สงครามนานกิง

ไม่ระบุชื่อ | 22:58 | | | |
โดย สิริราช ขันเงิน

 “นานกิง” คงหาได้น้อยคนนักที่จะไม่รู้จักชื่อนี้  เพราะมันคือเหตุการณ์ที่สำคัญมากๆที่เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ชาติมนุษย์ ถึงแม้เวลาที่ผ่านไปนานแสนนานเกือบจะร้อยปีแล้วก็ตาม แต่ผลของเหตุการณ์หรือสงครามนานกิง ยังคงส่งผลกระทบต่อจิตใจของลูกหลานของสองชาติที่เป็นคู่สงครามกันในขณะนั้นอยู่ สองชาติที่กล่าวถึงก็คือ “จีน” และ “ญี่ปุ่น”

นานกิงรู้จักกันในหลายๆชื่อ เช่น สงครามนานกิง โศกนาฏกรรมนานกิง การสังหาหมู่นานกิง หรือแม้แต่การข่มขืนนานกิง ก็ยังมี และมีอีกหลายๆชื่อที่ใช้เรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ ซึ่งชื่อแต่ละชื่อที่ใช้เรียกเหตุการณ์ในครั้งนี้นั้น ล้วนแต่แสดงเจตนารมณ์แห่งการประณาม การต่อว่า สื่อถึงว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่นานกิงนั้นเป็นเรื่องที่ผิดต่อมนุษยธรรมอย่างมาก สำหรับคนที่สนใจในประวัติศาสตร์ เหตุการณ์สำคัญๆที่เกิดขึ้นบนโลก เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่นานกิงนั้นเป็นสิ่งที่เขาเหล่านั้นต้องทราบและรู้จักเป็นอย่างดี เพราะมันคือเหตุการณ์ที่น่าสนใจมากๆ เพราะเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความสะเทือนใจเป็นอย่างมาก และเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกและความสัมพันธ์ของสองชาติที่กล่าวมาข้างต้น จากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่นานกิงนั้นมีรายละเอียดลึกซึ่งมากมาย อีกทั้งยังเป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของมวลมนุษยชาติโดยเฉพาะประเทศจีน ผู้ที่ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นผู้กระทำในครานั้น เหตุการณ์ในนานกิงนั้นเกิดอะไรขึ้น เพราะเหตุใดชาวโลกถึงร่วมกันประณามการกระทำนี้ของทหารญี่ปุ่นในยุคนั้น เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในนานกิงนั้น เกิดขึ้นเพียง 6 สัปดาห์เท่านั้น แต่ถึงจดจำมากว่า 70 ปีแล้ว และจะยังคงฝังอยู่ในความรู้สึกของมวลมนุษยชาติและชนชาติจีนแบบนี้ตลอดไป


ที่มา: https://th.wikipedia.org/

เหตุการณ์นั้นเริ่มต้นขึ้นจาก การที่กองทัพญี่ปุ่นอ้างว่ามีทหารนายหนึ่งหายไปและต้องการเข้าตรวจสอบที่เมืองหว่านผิง ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงปักกิ่ง ในเวลาค่ำคืนของวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2480(ค.ศ.1937) แต่ทหารของจีนที่รักษาการอยู่ในพื้นที่นั้นไม่ยอมให้เข้าตรวจค้น กองกำลังญี่ปุ่นจึงเปิดฉากยิงใส่ทหารของเมืองหว่านผิงในทันทีอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย ทำลายสะพานหลูโกวเฉียว (สะพานมาร์โคโปโล)และรุกเข้าตียึดกรุงปักกิ่งได้อย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่วันเท่านั้น ในเดือนเดียวกันนี่เอง วันที่ 16-17 กรกฎาคม พ.ศ.2480 นายทหารสูงสุดของจีนในขณะนั้นนามว่าเจี่ยงจงเจิ้ง หรือที่เรารู้กันในนาม นายพลเจียงไคเช็คได้ปลุกระดมคนจีนและกองกำลังจีนทุกหัวระแหงให้ต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่น

สาเหตุหลักที่ทำให้กองกำลังของจีนแผ่นดินใหญ่อ่อนแอและถูกกองทัพญี่ปุ่นรุกราฆ่าฟันได้โดยง่ายก็เพราะว่า หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ.2474(ค.ศ.1931) จีนเองก็กำลังประสบปัญหาการเมืองภายในประเทศ จึงทำให้กองทัพจีนขาดประสิทธิภาพในการจัดการและวางแผนการรบ จนในที่สุดถูกกองทัพญี่ปุ่นตีจนแตกไปหลายเมืองอย่างรวดเร็ว อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ญี่ปุ่นได้เปรียบในสงครามครั้งนี้ก็คืออาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยกว่าของญี่ปุ่น ทำให้ญี่ปุ่นสามารถที่จะเอาชัยเหนือจีนได้โดยง่าย

