เนลสัน มันเดลา (Nelson Mandela)

โดย อนุชา  สีหาบุตร

หากจะกล่าวถึงนักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ในทศวรรษนี้ คงจะไม่มีใครปฏิเสธชื่อของ  เนลสัน แมนเดลา อย่างแน่นอน เพราะหากปราศจากบุคคลผู้นี้แล้ว โลกของเราก็คงจะยังมีการเหยียดสีผิว เขาเป็นรัฐบุรุษของโลก ผู้อุทิศตนต่อสู้เพื่อล้มล้างลัทธิเหยียดผิว และผลักดันให้เกิดสันติภาพทั่วโลก

เนลสัน แมนเดลา เกิดวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2461 เป็นผู้สืบทายาทสายหนึ่งของราชวงศ์เทมบู ที่ปกครองแคว้นทรานสไก ในจังหวัดอีสเทิร์นแคป ของประเทศแอฟริกาใต้ โดยเขาเกิดที่อึมเวโซ ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ในเมืองอุตาตา ซึ่งเป็นเมื่องหลวงของทรานสไก เดิมแท้จริงแล้ว เนลมัน แมนเดลา มีชื่อจริงว่า โรลีห์ลาห์ลา ซึ่งมีควายหมายว่า “เจ้าตัวยุ่ง”  แต่ต่อมา มันเดลา ได้เข้าไปศึกษาที่โรงเรียน ครูของเขาได้ตั้งชื่อภาษาอังกฤษให้โดยเรียกว่า “เนลสัน” จึงทำให้ได้ที่มาเป็น เนลสัน แมนเดลา


เนลสัน มันเดลา

เนลสัน แมนเดลา ได้สำเร็จการศึกษาที่มหาวิทยาลัยวิทส์วอเทอแรนด์ ด้านกฎหมายหลักสูตรทางไกลกับมหาวิทยาลัยลอนดอน ซึ่งทำให้ เนลสัน แมนเดลา ได้พบเจอกับผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ได้รับความคิดแบบเสรีนิยม และความคิดต่อสู้เพื่อชาวแอฟริกัน ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเหยียดผิว การถูกกระทำแบบสองมาตรฐาน ซึ่งนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นในการผลักดันให้เขาเริ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองเกี่ยวกับการเหยียดผิว

เมื่อปี พ.ศ. 2491 ชัยชนะในการเลืองตั้งตกเป็นของพรรคชาตินิยม ซึ่งสนับสนุนนโยบายการแบ่งแยกสีผิวอย่างรุนแรง ยิ่งทำให้ แมนเดลาเริ่มมีบทบาททางการเมืองมากขึ้น เขาเป็นผู้นำคนสำคัญในการต่อต้านการแบ่งแยกสีผิว โดยแมนเดลาเริ่มทำการเจรจาต่อต้านรัฐบาลโดยไม่ใช้ความรุนแรง แต่เขาและเพื่อร่วมขบวานการกว่า 150 คน ถูกจับกุมเมื่อวันที่  5 ธันวาคม พ.ศ. 2499 ในข้อหากบฏ แต่การไต่สวนคดีมีเวลายาวนานมาก ทำให้คดีสิ้นสุดลงโดยไม่มีความผิด

ต่อมาในปี พ.ศ. 2504 แมนดาลาได้เป็นผู้นำกองกำลังติดอาวุธของเอเอ็นซี ได้เปิดปฏิบัติการวินาศกรรมทางเศรษฐกิจจนกระทั่งถูกจับในที่สุด และเขาถูกแจ้งข้อหาก่อวินาศกรรม และพยายามโค่นล้มรัฐบาลด้วยวิธีการรุนแรง โดยระหว่างการพิจารณาคดีที่เมืองริโวเนีย แมนเดลาได้ประกาศความเชื่อของเขาในเรื่องประชาธิปไตย เสรีภาพ และความเท่าเทียมว่า
“ผมเชิดชูอุดมคติเรื่องสังคมที่เป็นประชาธิปไตยและมีเสรีภาพ ที่ซึ่งคนทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสมานฉันท์ และได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมกัน นี่คือสังคมอุดมคติที่ผมปรารถนาจะไปให้ถึง เป็นอุดมคติที่ผมพร้อมจะอุทิศชีวิตให้”

