได้ทั่วไปในสัตว์กินเนื้อโบราณ นอกจากนี้ยังมีฟันกรามร่วมด้วย พบผลึกหินในปากของมังกร สันนิษฐานว่ามันคงกินหินด้วย อาจต้องการแร่ธาตุบางอย่างหรือให้ช่วยย่อยอาหาร ในสัตว์บางประเภท เราก็พบว่ามีการกินหินเข้าไป เพื่อช่วยในการย่อยอาหารอยู่เหมือนกัน

2. ฟันกรามคงใช้เพื่องานบดนี้ เหมือนในกระเบนก็มีไว้เพื่อขบเปลือกหอย ผลพลอยได้คือทำให้เศษหินที่เป็นผลึกติดอยู่ที่ฟัน เมื่อต้องการพ่นไฟ ก็เอาฟันกระทบกันให้เกิดประกายไฟ แล้วพ่นก๊าซไฮโดรเจนออกมา

ส่วนวาล์วเปิดปิด นอกจากจะใช้เพื่อควบคุมปริมาณของไฮโดรเจนที่ส่งออกมาแล้ว ยังมีไว้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟย้อนกลับลงไปที่ถุงลม แล้วทำให้มังกรถูกเผาไปเสียเอง การสืบพันธุ์นั้น จากรูปร่างโดยรวม นักวิทยาศาสตร์คาดว่ามังกรออกลูกเป็นไข่ เหมือนนกหรือจระเข้ มีแนวโน้มว่ามังกร น่าจะมีเชื้อสายเกี่ยวข้องกับ “ไทโลซอรัส “ หรือเผ่าพันธุ์จระเข้โบราณนั่นเอง มันจึงควรออกลูกเป็นไข่ และฟักไข่แบบเดียวกับจระเข้

แต่มังกรมีไฟ จึงน่าจะสะดวกกว่าในการจัดการกับอุณหภูมิของไข่ ทฤษฏีคือ การเอาหินล้อมไข่ไว้ พ่นไฟใส่หิน แล้วให้ความร้อนจากหินทำให้ไข่อบอุ่น วิธีนี้จะช่วยให้อุณหภูมิของไข่คงที่อยู่หลายชั่วโมง จากนั้นใช้ลิ้นสัมผัสวัดคาดอุณหภูมิ ที่จะต้องไม่ต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส ไม่เช่นนั้นตัวอ่อนจะเสียชีวิต

มังกรต้องจำศีล อาจเป็นเหตุผลมาจากการขาดแคลนอาหารในช่วงฤดูหนาว ปัจจุบันเรายังคงพบสัตว์ขนาดใหญ่ต้องจำศีล เช่น หมี เป็นต้น เมื่ออยู่ในภาวะภาวะจำศีล ร่างกายจะมีอุณหภูมิลดต่ำลงจนเกือบจะเท่ากับอุณหภูมิภายนอก หัวใจเต้นช้ามาก การหายใจจะช้าลง ร่างกายจะอยู่ได้ด้วยไขมัน และสารอาหารที่สะสมไว้ก่อนภาวะจำศีล ซึ่งกินเวลาหลายเดือน คาดว่ามังกร ถูกคนฆ่าตายในขณะจำศีลเป็นจำนวนมาก เนื่องจากไม่มีการย่อยอาหารในกระเพาะ จึงไม่มีก๊าซไฮโดรเจน ทำให้บินหนีก็ไม่ได้ พ่นไฟก็ไม่ได้ เขี้ยวเล็บที่มี ถ้าเจอรุม ก็สู้ไม่ไหว สุดท้ายแล้ว นักวิทยาศาสตร์เลยสรุปออกมาว่า มีความเป็นไปได้ที่จะมีมังกรอยู่จริง มีความสามารถต่างๆ อย่างที่ผู้คนพบเห็นได้จริง

มีทฤษฏีที่รองรับได้ ในแง่ของชีววิทยา พันธุศาสตร์ ที่มีอยู่แล้วในสัตว์ตามธรรมชาติ ต่อมา ปี ค.ศ. 1641 คนราว 350 คน ชาวเมืองชานตง ของจีน เห็นมังกรทองบินอยู่ท่ามกลางกลุ่มเมฆ ปี ค.ศ.1800 มีคนนับสิบเห็นงูยักษ์ มีปีก มีเขา หัวเหมือนม้า ตัวยาวราว 15 เมตร เลื้อยอยู่กลางอากาศ ไล่จับนกกิน

ค.ศ. 1882 คนนับร้อยในขบวนรถไฟ พูดตรงกันถึงการโจมตีของสัตว์ มีลักษณะเหมือนงูขนาดใหญ่ ความยาวราว 9 เมตร มีปีกเหมือนค้างคาว บินอยู่บนท้องฟ้า ล่าสุดพบโครงกระดูกของสัตว์ที่เชื่อว่าเป็นมังกรในประเทศจีน กระโหลกมีขนาดใหญ่ กระดูกมีโพรงคล้ายนก ลำตัวยาวมาก ที่แน่ชัดอย่างเดียวคือ มันไม่ใช่โครงกระดูกของสัตว์ชนิดใดในโลกที่เรารู้จัก แต่ก็ยังไม่มีใครกล้ายืนยันอะไร

และถ้าจะแบ่งมังกรตามพื้นที่เล่าขานหลักภูมิศาสตร์ ก็แบ่งได้ 2 ประเภท คือ

1. มังกรตะวันออก เช่น มังกรจีน , พญานาคไทยและใกล้เคียง จะมีลักษณะเหมือนงูขนาดใหญ่ มีขา 4 ขา มีเขี้ยวขนาดใหญ่ มีหนวดยาว มีแผงคอและแผงตามแนวหลังด้วย สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ ดำน้ำได้ พ่นไฟได้