ต่อมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2480(ค.ศ.1937) ญี่ปุ่นสามารถยึดเมืองเซี่ยงไห้ไว้ได้  ก่อนที่เซี่ยงไห้จะแตกรัฐบาลจีนได้ประกาศย้ายเมืองหลวงจากนานจิงไปที่เมืองจุงกิงชั่วคราว และในขณะนั้นนานกิงจึงเป็นเสมือนเพียงแค่เมืองหลวงเก่าของจีนเท่านั้น หลังจากที่ยึดเซี่ยงไห้ได้ เป้าหมายต่อไปของกองญี่ปุ่นก็คือนานจิง กองทัพญี่ปุ่นโหมกระหน่ำตีเมืองนานจิงทุกสารทิศ ในที่สุดนานจิงก็แตกและตกเป็นของกองทัพญี่ปุ่น และเหตุโศกนาฏกรรมก็เริ่มต้นขึ้นจากตรงนี้เป็นต้นไป

ในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2480(ค.ศ.1937) กองทัพญี่ปุ่นสามารถที่จะกำหราบกองกำลังจีนที่ปกป้องนานจิงลงได้ โดยใช้เวลาเพียงแค่ 4 วันเท่านั้นในการโจมตีกองทหารที่รักษานานจิง และได้ทำการปลดอาวุธและจับทหารที่ยอมแพ้เป็นเชลยศึก

ในวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2480(ค.ศ.1937) เริ่มมีการสังหารหมู่เชลยศึกชาวจีนที่ถูกปลดอาวุธและยอมแพ้แก่กองทัพญี่ปุ่นแล้ว แต่กฎของสงครามในขณะนั้นมีว่า ห้ามฆ่าเชลยศึกที่ยอมแพ้และถูกปลดอาวุธแล้ว จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นในขณะนั้นซึ่งก็คือ “จักรพรรดิฮิโรฮิโต” ได้สั่งการให้ทหารทุกกรมกองยกเลิกใช้คำว่า “เชลยศึก” กับทหารจีนที่ยอมจำนนแล้ว และให้จัดการฆ่าเชลยศึกให้ได้มากที่สุดเพื่อลดแรงต่อต้านและลดการใช้เสบียง

เชลยศึกถูกทหารญี่ปุ่นฆ่าอย่างเหี้ยมโหด โดยไม่นึกถึงเรื่องของมนุษยธรรม ไม่นึกถึงความดี ความเลว รูปแบบการฆ่าเชลยศึกชาวจีนนั้นมีรูปแบบต่างๆนานา ตามแต่ที่ทหารญี่ปุ่นต้องการ มีทั้งการให้เชลยศึกยืนเรียงแถวหน้ากระดานและกราดยิงด้วยปืน  มีทั้งการใช้ดาบซามูไรตัดคอ การฝังเชลยศึกทั้งเป็น การผูกเชลยติดกับแผ่นไม้แล้วให้รถถังวิ่งเหยียบ การจับเชลยศึกมัดรวมกันแล้วจุดไฟเผาให้ตายทั้งเป็น และวิธีการที่โหดร้ายอื่นๆในการฆ่าเชลยศึกที่ไม่มีทางต่อสู้ตามแต่ที่ทหารญี่ปุ่นจะคิดกันได้

เมื่อเมืองนานจิงไม่มีทหารปกป้องประชาชนพลเรือนแล้ว การฆ่าพลเรือนจึงเริ่มขึ้นอย่างสนุกสนาน การข่มขืนผู้หญิงชาวจีน ไม่ว่าจะเป็น เด็ก คนแก่ แม่ชี นักศึกษา การข่มขืนหญิงชาวจีนนั้นเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกวัน ทั้งกลางวันกลางคืน หญิงบางรายถูกข่มขืนจนถึงแก่ความตาย แต่ถ้าใครไม่ตายก็จะถูกฆ่าหลังจากข่มขืนเสร็จ เพราะในสงครามมีกฎว่าห้ามข่มขืนผู้หญิงของฝ่ายตรงข้าม แต่กองทัพญี่ปุ่นไม่ใยดีต่อกฎใดๆทั้งสิ้น ไม่เพียงแต่ทหารระดับล่างเท่านั้นที่ทำการข่มขืนหญิงชาวจีน นายทหารระดับสูงก็มีส่วนร่วมในการข่มขืนนี้ด้วย และยังมีการสั่งการกับทหารระดับล่างว่าให้เก็บกวาดให้เรียบร้อยอีกด้วย

ในระยะเวลาเพียงแค่ 6 สัปดาห์กองทัพญี่ปุ่นข่มขืนผู้หญิงชาวจีนไปไม่น้อยกว่า20,000 คน และจำนวนของพลเรือนและทหารจีนที่ถูกฆ่านั้นไม่ปรากฏเป็นที่แน่ชัดว่าเท่าใด นักประวัติศาสตร์ชาวจีนประเมินว่าไม่น้อยกว่า 300,000 คน ในขณะที่ศาลทหารพิเศษระหว่างประเทศภาคพื้นตะวันออกไกลประเมินจากหลักฐานที่หาได้(เอกสารหลักฐานบางส่วนถูกทหารญี่ปุ่นทำลายไป)ว่าจำนวนของการสังหารคราวนี้อยู่ประมาณ 250,000 คน