เนลสัน มันเดลา

ในปี พ.ศ. 2507 เขาถูกพิพากษาจำคุกตลอดชีวิตบนเกาะร็อบเบินเป็นเวลา 18 ปี ก่อนถูกย้ายมายังเรือนจำโพลส์มัวร์บนแผ่นดินใหญ่ในปี พ.ศ. 2525 ซึ่งขณะที่เขาถูกจองจำอยู่นั้น พวกเยาวชนตามเมืองต่าง ๆ ของชนผิวดำยังคงต่อสู้กับการปกครองโดยคนผิวขาวส่วนน้อยต่อไป จนทำให้มีผู้บาดเจ็บและล้มตายเป็นจำนวนมาก

ขณะนั้น โอลิเวอร์ แทมโบ ซึ่งเป็นสหายของแมนเดลา ในสมัยศึกษาปริญญาตรีด้วยกัน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ลี้ภัย ได้รณรงค์ระดับสากล เรียกร้องและกดดันให้ ปล่อยตัว เนลสัน แมนเดลา ด้วยวิธีจัดคอนเสิร์ต ณ สนามกีฬาเวมบลีย์ กรุงลอนดอน ที่มีผู้เข้าร่วมกว่า 72,000 คน อีกทั้งยังถ่ายทอดผ่านทางโทรทัศน์ ทำให้สุดท้าย ไม่สามารถทนแรงกดดันจากทั่วโลกได้ จะต้องสั่งปล่อยตัว เนลสัน แมนเดลา ให้เป็นอิสระ

แต่วิถีชีวิตของ เนลสัน ยังไม่หยุดลงแค่นั้น ในปี พ.ศ. 2536 เขาได้รับรางวัลสาขาสันติภาพ อีกทั้งชาวแอฟริกาใต้ทุกผัวสี ได้ลงคะแนนเสียงให้เขาเป็นประธานาธิบดี ของแอฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2537 ซึ่งเขาได้เปลี่ยนแปลงกฎหมายเกี่ยวกับการเหยียดสีผิวเป็นลำดับต้นๆ จนถึงเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2542 เขาได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีลง แต่เขายังใช้เวลาส่วนใหญ่กับเรื่องสิทธิมนุษยชนและ ความรู้เรื่องการติดต่อของโรคเอดส์ ที่กำลังเป็นปัญหาอยู่ในแอฟริกาเป็นอย่างมาก

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่าชีวิตของ เนลสัน แมนเดลา ได้ผ่านเรื่องราวการต่อสู้มาอย่างยาวนาน เพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นประชาธิปไตย ไม่มีการแบ่งแยกเหยียดสีผิว ซึ่งถึงแม่ว่า เนลสัน จะต้องจากไปด้วยโรคปอดและโรคแทรกซอนเรื้อรังมาอย่างยาวนาน แต่เขาก็ยังคงเป็นรัฐบุรุษของโลก ที่เป็นนักสู้ที่ทำเพื่อคนทุกคนให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ


อ้างอิง

ประวัติ เนลสัน แมนเดลา รัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ นักสู้ผู้ต่อต้านการเหยียดผิว.
สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2559, จาก : http://hilight.kapook.com/view/87849

ประวัติ บุคคลสำคัญของโลก. สืบค้น 30 มีนาคม 2559,
จาก :  http://personworld.exteen.com/20141108/nelson-mandela

ประวัติ เนลสัน แมนเดลา รัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่. สืบค้น 30 มีนาคม 2559,
จาก: http://scoop.mthai.com/hot/5548.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น