2. มังกรตะวันตก เช่น มังกรภูเขา ลักษณะลำตัวจะอ้วนสั้น หัวยาว มีเขี้ยว มีปีกเป็นพังผืดเหมือนค้างคาว หางยาว ปลายหางเหมือนใบหอก มี 4 ขา พ่นไฟได้ บินได้ (บางตำนาน พบมังกรแบบพ่นไอเย็น แต่ไม่มีใครค่อยพูดถึง )

แต่ถ้าแบ่งมังกรตามทฤษฏีวิวัฒนาการ จะแบ่งได้ 4 ประเภท คือ

1. มังกรทะเล ช่วงปรากฏการณ์อุกาบาตชนโลก ทำให้อาหารหายาก สัตว์น้ำรอดมาได้เยอะกว่าสัตว์บกหลายเท่า มังกรเลยปรับตัว ปรับสภาพร่างกาย ให้เหมาะสมกับการอยู่ในน้ำได้นานขึ้น วิวัฒนาการที่ว่านี้ ใช้เวลาเป็นแสนปี สุดท้ายก็อยู่ในน้ำเหมือนปลาไปเลย เช่น ปีกสั้นลงเรื่อยๆ กลายมาเป็นครีบ หางแบนขึ้นคล้ายปลา ช่วยให้บังคับทิศทางและเคลื่อนที่ในน้ำได้ดีขึ้น แต่ถึงจะอยู่ในน้ำ เมื่อโผล่ขึ้นมาก็ยังพ่นไฟได้

2. มังกรป่า วิวัฒนาการมาจากมังกรทะเลครับ เมื่ออุณหภูมิของโลกเย็นขึ้น สภาพบนพื้นดินเหมาะสมขึ้น มีป่าไผ่ มังกรของจีนก็ปรับตัวเป็นที่แรก ลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปคือ ตัวเรียวยาวขึ้น ผิวหนังเรียบลื่นขึ้น สีของผิวหนังดูคล้ายป่ามากขึ้น ปีกเล็กลง แต่ก็ยังมี พอที่จะช่วยในการร่อนได้ ในระยะสั้นๆ สามารถพ่นไฟได้ และพัฒนาวิธีการเลียนเสียงสัตว์อื่น เพื่อประโยชน์ในการล่า แต่ก็ยังมีมังกรอีกส่วนหนึ่ง ที่ดำรงชีวิตอยู่ในน้ำต่อไป

3. มังกรทะเลทราย มีลักษณะเหมือนมังกรภูเขา แต่น่าจะมีน้อยมาก เพราะขาดแคลนอาหาร และแทบไม่มีการกล่าวถึง

4. มังกรภูเขา นักวิทยาศาสตร์ยังไม่แน่ใจนักว่า มันมีวิวัฒนาการมาจากมังกรทะเล หรือ ว่ามันอยู่บนบกมาตลอด เพราะมีความเป็นไปได้ทั้งสองทาง มักพบภาพ stained glass ทำด้วยกระจก สีได้ในโบสถ์คริสต์ ช่วงคริสตศตวรรษที่ 15 มีชื่อว่า “ปีศาจแห่งยอดเขาสูง”

จากหลักฐานทั้งหมด สรุปได้คร่าวๆ ว่า มังกรถูกล่าอย่างหนักในช่วงคริสตศตวรรตที่ 15 อันเนื่องมาจาก การบุกรุกพื้นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า การทำปศุสัตว์ ทำให้มังกรไม่อาจล่าสัตว์ป่าเป็นอาหารได้ตามปกติ ทำให้มังกรไม่มีที่ทำกิน ไม่มีทางเลือก เมื่อหิวก็ต้องล่าปศุสัตว์ การล่าเป็นไปตามสัญชาติญาณธรรมชาติ ต้องกินเมื่อจะอดตาย เลยโดนมนุษย์ล่ากลับ เพราะมาขโมยสัตว์ของคน กลายมาเป็นตำนานวีรบุรุษล่ามังกร ใครฆ่ามังกรได้จะเก่ง ผู้คนกราบไหว้บูชา

สรุป การค้นพบมังกรที่เก่าแก่ที่สุด มีอายุนานมากกว่า 4 พันปี และพบเห็นล่าสุดที่ชัดเจนเมื่อราว 200 ปีก่อนนี่เอง ต้องยอมรับถึงความสามารถในการปรับตัวของมัน ผ่านยุคสมัยกว่า 65 ล้านปี ในสภาพร่างกายที่แปลกแยกจากสัตว์ทั่วไป ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ไม่คิดว่า มันจะสามารถมีชีวิตรอดมาได้นานขนาดนี้


อ้างอิง

ไขปริศนา...มังกรเคยเป็นสัตว์ ที่เคยมีอยู่จริงบนโลกหรือไม่?. www.facebook.com. 2558. แหล่งที่มา : https://www.facebook.com/topsecretthai/posts/323138361209531. ค้นเมื่อ 4 มีนาคม, 2559.

มังกร. Wikipedia. แหล่งที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3. ค้นเมื่อ 4 มีนาคม, 2559.

มังกรยุโรป. Wikipedia. แหล่งที่มา :
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%9B. ค้นเมือ 4 มิถุนายน, 2559.

นางสาวชิดหทัย เหล่าทองสาร   583080978-3  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น