เหล่าทหารญี่ปุ่นที่ก่อการสังหารหมู่ในขณะนั้นถูกตราหน้าว่าเป็นอาชญากรรมสงคราม หลังจากนั้นศาลชำนาญพิเศษอาชญากรรมสงครามนานกิง ได้มีการไต่สวนและพิพากษาว่าทหารเหล่านั้นมีความผิดและถูกลงโทษประหารในเวลาต่อมา แต่เจ้าชายยะซุฮิโกะ อะซะกะ พระอนุวงศ์ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตัวการสำคัญคนหนึ่ง กลับรอดจากคดีอาญานี้ เพราะฝ่ายสัมพันธมิตรให้ความช่วยเหลือเอาไว้

เราจะเห็นว่าสงครามนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดเลย รังแต่จะนำความเศร้าสลดมาให้มวลมนุษยชาติ สงครามนานกิงถือเป็นบทเรียนที่แสนจะโหดร้าย เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า สงครามนั้นนำแต่ความพินาศย่อยยับมาให้ทั้งสองฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นชาวเมืองนานกิงที่เป็นคนจีน จะต้องสังเวยชีวิตอันบริสุทธิ์แก่เหล่ากองทหารญี่ปุ่น ที่เปรียบเสมือนสัตว์เดรัจฉานในขณะนั้น แต่สุดท้ายแล้ว ทหารเหล่านั้นของกองกำลังญี่ปุ่นก็ถูกลงโทษด้วยการประหารชีวิต สรุปแล้ว ไม่ว่าจีนหรือญี่ปุ่นต่างก็ต้องจบลงด้วยการสูญเสีย แต่ผลของการกระทำในครั้งนั้นยังคงฝังอยู่ในส่วนลึกของคนจีนและคนญี่ปุ่น จากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน

ถึงอย่างไรก็ตามจากบทเรียนครั้งประวัติศาสตร์ในครั้งนั้น จากการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ของจีน จากการสำนึกผิดของญี่ปุ่น ทุกวันที่ 13 ธันวาคมของทุกปี จะมีการจัดงานลำลึกถึงสงครามนานจิง โดยทางการจีนประกาศให้วันนี้เป็นวันหยุดงาน และทางการญี่ปุ่นเองก็มีการจัดพิธีกล่าวขอขมาต่อประชาชนชาวจีนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่นานจิง ในวันเดียวกันนี้ นอกจากนั้นแล้ว ยังมีชาวญี่ปุ่นอีกไม่น้อยที่ยอมอุทิศตัวเพื่อคนญี่ปุ่นเพื่อหวังที่จะเป็นการไถ่บาปของตนที่บรรพบุรุษของตนเคยทำไว้แต่ในอดีต ดังเช่น คุณหมอ ซัน ชื่อเดิมของคุณหมอซันคือ ฮิโรชิ ยามาซากิ คุณหมอซันเคยร่วมรบในสงครามนานจิง เป็นหน่วยแพทย์ แต่ทนความเสื่อมทรามของทหารญี่ปุ่นไม่ได้จึงหนีออกมา ระหว่างที่หนีได้รับความช่วยเหลือจากคนจีนอย่างมากมายตลอดทาง คุณหมอจึงตังใจว่าจะอุทิศตนเพื่อชาวจีน คุณหมอรักษาคนจีนที่ยากจนแบบฟรีๆ นอกจากนั้นแล้ว คุณหมอซันก็ไม่ได้กลับบ้านที่ญี่ปุ่นอีกเลย เพราะท่านบอกว่า เมืองจีนคือบ้านของท่าน


อ้างอิง

ไทยรัฐออนไลน์.  (2559).  นานกิง สงครามสังหารสุดหฤโหด. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2559, จาก http://www.thairath.co.th/content/259862

ผู้จัดการออนไลน์.  (2559).  รำลึก “75 ปี สงครามนานกิง” รำลึกประวัติศาสตร์เพื่อแสวงหาโลกสันติภาพ.  สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2559, จาก http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9550000151444

ผู้จัดการออนไลน์.  (2559).  อดีตทหารญี่ปุ่นยุคนานกิง ใช้ชีวิตเพื่อคนจีนจนวันตาย.  สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2559, จาก http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9530000175338

มติชนออนไลน์. (2559).  ชาวญี่ปุ่น-จีน จับมือร่วมรำลึกเหตุสังหารหมู่นานกิง ชี้้เป็น"โศกนาฎกรรมตกหล่น -ไม่มีในตำราใด ๆ".  สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2559, จาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1439803483

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.  (2559).  การสังหารหมู่นานกิง. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2559, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/การสังหารหมู่นานกิง

BBCThai.com. (2548). สงครามโลกผ่านมาหกสิบปี แต่ทำไมจีนกับญี่ปุ่นถึงยังไม่ญาติดีกัน.  สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2559, จาก http://www.bbc.co.uk/thai/highlights/story/2005/08/050814_ww2_japan_china.shtml

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น